วันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ข้าวเปล่าไทย แพงกว่าข้าวเปล่าญี่ปุ่น





เกริ่น

เรื่องอาหารจานเดียวแพงทั้งแผ่นดิน  มันมีจุดเริ่มต้นแพงแบบสุดๆจริงๆ ก็เริ่มในยุครัฐบาลประชาธิปัตย์ ก็คือ เรื่องน้ำมันปาล์มแพง แถมหาซื้อไม่ได้ ช่วงนั้นผมจำได้ดี ผมเดินตลาดนัด กับข้าวถุงละ20บาท ถือโอกาสขึ้นเป็น 25 บาท ก๋วยเตี๋ยวจาก 30 บาท ขึ้นเป็น 35 บาท เป็นต้น

แต่เมื่อน้ำมันปาล์มราคาลง แต่น้ำมันถั่วเหลืองก็ขึ้นแทน อาหารจานเดียว อาหารปรุงสำเร็จบ้านนี้เมืองนี้ ขึ้นแล้วไม่มีลง ขึ้นทีละ5บาท แถมปริมาณ1จานก็ทานไม่อิ่ม!

แล้วจะเรียกว่า อาหารจานเดียวไปทำไมวะนี่??

แถมยุครัฐบาลปู อาหารจานเดียวขึ้นไปถึงราคา 35 40 45 50 ไปแล้ว ผลพวงจากประชานิยมแบบโง่ ๆ นั่นแหละ

------------------

ข้าวเปล่าไทย แพงกว่าข้าวเปล่าญี่ปุ่น

ผมเคยเขียนเรื่อง ไข่ไทยแพงกว่าไข่ญี่ปุ่น มาแล้วในยุครัฐบาลประชาธิปัตย์เมื่อปีที่แล้ว ใครไม่ได้อ่าน ลองไปอ่านดูนะครับ

ก็เหมือนกับบทความไข่แพงฯ พอดีผมมีโอกาสได้ชมรายการเซย์ไฮ ของคุณติ๊ก กัญญารัตน์  เมื่อสักเดือนมีนาคมที่ผ่านมาเห็นจะได้ เป็นช่วงก่อนที่ค่าแรงในกรุงเทพฯ จะขึ้นเป็นวันละ 300 บาท

คุณติ๊ก พาไปเที่ยวตลาดอาหารทะเลสดในเมืองหนึ่งของญี่ปุ่น เขาจะมีกุ้ง หอย ปู ปลา นานาชนิด ให้ได้เลือกซื้อสดๆ ผู้ซื้อก็เพียงแต่เลือก จ่ายเงิน แล้วผู้ขายก็จะทำการปรุงอาหารทะเลสดๆ ให้ผู้ซื้อได้ทาน แต่ก่อนอื่น จะต้องไปซื้อข้าวเปล่ามาถ้วยนึงก่อน เพื่อให้อาหารทะเลที่ปรุงเสร็จแล้ว ก็นำมาราดข้าว

คุณติ๊กก็ไปซื้อข้าวเปล่า จากร้านขายข้าวเปล่าในตลาด ในราคาชามละ150เยน ปริมาณข้าวเต็มชามมากจนเกือบถึงขอบชาม แต่เป็นชามโฟม หากเราแปลงเงิน 150 เยน เป็นเงินบาท ก็จะราคาราวๆ 57 บาทต่อชาม

ชามโฟมใส่ข้าวเปล่าที่คุณติ๊กซื้อ ก็ขนาดพอๆ กับในรูปนี้แหล่ะ


หากเมื่อเราเทียบค่าแรงขั้นต่ำของคนญี่ปุ่น กับค่าแรงขั้นต่ำของคนกรุงเทพฯ เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา (ก่อนที่จะปรับเป็น300บาท)

ค่าแรงขั้นต่ำคนญี่ปุ่นในโตเกียวเฉลี่ย = 1,900 บาทต่อวัน ซื้อข้าวเปล่าชามโฟมขนาดใหญ่ ชามละราคา 57 บาท

ค่าแรงขั้นต่ำคนกรุงเทพฯ = 216 บาทต่อวัน ซื้อข้าวเปล่า 1 จาน ซึ่งมีปริมาณน้อยกว่าข้าวเปล่าญี่ปุ่น ราคาจานละหรือถุงละ 10บาท ถ้าเป็นข้าวเปล่าหอมมะลิอาจแพงถึงถุงละ 12-15 บาทด้วยซ้ำ

จากตัวเลขนี้ คุณผู้อ่านมองออกรึยังครับว่า คนไทยกินข้าวแพงกว่าคนญี่ปุ่นยังไง??

