วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ซินยุนบก ลีซาน ฤาจะเป็นเรื่องเดียวกัน

.
.
(ทุกรูปในบทความนี้ กรุณาเอาเคอร์เซอร์ไปวางที่รูปครับ)
.สำหรับคนที่ติดตามชมซีรีย์เกาหลีช่อง3ยามเย็น เสาร์-อาทิตย์ เท่านั้นที่จะอ่านบทความตอนนี้เข้าใจ




ผมเองติดตามชมลีซาน จอมบัลลังค์พลิกแผ่นดิน ซึ่งจบไปหลายเดือนแล้ว เรื่องย่อๆ ก็คือ พระเอกคือองค์ชายลีซาน มีเสด็จพ่อเป็นรัชทายาท แต่เสด็จพ่อโดนเสด็จปู่ซึ่งเป็นพระราชาขณะนั้นสั่งลงโทษจนตาย ตัวร้ายของเรื่องคือพระหมื่นปี ที่เป็นมเหสีสาวของเสด็จปู่ของลีซาน (พระหมื่นปีไม่ได้เป็นย่าแท้ๆของพระเอกครับ)

นางเอกลีซานชื่อ ซอซงยอน เป็นเด็กกำพร้าพ่อแม่ โดยพ่อของนางเอกเคยเป็นช่างเขียนมาก่อน ภายหลังนางเอกได้เป็นช่างเขียนหญิงคนแรกของสำนักช่างศิลป์ โดยที่มีลีซานช่วยอยู่ห่างๆ และนางเอกก็ใช้ฝีมือด้านศิลป์ช่วยเหลือพระเอกได้ในหลายเรื่อง

นางเอกมีอาจารย์ชื่อช่างเขียนลี ฉายาในช่อง3 ผมเรียกว่า "พี่น้องคร้บ" เพราะช่างเขียนลีชอบพูดว่า "พี่น้องครับ"ตลอด คนนี้ตลกมาก ชอบแอบเขียนรูปลามกไปขาย โดยชอบใช้นางเอกให้ช่วยลงสีรูปลามกให้

นางเอกมีพี่ชายที่ไม่ใช่ญาติกันเลย ชื่อปาร์คเทซู ซึ่งเทซูหลงรักนางเอก แต่นางเอกรักเทซูเหมือนพี่ชาย นางเอกกับเทซู อยู่กับท่านอาซึ่งเคยเป็นขันทีในวังมาก่อน

ตอนท้ายนางเอกได้แต่งกับลีซาน แต่อุปสรรรคเรื่องชนชั้นมีมากมาย ตอนจบนางเอกตายเพราะเป็นโรคร้ายในเรืองน่าจะเป็นมะเร็ง

-------------



ซินยุนบก ผมเพิ่งดูได้แค่3อาทิตย์ แต่พอดูได้แค่นี้ ก็อดคิดไม่ได้ว่า เรื่องลีซานกับซินยุนบก น่าจะเป็นเรื่องเดียวกัน เพียงแต่ทำออกมาคนละเวอร์ชั่น จาก2บริษัททีวีเกาหลีคู่แข่งกัน

ประวัติศาสตร์อาจจะเขียนไว้เพียงนิดเดียว แต่คนที่นำมาเขียนเป็นนิยายก็แต่งเติมไปตามความคิดและจินตนาการของแต่ละคนนไป

ลีซาน สร้างโดยบริษัท KBS ส่วนซินยุนบก สร้างโดยบริษัท SBS

ฉะนั้นมีความเป็นไปได้มาก ที่2บริษัทคู่แข่ง จะหยิบเอาพงศาวดารที่เขียนไว้เพียงนิดหน่อย มาแต่งเติมตามแบบฉบับของตน

เรื่องย่อ ซินยุนบก ใน3อาทิตย์ที่ผ่านมา ผมดูว่ามีความคล้ายกับลีซานมาก

พระราชาในเรื่องซินยุนบก มีเสด็จพ่อที่ถูกอดีตพระราชา(เสด็จปู่)สั่งลงโทษจนเสียชีวิต และในเรื่องจะเห็นได้ว่า พระอัยยิกาจะเป็นตัวร้ายที่สุดของเรื่อง

นางเอกชื่อซินยุนบกเป็นเด็กกำพร้า ชื่อเดิมนางเอกคือ ซอยุนยี พ่อแท้ๆนางเอกเคยเป็นช่างเขียน แต่ตายเพราะถูกใส่ร้าย นางเอกจึงมาอยู่กับพ่อบุญธรรม และมีพี่ชายบุญธรรมชื่อซินวานบก ที่หลงรักนางเอก

นางเอกต้องปลอมตัวเป็นชายเพื่อเข้าไปเรียนในโรงเรียนช่างศิลป์ นางเอกชอบเขียนรูปเชิงอนาจาร ชอบเขียนผู้หญิงสวยๆ

พระเอกเป็นอาจารย์นางเอก และเริ่มเรื่องก็เป็นคนเล่าเรื่องนี้ทั้งหมด โดยเริ่มเรื่องว่านางเอกกำลังจะตาย ซึ่งผมไม่รู้ว่าจะตายเพราะโรคร้ายแบบนางเอกเรื่องลีซานหรือเปล่า?

