วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2554

หลักการบริหารเขื่อนที่ถูกต้องตามแนวพระราชดำริ





ก่อนอื่นต้องขอให้ข้อมูลกับหลายๆท่านอาจยังไม่เคยรู้มาก่อน ก็คือ เขื่อนภูมิพล เคยมีน้ำล้นเขื่อนจนต้องเปิดสปิลเวย์ระบายน้ำออกมาแล้ว3ครั้ง คือเมื่อปี 2518 ปี 2545 ปล่อยถึง 2 ครั้ง และปี 2554



ที่ผมนำกราฟน้ำล้นเขื่อนมาให้ดูทั้ง3ปีนั้น ก็เพื่อจะบอกว่า แม้มีน้ำล้นเขื่อนในปี 2518 และปี 2545 ก็ไม่จำเป็นที่กรุงเทพฯต้องน้ำท่วม เพราะปัญหาน้ำท่วมมันไม่ได้อยู่ที่เขื่อนเพียงอย่างเดียว เพราะยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกมาก

ตลอดเดือนนี้ทั้งเดือน ผมเขียนเรื่องเขื่อนหลายบทความมาก และคิดว่าบทความนี้จะเป็นบทความสรุปเรื่องเขื่อน เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ทุกคนว่าเขื่อนคืออะไร ทำหน้าที่และจัดการอย่างไร

จากบทความที่แล้ว คลิปในหลวงทรงแนะนำวิธีแก้ปัญหาน้ำท่วมใหญ่ปี 2538 ในหลวงทรงแนะเรื่องเขื่อน พอที่จะสรุปหลักการบริหารเขื่อนคร่าวๆไว้ดังนี้

หน้าฝน เขื่อนต้องกักเก็บน้ำเพื่อเอาไว้ใช้ยามหน้าแล้ง ส่วนประตูระบายน้ำหรือพื้นที่ด้านล่างของเขื่อนทั้งหมด ต้องพยายามทำให้พร่องน้ำเข้าไว้ เผื่อรอรับการระบายน้ำจากเขื่อน

หากคุณผู้อ่านได้อ่านบทความก่อนๆของผมมาตลอด จะเข้าใจหลักการบริหารที่ในหลวงทรงชี้แนะได้ไม่ยาก

แต่ถ้ายังไม่ค่อยเข้าใจ ผมขอจะอธิบายเสริมอีกครั้ง

------------------

การพร่องน้ำของเขื่อน

ในยามปกติทั่วไป หน้าแล้งจะเริ่มในเดือนพฤศจิกายน เรื่อยไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม ปริมาณน้ำในเขื่อนที่เคยพุ่งขึ้นสูงสุดในเดือนตุลาคมของทุกปี ก็จะค่อย ๆ ทยอยร่อยหรอลงเรื่อย ๆ แต่จะร่อยหรอน้อย หรือมากเท่าใด ก็ขึ้นอยู่กับว่าปีนั้นหน้าแล้ง แล้งจัดแค่ไหน?

ดังนั้น ในช่วงหน้าแล้งจึงเป็นการพร่องน้ำโดยธรรมชาติของเขื่อนอยู่แล้ว

แล้วพอเข้าเดือนพฤษภาคม ปริมาณน้ำในเขื่อนมักจะเหลือต่ำสุด เพราะใกล้จะสิ้นหน้าแล้ง

และเมื่อเริ่มเข้าหน้าฝนในกลางเดือนพฤษภาคม เขื่อนก็จะเริ่มต้นเก็บกักน้ำใหม่อีกครั้ง นี่คือหลักการบริหารน้ำในเขื่อนอย่างคร่าวๆ

ในหน้าฝน หน้าที่เขื่อน คือ ต้องกักเก็บน้ำ 
ส่วนหน้าแล้ง หน้าที่เขื่อน ก็คือทยอยปล่อยน้ำให้ประชาชนได้ใช้

แต่ยุคนี้ คนชอบบอกให้พร่องน้ำในหน้าฝน บ้ารึเปล่า?

หน้าฝนเขื่อนเขาต้องกักเก็บน้ำ นี่จะดันให้ปล่อยน้ำ แล้วจะมีเขื่อนไว้ทำไม?

หน้าฝน น้ำเข้าเขื่อนจะมากกว่าน้ำออกจากเขื่อน
หน้าแล้ง น้ำเข้าเขื่อนจะน้อยกว่าน้ำออกจากเขื่อน


(ถ้าหน้าฝนยังไม่ยอมเก็บน้ำ แล้วจะให้ไปเก็บน้ำในหน้าแล้งเหรอครับ?)

------------------------

หลักการระบายน้ำออกจากเขื่อนใหญ่


เขื่อนขนาดใหญ่อย่างเขื่อนภูมิพล มีการบริหารจัดการโดนการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ซึ่งพอเริ่มเข้าหน้าฝน เขื่อนจะเริ่มกักเก็บน้ำไปเรื่อยๆ แต่ถ้ามีปริมาณน้ำเข้ามากเกินไป ก็จำเป็นต้องปล่อยน้ำออกมาบ้าง เพื่อรักษาสมดุลของเขื่อน

ทีนี้เมื่อเขื่อนต้องการปล่อยน้ำเท่าไหร่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ก็จะแจ้งมาที่กรมชลประทานว่า วันนี้ควรจะปล่อยน้ำเท่านั้นเท่านี้ ขอให้กรมชลประทานช่วยเตรียมพร่องน้ำในคลองชลประทานต่าง ๆ รอรับน้ำด้วย

เมื่อกรมชลประทานได้รับการแจ้งจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ มาแล้วว่าจะปล่อยน่้ำเท่าใด ตามหน้าที่ของกรมชลประทานก็จะต้องเปิดปิดประตูน้ำตามจุดต่างๆให้สอดคล้องกับการปล่อยน้ำออกจากเขื่อนเสมอ

หรือในหน้าแล้ง หากกรมชลต้องการน้ำมากเท่าไหร่ ก็จะบอกไปที่เขื่อนให้ปล่อยน้ำออกมา

ทั้ง2หน่วยงานต้องทำงานประสานกันตลอด ในสภาวะปกติ

---------------------

ปัญหาของปี 2554 คืออะไร


ปัญหาของปี54คือ มีฝนตกมากผิดปกติทั้งเหนือเขื่อนและใต้เขื่อน ก่อให้เกิดภาวะน้ำท่วมในจังหวัดต่างๆมากมายมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม การปล่อยน้ำของเขื่อนเป็นไปด้วยความยากลำบากมากขึ้น เพราะถ้าเขื่อนปล่อยน้ำมาก ก็จะไปซ้ำเติมประชาชนที่อยู่ใต้เขื่อน โดยเฉพาะชาวนาที่ต้องการเก็บเกี่ยวข้าว เพื่อจะเข้าโครงการจับจำนำข้าวตันละ 1.5 หมื่นบาทต่อตัน

อีกทั้งประตูน้ำตามแม่น้ำลำคลองต่าง ๆ กรมชลประทานไม่สามารถเปิดประตูน้ำได้โดยอิสระ เพราะมีการแทรกแซงจากประชาชนในพื้นที่ เช่น ชาวนาต้องการให้เก็บเกี่ยวข้าวก่อน ถ้าประตูน้ำเปิดน้ำจะท่วมนาข้าวเป็นต้น

ปี 2554 มีอิทธิพลพายุเข้ามากถึง 5 ลูก แถมมีฝนตกเหนือเขื่อนปริมาณมากแบบผิดปกติ เมื่อเขื่อนมีน้ำมากผิดปกติ ก็ต้องปล่อยออก แต่ดันปล่อยไม่ได้ เพราะมีการอั้นตามประตูน้ำต่างๆ

ขอยกตัวย่างปี 2553 มีน้ำท่วมทุกภาค และหนักสาหัสทุกภาค ทั้ง ๆ ที่ปี 2553มีพายุเข้าลูกเดียวเท่านั้น ปี 2553 จะต่างกับปี 2554 ตรงที่ไม่มีน้ำมาท่วมปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพฯ

และที่น้ำในเขื่อนปี 2553 กลับน้อยมาก นั่นเพราะปี2553 เกิดแล้งจัดที่สุดในรอบ5ปี  แถมปริมาณฝนที่ตกเหนือเขื่อนกลับน้อยกว่าปกติ แต่ปี 2553 กลับมีฝนตกในพื้นที่ใต้เขื่อนมากผิดปกติ จึงเป็นสาเหตุที่น้ำท่วมหนักพอควร

----------------------

ในปี 2553 มีภาวะแล้งยาวนาน และเกิดอุทกภัยช้ากว่าปี 2554

ในปี 2553 ถือว่าเป็นปีที่แล้งหนักที่สุดในรอบ5ปี ตามที่ผมเคยให้ลิงค์ข่าวไปในบทความก่อนๆ

อ่านข่าวปี53แล้งจัด ฝนตกน้อยตั้งแต่ต้นปีถึงเดือนสิงหาคม

ในปี 2553 อุทกภัยแทนที่จะเริ่มในเดือนมิถุนายนเหมือนปี54 แต่ปี 2553อุทกภัยกลับเริ่มในเดือนตุลาคม 2553 ถึงเดือนธันวาคม 2553 คงจำได้ลพบุรี โคราช หาดใหญ่ กระบี่ หนักหนาสาหัสที่สุดในรอบหลายสิบปี


---------------------

ทำไมปี 2554 น้ำถึงท่วมกรุงเทพฯ 

นอกจากปริมาณฝนที่มากกว่าปกติ จำนวนพายุที่มากกว่าปกติแล้ว ยังมีจำนวนฝนที่ตกมาทั้งเหนือเขื่อนและใต้เขื่อนมากผิดปกติอีกด้วย

ที่สำคัญคือ การบริหารจัดการน้ำที่ล่าช้าเกินไป การที่ไม่สามารถจัดการบริหารน้ำได้อย่างเต็มระบบ ขาดความเป็นเอกภาพ มีความขัดแย้งแนวทางในหน่วยงานจัดการน้ำ

และเกิดจากการอั้นน้ำตามจังหวัดต่างๆ ตามประตูน้ำต่างๆ อย่างมาก แม้กระทั่งน้ำท่วมอยุธยาแล้ว ชาวองครักษ์กับชาวลำลูกกา ก็ยังทะเลาะกันเรื่องการเปิดประตูระบายน้ำ เพราะชาวบ้านน้ำท่วมอยากให้เปิดประตู แต่ชาวนาบอกว่ารอเก็บเกี่ยวก่อนได้มั้ย

กรณีที่ชาวบ้านทะเลาะกับชาวนาเกิดขึ้นในหลายๆจังหวัด เป็นปัญหาที่ไม่ควรมองข้ามอีกต่อไป

นี่คือปัญหาที่จะต้องหาทางแก้ไขต่อไปว่า ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐไม่สามารถบริหารจัดการการเปิดปิดประตูน้ำได้อย่างอิสระ ไม่สามารถบริหารน้ำได้อย่างเต็มระบบได้ ทำให้ปัญหาน้ำท่วมจึงไม่ได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็ว

แล้วรัฐจะมีมาตรการอะไรในปีหน้าเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำซากแบบนี้อีก?