ถ้ามองไม่ออก ผมจะแสดงให้เห็นก็คือ

ค่าแรงญี่ปุ่น 1,900 บาท/วัน หาร ราคาข้าวเปล่าชามละ 57 บาท ซื้อได้  33 ชาม

ค่าแรงคนไทย 216 บาท/วัน หาร ราคาข้าวเปล่าถุงละ 12 บาท ซื้อได้  18 ถุง เท่านั้น


และอย่าลืมนะครับว่า ปกติแล้วข้าวสารญี่ปุ่น ก็แพงกว่าข้าวสารหอมมะลิไทยอยู่แล้ว แล้วทำไมเมื่อข้าวสารญี่ปุ่น หรือข้าวญี่ปุ่นมีต้นทุนที่สูงกว่า แพงกว่าข้าวหอมมะลิไทย แต่กลับขายข้าวญี่ปุ่นให้คนญี่ปุ่นกิน ได้ถูกกว่าข้าวหอมมะลิไทยขายให้คนไทยกิน??

ปี54 ซุปเปอร์มาร์เก็ตของบริษัท Inageya ในโตเกียวขายข้าว Koshihikari จากจังหวัด Nigata ในราคา 2,580 เยนต่อ 5 กก.

ฉะนั้น ข้าวสารญี่ปุ่น ราคาอยู่ที่ประมาณ 2,580 เยนต่อ 5 กก. หรือ  950 บาทต่อ 5 กก.    (แพงขึ้นกว่าปี53 10% จากผลกระทบสึนามิ)

ค่าแรงขั้นต่ำคนญี่ปุ่น ซื้อข้าวสาร 5 กก. ได้ถึง 2 ถุง

ส่วนข้าวสารหอมมะลิไทย ราคาอยู่ที่ 180-210 บาท ต่อ 5 กก.

ค่าแรงขั้นต่ำคนไทย ซื้อข้าวสารหอมมะลิ 5 กก. ได้แค่ถุงเดียว!! แทบจะไม่เหลือเงินเลย

สรุปง่ายๆ ก็คือ เมื่อเทียบค่าแรงคนญี่ปุ่นสูงกว่าคนไทยประมาณ 10เท่า คนญี่ปุ่นกลับซื้อข้าวสาร และข้าวเปล่า ได้ถูกกว่าคนไทย??

มันเป็นแบบนี้มานานแล้ว สาเหตุจากอะไรน่ะเหรอ?

ผมเขียนไว้แล้ว ไปอ่านได้ในเรื่อง ใครคือต้นเหตุความยากจนของเกษตรกรไทย?? (อันเป็นผลให้ข้าวของแพงทั้งแผ่นดิน)

ส่วนราคาอาหารปรุงสำเร็จ หรืออาหารจานเดียวที่เป็นธรรมควรอยู่ที่เท่าไหร่ แนะนำไปอ่านได้ที่ บทความเรื่อง "ราคาอาหารจานเดียวที่เป็นธรรมควรอยู่ที่เท่าไหร่?"

----------------

ขอฝากไว้

ชาวนาญี่ปุ่นรวย เพราะรัฐบาลอุดหนุนชาวนา แต่รัฐบาลญี่ปุ่นจะให้ข้าวที่ขายในประเทศต้องขายราคาเป็นธรรมให้แก่คนญี่ปุ่นทานด้วย

ต่างจากรัฐบาลไทย ตั้งราคาจำนำข้าวแพงกว่าราคาตลาดโลก ซึ่งทำให้คนไทยต้องกินข้าวแพงขึ้น แถมเมื่อข้าวไทยเริ่มขายไม่ค่อยออกเพราะแพงกว่าชาติอื่น ทำให้สุดท้ายผลกระทบที่ข้าวขายไม่ออก ก็จะวกกลับมาขายข้าวสารแพงกับคนไทยอีกที

ความจริง ถ้าไม่มีการเอาเปรียบของพวกพ่อค้า ข้าวไทยที่ขายคนไทยจะไม่แพงอย่างทุกวันนี้ ตามคำที่พูดกันมานานที่ว่า ข้าวเปลือกถูก ข้าวสารแพง!!