(นำเคอร์เวอร์วางที่รูป!)



ผมไม่อยากหาคำตอบให้แน่ชัด ผมไม่ต้องการไปค้นประวัติศาสตร์ว่า2เรื่องนี้คือเรื่องเดียวกันหรือไม่ เพราะผมชอบที่จะติดตามดูไปเรื่อยๆ ไม่ชอบรู้เรื่องล่วงหน้า

--------------------

หากจะเปรียบเทียบความคล้ายของเรื่องลีซานกับซินยุนบก ผมคิดว่าเปรียบเทียบได้ดังนี้

1. พระราชาในซินยุนบกมีประวัติเสียเสด็จพ่อไปเพราะถูกอดีตพระราชาซึ่่งคือเสด็จปู่สั่งลงโทษ และมีพระหมื่นปีเป็นตัวใส่ร้าย เหมือนกับลีซานเปี๊ยบ

2. นางเอกก็เป็นช่างศิลป์เหมือนกันทั้ง2เรื่อง และกำพร้าพ่อแม่เหมือนกันอีก

----------

เปรียบเทียบตัวละครของลีซาน กับ ซินยุนบก

เสด็จปู่ของลีซาน = เสด็จปู่ของพระราชาในซินยุนบก = พระเจ้ายองโจในประวัติศาสตร์

พระราชาในซินยุนบก = ลีซาน = พระเจ้าจองโจ

นางเอกลีซาน ซอซงยอน = นางเอกซินยุนบก (ชื่อเดิม ซอยุนอา)

ปาร์คเทซู พี่ชายบุญธรรมนางเอกลีซาน = ซินยอนบก พี่ชายบุญธรรมของนางเอกซินยุนบก

ช่างเขียนลี(พี่น้องครับ) อาจารย์นางเอกลีซาน = ทังวอน พระเอกในซินยุนบก(คิมฮงโด)

พระหมื่นปีในลีซาน = พระอัยยิกาในซินยุนบก

ท่านอาขันทีของนางเอกลีซาน = พ่อบุญธรรมของนางเอกซินยุนบก

---------------------




ในเรื่องลีซาน ช่างเขียนลี อาจารย์นางเอกซอซงยอน ชอบวาดรูปโป๊ โดยมีนางเอกช่วยลงสี แต่ในเรื่องซินยุนบก นางเอกซินยุนบกชอบวาดรูปเชิงศิลป์เสียเองเลย แต่คนอื่นว่าเป็นรูปอนาจาร

หากในตอนหลังนางเอกซินยุนบก ต้องแต่งงานกับพระราชาล่ะก็ ชัดเลยครับ เหมือนกันมาก

และถ้าหากนางเอกซินยุนบก ตายเพราะโรคร้ายเหมือนนางเอกลีซาน ก็ชัดเลยครับ ว่าน่าจะลอกกันไปลอกกันมา

---------------------

ผมลองเสริ์ชในอินเตอร์เน็ตเล่นๆ ก็เห็นมีกระทู้ในพันทิปเหมือนกัน ที่วิจารณ์ว่า2เรื่องนี้เป็นเรื่องเดียวกัน

สุดท้ายขอฝากให้ใครทีไม่เคยดูซินยุนบก ก็ควรจะได้ดูนะครับ สนุกมาก น่าจะสนุกและมันส์ไม่แพ้ลีซานเลยครับ



.
ซินยุนบุก ในประวัติศาตร์ , ลีซานหรือ พระเจ้าจองโจ ในประวัติศาตร์

.
อ่านเรื่องลีซานตามประวัติศาตร์จากเว็บอื่น และพบกับตัวละครทุกตัวในลีซาน

.
.