อย่างล่าสุด ชาวบ้านย่านคลองสามวา ก็มาประท้วงให้กทม.เปิดประตูระบายน้ำมากขึ้น ซึ่งเมื่อเปิดแล้ว น้ำก็ไม่ได้ลดลงอย่างที่ชาวบ้านคิด แต่กลับทำให้ชาวบ้านอีกพื้นที่ต้องประสบปัญหาน้ำท่วมตามไปด้วย

นี่คือระบบความคิดที่ล้มเหลวมากขึ้นของสังคมไทย

เพราะทุกคนต่างคิดว่า ตัวใครตัวมัน บ้านใครบ้านมัน เมื่อคิดกันแบบนี้ จึงทำให้การบริหารจัดการของภาครัฐทำไม่ได้ตามแผนที่วางไว้

อาจเพราะรัฐไม่เคยพูดคุยสื่อสารกับชาวบ้านมากพอ ไม่เคยพูดว่าจะเยียวยาเขาอย่างไร

เมื่อทุกคนรู้สึกเหมือนโดนรัฐลอยแพ พวกเขาเลยต้องพยายามปกป้องตัวเองอย่างถึงที่สุด

พวกเขาคิดว่า เขาไม่คุ้มที่จะเสียสละ ทั้งๆที่คำว่า เสียสละมันแปลว่าต้องไม่คุ้มกับที่เสียอยู่แล้ว

----------------------

ทฤษฎีการยกน้ำ

มีนักวิชาการหลายท่าน ได้พูดถึงเรื่องการยกน้ำ ทำให้น้ำท่วมปี 2554 รุนแรงกว่าทุกปี

นั่นเกิดจาก ทุกจังหวัดที่น้ำไหลผ่าน ทุกเมือง ทุกหมู่บ้าน ทุกชุมชน ที่มาตั้งอยู่บนเส้นทางของน้ำหลากทุ่ง

เมื่อทุกชุมชนกลัวน้ำจะท่วมเขตของตน ก็จะสร้างคันกั้นน้ำสูงขึ้นเพื่อไม่ให้น้ำจากแม่น้ำไหลเข้ามาในเขตชุมชน น้ำในแม่น้ำจึงถูกยกตัวให้สูงขึ้นเรื่อยมาจากทางต้นทาง

เมื่อน้ำถูกยกสูงขึ้น แรงดันน้ำก็สูงมากขึ้น น้ำถูกห้ามเข้าทุ่งตามธรรมชาติ เพราะทุ่งกลายเป็นชุมชนไปแล้ว

เมื่อน้ำไม่ได้เข้าทุ่ง ถูกบังคับให้อยู่แต่ในแม่น้ำ สุดท้ายแรงดันน้ำก็ยิ่งสูงขึ้น ก็ได้ทำลายคันกั้นน้ำที่แต่ละจังหวัดทำไว้ในที่สุด

เมื่อคันกั้นน้ำในจังหวัดอยุธยาพัง น้ำเลยทะลักเข้ามามากผิดจากน้ำทุ่งตามธรรมชาติ เพราะน้ำถูกยกสูงผิดธรรมชาติมาตลอดทางครับ

--------------------------

เผอิญ ผมได้ลิงค์บทความที่น่าสนใจซึ่งตอบคำถามเกี่ยวกับเขื่อนได้อย่างมีข้อมูลเชิงลึกอย่างดี และสมเหตุสมผลมาก

เชิญไปอ่านบทความเรื่อง10 คำถาม น้ำสะสมในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ที่ผ่านมา ใครรับผิดชอบ? ได้ที่ คลิก!!


ถ้าใครยังไม่ได้อ่านบทความที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในเดือนตุลาคมของผม เรื่อง การบริหารจัดการน้ำในเขื่อนภูมิพลไม่ผิดพลาด ต้องไปอ่านนะครับ แล้วคุณจะเข้าใจเขื่อนมากขึ้น


สุดท้ายขอสรุปบทความนี้ว่า ระบบจัดการเรื่องน้ำของไทยที่มีอยู่ตอนนี้ ไม่เพียงพอรับมือกับภัยพิบัติจากน้ำในสภาวะโลกร้อนแล้วครับ

------------------------

ดูท่านปราโมทย์ ไม้กลัดอธิบายว่า เขื่อนไม่ได้ผิดพลาด (ซึ่งอธิบายตรงกับที่ผมเคยอธิบายทุกอย่าง)

และท่านปราโมทย์ ยังพูดอีกว่า หน้าที่หลักของเขื่อนคือ กักเก็บน้ำไว้ใช้ยามแล้ง การป้องกันน้ำท่วมเป็นแค่ผลพลอยได้เท่านั้น!!



คลิกอ่าน สัมภาษณ์อธิบดีกรมชลประทาน กับข้อหาการบริหารน้ำผิดพลาด!!



วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เรียนรู้คน เขื่อน ประตูน้ำ ศปภ. ยิ่งลักษณ์






ก่อนอื่นต้องบอกว่า กรุณาอ่านบทความนี้ให้จบนะครับ เพราะถ้าไม่จบจะพลาดของดี!!

เรียนรู้เขื่อน

คุณผู้อ่านครับ ผมเขียนเรื่องเขื่อนมาหลายบทความในเดือนตุลาคม ใครไม่ได้อ่านอยากให้กลับไปย้อนอ่านทุกบทความ แล้วคุณจะเข้าใจว่า ทำไมเขื่อนถึงเต็ม และเต็มทั้งภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคอีสาน เต็มทุกเขื่อน

ทีนี้ข้อครหาเรื่องเขื่อนภูมิพล ว่ากักเก็บน้ำไว้ทำไมไม่รีบพร่องน้ำ ผมก็ได้อธิบายไปแล้วว่ามีหลายสาเหตุ ถ้าคนที่มองจากด้านนอกมันพูดง่ายครับ ว่าทำไมไม่พร่องน้ำ

และผมต้องขอย้ำอีกครั้งว่า เขื่อนไม่ได้มีหน้าที่ป้องกันน้ำท่วม แต่เขื่อนมีหน้าที่หลักคือกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามขาดแคลน การป้องกันน้ำท่วมของเขื่อนเป็นแค่ผลพลอยได้ของการมีเขื่อนเท่านั้น ถ้าไม่เข้าใจที่ผมอธิบายให้กลับไปบทความในเดือนตุลาคมซ้ำอีกครั้ง

วันนี้ ผมจะนำตัวเลขปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ ย้อนหลัง ตั้งแต่ปี2538 ปี49 ปี53 และปี 2554 มาเปรียบเทียบให้ดูนะครับ จะทำให้เรามองอะไรได้กว้างยิ่งขึ้น

และที่สำคัญที่สุด ที่คนไทยเข้าใจคลาดเคลื่อนกรมชลประทานอย่างมากก็คือ เขื่อนทั้งสองแห่งควบคุมบริหารโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเป็นหลัก ส่วนกรมชลประทานแค่มาร่วมการบริหารเท่านั้น

แค่อยากจะด่าเขื่อน หลายคนยังไม่รู้เลยว่า เขื่อนใหญ่2แห่งนี้บริหารโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิต


---------------------

มาดูกราฟเขื่อนปี38 49 53 54 กัน


กราฟจาก thaiwater.net

กราฟเขื่อนภูมิพล เส้นแดงคือปี2011 หรือ2554 , เส้นน้ำเงินคือ 2553 , เส้นเขียวคือ 2549 และเส้นฟ้าอ่อนคือ 2538

ที่ผมนำกราฟเปรียบเทียบของทั้ง4ปีมานี้ ก็เพราะทั้ง 4 ปีนี้ เกิดน้ำท่วมหนักทั้งสิ้น

เส้นเขียวปี 49 เส้นแดงปี 54 น้ำในเขื่อนภูมิพลมีปริมาณมากพอกัน มาเริ่มพุ่งชันในเดือนสิงหาคมเหมือนกัน เพียงแต่ น้ำตุลาคมปี54 จะมากกว่าปี 49 อยู่หน่อยเพราะเกือบล้นเขื่อน แต่ได้มีการปล่อยน้ำออกจาสปิลเวย์เพื่อป้องกันเขื่อนล้น

ส่วนเส้นฟ้าปี 38 ที่รู้กันว่า น้ำท่วมหนักที่สุดหนักยิ่งกว่าปี 49 ด้วย แต่น้ำในเขื่อนภูมิพลกลับมีปริมาณน้อยมาก แต่พื้นที่ใต้เขื่อนลงมาน้ำกลับท่วมหนัก

ตรงนี้คุณผู้อ่านพอจะมองอะไรออกมั้ยครับ? ผมคงไม่ต้องอธิบาย เพราะคุณผู้อ่านของผมฉลาดทุกคน

เช่นเดียวกันเส้นน้ำเงินปี 53 มีน้ำท่วมหนักพอควร แต่กราฟน้ำในเขื่อนกลับช่วงต้นปีถึงกลางปีน้อยมาก?

เพราะอะไร? คำตอบก็คือ ปี53 เป็นปีที่ฤดูแล้งจัดยาวนาน แต่กลับมีฝนหนักในปลายปีอย่างมาก สังเกตในเดือนตุลาคม 2553 กราฟเริ่มพุ่งชัน และอุทกภัย53ก็เริ่มในเดือนตุลาคม จนถึงปลายปี เช่นที่ลพบุรี โคราช หาดใหญ่เป็นต้น (ผมได้อธิบายอย่างชัดเจนในบทความเรื่อง การบริหารจัดการน้ำในเขื่อนที่ถูกต้องตามแนวพระราชดำริ

ผมจะขอสรุปเส้นกราฟคร่าว ๆ ว่า ตั้งแต่เดือนสิงหาคมของทุกปี เส้นกราฟปริมาณน้ำในเขื่อนจะมีลักษณะพุ่งชันแทบทุกครั้ง ต่างกันตรงที่น้ำในเขื่อนก่อนหน้านี้จะมีปริมาณมากหรือน้อยเท่านั้น

แล้วคุณผู้อ่านคิดว่า เจ้าหน้าที่เขื่อนเขาไม่รู้ข้อมูลนี้เหรอครับ

เจ้าหน้าที่เขาก็รู้ครับ เขาก็ได้พยายามพร่องน้ำแล้ว แต่ปี 2554 ฝนตกในเดือนสิงหาคม-ตุลาคม หนักมากกว่าทุกปีที่ผ่านมา ตกทั้งเหนือเขื่อนและใต้เขื่อน มีสภาวะน้ำท่วมหนักอยู่แล้วตั้งแต่เดือนมิถุนายน แถมตามประตูระบายน้ำในแม่น้ำ ลำคลองต่าง ๆ มีปัญหาชาวนาไม่ยอมให้เปิดประตู

และยังมีปัจจัยที่นอกเหนือการควบคุมของเจ้าหน้าที่เขื่อนอีกหลายอย่าง เช่นภาวะน้ำท่วมใต้เขื่อน พายุที่คาดเดาไม่ได้ ปัญหาการเปิดประตูระบายน้ำในแต่ละท้องที่

ฉะนั้น ใครที่บอกว่าเขื่อนไม่พร่องน้ำ ผมว่าดีแต่ปากทั้งนั้นครับ

--------------------

มาดูกราฟเขื่อนสิริกิติ์ ปี38 49 53 54 บ้าง


กราฟจาก thaiwater.net

เส้นกราฟของเขื่อนสิริกิติ์ชัดเจนมากที่ว่า ทั้งปี 38 49 54 ปริมาณน้ำในเขื่อนมีมากพอ ๆ กันทั้ง 3 ปี ครับ แถมปี 38 น้ำเต็มเขื่อนเร็วกว่าด้วยซ้ำ

และเส้นกราฟก็พุ่งชันในเดือนสิงหาคมเหมือนกันทุกปี

แต่ทำไมปี 2554 นี้มีแต่คนด่าว่า ทำไมเขื่อนไม่รีบพร่องน้ำ?