คุณรู้รึไม่ว่า ณ.วันนี้อินเดียคือประเทศผู้ส่งออกข้าวมากเป็นอันดับ1ของโลก
ส่วนเวียตนามก็แย่งตลาดข้าวหอมมะลิจากไทยในตลาดโลกได้มากแล้ว !!


วันอังคารที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไม่ใช่ของในหลวงภูมิพล





บทความนี้ขยายความจากบทความเรื่อง พวกไม่จงรักภักดี ตอน FOBES

มีเพื่อนถามส่งข้อความมาถามผมว่า พวกล้มเจ้าพยายามโยงว่า ในหลวงถือหุ้นปตท. ผ่านทางสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นข้อมูลที่บิดเบือนเพื่อให้คนเข้าใจผิด

เฉกเช่นที่พยายามโยงว่า ในหลวงคือกษัตริย์ที่รวยที่สุดในโลก ซึ่งนี่คือการบิดเบือนข้อมูลที่แย่มาก

คลิกอ่าน ทักษิณ กับ ปตท. สันดานเดียวกันคือ โกง ซุก เลี่ยงภาษี


ผมขอชี้แจงว่า สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จะเคยมีหุ้นปตท. หรือไม่ก็ตาม (ซึ่งปัจจุบันไม่มีหุ้นในปตท.แล้ว) แต่นั่นก็ไม่ใช่พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของในหลวงองค์ภูมิพล แต่อย่างใด

เพราะทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นทรัพย์ของแผ่นดิน เป็นทรัพย์ของคนไทยทั้งชาติ ไม่ใช่ของในหลวง!! ตามที่มีกลุ่มชั่วพยายามให้ร้าย

ถ้าใครอยากทราบรายละเอียดเรื่อง ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ แตกต่างจาก ทรัพย์สินส่วนพระองค์ อย่างไร

ผมขอแนะนำให้อ่านเรื่อง "พวกไม่จงรักภักดีฯตอน นิตยสารFOBES" ได้ที่ http://akelovekae.blogspot.com/2008/12/5-fobes.html

เดิมสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นแค่หน่วยงานหนึ่งสังกัดกระทรวงการคลัง ต่อมาได้มีการออกกฎหมายให้เป็นนิติบุคคลแยกต่างหาก แต่ก็ยังมีรมว.คลัง เป็นประธานคณะกรรมการดูแลทรัพย์สินฯโดยตำแหน่ง

ตามรายละเอียดต่างๆในรูปนี้

คลิกที่รูปเพื่อขยาย!!



ส่วนกฎหมายเกี่ยวกับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และทรัพย์สินส่วนพระองค์ ไปอ่านได้ที่ คลิก!!

-----------------

คำถามง่าย ๆ ที่แสดงให้เห็นชัดว่า ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไม่ใช่ของในหลวงภูมิพล 

ก่อนที่ผมจะอธิบายรายละเอียดด้านกฎหมาย ผมจะยกตัวอย่างคำถามง่าย ๆ ที่ทำให้ทุกคนมองเห็นภาพและเข้าใจได้ทันที

ถามว่า ในหลวงสามารถเอาพระบรมมหาราชวังไปขายได้ไหม ? ในหลวงสามารถนำพระตำหนักสวนจิตรลดา หรือ ในหลวงสามารถนำพระราชวังไกลกังวลไปขายได้ไหม ?

คำตอบคือ ในหลวงทรงขายไม่ได้แน่นอน เพราะนี่ไม่ใช่ทรัพย์สินส่วนพระองค์ แต่ทั้งหมดที่กล่าวมาคือทรัพย์แผ่นดิน ซึ่งเป็นทรัพย์ของสถาบันพระมหากษัตริย์

ดังนั้น ตรรกะพวกล้มเจ้าที่ยกเอาทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มาอ้างว่าเป็นของในหลวงภูมิพล จึงเป็นตรรกะที่หลอกคนโง่เท่านั้น