23 ความคิดเห็น:

  1. เป็นที่แน่นอนแล้วว่า พระราชาในซินยุนบกก็คือลีซานนั่นเอง เพราะวันนี้ในซีรีย์ที่กำลังออกอากาศที่ช่อง3ได้มีการเอ่ยชื่อพระราชาในสมัยตอนเป็นองค์ชาย

    ซึ่งพระราชาซินยุนบกก็คือ'องค์ชายลีซาน'นั่นเองครับ

    ตอบลบ
  2. รูปสุดท้ายคุ้นๆ มาตั้งนาน เพิ่งนึกขึ้นได้ ที่บ้านพี่สาวก็มีอ่ะค่ะ
    แปะอยู่ที่ข้างฝาผนัง สงสัยมาตั้งน๊าน..นาน มานรูปอะไรกัน

    ..ที่แท้ก็มาจากเรื่องนี้นี่เอง..

    สงสัยเหมือนจขกท.เลยค่ะ

    ตอบลบ
  3. ตอบคุณpp คือเท่าที่ไปลองหาข้อมูลดู ซินยุนบก มีตัวตนจริงในประวัติศาตร์ครับ

    คิดว่ารูปที่พี่สาวชองคุณมีก็น่าจะเป็นรูปที่มีอยู่จริงในประวัติศาตร์

    ตอบลบ
  4. อย่างนี้เค้าเรียก คนละเรื่องเดียวกัน ใช่รึเปล่าค่ะ

    ตอบลบ
  5. ใช่ครับ คนละเรื่องเดียวกันจริงๆ

    แถมในซินยุนบก ก็มี 'ฮงกุกยอง' เหมือนกัน

    ฮงกุกยอง ในเรื่องลีซานเป็นกุนซือของลีซาน

    ตอบลบ
  6. ไม่ระบุชื่อ18 พฤศจิกายน, 2552 00:08

    ขอแสดงความเห็นนะ เพราะค้นมาพอควร เนื่องจากชอบเรื่องซินยุนบก ทั้งสองเรื่องเกิดในสมัยของลีซานทั้งสองเรื่อง แต่เรื่องลีซานเน้นตัวลีซานเดินเรื่อง และสนม ซอซงยอน ก็เป็นสนมจริงๆ ซึ่งเป็นช่างเขียนหญิงเล็กๆ ในสำนักศิลป์เท่านั้นแต่ไม่ใช่ช่างเขียนส่วนพระองค์ และตายตนจบ

    ตอบลบ
  7. ไม่ระบุชื่อ18 พฤศจิกายน, 2552 00:13

    แต่ซินยุนบกนั้น ตามประวัติศาสตร์ เป็นจิตกรเอก สมัยโซซอน นามแฝง "เฮวอน" โดยบันทึกในประวัติศาสตร์ว่าเป็นชาย แต่ว่ามีข่าวลือว่าอาจเป็นผู้หญิงไม่ใช่ผู้ชาย เพราะว่าภาพวาดของเฮวอนมักเป็นหญิงซึ่งวาดออกมาได้เข้าถึงอารมณ์ของผู้หญิงซึ่งผู้ชายไม่น่าจะวาดออกมาได้เช่นนี้ โดยภาพเขียนของเฮวอนต้องมีนางโลม(เหมือนในละคร) คนนี้ทุกงาน

    ตอบลบ
  8. ไม่ระบุชื่อ18 พฤศจิกายน, 2552 00:15

    และในประวัติศาสตร์ยังบันทึกอีกว่าเฮวอนได้ออกจากสำนักศิลป์ในตอนหลัง และไม่เคยมีภาพเขียนอีกเลย ซึ่งหากดูจากในละครไปเรื่อยๆ จะพบว่าตอนหลังซินยุนบกออกจากสำนักศิลป์ด้วยความช่วยเหลือของพระราชาให้พ้นผิดในข้อกล่าวหาว่าเป็นผู้หญิงที่ทางฝ่ายพระพันปี (พระอัยยิกา) จับผิดอยู่ โดยพระราชาทรงยืนยันว่าตรวจสอบแล้วว่าเป็นชายแน่นอน และให้ซินยุนบกออกจากสำนักศิลป์ไป

    ตอบลบ
  9. ไม่ระบุชื่อ18 พฤศจิกายน, 2552 00:17

    เนื่องจากหากซินยุนบกไม่ออกจากสำนักศิลป์อาจถูกเล่นงานเรื่องนี้แล้วจะโดนโทษหลอกลวงเบื้องสูงและราชวงศ์ถึงประหารได้ เป็นการช่วยให้รอดชีวิตนั้นเองจากพระราชา ดังนั้นจึงสอดคล้องกับที่บันทึกว่าเป็นชาย แต่มีข่าวลือว่าเป็นหญิงนั่นเอง

    ตอบลบ
  10. ขอบคุณครับสำหรับข้อมูล คุณไม่ระบุชื่อ
    เพราะจะเป็นประโยชน์แก่คนที่สงสัยเหมือนผม

    ส่วนผมตั้งใจจะไม่หาข้อมูลให้มาก เพราะนั่่นไม่ใช่เจตนาที่เขียนบทความนี้ครับ

    เพราะผมกลัวดูละครไม่สนุกถ้าหากรู้เรื่องมากไป ผมชอบที่จะตามดูทางช่อง3ไปเรื่อยๆ

    เพราะชอบเสียงพากย์ของช่อง3ที่เพราะกว่าวีซีดี

    ถึงตอนนี้ผมก็หายสงสัยแล้วว่า คนละเรื่องเดียวกันจริง

    thk.