ถ้าการระบายน้ำลงมามันง่ายก็คงดีครับ ผมเขียนไว้ตั้งแต่บทความที่แล้วว่า ถ้าปลายทางคือประตูระบายน้ำเปิดไม่ได้ แล้วต้นทางเขื่อนจะระบายยังไง?

โอเค ถ้าใครอยากด่าเขื่อน ก็ไปด่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตนะครับ เพราะนี่แหล่ะคือหน่วยงานหลักที่คุมเขื่อนใหญ่

ส่วนถ้าใครอยากจะด่ากรมชลประทานไม่เปิดประตูระบายน้ำ ก็อย่าลืมไปด่าชาวนา นักการเมืองบางคน ชาวบ้านบางแห่งที่มาขัดขวางการเปิดประตูระบายน้ำด้วยนะครับ

รายละเอียดเรื่องเขื่อน ใครสนใจมากกว่านี้อย่าลืมย้อนกลับไปอ่านบทความก่อน ๆ สำหรับผม ผมไม่โทษเขื่อนครับ

เพราะถ้าดูจากกราฟของทั้งสองเขื่อน ถ้ารัฐบาลเข้ามาบริหารจัดการน้ำอย่างเร่งด่วน ไม่อั้น เร่งระบายน้ำเสียตั้งแต่ต้นเดือนกันยายน ให้ประตูน้ำเปิดได้ทุกประตูในทุกแห่ง ทำความเข้าใจกับชุมชนในพื้นที่ให้ได้ น้ำไม่ท่วมหนักเท่านี้แน่นอน


----------------------------------

เรียนรู้คน

วันนี้ 29ิตุลาคม ผมยังเห็นข่าวนี้ เมื่อเวลา 12.04 น. วันที่ 29 ตุลาคม นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา พิธีกรเรื่องเล่าเสาร์อาทิตย์ ทางช่อง3 แจ้งข่าวด่วนผ่านรายการว่า มีประชาชนไปทำลายคันกั้นน้ำบริเวณชุมชนวัดนาวง ด้านหลังหมู่บ้านเมืองเอก ซึ่งหากคันกั้นน้ำแตกจะทำให้น้ำไหลทะลักเข้าคลองประปาได้ ส่งผลต่อการผลิตน้ำในกรุงเทพฯ

ซึ่งพอตอน3โมงเย็น ผมยังเห็นข้อความวิ่งทางช่อง11ว่า การประปาวอนขอชาวบ้านชุมชนวัดนาวง กรุณาอย่าพังคันกั้นคลองประปา เพราะจะกระทบกับการผิตน้ำประปา กระทบคน10ล้านคนในกรุงเทพฯ

คุณผู้อ่านครับ เห็นมั้ยครับว่า ถ้ารัฐบาลไม่ประกาศพรก.ฉุกเฉินในบางพื้นที่ เราก็จะเห็นชาวบ้านทำลายคันกั้นน้ำแบบนี้ในหลายท้องที

และที่การระบายน้ำล่าช้า ไม่เป็นระบบก็เพราะปัญหาชุมชนไม่ให้ความร่วมมือนี่แหล่ะครับ

ฉะนั้น ผมถือว่า นี่คือความผิดพลาดของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่ไม่สามารถควบคุมคนได้ ถ้าควบคุมคนไม่ได้ แล้วส่งผลต่อความเสียหายของส่วนรวม แล้วจะให้เป็นรัฐบาลได้อย่างไร?

วิธีเดียวที่ไม่ต้องใช้พรก.ฉุกเฉิน คือ ต้องส่งนายกฯลงไปกราบตีนประชาชนให้ทุกท้องที่ ถ้าไม่ไปก็จะเห็นข่าวแบบนี้ซ้ำ ๆ ซาก ๆ

ฉะนั้น นี่คือความล้มเหลวแล้ว ที่นายกรัฐมนตรีต้องไปกราบชาวบ้านด้วยตัวเองเพื่อขอให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานได้

อย่างข่าวคลอง 8 คลอง 9 ที่นายกฯ ลงไปกราบน่ะ คน 2ิคลองนี้ขวางการเปิดประตูระบายน้ำมาเป็นเดือนแล้วครับ ท่านนายกฯ ทำไมไม่รีบไปกราบเสียตั้งแต่ต้นเดือน

ถ้านายกฯ ไปกราบให้ทุกที่เสียตั้งแต่แรก น้ำจะไม่ท่วมหนักเท่านี้แน่นอน แล้วนายกฯ จะไปได้ทุกท้องที่มั้ย?

----------------------------

ศปภ.

ศูนย์นี้มีประโยชน์ตรงไหนครับ? ช่วยบอกผมที?

ก็ขนาดตัวศูนย์เองยังเอาตัวไม่รอด แล้วประชาชนจะพึ่งอะไรศูนย์นี้ได้

ยิ่งลักษณ์เข้าเฝ้าในหลวงเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ในหลวงทรงแนะนำให้รีบผันน้ำระบายออกทางตะวันออกให้มาก แต่จนถึงวันนี้ ทำไมการระบายน้ำทางตะวันออกกลับน้อย สมุทรปราการมีประตูน้ำและเครื่องสูบน้ำอย่างดีรออยู่ แต่กลับไม่มีน้ำไปให้สูบออกทะเล

----------------------------

ดูแผนที่เขื่อนต่างๆที่รับน้ำแม่น้ำในภาคเหนือ ตามนี้ครับ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย!!

เราจะเห็น เขื่อนภูมิพล ความจุ 13,000 ล้านลบ.ม. รับแม่น้ำปิง

เขื่อนสิริกิติ์ ความจุ 9,500 ล้านลบ.ม. รับแม่น้ำน่าน

เขื่อนขนาดเล็กอย่างกิ่วลม ความจุ 106.22 ล้านลบ.ม. และเขื่อนกิ่วคอหมา ความจุ 170.28 ล้านลบ.ม. ทั้งสองเขื่อนนี้ รวมกันมีไม่ถึง 300ล้านลบ.ม. รับแม่น้ำวัง

และที่สำคัญคือ แม่น้ำยม ไม่มีเขื่อนครับ

และที่ท่วมหนักคราวนี้ เพราะแม่น้ำยม และแม่น้ำวัง ก็มีน้ำมากกว่าทุกปีครับ

ฉะนั้นเราจะมัวโทษเขื่อนภูมิพล กับเขื่อนสิริกิติ์คงไม่ได้ เพราะน้ำไม่ได้มาจากแค่ 2 เขื่อนนี้เท่านั้นครับ

และให้สังเกตเส้นทางน้ำ น้ำจะมาแยกที่จังหวัดชัยนาทตรงเขื่อนเจ้าพระยา ไปทางตะวันตกเข้าสู่สุพรรณ แล้วไปลงแม่น้ำท่าจีนก่อนลงทะเลที่จังหวัดสมุทรสาคร แล้วยังเห็นแม่น้ำสุพรรณจะแยกไปทางแม่น้ำแม่กลองที่สมุทรปราการไปลงทะเลได้ด้วยเช่นกัน

แต่จนวันนี้ สมุทรสงครามกลับไม่ค่อยมีน้ำไปลงทะเล?

------------------------

ด้านตะวันออกของกรุงเทพฯ คือพื้นที่สีเขียว

ผังเมืองเดิมกำหนดให้ด้านตะวันออกของกรุงเทพฯ เป็นพื้นที่สีเขียว และที่สำคัญคือเป็นทางระบายน้ำ flood way

แต่นักการเมืองก็ยังดันทุรังไปสร้างสนามบินในหนองงูเห่า ซึ่งเป็นการขวางทางระบายน้ำ แล้วนักการเมืองก็แก้ผังเมืองเพื่อให้สร้างสนามบินได้ สร้างนิคมอุตสาหกรรมได้ 

คูคลองด้านตะวันออก รวมทั้งคลองรังสิต มีมาตั้งแต่สมัยร.5 ทรงดำริให้ขุดไว้

คลองในกรุงเทพฯ หลายๆคลอง คลองชลประทานหลายคลอง ก็ได้กำเนิดจาก ในหลวงรัชกาลต่างๆทรงสั่งให้ขุดไว้ ผ่านมาร้อยกว่าปี เราก็ยังต้องใช้คลองเดิมๆ ในการระบายน้ำ แถมมีคลองน้อยลงด้วยซ้ำ

ยิ่งเมื่อประเทศไทยได้เป็นประชาธิปไตยแบบที่มีแต่ประชาชนชอบเรียกร้องสิทธิ แต่ละเลยการทำหน้าที่ 

นักการเมืองไทยในระบอบประชาธิปไตยทุกยุคมันไม่เคยสนใจขุดคลองเพิ่ม มันสนใจแต่ถมคลองสร้างถนน

เห็นรึยังครับ นักการเมืองไทยมันโหลยโท่ยเพียงใด ??

-------------------------------

ทีนี้ผมจะชี้ความผิดพลาดของกรมชลประทาน ให้ดู!!

ย้อนชมในหลวงทรงเรียกประชุมแก้ปัญหาน้ำท่วมปี38 โดยเฉพาะใครที่บุกรุกflood way ที่มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่5 ถือว่าผิดกฏหมาย !!



ในหลวงทรงเตือนแล้วว่า อย่าสร้างอะไรขวางทางน้ำไหล!! แต่ถ้ามีสิ่งกีดขวางแล้ว ก็ต้องฝังท่อลงใต้ดินลอดไป เพื่อระบายน้ำได้

และเมื่อคุณผู้อ่านได้ดูจากคลิปแล้ว ในหลวงทรงตรัสว่า ถ้าเร่งระบายน้ำแล้ว อาจทำให้ตลิ่งพัง ก็ต้องยอมให้พัง แล้วไปซ่อมทีหลัง

บ้านเรือนที่อยู่ริมคลองอาจเสียหายบ้าง ก็ต้องยอมให้พัง!!
แล้วไปชดเชยให้เขาทีหลัง เพื่อรักษาระบบเศรษฐกิจประเทศเอาไว้

แต่วันนี้กรมชลประทานไม่ยอมเร่งระบายน้ำออกทางตะวันออก อ้างว่ากลัวตลิ่งพัง!!


และปี38 ในหลวงยังทรงตรัสให้เจาะถนนด้วยครับ!!เพราะถ้าให้น้ำเอ่อขึ้นเอง ถนนจะพังมากกว่านี้ แต่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ไม่เจาะ!!

คลิกรูปเพื่อขยาย!!



-----------------------------

หลักการบริหารน้ำที่ถูกต้อง!!

และถ้าคุณผู้อ่านได้ดูคลิปจบทั้งหมด ประเด็นเรื่องหลักการบริหารน้ำที่ในหลวงสอนกรมชลประทานคือ

หน้าฝน เขื่อนต้องเก็บน้ำ เพื่อไว้ใช้ยามแล้ง แต่ประตูน้ำในพื้นที่ใต้เขื่อนทั้งหมดตามแม่น้ำ ลำคลอง ในหน้าฝนต้องทำให้แห้งไว้!!

แต่พวกที่ไม่รู้เรื่องในวันนี้ กลับบอกว่า เขื่อนต้องพร่องน้ำในหน้าฝน แล้วประตูน้ำตามแม่น้ำลำคลองกลับไม่ยอมเปิดระบายน้ำ!!