----------------------

การทูลเกล้าถวายเงินแด่พระมหากษัตริย์


มีเพื่อนที่เฟซบุ๊คได้ถามผมมาว่า

"ขอถามนิดนึงค่ะ ทรัพย์สินที่รัฐถวาย ฯ หรือทรัพย์สินที่ทรงได้มาไม่ว่าในทางใดและเวลาใดนอกจากที่ทรงได้มาในฐานะที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ คือที่ถวายเป็นการส่วนพระองค์ใช่ไหมคะ"

ผมได้ตอบไปว่า

เงินที่ประชาชนถวายแด่ในหลวง จะต้องถือเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เท่านั้นตามมาตรา 5 พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2479 (ดูกฎหมายด้านล่างบทความประกอบ)

แต่เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วตามมาตรา 6 ในพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2479  หากเหลือเท่าใดก็จะทูลเกล้าถวายให้ใช้สอยได้ตามพระราชอัธยาศัย ไม่ว่ากรณีใด ๆ (ซึ่งพอในหลวงทรงได้เงินส่วนนี้มาแล้วถึงจะกลายเป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ โดยจะให้สำนักทรัพย์สินส่วนพระองค์ดูแล)

ส่วนเงินที่ถวายให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์ ถือเป็นทรัพย์ส่วนพระองค์ ส่วนที่มักจะมีต่อท้ายว่า โดยเสด็จพระกุศล ก็แปลว่า ประชาชนเจาะจงให้นำไปทำการกุศล

แต่ถ้าในกรณีถวายพระมหากษัตริย์ ก็จะต่อท้ายว่า โดยเสด็จพระราชกุศล ก็ให้ตามพระราชหฤทัยว่าจะทรงนำไปใช้ทำบุญอะไรก็ได้

โดยความเห็นส่วนตัว ผมมองทรัพย์ที่โดยเสด็จพระราชกุศล จะเป็นเงินที่ประชาชนถวายแก่ผู้ดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์ เงินส่วนนี้เป็นของสถาบันกษัตริย์ไม่ต้องเสียภาษี


ส่วนถวาย ตามพระอัธยาศัย ให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์ ก็แปลว่า ให้พระองค์ทรงนำไปใช้ทำอะไรก็ได้ ถือเป็นทรัพย์ส่วนพระองค์ ซึ่งทรัพย์ส่วนพระองค์ต้องเสียภาษี


ส่วนการถวายทรัพย์ให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์ เช่นถวายสมเด็จพระเทพรัตนฯ หรือพระองค์อื่น ๆ ก็ต้องถือว่าเป็นทรัพย์ส่วนพระองค์ทั้งสิ้น และต้องเสียภาษีรายได้ประจำปีด้วย


แต่ถ้าหากประชาชนต้องการเจาะจงว่าจะทูลเกล้าถวายเพื่อประโยชน์อันใด เช่นต้องการถวายเพื่อมูลนิธิสายใจไทย

ตัวอย่าง นายA ทูลเกล้าถวายเงินแด่สมเด็จพระเทพฯ ก็จะระบุต่อท้ายว่า เพื่อทรงใช้ในกิจการมูลนิธิสายใจไทย เป็นต้น

แปลว่า เราจะทูลเกล้าถวายให้แต่ละพระองค์ แบบตามใจพระองค์ท่านเห็นควร หรือ เราจะระบุที่หมายของเงินก็ได้ว่า เราต้องการให้นำเงินนั้นไปใช้เพื่อประโยชน์ใด ก็ได้ครับ



คลิกที่รูปเพื่อขยาย!!



--------------------


พวกไม่หวังดีโจมตีเรื่องพระราชอำนาจควบคุมสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

พวกมันพยายามโจมตีเรื่องสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ว่า ในหลวงยังทรงมีพระราชอำนาจควบคุมอยู่ ซึ่งผมก็ไม่เข้าใจว่า พวกนี้มันโง่หรืออย่างไร

ก็ในเมื่อในหลวงทรงดำรงตำแหน่งเป็นพระมหากษัตริย์ ก็ย่อมมีพระราชอำนาจในการเข้าไปดูแลทรัพย์สินของพระมหากษัตริย์ได้ตามสมควร ตามกฎหมาย ซึ่งเป็นไปโดยตำแหน่งเท่านั้น

ซึ่งผมเคยเขียนไว้คร่าวๆ ในบทความ พวกไม่จงรักภักดี ตอนนิตยสาร fobes ไว้บ้างแล้ว แต่จะมาขอขยายความเพิ่มเติมอีกสักนิด คือ