    ตอบลบ
  11. ไม่ระบุชื่อ23 พฤศจิกายน, 2552 12:21

    ได้ความรู้ดีครับ ขอบคุณทุกท่านที่ค้นหามาให้อ่าน

    ตอบลบ
  12. ไม่ระบุชื่อ23 พฤศจิกายน, 2552 16:40

    ผมก็สงสัยเช่นกันครับ ถ้าดูจากการเดินเรื่องช่วงนี้ พระเจ้ายองโจสิ้นพระชนม์ไปแล้ว องค์ชายลีซานถูกสถาปนาจากรัชทายาทขึ้นเป็นพระเจ้าจองโจ ในเรื่องไม่เห็นมีการพูดถึงพระพันปีเฮคยอง กับพระมเหสีโยอึยเลยแม้แต่น้อย โดยในเรื่องลีซานคนที่ช่วยเหลือพระเจ้าจองโจอยู่ตลอดจะเป็นปาร์คเทซู ฮงกุกยอง และซองซงยอน ทำไมเรื่องนี้ แขน ขา ของพระเจ้าจองโจดันเป็นซินยุนบกกับคิมฮงโดไปได้ ส่วนไต้เท้าหัวหน้าช่างเขียนในศูนย์ศิลปะในเรื่องลีซานก็เป็นคนดีน๊ะ ไม่เห็นเคยพูดถึงซินยุนบกกับคิมฮงโดเลยนี่นา พระอัยยิกาในเรื่องนี้ในเรื่องลีซานเรียกเป็นพระหมื่นปี เหมือนมันขัดๆกันยังไงอยู่ เพราะ2เรื่องนี้มันเกิดในช่วงเวลาเดียวกันพอดีเลย

    ตอบลบ
  13. ตอบคุณไม่ระบุชื่อด้านบน

    คือเป็นการหยิบเอาประวัติศาตร์มาแต่งเติมให้เป็นนิยาย ก็มักจะออกมาในรูปแบบนี้ครับ

    เรื่องก่อนๆก็เคยมีทำนองนี้มาแล้ว เช่นเรือง "แดจังกึม" เช่นในตอนแรก พ่อของแดจึงกึมต้องนำยาพิษไปประหารอดีตพระมเหสี ที่ต้องโทษประหารเพราะแอบไปพบองค์ชายลูกของตนเอง

    แล้วอดีตพระมเหสีในแดจึงกึมที่ถูกประหารนั้นก็สาปแช่งคนที่มีส่วนในการประหารตัวเอง ซึ่งถ้าเราดูแดจังกึม ก็จะรู้สึกว่า อดีตพระมเหสีคนนี้ค่อนข้างเคียดแค้นทุกคนที่มีส่วนในการมาประหารตัวเอง รวมทั้งพ่อของจังกึม ก็ด้วย

    แต่!!?

    อดีตพระมเหสีเรื่องแดจังกึมที่โดนประหารในตอนต้นเรื่องนั้น กลับกลายเป็นพระมเหสีในประวัติศาสตร์จริงๆ

    และก็เป็นพระมเหสีองค์เดียวกับพระมเหสีที่เป็นนางเอกในเรื่องคิมซูซอนครับ

    นั่นคือพระมเหสียุน นั่นเองครับ

    แต่พระมเหสียุน นางเอกคิซูซอน กลับไม่อาฆาตใครเลยที่มาประหารตัวเอง ยอมตายอย่างเสียสละเพื่อลูก

