วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ประชาชนที่เห็นแก่ตัวจะชื่นชอบ ประชานิยม




รัฐบาลสวิต ฯ เสนอนโยบายประชานิยมแจกเงินให้ประชาชน

วันที่ 28 มกราคม 2559 เว็บไซต์มิเรอร์ เผยแผนการแก้ปัญหาความยากจนในสวิตเซอร์แลนด์ ที่ถูกเสนอโดยกลุ่มนักคิดที่รวบรวมรายชื่อประชาชนครบ 10,000 คน ได้ยื่นเสนอให้ รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์แจกเงินแก่ประชาชนทุกคน สัปดาห์ละ 625 ฟรังก์ (ประมาณ 21,000 บาท) โดยไม่จำเป็นว่าต้องเป็นผู้มีงานทำหรือไม่ทำงาน

ส่วนประชาชนที่ยังเป็นเด็ก จะได้สัปดาห์ละ 145 ฟรังก์ (ประมาณ 5,000 บาท) นโยบายดังกล่าวถูกเสนอยังรัฐบาลกลาง ซึ่งรัฐบาลได้อนุมัติการทำประชามติในวันที่ 5 มิถุนายนที่จะถึงนี้

ซึ่งประชามตินี้ ถูกเรียกว่า "ประชามติหลักประกันรายได้พื้นฐานของประชาชน"

แต่ผลประชามติของชาวสวิส ปรากฏว่า ชาวสวิสส่วนใหญ่ร้อยละ 77 โหวตไม่รับนโยบายนี้ และมีประชาชนเพียง 23 % เท่านั้นที่โหวตรับนโยบายประชานิยมนี้



เหตุเพราะ คนสวิสส่วนใหญ่เกรงว่า นโยบายนี้จะทำให้ประเทศแบกภาระผูกพันจนอาจเกิดความเสียหายตามมาในอนาคตได้

จากประชามติของชาวสวิสครั้งนี้ ทำให้เห็นได้ว่า ชาวสวิสเห็นแก่ชาติบ้านเมืองโดยรวมเป็นที่ตั้งมากกว่าผลประโยชน์ของตัวเอง

นี่แหละครับ ระบอบประชาธิปไตยในประเทศที่ประชาชนไม่เห็นแก่ตัว

---------------------------

เวเนซุเอล่าเงินเฟ้อหนัก เหตุเพราะในอดีตรัฐบาลมอมเมาประชานิยม

ผมเห็นข่าว มีชาวเวเนซูเอล่าอพยพหนีภัยอดอยากและเงินเฟ้อของประเทศตัวเองเข้าไปในเปรูแล้ว 5 แสนคน

เปรู ต้องแบกภาระหนักเลย

เวเนซูเอล่า มีเงินเฟ้อถึง 80,000 % แล้วเขาว่าสถานการณ์อาจหนักไปถึงเงินเฟ้อ 1 ล้าน %

พูดแบบนี้อาจนึกภาพไม่ออกว่า เงินเฟ้อล้านเปอร์เซนต์มันเป็นยังไง ?

คิดง่าย ๆ ก็คือ จากคนมีเงิน 1 ล้านบาท แล้วอยู่ ๆ เงิน 1 ล้านบาทเหลือมูลค่าแค่บาทเดียว

เช่น ไข่ไก่เดิมฟองละ 5 บาท พอเงินเฟ้อล้านเปอร์เซนต์ ก็ต้องใช้เงิน 5 ล้านบาทซื้อ

ทีนี้เงินล้านบาทมันมีปริมาณเยอะ ใครจะแบกเงิน 5 กระสอบไปซื้อไข่ 1 ฟองจริงมะ

ทำให้รัฐบาลในประเทศที่เจอวิกฤติเงินเฟ้อขั้นรุนแรง อาจต้องนำแบงค์พันมาพิมพ์ทับเป็นฉบับละ 1 ล้าน หรือต้องยกเลิกธนบัตรเก่ เพื่อพิมพ์แบงค์ 1 ล้านใหม่ขึ้นมาทดแทน ซึ่งเคยเกิดขึ้นแล้วในประเทศซิมบับเว