ฉะนั้นที่ปี 2554 น้ำท่วมหนักนั่น ก็เพราะ พื้นที่ใต้เขื่อน ไม่เปิดประตูระบายน้ำด้วยเหตุผลที่ผมเคยอธิบายมาแล้ว เมื่อประตูน้ำไม่เปิด ต้นน้ำจะปล่อยน้ำได้อย่างไรครับ?

คลิกอ่าน อธิบดีกรมชลประทานเปิดใจ กับข้อหาบริหารน้ำผิดพลาด!


วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เมื่อเราได้รัฐบาลที่ไร้ประสบการณ์เรื่องน้ำ





วันนี้รองนายกฯ และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ออกมาขอโทษประชาชน พร้อมยอมรับแล้วว่า เหตุน้ำท่วมหนักคราวนี้ เพราะรัฐบาลไร้ประสบการณ์ในเรื่องจัดการน้ำ

คุณผู้อ่านครับ ผมอยากจะย้ำอีกครั้งว่า ผมไม่เคยเลือกพรรคประชาธิปไตย์เลยในการเลือกตั้งสส. จะมีแค่ครั้งเดียวที่เลือกคนของพรรคนี้ คือการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ผมจำใจต้องเลือกผู้ว่าฯสุขุมพันธฺุ์ นั่นเพราะนายชูวิทย์ คนที่ผมอยากจะเลือก ได้ประกาศไม่ลงเลือกตั้งผู้ว่าในคราวนั้น

แต่ผมเชื่อว่า ถ้าในวันนี้รัฐบาลยังเป็นพรรคประชาธิปไตย์ สถานการณ์น้ำท่วมคราวนี้น่าจะไม่หนักเท่าทุกวันนี้ครับ

นั่นเพราะพรรคประชาธิปัตย์ผ่านร้อนผ่านหนาวเรื่องน้ำท่วม และวิกฤติของชาติมาพอควร

-------------------------------

เมื่อวานซืน ผมดูรายการคมชัดลึก มีอาจารย์ท่านนึงบอกว่า ถ้าดูแผนที่น้ำจากดาวเทียม ปริมาณน้ำในปี38 ก็ไม่ต่างจากปี54เท่าไหร่ (แต่ปี54มากกว่า)

เพียงแต่การบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลนี้ เริ่มช้าเกินไป และตัดสินช้า ไม่มีความเด็ดขาดจึงทำให้การบริหารจัดการน้ำไม่บูรณาการจริงๆ

รัฐบาลยิ่งลักษณ์เคยหาเสียงว่า ต้องรีบแก้ปัญหาหาเรื่องน้ำท่วมเป็นสิ่งแรก แต่เข้ามาเมื่อเดือนสิงหาคม กว่าจะตั้งคณะรัฐมนตรีเสร็จก็ปาเข้าไปปลายเดือนสิงหาคม

ฉะนั้นเมื่อรัฐบาลเริ่มงานจริงๆ ก็คือเดือนกันยายน ถ้าเริ่มบริหารจัดการเรื่องน้ำเสียตั้งแต่วันนั้น ปัญหาจะไม่หนักหนาสาหัสเท่าวันนี้

นั่นเพราะไม่มีใครในรัฐบาลยิ่งลักษณ์มีความรู้เรื่องน้ำเลยสักคน

ถ้ามีคนรู้เรื่องน้ำ มีประสบการณ์เรื่องน้ำ ถ้าได้เห็นปริมาณน้ำ จากภาพถ่ายดาวเทียม ต้องคิดได้แล้วว่า น้ำต้องมากรุงเทพฯแน่ๆ และควรเริ่มเร่งระบายน้ำผ่านประตูระบายน้ำทุกบานที่มีอยู่

จัดการน้ำให้ผ่านทุกเส้นทางที่มีอยู่ เช่นด้านตะวันตก ผันเข้าแม่น้ำท่าจีน ด้านตะวันออกผันลงแม่น้ำบางปะกง ผันลงทุกทางทั้งสมุทรสาคร สมุทรปราการ และทุกๆที่ทำน้ำสามารถไหลผ่านได้

ส่วนตรงกรุงเทพฯ ต้องให้กรมชลประทานเปิดประตูระบายน้ำทุกคลองรังสิตช่วยระบายผ่านกรุงเทพฯ เพื่อแบ่งเบาภาระแม่น้ำเจ้าพระยา

แต่เมือรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ไม่มีคนที่มีความรู้เรื่องน้ำเลย จึงนิ่งนอนใจว่า ยังไงๆก็คงรอด ไม่ถึงกรุงเทพฯแน่ๆ

นั่นจึงเป็นความคิดที่ผิดมหันต์ เพราะไม่มีใครเข้ามาบริหารจัดการเรื่องน้ำแต่เนิ่นๆ ขนาดน้ำท่วมปทุมธานีและนนทบุรีแล้ว การขุดลอกคูคลองต่างๆก็เพิ่งจะเริ่มมาทำ

-------------------------

ต้องมีผู้รู้เรื่องน้ำในการจัดการได้แบบเต็มระบบ

เพราะกรมชลประทานคือผู้เปิดประตูน้ำ แต่แทบทุกพื้นที่ก็มีปัญหาระหว่างชาวบ้านและชาวนา จนไม่สามารถเปิดประตูระบายน้ำได้อย่างเต็มที่ เมื่อประตูระบายน้ำไม่สามารถระบายน้ำได้

เขื่อนก็ไม่สามารถจัดการให้น้ำออกจากเขื่อนได้เท่าที่ควรจะทำ เพราะปลายทางน้ำถูกปิดอยู่

เมื่อปลายทางน้ำถูกปิด (เพื่อช่วยชาวนา) ถ้าเขื่อนระบายลงมามาก ก็ยิ่งท่วมหนัก เพราะใต้เขื่อนก็มีน้ำท่วมหนักอยู้่แล้ว

ถ้าปลายทางยังไม่เปิด แล้วต้นทางจะปล่อยได้ยังไง??

หรืออย่างคลองรังสิต ถ้ากรมชลประทานอยากเปิดประตูระบายน้ำ แต่ถ้ากรุงเทพฯยังไม่ได้เปิดประตูน้ำรับ มันก็ไม่สามารถระบายน้ำได้อยู่ดี

วันนี้เราเห็นคลองในกรุงเทพฯหลายคลองน้ำน้อย จากการพร่องน้ำ เพื่อรอน้ำจากกรมชลประทาน แต่ถ้ากรมชลประทานไม่เปิดน้ำมา น้ำจึงไม่เต็มคลอง เพราะกรุงเทพฯรอน้ำจากกรมชล

พรรคประชาธิปไตย์บอกว่ากรงเทพฯเปิดรอน้ำมาหลายวันแล้ว ทำไมกรมชลฯไม่เปิดประตูน้ำให้ทุกบาน?

ฉะนั้น ถ้าเรามีผุ้นำ หรือผู้บริหารที่มีความรู้เรื่องน้ำ มองเห็นปัญหาเรื่องน้ำเสียแต่เนิ่นๆ การระบายน้ำก็จะไม่อั้นกันตรงประตูน้ำเหมือนที่ผ่านๆมา

----------------------------

ถ้ามีผู้บริหารที่มีประสบการณ์

ถ้าผู้บริหารมีประสบการณ์ เห็นปัญหาว่า ประตูน้ำระบายน้ำไม่ได้ ต้องรีบจัดการ ชดเชยให้ชาวนาทันที เพื่อจะให้ประตูน้ำเปิดให้น้ำผ่านได้ ซึ่งถ้าเปิดน้ำเสียแต่เนิ่นๆ น้ำจะไม่สูงมากเกินไป บริเวณที่จะได้รับความเสียหายก็จะไม่เป็นวงกว้าง

แต่รัฐบาลกลับไปมองที่ปลายทาง คืออยากจะให้แต่ราคาจำนำข้าวสูงๆ ไม่เคยมองการชดเชยเรื่องความเสียหายจากน้ำท่วมนาเลย แม้แต่ในช่วงหาเสียง น้ำก็ท่วมอยู่แล้วในหลายจังหวัด เช่นเวลาหาเสียง ไม่เคยเลยที่จะพูดถึงการชดเชยบริเวณที่น้ำท่วมหนัก พูดแต่เรื่อง จำนำได้หมื่นห้า

นั่นเพราะวิสัยทัศน์รัฐบาลนี้มองว่า เพราะรถคันแรก แท็บเล็ตเด็กป.1 สำคัญกว่าเร่งระบายน้ำ

--------------------------------

เพราะในหลวงทรงพระประชวร!!

อุทกภัยหนักในประเทศไทยตลอดเวลาที่ผ่านมา ทั้งปี26 ปี38 เพราะในหลวงยังทรงมีพระพลานามัยแข็งแรง ในหลวงจะลงมาจัดการเรื่องน้ำเพื่อช่วยรัฐบาลที่ผ่านมาตลอด เวลาที่รัฐบาลเกิดปัญหาติดขัด

เพราะการบริหารงานของรัฐบาลและหน่วยราชการต่างๆ มักจะเกิดความขัดแย้งไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทำให้การบริหารจัดการเรื่องน้ำจึงไม่สมบูรณ์

ในปี38 กรุงเทพฯก็เคยหวาดกลัวว่าน้ำจะท่วมกรุงเหมือนคราวนี้ เพราะปีนั้นทุกจังหวัดในลุ่มน้ำเจ้าพระยาวิกฤติสาหัสเช่นกัน

คนกรุงเทพฯเองก็เริ่มหวั่นเกรงว่า แม่น้ำเจ้าพระยาจะทะลักเข้ากรุงเทพชั้นใน เพราะในปี38นั้น กรุงเทพฯยังไม่มีคันกั้นน้ำตามแนวพระราชดำริเลย

แต่เมื่อในหลวงลงมาชี้แนะ รัฐบาล ชี้แนะกรมชลประทาน ชี้แนะกทม.

ทุกหน่วยงานต่างพร้อมใจสามัคคคี ไม่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย ไม่เกี่ยงกัน พร้อมใจกันทำงานรับใช้เบื้องพระยุคลบาทอย่างเต็มที่ ไม่ต้องคิดว่าผลงานใคร ไม่ต้องคิดว่าใครจะได้รับความชื่นชม ได้หน้า!!

กรมชลฯเปิดประตูน้ำ กทม.เปิดประตูช่วยระบายน้ำ ทั้งๆที่ตอนนั้นยังไม่มีระบบการระบายน้ำดีเท่าปัจจุบัน

ทุกหน่วยงานทำงานเต็มที่เพื่อถวายในหลวง

ปี38 ปีที่น้ำท่วมหนักที่สุดในประวัติศาสตร์ตอนนั้น กรุงเทพฯไม่มีคันกั้นน้ำตามแนวพระราชดำริเลย กรุงเทพฯไม่มีอุโมงค์ยักษ์ระบายน้ำเลย

แต่เรารอดได้เพราะพระบารมี ที่ชี้แนะให้นำน้ำออกทางตะวันออกของกรุงเทพฯ ผ่านทางคลองระบายน้ำสมัยรัชกาลที่5 ผ่านหนองงูเห่า ผ่านลงทะเลไป

ปี38 กรุงเทพฯชั้นในรอดจมน้ำได้อย่างหวุดหวิด!!