    แต่อดีตพระมเหสียุน ในเรื่องแดจังกึม กลับตายด้วยความอาฆาคแค้นครับ

    ตอบลบ
  14. ไม่ระบุชื่อ25 พฤศจิกายน, 2552 18:27

    ตอบคุณใหม่ เมืองเอก

    ผมก็คิดว่ามีการแต่งเติมเสริมต่อเรื่องราวเข้าไปเพิ่มเติมนั่นละครับ ในเรื่องคิมชูซอนพระมเหสียุนโซวาถูกปลดป็นสามัญชนและถูกประทานยาพิษจากพระเจ้าซองจง เมื่อสิ้นพระเจ้าซองจงต่อมาองค์ชายวอนจือก็ถูกสถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้ายอนซัน อดีตพระมเหสียุนยอมตายแต่โดยดีเพื่อปกป้องลูกชายของตนเอง ก็แตกต่างจากเรื่องแดจังกึมตอนต้นเรื่องจริงๆ ต่อมาพระเจ้ายอนซันรู้ความจริงเกี่ยวกับพระมารดาของตนเองจึงสั่งลงโทษผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อม ในเรื่องแดจังกึมพระองค์เป็นคนที่โหดเหี้ยม ทารุณ เอาแต่ใจตนเอง และหลงไหลแต่สุรา นารี ไม่สนใจในราชกิจ แต่ในเรื่องคิมชูซอนพระองค์ทำไปล้วนมีเหตุผลเพื่อปรามเหล่าขุนนางให้ยำเกรง เพื่อลบปมด้อยของการมีแม่ที่ถูกปลด และเพื่อล้างมลทินให้อดีตพระมเหสียุนให้กลับมาดำรงตำแหน่งเดิมของนาง ก็จะพบว่าแตกต่างกัน

    ในเรื่องคิมชูซอนตอนที่องค์ชายวอนจือถูกสถาปนาเป็นพระเจ้ายอนซัน พระพันปียินซูก็ทรงถูกสถาปนาขึ้นเป็นพระอัยยิกายินซู(เป็นอดีตพระพันปีที่ถูกกล่าวถึงในเรื่องแดจังกึมตอนต้นว่าเป็นผู้ริบรอนอำนาจของคนสกุลแช จนซังกุงสูงสุดของห้องเครื่องสมัยนั้นก็เป็นคนสกุลแชสั่งให้แชซังกุงใส่เฉาอูลงไปในเครื่องเสวยของพระพันปียินซูเพื่อหวังปลงพระชนม์ เนื่องจากเฉาอูมีผลต่อคนที่รับเข้าไปมากๆ แล้วจะทำให้เลือดลมติดขัด) จะเห็นว่าในเรื่องคิมชูซอนพระพันปียินซูมีร่างกายผอมบาง ไม่อ้วนเลย ซึ่งไม่ตรงกับการเอ่ยอ้างในเรื่องแดจังกึมที่ว่าพระนางเป็นโรคอ้วนพีแต่อย่างใด

    ตอบลบ
  15. ไม่ระบุชื่อ25 พฤศจิกายน, 2552 18:34

    พระเจ้ายอนซันมีแม่เลี้ยงคือพระมเหสียุนซุกยอน เป็นพระมเหสีของพระเจ้าซองจงต่อจากอดีตพระมเหสียุนโซวา และถูกยกฐานะขึ้นเป็นพระพันปีซุกยอนในรัชกาลพระเจ้ายอนซัน หรือพระนางคือพระมารดาแท้ๆของพระเจ้าจุงจงในรัชกาลต่อมาหลังพระเจ้ายอนซันถูกโค่นอำนาจ องค์ชายซินชองถูกสถาปนาให้เป็นพระเจ้าจุงจงในรัชกาลในเรื่องแดจังกึม ดูจากเรื่องคิมชูซอน พระพันปีซุกยอนเป็นคนสุภาพเรียบร้อย ใจเย็น มีเหตุผล สุขุม แตกต่างจากเรื่องแดจังกึมที่เป็นคนเอาแต่ใจ เชื่อคนง่าย