ธนบัตรฉบับละ 1 ล้านดอลล่าห์ซิมบับเว ภาพโดย รอยเตอร์

ฉะนั้น เราต้องอย่าให้นักการเมืองหรือจะพวกเผด็จการก็ตาม ใช้เงินชาติ งบประมาณแผ่นดินมาโปรยทำประชานิยม หรือแจกเงินฟรีเยอะ ๆ บ่อย ๆ ล่ะ

ไม่งั้นไทยอาจจะเหมือนเวเนซูเอล่าได้

อย่าคิดว่าเป็นไปไม่ได้

วิกฤติต้มยำกุ้งไทยก็เคยเกิดมาแล้ว โดยก่อนหน้านั้น 2 ปีเคยมี วิกฤติการณ์เม็กซิโก เป็นตัวอย่างวิกฤติเศรษฐกิจก่อนไทย

แต่ตอนนั้นคนไทยก็ไม่มีใครคิดว่า ไทยเราจะเป็นแบบเม็กซิโกได้ แล้วเป็นไงล่ะ?

ฉะนั้น เราป้องกันได้ ด้วยการอย่าสนับสนุนนโยบายประชานิยมของทุกรัฐบาล

ถ้าคิดจะใช้ประชานิยมควรใช้ในเวลาจำเป็นจริง ๆ เท่านั้น และต้องเป็นแค่มาตรการระยะสั้น ๆ  และใช้เงินไม่มาก เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ตกต่ำเป็นบางครั้ง

ไม่ใช่ปล่อยให้รัฐบาลใช้นโยบายประชานิยมยาวแบบไร้กำหนดสิ้นสุด เหมือนที่รัฐบาล คสช. กำลังทำในนโยบายบัตรสวัสดิการประชาชน ที่ห่วยสิ้นดี

นโยบายเลวพอกัน

บัญชาคามินตูน

ตัวอย่างรัฐสวัสดิการของประชาชนที่ไม่เห็นแก่ตัว

ในปีหน้า 2019 ญี่ปุ่นจะขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 8 % เป็น 10 %

นโยบายขึ้น vat นี้เป็นของรัฐบาลนายชินโสะ อาเบะ

คนญี่ปุ่นรู้ทั้งรู้ว่า ถ้าเลือกพรรคของนายชินโสะกลับมาเป็นรัฐบาลอีก ก็ต้องเจอการขึ้นภาษีแวตแน่นอน

แต่คนญี่ปุ่นเขาก็ยินดีที่จะเลือกนายอาเบะ กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป

เพราะนายอาเบะ บอกว่า vat ที่ขึ้นอีก 2 % นั้น รายได้ที่รัฐได้เพิ่มขึ้น จะนำไปใช้สนับสนุนรัฐสวัสดิการเพื่อ สังคมผู้สูงอายุ เป็นหลัก ซึ่งประชาชนทุกคนจะได้รับสวัสดิการนี้เช่นเดียวกันทุกฐานะทุกชนชั้น

นี่แหละครับ ตัวอย่างรัฐบาลของประเทศที่เจริญแล้ว และประชาชนที่ไม่เห็นแก่ตัวมากกว่าประเทศชาติ

----------

ในขณะที่รัฐบาล คสช. แจกเงินเฉพาะคนบางกลุ่มยังไม่พอ แต่ยังจะ ยกเว้นภาษีแวตให้คนพวกนี้อีก

แปลง่าย ๆ คือ ได้เงินแจกฟรี แถมยังไม่ต้องเสียภาษีแวตอีก ซึ่งเป็นการบ่มเพาะนิสัยเอาเปรียบประเทศชาติมากขึ้น ๆ

โคตรประชานิยมไหมล่ะมึง

--------

ที่จริงโลกนี้ไม่มีอะไรฟรี ๆ จริง ๆ หรอก

เช่น เงินประชานิยมที่แจกไป ต้องแลกมาด้วย โรงพยาบาลรัฐที่มีไม่เพียงพอ ยาคุณภาพดี ๆ หลายตัว ไม่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ หมอพยาบาลต้องทำงานโอเวอร์โหลดแต่รายได้น้อยจนหนีไป อยู่ รพ.เอกชน จนหมอ รพ รัฐขาดแคลน รถเมล์บริการห่วย ๆ รถไฟชั้น 3 แออัดซกมก ทหารชายแดนใต้ขาดแคลนเสื้อเกราะกันกระสุน ฯลฯ




ผู้ติดตาม