ถึงแม้ในหลวงจะมีพระราชอำนาจตามกฎหมายในการแต่งตั้งคณะกรรมการเข้ามาดูแลสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ก็ตาม นั่นถือเป็นการให้เกียรติตำแหน่งพระมหากษัตริย์

และก็ไม่เห็นต้องแปลกใจอะไร ก็องค์ภูมิพลฯ ทรงดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์ ก็ย่อมมีพระราชอำนาจมาดูแลได้บ้าง คือพระองค์ทำไปโดยตำแหน่งของพระองค์

ก็เหมือน รมว.คลังวันนี้เป็นของพรรคเพื่อไทย ก็มีอำนาจดูแลงบประมาณชาติ

ผมขอสมมุติเช่น ในอีก100 ปีข้างหน้า หากพระมหากษัตริย์ไทยไม่ได้มาจากราชสกุลมหิดล อาจมาจากราชสกุลอื่นๆ คณะกรรมการดูแลสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ก็จะได้รับพระราชทานแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ในราชสกุลอื่นๆ ต่อไป

ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ไม่ได้ตกทอดมาเป็นของราชสกุลมหิดลสักหน่อย

ถ้าวันนี้ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นขององค์ภูมิพลจริงๆ ทรัพย์สินส่วนนี้ก็ต้องอยู่ในราชสกุลมหิดลต่อไปจริงมั้ย? แต่ความจริงไม่ได้เป็นแบบนั้น

ผมอธิบายแบบนี้พอเข้าใจไหมครับ?

และความจริงแล้ว ในหลวงก็ทรงไม่ได้ก้าวก่ายงานบริหารสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดแต่อย่างใด มีบางเรื่องเท่านั้น ที่ผู้อำนวยการสำนักทรัพย์สินฯ จะต้องให้ในหลวงทรงลงพระปรมาภิไธย เพื่อมีพระบรมราชานุญาต ก็เป็นไปตามกฎหมายกำหนด

ถ้าจะเปรียบเทียบเป็นบริษัทมหาชน เรื่องสำคัญๆ บางเรื่องก็ต้องผ่านการลงนามเห็นชอบจากประธานบริษัทเสียก่อน ก็เท่านั้น แต่คนบริหารกิจการจริงๆ กลับเป็นกรรมการผู้จัดการ MD หรือ ประธานบริหาร CEO เป็นต้น

ผมจะเขียนให้เห็นภาพง่าย ๆ เปรียบเช่น

ในหลวง ทรงเป็น ประธานกิตติมศักดิ์ แต่ได้พระราชอำนาจพิเศษจากกฎหมาย โดยให้เกียรติพระองค์มีพระราชอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการได้

รมว.คลัง เป็น ประธานกรรมการบรฺิษัท

ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ก็เป็น CEO

แต่ทุกตำแหน่งก็ไม่ใช่เจ้าของบริษัท เพียงแต่มีอำนาจในการจัดการเท่านั้น

และที่ผมเปรียบเทียบคล้ายบริษัท ก็แค่เปรียบเทียบเพื่อให้มองเห็นภาพได้ชัดมากขึ้นเท่านั้น


และในความเป็นจริง สนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไม่ใช่บริษัท แต่เป็นองค์กรพิเศษ ที่มีกฎหมายพิเศษควบคุมโดยเฉพาะ นั่นคือ พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ 2479



เช่น ถ้าสนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นของในหลวงภูมิพลจริง ๆ

ถามว่า ในหลวงภูมิพลจะทรงเขียนพินัยกรรมยก สนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ให้ไปเป็นของใครก็ตามที่พระองค์พอพระราชหฤทัยได้หรือไม่ ?