    ตอบลบ
  16. ไม่ระบุชื่อ25 พฤศจิกายน, 2552 18:35

    พูดถึงเรื่องแดจังกึมแล้วก็ขอติชมนิดนึงนะครับ หนังเรื่องนี้เป็นหนังเกาหลีที่ผมชอบมากๆ แสดงเป็นธรรมชาติ ฉาก วิว สวย การเดินเรื่องน่าสนใจตื่นเต้น มีให้ลุ้นตลอดว่าจะแข่งอะไร นางเอกจะเป็นยังไงต่อไป เหมือนได้ติดตามชีวิตจริงของคนๆนึง หรือคนกลุ่มนึง ถึงจะมีการแต่งแต้มสีสันบ้างเช่น การไล่แถวตอนนั่งในห้องเรียนในห้องเครื่อง หรือสำนักหมอหลวงที่เริ่มนั่งจากแถวหลังมาแถวหน้า แต่ก็ช่วยเสริมให้บรรยากาศโดยรวมทั้งฉากสวยงามมากขึ้น ไม่ได้ทำให้เกิดแง่ลบแต่อย่างใด แต่ก็มีจุดที่ต้องติหลายจุดเช่นกันครับ เนื่องจากใช้ตัวแสดงซ้ำบทมากเกินไป หรือผู้กำกับอาจคิดว่าผู้ชมคงจับผิดไม่ได้มั๊ง เช่น
    1.ซูฮอนที่เป็นลูกสาวจังกึมกับไต้เท้ามินจุงโฮ ตอนเริ่มเรื่องที่จังกึมเข้ามาเป็นนางกำนัลเด็กใหม่ๆก็มีเด็กคนนี้ในฉากด้วย แล้วผ่านไปหลายปีจนจังกึมโตแล้วมีการรับนางกำนัลเด็กรุ่นใหม่ก็มีเด็กคนนี้อยู่ในฉากอีก
    2.คนขายไก่ที่ร้านขายไก่ตอนคังดึ๊กคูพาจังกึมออกไปตระเวนหาซื้อไก่ทองคนขายคนนี้แสดงเป็นคนขายไก่ที่สีทองแต่ไม่ใช่ไก่ทอง แล้วตอนหลังก็เล่นเป็นคนขายเป็ดกำมะถันให้กับจังกึมตอนออกไปซื้อเป็ดตามคำสั่งของฮันซังกุง
    3.หมอดูหญิงที่ทำนายให้คังดึ๊กคูฟังว่าเครื่องปรุงรสในวังเปลี่ยนรสชาดเป็นเพราะความแค้นของวิญญาณอดีตพระมเหสียุน จนคังดึ๊กคูต้องเอากระโปรงผู้หญิงไปคลุมโอ่งเครื่องปรุงแล้วกราบไหว้ ต่อมาแสดงเป็นซังกุงสูงสุดของห้องเครื่องที่รับตำแหน่งต่อจากจังกึม โดยมอบตำแหน่งซังกุงสูงสุดให้แก่มินซังกุงในเวลาต่อมา เป็นต้น

    ตอบลบ
  17. ไม่ระบุชื่อ25 พฤศจิกายน, 2552 18:40

    ในเรื่องลีซานมีมุกตลกตอนนึง ตอนที่พระมเหสีโยอึยสั่งให้ซังกุงคนสนิทของตน กับซังกุงคนสนิทของพระสนมซองซงยอน ไปที่ห้องเครื่องเพื่อตรวจดูเครื่องเสวยบำรุงพระครรภ์ของพระสนมซองซงยอน แล้ว 2 คนนี้ไปยืนบ่นพึมพำกัน 2 คน ว่าข้ารู้สึกคุ้นๆกับที่นี่เหมือนชาติที่แล้วเกิดมาอยู่ในห้องเครื่อง ผมงี้นึกฮาเลย ก็ใช่นะสิก็ทั้งคู่แสดงเป็นมินซังกุงกับยองโนในเรื่องแดจังกึม ก็ทั้งคู่เป็นนางในทำงานอยู่ในห้องเครื่อง ทำให้หวลนึกถึงเรื่องแดจังกึมขึ้นมาอีกครั้ง ผู้กำกับนี่ร้ายจริงๆ

    แหะๆๆๆ จะแค่เปรียบเทียบความแตกต่างให้ฟัง ว่าจะพูดนิดเดียว ล่อซ๊ะยาวเลย จริงๆแล้วเรื่องราวมันเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไม่ใช่ต่างค่ายต่างสร้าง ต่างแต่งเติม เพราะมันจะทำให้ประวัติศาสตร์ถูกบิดเบือนความจริงไป

    อย่าเอาอะไรกับผมมากนะครับ อ่านเล่นๆก็แล้วกันนะครับ

    ตอบลบ
  18. ไม่ระบุชื่อ25 พฤศจิกายน, 2552 20:09

    อีกนิดละกัน ตกลงกษฎโชกวางโจในเรื่องแดจังกึมนี้น่าจะคือโชชิกคยอมในคิมชูซอนหรือเปล่า

    ตอบลบ
  19. ตอบคุณไม่ระบุชื่อข้างบน

    มุขในเรื่องลีซานที่คุณยกมา เรื่องของมินซังกุงกับยองโน ผมก็ฮาเหมือนกันครับ ผมลองถามแม่ผมว่าฮามั้ย แต่แม่ผมลืมไปเรื่องแดจังกึมไปละ เลยไม่ฮาด้วย

    ส้วนเรื่องต้วแสดงมาซ้ำกันอีก ตอนดูแดจังกึมผมไม่ได้สังเกตครับ เพราะยังเป็นละครเกาหลีโบราณเรื่องแรกที่ผมดู

    เลยยังจำหน้าตัวประกอบของละครเกาหลีไม่ค่อยได้นัก ยังไม่คุ้น!