ย้อนดูในหลวงทรงเรียกประชุมแก้ปัญหาน้ำท่วมปี38



------------------------

เมื่อในหลวงทรงพระประชวร

เมื่อก่อนคนไทยยังมีในหลวงลงเสด็จตรวจระบบชลประทาน แต่หลายปีมานี้ ในหลวงทรงพระประชวร พระองค์ไม่ได้เสด็จลงไปดูประตูระบายน้ำในที่ต่างๆนานแล้ว ข้าราชการไทยเลยเช้าชามเย็นชาว ไม่เคยสนใจบำรุงรักษาประตูน้ำ ไม่เคยสนใจขุดลอกคลองเท่าที่ควร

ขนาดวิกฤติขนาดนี้ ยังพูดมาได้ว่า เครื่องสูบน้ำเสีย เครื่องสูบน้ำมีไม่พอ? ผมไม่โทษรัฐบาลนี้รัฐบาลเดียว ผมว่า มันห่วยทุกรัฐบาลนั่นแหล่ะ

แม้กระทั่งประชาชนตามริมน้ำก็ไม่มีจิตสำนึกรักษาแม่น้ำลำคลอง ไม่มีการช่วยกันเก็บผักตบชวา แถมยังทิ้งขยะลงแม่ลำน้ำลำคลองมากมาย ส่วนคนไทยก็ห่วยไม่ทำหน้าที่พลเมือง แต่ชอบเรียกร้องสิทธิกันพร่ำเพรื่อ 

พอเกิดวิกฤติน้ำท่วม จึงเกิดขยะ เกิดสวะ มาขวางทางระบายน้ำจำนวนมาก

เมื่อก่อนถ้าในหลวงเสด็จที่ใด แม่น้ำลำคลองที่นั้นจะสะอาดสดใสทันที?? เพราะอะไรล่ะ?



-------------------------

การบริหารงานที่ขาดเอกภาพและผู้นำองค์ความรู้

เพราะนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ไม่มีองค์ความรู้เรื่องน้ำเลยแม้แต่นิดเดียว มีผู้รู้มีผู้เชี่ยวชาญมาแนะนำวิธีการมากมายในการบริหารจัดการน้ำ

แต่เพราะนายกรัฐมนตรีขาดองค์ความรู้เพื่อประกอบการตัดสินใจในแนวทางที่ผู้รู้เสนอมา

สุดท้ายที่ผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ รัฐบาลของนายกฯยิ่งลักษณ์จึงไม่ได้ทำตามอย่างโดยเร็ว

ช้าเกินไป ขาดความเด็ดชาด และความเด็ดเดี่ยวในการตัดสินใจเลือกใช้หนทางเพื่อเอาชนะปัญหาเท่าที่ควร

ณ.เวลาวิกฤติ ชาติต้องการผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ กล้าตัดสินใจ รวดเร็ว แต่ยิ่งลักษณ์เธอไม่มี!! เพราะเธอเป็นเหมือนแค่เด็กฝึกงานเท่านั้น

ผมเชื่อว่า สมมุติว่านายกรัฐมนตรีไม่ใช่ยิ่งลักษณ์ แต่ยังเป็นใครก็ได้ที่มีระบบความคิดที่ดีกว่าเธอ

น้ำจะไม่ท่วมหนักเท่านี้ (เว้นกรณีเดียวที่อาจหนักกว่านี้คือแผ่นดินจมลงมากขึ้น) )

นั่นเพราะประเทศชาติต้องการผู้นำที่สามารถจะย่อยข้อมูลจากผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งนำมาสู่การตัดสินใจที่ถูกต้องและรวดเร็วกว่า เด็ดขาดกว่า แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดีกว่านี้แน่นอน



เพราะนายกรัฐมนตรีหญิงของไทยคนนี้ เธอเป็นเพียงประชาสัมพันธ์บริษัทมาตลอดชั่วชีวิตการทำงานของเธอนั่นเอง


ขนาดศปภ. ยังน้ำท่วม แล้วจะให้ประชาชนรอดได้อย่างไร?

(ศปภ.=ศูนย์ไม่ปลอดภัยต่อประชาชน!!)


คลิกอ่าน สึนามิน้ำจืดปี54 ต่างจากอุทกภัยปี38อย่างไร?



วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สาเหตุน้ำท่วม54 ที่หลายคนอาจคิดไม่ถึง!!






หลังจากผมได้นำเสนอ การบริหารจัดการน้ำในเขื่อนว่า ไม่ได้ผิดพลาด มา 3 บทความแล้วนั้น

ย้อนอ่าน การบริหารน้ำในเขื่อนภูมิพลไม่ได้ผิดพลาด

แต่ความจริง ยังมีสาเหตุอีกด้านที่ทำให้การบริหารจัดการเขื่อนและประตูระบายน้ำต่าง ๆ เป็นได้ด้วยความยากลำบากมากในปีนี้นั่นคือ

นโยบายจำนำข้าว ของรัฐบาลเพื่อไทย !! 

------------------------

นโยบายจำนำข้าว เป็นสาเหตุของน้ำท่วม54

แน่นอนว่า ผมได้นำเสนอปริมาณฝนในปีนี้ และปริมาณน้ำในเขื่อนมาแล้ว ว่ามีมาก เพราะอิทธิพลพายุมากถึง 5 ลูก ในปี 2554 (ทั้งๆที่ปี53 ก็มีน้ำท่วมหนักแต่มีอิทธิพลพายุเข้าแค่ลูกเดียวเท่านั้น)

ในปี 2554 นี้น้ำเริ่มท่วมตั้งแต่เดือนพฤษภาคม และเริ่มหนักขึ้นเรื่อยๆโดยเฉพาะภาคเหนือ ซึ่งน้ำจากภาคเหนือต้องไหลมาที่ภาคกลาง

ถ้าน้ำท่วมภาคเหนือ ภาคกลางก็ย่อมได้รับผลกระทบไม่มากก็น้อย

ทีนี้ในช่วงเดือนมิถุนายน 54  ซึ่งยังเป็นช่วงหาเสียงของพรรคการเมือง พรรคเพื่อไทยซึ่งมีแนวโน้มชนะการเลือกตั้งสูง ได้หาเสียงไว้ว่า จะรับจำนำข้าวเปลือกตันละ 15,000 บาท ข้าวเปลือกหอมตันละ 20,000บาท

ปีนี้จึงมีชาวนาจำนวนมาก เร่งปลูกข้าวเพื่อจะปลูกให้ได้ปีละ 3-4 รอบ โดยเฉพาะชาวนาในพื้นที่เขตชลประทานตัวอย่างเช่น จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อหวังได้กำไรจากราคาจำนำที่สูงเป็นประวัติการณ์

แต่ในสภาวะน้ำท่วม นโยบายจำนำนั้น ต้องมีข้าวไปจำนำถึงจะได้เงิน ซึ่งต่างจากนโยบายประกันราคา เพราะประกันราคาข้าวถ้าไม่มีข้าวเพราะปัญหาอุทกภัย ก็ยังได้เงินจากส่วนต่าง โดยคิดเฉลี่ยปริมาณข้าวต่อไร่เป็นเกณฑ์คำนวณ

เพราะการประกันราคา ชาวนาจะต้องไปลงทะเบียนจำนวนนาที่ปลูกไว้ก่อนว่าปลูกกี่ไร่ ซึ่งต่อมาถ้าเกิดน้ำท่วมนาจนเสียหาย นโยบายการประกันราคาก็ยังจ่ายส่วนต่างราคาข้าวให้เหมือนเดิม

เช่น ถ้านายA.ปลูกข้าว10ไร่ สมมุติรัฐบาลให้ผลผลิตต่อไร่เฉลี่ยไร่ละ70ถัง ถ้าชาวนาเก็บเกี่ยวข้าวได้ ก็จะได้ข้าว 700ถัง ซึ่งเท่ากับ 7,000กิโลกรัม หรือ7ตัน

ข้าว7ตัน สมมุติถ้านายA ขายข้าวที่ราคาตลาดตันละ9,000บาท แต่ราคาที่รัฐบาลประกันไว้ที่ตันละ12,000บาท ชาวนาก็จะได้ส่วนต่างจากราคาข้าว คือ3พันบาทต่อตัน (ตัวเลขสมมุติ) เท่ากับนาย A จะได้เงินไป21,000บาทจากจำนวนนา10ไร่ โดยที่ไม่ต้องมีข้าวเลย

นี่คือข้อดีของการประกันราคา เพราะแม้ข้าวจะเสียหาย แต่ชาวนาก็ยังจะได้ส่วนต่างจากราคาข้าวเหมือนเดิม

แต่การจำนำข้าวถ้าน้ำท่วมนาเสียหาย ไม่มีข้าวไปจำนำ ก็คือสูญหมด!! ไม่ได้เงิน!!

------------------------

สาเหตุที่ชาวนาต้องยื้อนาข้าวเอาไว้

เมื่อเกิดสภาวะน้ำท่วม ประตูระบายน้ำของกรมชลประทาน ไม่สามารถเปิดระบายน้ำได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เพราะมีการอั้นน้ำตามประตูน้ำต่างๆ เพราะกลัวน้ำจะไปท่วมนาข้าว

ยิ่งในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายนได้รัฐบาลใหม่แล้ว ปริมาณน้ำในเขื่อนเริ่มสูงมาก แต่มีข่าวลือออกมาว่า มีนักการเมืองในรัฐบาลสั่งชะลอการปล่อยน้ำจากเขื่อน ทำให้น้ำไม่ถูกปล่อยออกมามากเท่าที่ควรจะปล่อยในช่วง2เดือนนี้ เพราะต้องการให้ชาวนาได้จำนำข้าว โครงการประชานิยมของรัฐบาลจะได้สำเร็จ (คลิกอ่าน รมว.เกษตรในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ยอมรับสั่งชะลอน้ำในเขื่อน)

เพราะเกรงว่าจะไปซ้ำเติมภาวะน้ำท่วมที่มีอยู่ และจะไปทำให้ภาวะน้ำท่วมขยายวงกว้างมากขึ้น ซึ่งจะทำให้มีนาข้าวในหลายๆพื้นที่จะเสียหาย

ตัวอย่างนึงที่เห็นได้ชัดคือ มีชาวนาจากสิงห์บุรี ชัยนาท เกิดการประท้วงว่า ทำไมที่สุพรรณบุรีน้ำยังไม่ท่วม ทั้งๆที่นาของพวกเขาน้ำท่วมมาเป็นเดือนๆแล้ว

ลือกันว่า มีนักการเมืองแทรกแซงการเปิดประตูน้ำ เพื่อไม่ให้น้ำท่วมนาที่สุพรรณบุรี ทำให้น้ำทางเหนือไม่สามารถระบายออกทางแม่น้ำท่าจีนทางฝั่งตะวันตกได้อีกทาง

จึงเกิดการอั้นน้ำมากขึ้นๆ จนกระทั่งทำให้ประตูระบายน้ำบางโฉมศรีเลยแตก!!!