คำตอบ คือไม่ได้ เพราะผิดกฎหมาย

ดังนั้น ใครที่กล่าวหาว่า สนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นของในหลวงภูมิพล จึงมีแต่พวกโง่เท่านั้น

---------------------

ประเด็นมาตรา 6 ที่พวกล้มเจ้าชอบอ้าง

มาตรา 6 พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช 2479

การที่มีกฎหมายกำหนดเกี่ยวกับพระราชอำนาจในสำนักงานทรัพย์สินฯ ก็แสดงว่า ในหลวงจะทรงทำอะไรที่นอกเหนือจากกฎหมายกำหนดไม่ได้

ทีนี้เรามาเริ่มดูที่มาตรา 5 ต่อเนื่องมาตรา 6 ครับ

มาตรา 5 ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดินและทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์บรรดาที่เป็นเครื่องอุปโภคบริโภค ให้อยู่ในความดูแลรักษาของสำนักพระราชวัง
ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นอกจากที่กล่าวในวรรคก่อน ให้อยู่ในความดูแลรักษาและจัดหาผลประโยชน์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ทรัพย์สินส่วนพระองค์นั้น การดูแลรักษาและการจัดหาผลประโยชน์ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย

มาตรา 6* รายได้จากทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่กล่าวใน มาตรา 5 วรรคสองนั้น จะจ่ายได้ก็แต่เฉพาะในประเภทรายจ่ายที่ต้อง จ่ายตามข้อผูกพัน รายจ่ายที่จ่ายเป็นเงินเดือน บำเหน็จ บำนาญ เงินรางวัล เงินค่าใช้สอย เงินการจร เงินลงทุน และรายจ่ายในการพระราชกุศลเหล่านี้เฉพาะที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้วเท่านั้น

รายได้ซึ่งได้หักรายจ่ายตามความในวรรคก่อนแล้ว จะจำหน่าย ใช้สอยได้ก็แต่โดยพระมหากษัตริย์ตามพระราชอัธยาศัย ไม่ว่าในกรณีใด ๆ หรือโดยคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เฉพาะในกรณีที่เกี่ยวกับการ พระราชกุศลอันเป็นการสาธารณะหรือในทางศาสนาหรือราชประเพณี บรรดาที่เป็นพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์เท่านั้น


*[มาตรา 6 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2491)



มาตรา 6 รายจ่ายในชั้นแรก ก็จะจ่ายตามภาระผูกพันประเภท เงินเดือน บำเหน็จ บำนาญของเจ้าหน้าที่ ค่าใช้จ่ายของสำนักงานทรัพย์สิน ตลอดจนเงินลงทุน อื่น ๆ ซึ่งเป็นอำนาจของคณะผู้บริหาร สนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ที่มีผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นผู้บริหาร

รายจ่ายในชั้นต่อมา คือเงินพระราชกุศลเพื่อการสาธารณะต่าง ๆ ก็จะต้องมาขอพระบรมราชานุญาตก่อน

ส่วนประเด็นสำคัญจากมาตรา 6 ในประโยคที่ว่า "รายได้ซึ่งได้หักรายจ่ายตามความในวรรคก่อนแล้ว จะจำหน่าย ใช้สอยได้ก็แต่โดยพระมหากษัตริย์ตามพระราชอัธยาศัย ไม่ว่าในกรณีใด ๆ"

ตรงส่วนนี้พวกล้มเจ้ามักนำมาอ้าง ตรงนี้นี่แหละ ที่ทำให้ในหลวงภูมิพลคือเจ้าของสำนักงานทรัพย์สินฯ โดยอ้างว่า ผลประโยชน์ที่เหลือตรงส่วนนี้ ในหลวงภูมิพลทรงนำไปใช้ได้ตามพระราชอัธยาศัย ไม่ว่ากรณีใด ๆ

แต่นั่นต้องมีเงินเหลือจากการหักค่าใช้จ่ายแล้วเท่านั้น จึงจะเหลือให้ ผู้ดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์นำไปใช้ได้ ซึ่งจะกลายเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์และต้องเสียภาษีรายได้ประจำปี

แต่ถ้าไม่มีเงินเหลือล่ะ เช่นบางปีงบสมดุล หรือบางปีงบขาดทุนล่ะ??

ถามว่า ถ้าปีไหนงบขาดดุล หรืองบสมดุลพอดี ก็แปลว่า ก็จะไม่มีเงินเหลือมาให้พระมหากษัตริย์ทรงได้พิจารณาว่าจะนำไปใช้ในสิ่งใด จริงไหม ?

ที่มาปัญหาก็มาจาก สนง.ทรัพย์สินฯ บริหารดีมีกำไรเหลือ พวกล้มเจ้าจึงจ้องอยากจะได้ จ้องจะหาเรื่อง!!