    แต่เรื่องตัวประกอบเปลี่ยนไปเล่นเป็นหลายตัวในเรื่องเดียวกัน อันนี้ผมชินมาจากหนังจีนแล้วครับ ชินมาตั้งแต่เด็ก!

    เช่นเสี่ยวเอ้อคนเดียวกันนี้ ก็มาเป็นทหารบ้าง เป็นโจรโดนฆ่าตายบ้าง ก็ไอ้คนหน้าเดิมทั้งนั้น กลับชาติมาเกิดได้เร็วมากๆ (ฮา!)

    จะเห็นตัวอย่างได้ดีที่สุดก็คือ เปาบุ้นจิ้น เช่นราชบุตรเขยตายไปแล้ว ก็ยังมากลับมาเล่นเป็นตัวละครอื่นๆได้อีกในตอนอื่นๆของเปาบุ้นจิ้นครับ

    ส่วนคำถามเกี่ยวกับโชชิกคยอน อันนี้ผมไม่แน่ใจครับ เพราะตอนดูแดจังกึม ผมยังไม่ค่อยรู้เรื่องรายละเอียดเท่าใดนัก

    ตอบลบ
  20. ส่วนเรื่องกบฏโชกวางโจ ก็มีความเป็นไปได้ที่จะเป็นคนเดียวกัน แต่ผมขอยอมรับว่า ชักจะลืมๆรายละเอียดทั้ง2เรื่องไปแล้ว

    แต่น่าจะใช่ เพราะโชชิกคยอนล้มพระราชายอนซันไม่สำเร็จ เมื่อไม่สำเร็จก็จะต้องถูกเรียกว่ากบฏ แถมยังมีแซ่โชเหมือนกันอีก