คลิกอ่านข่าว กรณีช่วยสุพรรณฯจนประตูบางโฉมศรีแตก

------------------------------

เพราะชาวนากลัวขาดทุนจากโครงการจำนำข้าว

ถ้ายังมีโครงการประกันราคาข้าวอยู่ เมื่อเกิดอุทกภัยจนข้าวในนาเสียหาย

ชาวนาจะได้รับส่วนต่างจากราคาข้าว(โดยไม่ต้องมีข้าว) ไร่ละ 3,000 บาท ถ้าจากกรณีสมมุติของนายA

นาย A ก็จะได้เงินจากส่วนต่างราคาประกันตันละ3,000บาท และยังได้เงินชดเชยจากน้ำท่วมอีกไร่ละ2,200บาท รวมจะได้เงินไร่ละ 22,000บาท รวมกับเงินส่วนต่างอีก 21,000บาท จะได้ทั้งหมด 43,000บาท (เฉลี่ยได้เงินไร่ละ4,300บาท) 

หมายเหตุ ทั้งหมดคือตัวเลขสมมุติคร่าวๆเท่านั้น

ซึ่งต้นทุนการทำนาของชาวนาไทยก็อยู่ประมาณ 4,000-6,000บาทต่อไร่แล้วแต่พื้นที่ ซึ่งถ้าได้เงินตามนี้ ชาวนาก็จะขาดทุนน้อยลง (ถ้าใช้แนวเกษตรชีวภาพต้นทุนจะเหลือไม่เกิน3พันบาท)

(ชาวนายังได้เงินช่วยเหลือน้ำท่วมอีกครอบครัวละ 5,000 บาท อีกด้วย )

ฉะนั้น ถ้ายังเป็นโครงการประกันราคาข้าว ชาวนาก็จะทำใจยอมรับว่าน้ำต้องท่วมนาได้ง่ายกว่า เพราะเขายังได้ทุนคืนมาบ้าง หรือขาดทุนไม่มากเกินไป

แต่พอเปลี่ยนรัฐบาลใหม่มาเป็นการรับจำนำราคาข้าวแทน ถ้าชาวนาไม่มีข้าวไปจำนำ คือขาดทุนแหง ๆ เพราะจะได้แค่เงินชดเชยจากน้ำท่วมเพียงไร่ละ 2,200 บาทเท่านั้น ขาดทุนเห็น ๆ

ด้วยเหตุนี้ ชาวนาจึงพยายามยื้อนาข้าวให้รอดให้ถึงที่สุด!!

ดูคลิปสั้นๆ เจาะข่าวเด่น ชาวนาบอกว่า จะรอดน้ำท่วมได้จากเงินส่วนต่างโครงการประกันราคา



ดูไทยรัฐเปรียบเทียบ การจำนำข้าว กับ การประกันราคาข้าว แบบง่ายๆ คลิกที่นี่

----------------------------------

ความล้มเหลวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์

ตั้งแต่ช่วงหาเสียง น้ำก็เริ่มท่วมในหลายจังหวัดแล้ว ยิ่งลักษณ์หาเสียงไว้ว่า เมื่อได้เป็นรัฐบาลงานแรกที่ทำคือ เร่งแก้ปัญหาน้ำท่วม

แต่เมื่อยิ่งลักษณ์เป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว กลับไม่เคยแก้ปัญหาเรื่องน้ำอย่างจริงจังเลย นอกจากทำตัวเป็นนางงามไปแจกถุงยังชีพ โบกมือบ๋ายบาย ส่งยิ้มหวานๆ ใบ้หวยให้ประชาชนไปวันๆ 

ส่วนงานหลักคือไปคิดแต่เรื่องประชานิยมที่แก้ไขแล้วแก้ไขอีกเพราะไม่คิดให้ดีไว้ก่อน

และที่ไม่ควรรีบทำแต่กลับรีบทำที่สุดก็คือ ช่วยพี่ชาย (เช่นคืนพาสปอร์ต หาทางออกกม.นิรโทษกรรม)

ทั้ง ๆ ที่สิ่งควรทำโดยเร็วที่สุดหลังเข้ามาเป็นรัฐบาล ก็คือ รีบบริหารจัดการให้น้ำให้มีที่ไหลไปอย่างถูกต้อง ควรคิดว่าจะให้น้ำไปทางไหนดี เพราะแม่น้ำเจ้าพระยาไม่เพียงพอต่อการระบายน้ำลงทะเลแล้ว

เมื่อรัฐบาลไม่รีบหาทางผันน้ำ น้ำจึงทะลักถล่มทุกจังหวัด เพราะปล่อยให้แม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นสูงเกินไป โดยเฉพาะในเดือนกันยายน-ตุลาคม ประตูน้ำในคลองรังสิตทุกประตูก็ถูกปิดตาย!! ไม่ได้ระบายน้ำบ้างเลย เพราะกลัวชาวนานาล่ม

จนประตูระบายน้ำหลายแห่งพัง ทั้งๆที่ควรแบ่งภาระจากแม่น้ำเจ้าพระยาผ่านคลองรังสิตตั้งนานแล้ว

จนน้ำถล่มนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งพังแล้วพังเล่า

จนชาวบ้านกับชาวนาในหลายพื้นที่ต้องทะเลาะกันเรื่องประตูน้ำ เพราะชาวบ้านต้องทนน้ำท่วมสูงนานเป็นเดือนๆ เพื่อไม่ให้น้ำไปท่วมนาข้าวของชาวนา

เพราะรัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้แต่ใช้วิธีก่อคันกั้นน้ำให้สูงขึ้นๆ โดยยังไม่เคยหาทางระบายน้ำเลย แล้วก็อวดว่า เอาอยู่ ๆ 

จนกระทั่งนวนครล่ม ถึงเพิ่งจะเริ่มคิดได้ว่า ต้องผันน้ำจากคลองรังสิตส่วนหนึ่งผ่านเข้ากรุงเทพฯ และอีกส่วนหนึ่งผันไปทางตะวันออกของกรุงเทพฯ

แต่การเปิดประตูระบายน้ำย่านรังสิตก็ทำไม่สำเร็จง่ายๆ เพราะชาวบ้านเขาไม่ยอมให้ผ่าน

ถ้านายกรัฐมนตรีแถลงการณ์เองไปเลยว่า เขตนั้น จังหวัดนั้นๆ ที่จะให้น้ำผ่าน จะชดเชยให้พวกเขาเป็นพิเศษ แต่ก็ไม่ทำ

เมื่อไม่ทำ สุดท้ายน้ำกำลังทะลักเข้ามาจนจะท่วม ศปภ.ดอนเมือง แล้วล่ะครับ ขนาดศูนย์บัญชาการของตัวเองยังเอาไม่รอด แล้วจะไปช่วยใครได้?

(ช่วงที่ผมเขียนบทความนี้ กทม.พยายามจะไปวางกระสอบทรายกั้นไม่ให้น้ำจากอนุสรณ์สถานเข้าถนนวิภาวดี แต่ถูกชาวต.คูคต ปทุมธานีมาขัดขวางครับ สุดท้ายกทม.ต้องล่าถอย เพราะมาทำนอกเขตตัวเอง )

เริ่มมีหลายคนบอกว่า ที่น้ำท่วมหนักเพราะน้ำฝนปีนี้มากผิดปกติน่ะไม่น่าจะใช่แล้ว แต่อาจเป็นเพราะความบ้องตื้นของผู้นำประเทศมากกว่า

เอาปัญญาชนมากรอกทราย แล้วเอาควายมาจัดการน้ำ (ประโยคฮิตที่สุดในโลกออนไลน์)

จากที่จะเป็นแค่น้ำท่วมหนักเหมือนทุกๆปีที่ผ่านมา เลยกลายเป็นมหาภัยพิบัติ!! แทน




มติชนออนไลน์

ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์กล่าวอีกว่า เมื่อคืนวันที่22ต.ค. ที่ ต.หลักหก มีปัญหาคันกั้นน้ำชั่วคราว ซึ่งยังไม่สามารถกู้สถานการณ์ได้เต็มที่ เพราะอยู่ในพื้นที่ของ จ.ปทุมธานี และอีกจุดอ่อนของ กทม.คือถนนพหลโยธินตัดคลองรังสิต ซึ่งเป็นพื้นที่ของ จ.ปทุมธานี เช่นกัน ทาง กทม.ได้เข้าไปสร้างคันกั้นน้ำชั่วคราวแต่ไม่สูงพอ ทำให้น้ำเอ่อล้นไปถึงห้างเซียร์ รังสิต และอนุสรณ์สถาน ซึ่งเมื่อคืนนี้มีเจ้าหน้าที่ของ กทม.เพียงหน่วยงานเดียวที่ได้พยายามแก้ไข แต่มีประชาชนจำนวนมากต่อต้านการทำงานของ กทม. จนถึงขั้นจะใช้ความรุนแรงต่อกัน ดังนั้นในเมื่อข้าราชการและลูกจ้างของ กทม.ไม่ได้รับการคุ้มครอง และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต จึงได้สั่งการให้ถอนกำลังออกมาทั้งหมด หากพื้นที่ตรงนั้นยังไม่ได้รับการแก้ไข น้ำอาจเข้าถึงอนุสรณ์สถาน ดอนเมือง และถึงศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย

----------------------

ไว้ถ้าบ้านผมยังไม่จมน้ำไปก่อน ผมจะเขียนว่า วิธีคิดของคนโบราณในการเสียสละปกป้องบ้านเมืองต่างจากคนปัจจุบันอย่างไร? ซึ่งสามารถเทียบได้กับเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่คราวนี้ครับ

"มีผู้นำฉลาดย่อมพาประชาชนพ้นภัย แต่ถ้ามีผู้นำโง่ก็พาประชาชนล่มจม!!" 

(ณ.วันนี้มีผู้เสียชีวิตจากน้ำท่วมคราวนี้ไปแล้ว356คน)

----------

ฝากไว้ให้คิด หน้าที่ๆ ถูกต้องของเขื่อนคืออะไร

เขื่อนมีหน้าที่หลักคือ กักเก็บน้ำไว้ใช้ยามแล้งครับ และมีผลพลอยได้คือช่วยชะลอน้ำ

ส่วนกรณีน้ำท่วมโดยหลักการที่ถูกต้องไม่ควรโทษเขื่อนเลยครับ

เพราะการแก้ปัญหาน้ำท่วมที่ถูกต้องคือการบริหารจัดการระบายน้ำให้ออกทะเลโดยเร็ว แต่ปี54 มัวแต่กักน้ำไว้ตามประตูระบายน้ำจนน้ำไหลลงทะเลช้าเกินไป

ส่วนกรณีน้ำล้นสปริงเวย์ ปริมาณน้ำแต่ละวันไม่ได้เยอะเท่าไหร่ครับ น้ำเต็มเขื่อนน่ะดีต่อหน้าแล้งครับ เพราะเราไม่มีทางรู้เลยว่า ปีต่อๆ ไป ฝนเหนือเขื่อนจะแล้งยาวนานแค่ไหน


คลิกย้อนอ่าน สึนามิน้ำจืด54 ต่างจากน้ำท่วม38อย่างไร?


วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ทำไมต้องรักษากรุงเทพให้รอดน้ำท่วม!!






ถ้าคุณผู้อ่านได้ตามอ่านบทความในตอนที่แล้ว ผมได้นำเสนอข้อมูลเรื่องปริมาณน้ำฝนปี54 สูงกว่าอุทกภัยปี38 และปี49ไปแล้ว

ฉะนั้นใครที่บอกว่า ฝนปี54ไม่มากกว่าปี38 ปี49 คือมั่วนิ่มครับ

และยังมีอีกประเด็นที่ทำให้ปี54 นี้หนักหนาสาหัสกว่าทุกปีอีกอย่างก็คือ

แทนที่ปริมาณน้ำฝนจะตกเฉลี่ยไปทุกๆเดือนมากบ้างน้อยบ้างคละๆกันไปอย่างพอประมาณ ซึ่งปี54นั้น แม้ตัวเลขปริมาณฝนเฉลี่ยจะสูงกว่าปี38 และปี49ไม่มากนัก

แต่ที่หนักหนาสาหัสจนผิดปกติก็คือ เฉพาะเดือนสิงหาคมและเดือนกันยายน54 กลับมีฝนมาถล่มเฉพาะ2เดือนนี้อย่างสูงสุดมากเป็นประวัติการณ์ครับ

ทำให้เขื่อนเต็มเร็วอย่างไม่เคยมีมาก่อน!!