กฎหมายกำหนดไว้ว่า ต้องหักค่าใช้จ่ายก่อน ถ้ามีเงินเหลือถึงจะนำมาถวายให้พระมหากษัตริย์สามารถนำไปใช้ได้ตามพระราชอัธยาศัย

นี่ก็เท่ากับว่า สนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไม่ใช่ของในหลวงภูมิพลอย่างแน่นอน เพราะถ้าเป็นของในหลวงจริง ๆ ทำไมต้องรอจนปลายปีว่า ต้องมีเงินเหลือก่อน ถึงจะได้สิทธิใช้เงินตามพระราชอัธยาศัย 

ถ้า สนง. ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นของในหลวงภูมิพลจริง ๆ ถ้าพระองค์อยากได้เงินจากส่วนไหนเวลาไหนก็ต้องได้เลยสิ อยากจะโอนทรัพย์สินไปให้ใครก็ต้องทำได้เลยสิ โดยไม่ต้องทรงขออนุญาตจากใคร แต่พระองค์ก็ทำไม่ได้ เพราะมีกฎหมายห้ามไว้!!

หรือหากในแต่ละปีสำนักงานทรัพย์สินมีเงินเหลือจากหักค่าใช้จ่ายแล้วถวายให้ผู้ดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์

ผมก็ว่าไม่เห็นจะแปลกที่จะถวายเงินส่วนที่เหลือให้ผู้ดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์ได้ใช้สอยบ้าง เพราะผมตีความผลประโยชน์ส่วนนี้เป็นเสมือน เป็นรายได้ประจำตำแหน่งพระมหากษัตริย์

ซึ่งไม่ว่าใคร ๆ ในโลกนี้ ถ้าได้เงินจากตำแหน่ง ก็สามารถนำไปใช้และถือเป็นเงินส่วนตัวของตนก็ได้ จริงหรือไม่ ?

เช่น ถ้าคุณได้เงินเดือนจากตำแหน่งทางราชการ คุณก็สามารถนำไปใช้ในเรื่องส่วนตัวก็ได้ใช่หรือไม่ ? 

แต่พวกล้มเจ้ามันโง่และแถ พวกมันจะไม่ยอมให้เงินที่ถวายให้พระมหากษัตรย์ไปใช้ในเรื่องส่วนพระองค์เลย พวกล้มเจ้ามันเลวจริง ๆ

ซึ่งในความเชื่อของผม ผมว่า ถ้ามีเงินเหลือพระมหากษัตริย์ไทยก็จะให้นำไปใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะอยู่ดี

"เพราะสมบัติตรงนี้แต่เดิมเป็นของกษัตริย์ ผลประโยชน์ที่เหลือจะมอบให้ผู้ดำรงตำแหน่งกษัตริย์รับผลประโยชน์บ้าง มันไม่เห็นจะผิดตรงไหนเลย จริงไหมครับ"

หรือในแต่ละปีพระองค์อาจไม่นำไปใช้อะไรเลยก็ได้ ก็คืนกลับ สนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไป

--------------------------

สรุป สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นของใคร ?

ผมขอสรุปว่า สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นของแผ่นดิน ในนามสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็น 1 ใน 3 สถาบันหลักของชาติ (จึงถือว่าเป็นของคนไทยทั้งชาติเช่นกัน)

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ไม่ใช่องค์กรรัฐ แต่มีสภาพเป็นนิติบุคคลอิสระ ที่มีกฎหมายควบคุมกำหนดเป็นพิเศษ

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไม่ใช่ของในหลวงภูมิพล ไม่ใช่ในหลวงพระองค์ใด ๆ ทั้งนั้น

ไม่ว่าพระมหากษัตริย์จะมาจากราชสกุลไหนก็ตาม ก็จะได้พระราชอำนาจตามกฎหมายในการกำกับดูแลสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ทั้งสิ้น

และในแต่ละปี เงินและผลประโยชน์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ก็ได้นำมาทำเพื่อสาธารณะประโยชน์มากมาย ซึ่งมากกว่าหน่วยงานของรัฐในหลาย ๆ หน่วยงานด้วยซ้ำครับ

คลิกอ่าน เงินพระราชทานแก่ท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์ ตอกย้ำ สนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไม่ใช่ของในหลวงภูมิพล



ผู้ติดตาม