    แต่โชกวางโจอาจจะไม่ใช่ขันทีเหมือนโชชิกคยอนก็ได้นะครับ

    ก็เรื่องมันแต่งกันคนละครั้งนี่นะ


    ขอบคุณครับสำหรับการแลกเปลี่ยนความเห็น

    ^.^

    ตอบลบ
  21. ไม่ระบุชื่อ01 ตุลาคม, 2555 21:36

    โชชิกคยอม ไม่ใช่โชกวางโจ เเน่นอนค่ะ
    เพราะ โชชิกคยอม เป็นขันที ในยุคพระเจ้าซองจง ยุคก่อนหน้าพระเจ้ายอนซัน ซึ่งครองราชย์ก่อนพระเจ้าจุนจงซะอีก
    ส่วนโชกวางโจ เป็นบัณฑิต เเละเป็นขุนนางหัวใหม่ ที่เข้ารับราชการสมัยพระเจ้าจุนจง ถัดจากสมัยพระเจ้าซองจง มา 2 สมัย ( ลูกชายพระมเหสียุนอีกองค์ ที่ขึ้นมาแทน หลังมเหสียุนโซวาโดนประหารด้วยยาพิษ + พระเจ้าซองจง )
    ซึ่งก็ขัดแย้งกับขุนนางหัวเก่าที่มีอิทธิพลครอบงำพระเจ้าจุนจง จนถูกใส่ความว่าเป็นกบฏโชกวางโจ จนต้องโทษถูกประหารไป
    อยากรู้เรื่อง โชกวางโจ จะจะ ดูเรื่อง ศึกชิงบัลลังก์จอมนาง เรื่องนี้กล่าวถึง พระมเหสีองค์ที่ 3 ในพระเจ้าจุนจง ซึ่งพระนางมีบทบาททางการเมืองมาก สมัยเดียวกับแดจังกึมแหละ เรื่องของพระมเหสีจากสกุลยุนเล็ก
    ก็มเหสีที่ช่วยแดจังกึมไงคะ จำได้มั้ย
    ในเรื่อง พระนาง ก้าวขึ้นในตำแหน่งมเหสี ก็เพราะ พี่ชายของมเหสียุน คนก่อนคลอดองค์ชายน้อย แล้วสวรรคต
    ได้ดึงพระนางเข้ามาเพื่อรับตำแหน่งมเหสีองค์ใหม่ เพื่อ ปกป้อง องค์ชายน้อยโดยตรง แบบกะให้เป็นมเหสีหุ่นเชิดว่างั้นเถอะ แต่พระนางมีความเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว ในการที่จะรั้งตำแหน่งมเหสีได้นานที่สุด จึงได้สมคบคิดกับ คนสนิท คือ ชองนางจอง ( เมียน้อยพี่ชายคนรองของมเหสียุนองค์ที่ 3 ) รอแล้ว รอเล่าว่าจะได้ลูกชายสักคน ซึ่งในเรื่องพระนางต้องรอถึง 3 ท้อง เพราะ ตังท้องพระธิดาถึง 3 องค์ กว่าจะมามีองค์ชายน้อย เพื่อค้ำบัลลังก์ของพระนาง ในเรื่องแดจังกึม เลือกที่พูดเรถึงจังกึมเป็นตัวเอก เรื่องบัลลังก์จอมนาง กล่าวถึงมเหสีคนนี้เป็นตัวเอก
    จากที่ดูแดจังกึม มเหสีคนนี้ จะใช้ให้จังกึมรักษาองค์ชายรัชทายาทแล้วทำให้ตาย เพื่อที่ลูกชายพระนางจะได้ขึ้นครองราชย์เป็นยุวกษัตริย์แล้วพระนางก็จะเป็นพระพันปี ที่ว่าราชการหลังม่าน ไงคะ ซึ่งพระนางก็ได้สมหวังอีตอน
    หลังจากพระเจ้าจุนจงสวรรคต แล้วองค์ชายรัชทายาทขึ้นเป็นพระเจ้าอินจง พระเจ้าอิ นจง มีบทบาทสำคัญในการล้างมลทินให้ขุนนางตงฉินในสมัยพระเจ้าจุนจงที่ถูกใส่ร้าย รวมถึงโชกวางโจด้วย....ก็รับการล้างมลทินในรัชสมัยของพระเจาอินจง รวมถึง เรียกขุนนางที่ตงฉิน สายบัณฑิตแบบโชกวางโจ มารับราชการอีกครั้ง พระเจ้าอินจงอายุสั้น ครองราชย์ได้เพียง ราวๆ 2 ปี ก็สวรรคตด้วยโรคประจำตัว แล้วก็ถึงคราองค์ชายน้อยขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเมียงจง โดยมีพระพันปีว่าราชการลหลังม่าน
    ถ้าใครดูแดจังกึม จะเห็นพระเอก มิ นจุงโฮ แลดูจะเข้าข้าง พวกโชกวางโจ แต่ไม่สามารถทำอะไรได้เพราะการเมืองช่วงนั้นแรง มเหสียุนองค์ที่สามก็มีท่าที สนับสนุนโชกวางโจเช่นกัน เพราะพระนางก็ต้องการขั้วการเมืองที่สนับสนุนพระนางด้วย
    แต่ว่า การเมืองตอนนั้นเข้มเครียดมาก นางไม่สามารถช่วยโชกวางโจได้ ประกอบกับบัลลังก์ของพระนางก็ง่อนแง่น อาจถูกปลดจากตำแน่งมเหสีก็ได้ ข้อหาเป็นกบฏร่วมกับโชกวางโจ ตอนนั้นพระนางยังไม่มีโอรสค่ะ จะถูกเหล่าสนมและพรรคพวกขุนนางรวมหัวกันใส่ความหาเรื่องปลดจากตำแหน่งเมื่อไรก็ได้
    *** ข้อสังเกต ตำแหน่งมเหสี ช่วงนั้น มักจะมาจากสายสกุลยุน อาจเป็นเพราะ มเหสีองค์ก่อนๆ ก็มาจากสกุลยุน
    เมื่อขึ้นมาเป็นพระพันปีพระราชมารดาของพระราชา ก็มีสิทธิ์มีเสียงเลือก สะใภ้คู่บัลลังก์ให้ลูกชาย และขุนนางก็
    สนับสนุนด้วย มเหสีจึงเป็นตำแหน่งที่พระราชาไม่ค่อยจะได้คนรักของตนเองมาเคียงคู่ แต่มเหสีเป็นเรื่องของการเมืองและอิทธิพลในราชสำนักทั้งฝ่ายใน และ พวกขุนนางโดยแท้เชียว ...ดังนั้นใครมาเป็นมเหสี ความกดดันย่อมสูงมากๆ
    เรื่องศึกชิงบัลลังก์จอมนางสนุกมากนะคะ ดูซิ มันส์หยด.................


    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ศึกชิงบัลลังก์จอมนาง ผมได้ดูหน่อยตอนช่อง3 ฉายตอนบ่าย ก็คิดว่าสนุกมาก แต่เสียดายเวลาไม่ค่อยอำนวยให้ดูครับ

      ลบ
  22. แต่จริงๆตามประวัติศาสตร์เกาหลี ซินยุนบก เป็นผู้ชานนะ

    ตอบลบ

ถ้าแสดงความเห็นตรงช่องนี้ผมจะได้อ่านทุกความเห็นครับ แต่ถ้าความเห็นไม่ขึ้นอาจเพราะระบบรอตรวจสแปม ต้องรอ1-2วัน / ใหม่ เมืองเอก kaeake@ymail.com


ผู้ติดตาม