และเผอิญอย่างยิ่ง การที่ฝนตกหนักแบบถล่มทลายเฉพาะในเดือนสิงหาคม-กันยายนนั้น เหมือนตกกระหน่ำต้อนรับรัฐบาลยิ่งลักษณ์!! (เอ๊ะ!ต้อนรับหรือจะไล่กันแน่?)

----------------------------

ทำไมต้องปกป้องกรุงเทพฯ

เพราะกรุงเทพฯคือศูนย์กลางการบริหารประเทศ ศูนย์กลางเศรษฐกิจการค้าและการเงิน ศูนย์กลางการคมนาคมขนส่ง ศูนย์กลางของการสื่อสารข้อมูลทุกชนิด เพราะกรุงเทพฯคือเมืองหลวงของประเทศไทย

ตอนนี้ทุกจังหวัดในลุ่มเจ้าพระยาโดนน้ำถล่มไปเรียบร้อยแล้ว มูลค่าความเสียหายของทุกจังหวัดรวมกันหลายแสนล้าน แต่ถ้ากรุงเทพฯจมน้ำเหมือนทุกๆจังหวัดที่ผ่านๆมา มูลค่าความเสียหายแทบประเมินไม่ได้ มันมากมายมหาศาลยิ่งนัก จะนับล้านๆบาททีเดียว

ตอนนี้นักลงทุนต่างชาติเริ่มมองศักยภาพในการแก้ปัญหาของรัฐบาลไทยและประเทศไทยในเรื่องน้ำท่วม เขาเริ่มมีความคิดในการย้ายฐานการลงทุนออกจากไทยบ้างแล้ว

ยิ่งถ้ารัฐบาลไม่สามารถปกป้องเมืองหลวงไว้ได้อีก ก็ยิ่งเป็นการทำลายความน่าเชื่อถือของประเทศอย่างหนัก และจะเป็นเหตุผลสำคัญที่นักลงทุนตัดสินใจหนีประเทศไทยไปจริงๆ

กรุงเทพฯจึงเป็นที่มั่นสุดท้ายในการเรียกความมั่นใจของนักลงทุนต่างชาติที่เฝ้ามองอยู่กลับมา

ถ้ารักษากรุงเทพฯไว้ไม่ได้ ประเทศไทยพังยับเยินแน่ครับ

คนต่างจังหวัดบางคนอาจมองไม่เห็นความสำคัญในจุดนี้ เพราะเขาไม่ได้ทำมาหากินในกรุงเทพฯ

แต่ให้รู้เถอะครับว่า ถ้ากรุงเทพฯจนน้ำ จะต้องกระทบกระเทือนพวกเขาแน่ๆไม่ทางใดก็ทางหนึ่งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ถ้ากรุงเทพฯจมน้ำ การฟื้นฟูประเทศก็จะยิ่งยากยิ่งขึ้นอีกหลายเท่า จะทำให้ประเทศชาติขาดภาษีในการพัฒนาและฟื้นฟูประเทศอีกมหาศาล จะทำให้ประเทศต้องใช้เงินกู้มาฟื้นฟูประเทศและกรุงเทพฯอย่างมากมายมหาศาลเช่นกัน

คนกรุงเทพฯแท้ๆมีประมาณ5ล้าน ส่วนที่เหลือคือคนต่างจังหวัดที่เข้ามาทำงานอีก5ล้าน ยังไม่รวมชาวต่างชาติอีกประมาณ2-3ล้านคน เบ็ดเสร็จถ้ากรุงเทพฯจมน้ำ จะมีผลกระทบถึงคนไม่ต่ำกว่า12ล้านคน

อย่ามองว่าเป็นการปกป้องคนกรุงเทพฯ แต่ให้มองว่านี่คือการปกป้องกรุงเทพฯของเราทุกคน

จงมองว่าคือการปกป้องเมืองหลวงของไทย ปกป้องความมั่นคงของประเทศ ปกป้องประเทศไทยให้เสียหายน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะที่่ผ่านมาไทยเราเสียหายไปมากพอแล้ว

ถ้ากรุงเทพฯรอด คนต่างจังหวัดก็จะมีโอกาสได้รับการฟื้นฟูเร็วขึ้น!!

แต่ถ้ากรุงเทพฯจมด้วย ผมบอกตามตรง ไทยเราเสียหายหนักยิ่งกว่าสึนามิญี่ปุ่นแน่ๆครับ

ดูง่ายๆ สึนามิที่ไทยเมื่อปี47 เสียหายมากแค่ไหน แต่ก็ฟื้นฟูได้เร็วเพราะระบบช่วยเหลือของกรุงเทพฯยังทำงานได้

หรือคิดง่ายๆ ถ้ากรุงเทพฯจม โรงพยาบาลในกรุงเทพฯจม แล้วผู้ป่วยจากทุกจังหวัดจะหนีไปไหนได้อีก?

--------------------------

ระบบความคิดคนไทยจากการศึกษาไทยที่ล้มเหลว

เพราะคนไทยจำนวนมากเริ่มมองที่ตัวเองเป็นหลักมากกว่ามองไปที่ส่วมรวมเป็นหลัก หลายคนเริ่มยึดความคิดที่ว่า ตัวใครตัวมัน รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี จึงทำให้เกิดความเห็นแก่ตัวมากขึ้น ความเสียสละลดน้อยลง

พระพุทธศาสนาสุภาษิตได้สอนไว้ว่า พึงสละทรัพย์ เพื่อรักษาอวัยวะ พึงสละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต” พึงสละทั้งทรัพย์ อวัยวะ และชีวิต เพื่อรักษาธรรมหรือความถูกต้อง

นั่นคือสอนให้คนเรารู้จักเรียงลำดับความสำคัญของสิ่งต่างๆ ว่าสิ่งใดควรสละ สิ่งใดควรปกป้อง

ชีวิตของคนกรุงเทพและคนต่างจังหวัดย่อมเท่าเทียมกัน แต่กรุงเทพฯเป็นเมืองหลวงของไทยที่สำคัญต่อคนทั้งประเทศ เพราะถ้ากรุงเทพฯจม จะกระทบคนทั้งประเทศทุกจังหวัด!!

นี่คือการเรียงลำดับความสำคัญที่ถูกต้องครับ

-----------------------------

รัฐบาลจำเป็นต้องรักษากรุงเทพฯไว้ให้ได้

เพราะทุกจังหวัดที่ผ่านมา รัฐบาลล้มเหลวมาแล้วทุกที่ ฉะนั้นเหลือแต่กรุงเทพฯที่เป็นหัวใจของประเทศเท่านั้น ที่จะพิสูจน์ฝีมือรัฐบาลนี้เพื่อเรียกความเชื่อมั่นของนักลงทุนกลับคืนมา

ถ้ายังรักษากรุงเทพฯไว้ไม่ได้อีก

ทั้งนายกรัฐมนตรี ผู้ว่ากทม สมควรต้องรับผิดชอบทันทีครับ

แค่กล่าวคำว่า "เสียใจ" ยังไม่พอครับ เพราะสปิริตผู้นำต้องสูงกว่าคนทั่วไป

--------------------------

สุดท้าย ผมเห็นด้วยที่กรุงเทพฯต้องยอมให้น้ำผ่านมากขึ้น ให้ท่วมบ้างพอดำเนินชีวิตได้ต่อไป ยังดีกว่าตูมเดียวจบ!! จมบาดาล!!

ฤาธรรมชาติต้องการสอนให้รู้ว่า ประเทศไทยต้องหันมายึดเกษตรกรรมพอเพียงเป็นหลัก??

ขอมอบเพลงนี้ให้นายกฯยิ่งลักษณ์ครับ

เพลง Rainmaker by Yanni




วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สึนามิน้ำจืดปี54ต่างจากน้ำท่วมปี38อย่างไร?






ผมในฐานะคนกรุงเทพฯ อยู่ในเขตลาดพร้าวแม้จะยังไม่ใช่เขตที่ติดกับปทุมธานี แต่ก็ใจตุ๊มๆต่อมๆมาหลายวันแล้ว เพราะถ้าน้ำมาถึงบางเขนได้เมื่อไหร่ ลาดพร้าวก็ไม่แน่ว่าจะรอด

เห็นตัวเลขประมาณการทางทีวีไทยว่า ถ้าหากคันกั้นน้ำด่านสุดท้ายของกทม.เกิดแตกขึ้นมา แถวใกล้ๆบ้านผม คือโรงเรียนสตรีวิทย์2 ก็อาจท่วมถึง1เมตรครึ่ง

ก่อนอื่นผมขอบอกข้อมูลเรื่องการระบายน้ำจากเขื่อนภูมิพลในวันที่19ต.ค.2554 สักนิด ปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อน90.30ล้านลบ.ม. ปริมาณน้ำไหลออก60ล้านลบ.ม. (หยุดการปล่อยน้ำทางสปิลเวย์แล้ว)

คลิกที่รูปเพื่อขยาย!!


ที่ผมนำตัวเลขปริมาณน้ำในเขื่อนวันนี้มาให้ดู เพื่อจะบอกว่า แม้ตอนนี้ทางภาคเหนืออากาศเริ่มหนาวแล้ว ฝนตกน้อยลงแล้วก็ตาม

แต่วันนี้ปริมาณน้ำที่เข้าเขื่อนภูมิพล ก็ยังมีปริมาณมากกว่าน้ำที่ระบายออกอยู่ดี

แปลว่าอะไร? ก็แปลว่า ถ้าไม่มีเขื่อนภูมิพลมาช่วยชะลอน้ำเอาไว้ ตอนนี้ก็ต้องมีน้ำไหลลงมาวันละ90ล้านลบ.ม.ต่อวันเต็มๆ

(ผมไม่ได้บอกว่า ต้องสร้างเขื่อนแล้วดีนะครับ กรุณาอย่าหลงประเด็น)

-----------------------------------

น้ำท่วมปี2538 ต่างกับปี2554 อย่างไร?

ประเด็นแรก ที่ต่างอย่างชัดเจนที่สุด คือปริมาณน้ำฝนปี54 มากกว่าปี38 และปี49 (ข้อมูลปริมาณฝนจากvoictv)

ประเด็นที่2 คือ สภาพภูมิประเทศเปลี่ยนแปลงไป เช่นเมื่อปี38 ยังไม่มีนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่ง

ปี38 ไม่มีสนามบินสุวรรณภูมิ พื้นที่เดิมคือหนองงูเห่า ซึ่งเป็นแก้มลิงธรรมชาติ

ปี38 ด้านตะวันออกบริเวณใกล้เคียงสนามบินสุวรรณภูมิ มีโรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นมากมาย ขวางทางน้ำไหล ซึ่งเกิดจากความล้มเหลวเรื่องผังเมือง ปล่อยให้สร้างบ้านแปลงเมืองอย่างไร้ระเบียบ และถึงมีผังเมืองแล้ว แต่การบังคับใช้กฏหมายควบคุมให้เป็นไปตามผังเมืองก็ล้มเหลว

ปี38 ยังมีป่าไม้มากกว่าปี54 ทำให้น้ำเหนือไม่ไหลลงมาเร็วเกินไป มาตรการปราบพวกตัดไม้ทำลายป่าล้มเหลว!!

ปี54 มีถนนใหม่เกิดขึ้นมากมาย แถมสูงขึ้น ยิ่งขวางการไหลของน้ำ เพราะคิดสร้างถนน โดยไม่เคยสนใจว่าจะขวางเส้นทางของน้ำ

ปี54 เพราะชาวนาอยากได้จำนำข้าว15,000บาท ทำให้มีการเร่งปลูกข้าวหลายครั้ง เพิ่มพื้นที่ปลูกมากขึ้น ทำให้การบริหารจัดการน้ำตามประตูระบายน้ำต่างๆยากลำบากมากขึ้น เพราะกลัวน้ำท่วมนา!!

และที่กรุงเทพฯมีความเสี่ยงน้ำท่วมสูง นั่นเพราะบริเวณย่านคลองรังสิต จากที่เคยเป็นทุ่งนา เดี๋ยวนี้กลายเป็นเมืองมากขึ้น มีหมู่บ้านจัดสรรเพิ่มขึ้นมากมาย ทำให้ขาดแก้มลิง(ทุ่งนา)ช่วยการรับน้ำ

นนทบุรี เดิมเป็นสวนผลไม้สวนทุเรียน เดี๋ยวนี้กลายเป็นกรุงเทพฯ2 ปทุมธานีเดิมเป็นทุ่งนา เดี๋ยวนี้กลายเป็นกรุงเทพฯ3 ทำให้ยิ่งขวางทางน้ำมากขึ้น เพราะเน้นสร้างเมืองโดยลืมเผื่อทางน้ำหลากตามธรรมชาติไว้ด้วย

อยุธยา เดิมเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ แต่ตอนนี้เป็นแหล่งอุตสาหกรรม มีนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่5แห่ง มูลค่ารวมหลายแสนล้าน ก็มาขวางการไหลของน้ำเช่นกัน

นี่คือ สาเหตุคร่าวๆ ที่ผมพอจะนึกได้

---------------------------

ดูกราฟน้ำเขื่อนภูมิพลปี54 เทียบกับปี38



ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า ปี38 น้ำท่วมหนักมากในประวัติศาสตร์เช่นกัน กรุงเทพฯชั้นในเสี่ยงภาวะน้ำท่วม แต่รอดได้ด้วยพระบารมีที่ทรงชี้แนะ

ทั้งๆที่กราฟปี38 เขื่อนภูมิพลน้ำไม่เต็มเขื่อน แต่น้ำก็ท่วมหนักที่สุด?

นั่นเพราะปี38 ฝนที่ตกเหนือเขื่อนภูมิพลไม่ได้มีปริมาณมาก อีกทั้งปี38 น้ำท่วมหนักเกิดจากแม่น้ำยมมากที่สุด ซึ่งในหลวงก็ทรงบอกเช่นนั้น

ประเด็นนี้แนะนำให้ไปอ่านเรื่อง เรียนรู้คน เขื่อน ศปภ. ยิ่งลักษณ์ ครับ

---------------------------

กรมชลประทาน ไม่ใช่กรมป้องกันน้ำท่วม

ผมเห็นคนชอบด่าว่า กรมชลประทานมีไว้ทำไม ถ้าป้องกันน้ำท่วมไม่ได้ก็ยุบกรมไปซะ

นั่นคือความเห็นของคนที่ไม่รู้ข้อเท็จจริง ว่าหน้าที่ของกรมชลประทาน คืออะไร?

หน้าที่ของกรมชลประทาน ถ้าแปลตรงๆตามชื่อ

ชล แปลว่า น้ำ , ประทาน แปลว่า ให้

กรมชลประทาน จึงแปลว่า กรมให้น้ำ

นั่นหมายถึง กรมชลประทาน คือกรมที่มีหน้าที่จัดสรรน้ำไปให้ประชาชนเพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตร คือหาน้ำมาให้ประชาชน ไม่ใช่ทำให้น้ำหนีประชาชน!!

สรุปกรมชลประทานไม่ได้มีหน้าที่ป้องกันน้ำท่วม ครับ (เป็นแค่หน้าที่เสริมเท่านั้น)

ถ้าอยากให้กรมชลประทานทำหน้าที่ป้องกันน้ำท่วมด้วย เราต้องให้อำนาจแก่กรมชลประทานมากกว่านี้ ต้องมีเครื่องไม้เครื่องมือให้แก่กรมชลประทานมากกว่านี้

ฉะนั้น ถ้าน้ำท่วมก็จะโทษกรมชลประทานไม่ได้หรอกครับ เพราะไม่ว่าจะกี่รัฐบาลที่ผ่านมา มัวแต่เน้นสร้างถนน ไม่ได้เน้นขุดคลอง

เมื่อคลองมีไม่พอกับจำนวนน้ำ ยังไงก็ต้องท่วม!!

--------------------------

ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ

รัชกาลที่5 ทรงให้ขุดคลองรังสิตประยูรศักดิ์ เมื่อ100กว่าปีมาแล้ว!!

รัชกาลที่9 ทรงดำริให้สร้างแนวคันกั้นน้ำตามแนวทางพระราชดำริ ทรงให้ขุดคลองลัดโพธิ์ เพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำลงทะเล

ที่กรุงเทพฯส่วนใหญ่ ยังไม่จมน้ำจนถึงณ.วันนี้19ต.ค.54 เพราะในหลวงทั้งสองพระองค์ทรงให้สร้างสิ่งเหล่านี้เอาไว้เราทั้งนั้น (แต่พรุ่งนี้กรุงเทพฯอาจจมไปแล้ว) 

พอนายกฯยิ่งลักษณ์เข้าเฝ้า ในหลวงทรงรับสั่งให้เร่งระบายน้ำลงทะเลด้านตะวันออก ทรงแนะนำให้ไปขุดลอกคลองลัดแม่น้ำท่าจีน

-----------------------------

สึนามิน้ำจืด54

อุทกภัย54นี้ เปรียบเสมือนสึนามิน้ำจืดตามที่สื่อต่างชาติให้นิยามเอาไว้ มวลน้ำมหาศาลได้ไหลลงมาอย่างช้าๆต่างจากสึนามิที่ญี่ปุ่น แต่ความที่ไหลมาอย่างช้าๆ แต่มีพลังมหาศาลมากกว่าสึนามิเสียอีก

เพราะสึนามิญี่ปุ่นอาจมาตูมเดียว คลื่นสูง5เมตร บุกขึ้นฝั่งไปไกลแค่10กิโลเมตร แล้วก็จบลงในวันเดียว

แต่สึนามิเมืองไทย แม้ไม่สูงเท่าสึนามิญี่ปุ่น แต่ถล่มข้ามจังหวัดกินระยะทางร่วมพันกิโลเมตรกว่าจะลงทะเล

ทำให้คนไทยทุกข์ะระทม และอกสั่นขวัญหายไปหลายเดือน มีผู้ได้รับความเดือดร้อนมีจำนวนมากกว่าคนญีปุ่นเสียอีก

-------------------------

มีนายกรัฐมนตรีฝึกงานคนเดียว ประชาชนบ้านแตกนับแสนราย

จนถึงวันที่6ต.ค.54 ที่ผ่านมา คนตายไปแล้ว2ร้อยกว่าคน แต่นายกฯยิ่งลักษณ์บอกว่า ยังไม่ต้องประกาศเขตภัยพิบัติทางธรรมชาติ!!

นักข่าวถามว่า สถานการณ์ในตอนนี้คิดว่าถึงขั้นต้องประกาศภัยพิบัติทางธรรมชาติได้หรือยัง?

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ต้องขอศึกษาก่อน เพราะวัตถุประสงค์ของการประกาศเพื่อให้ทุกหน่วยงานปฏิบัติตามคำสั่ง แต่วันนี้เราทำงานเป็นทีมอยู่แล้ว การประกาศเร็วเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นได้

(เดลินิวส์ออนไลน์)

เรามีนายกรัฐมนตรีฝึกงานก็แบบนี้แหล่ะ น้ำท่วมหนักตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคม ยังไงๆมันก็ต้องไหลมากรุงเทพฯ แต่นายกฯเพิ่งจะมาตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) เมื่อวันที่8ตุลาคม2554 นี่เอง

ทำไมถึงช้า?

ก็ท่านมัวแต่ยุ่งเรื่องลดภาษีรถคันแรก คืนภาษีบ้าน5ล้าน อยู่น่ะสิ!!


--------------------------------------

1สิงหาค54 เจาะข่าวเด่น "กรมชลฯเตรียมรับมือพายุนกเต็น"

ใครบอกว่า กรมชลประทานไมได้พร่องน้ำ ก็ควรดูคลิปนี้ก่อนครับ คุณจะเข้าใจที่มาที่ไปเกี่ยวกับเขื่อนในหลายประเด็น แล้วสถานการณ์น้ำในเขื่อนเดือนสิงหาคมเป็นอย่างไร?

แล้วทำไมกรมชลประทานถึงทำงานยากลำบากขึ้นในสถานการณ์น้ำแต่ละปี??





จากน้ำท่วมหนักปี54นี้ ผมคิดว่า ปีต่อไปเขื่อนทุกเขื่อนจะรีบพร่องน้ำจนแทบหมดเขื่อน เพราะกลัวน้ำท่วมมากกว่าฝนแล้ง ฝนทิ้งช่วง ถ้าปีหน้าขาดน้ำ ต้นข้าวยืนแห้งตาย ก็อย่าด่ากรมชลอีกนะครับ ว่าทำไมเจือกรีบพร่องน้ำ?!!

ส่วนคนกรุงอย่างผมก็คงขาดน้ำประปาเช่นกัน



วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การบริหารน้ำในเขื่อนภูมิพลปี54ไม่ผิดพลาด






คุณผู้อ่านครับ ผมได้ตั้งกระทู้อธิบายเรื่องการบริหารน้ำในเขื่อนภูมิพลว่าไม่มีความผิดพลาด และได้ถกกับเสื้อแดง ซึ่งผมตอบได้ทุกประเด็น ในกระทู้ชื่อ มาดูกราฟเขื่อนภูมิพลอีกครั้ง!! ที่เว็บสนุก ถ้าสนใจลองคลิกไปอ่านดูนะครับ ผมตอบได้ทุกประเด็นที่พวกเสื้อแดงพยายามใส่ร้ายเขื่อน

เพราะพวกเสื้อแดงพยายามจะช่วยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ กล่าวคือ เพราะรัฐบาลยิ่งลักษณ์ล้มเหลวในการรับมือน้ำท่วม เพราะมัวแต่ยุ่งเรื่องแจกรถแจกบ้านอยู่ ไม่มาโฟกัสเรื่องน้ำท่วมตั้งแต่แรก ทั้งๆที่ภัยน้ำท่วมมีมาหลายเดือนแล้ว จนมาใกล้กรุงเทพฯนั่นแหล่ะ ถึงจะเพิ่งมาตั้งศปภ.ขึ้นมา

เมื่อรัฐบาลของเสื้อแดงบริหารจัดการผิดพลาด พวกเสื้อแดงก็เลยโบ้ยไปโทษว่า พวกอำมาตย์แกล้งกักน้ำไว้ทำลายรัฐบาลยิ่งลักษณ์

ซึ่งเจตนาพวกนี้เลวมากๆ เพราะอะไร?

ก็เพราะน้ำในเขื่อนสำคัญทุกเขื่อนในช่วงวิกฤติน้ำท่วม ในหลวงทรงเฝ้าดูสถานการณ์น้ำมาตลอดทุกวัน กรมชลประทานและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตได้มีการถวายรายงานปริมาณน้ำในเขื่อนมาตลอดตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นมา หลังจากที่มีสถานการณ์น้ำท่วมจากพายุลูกแรกหรือไห่หมา เข้าเมื่อเดือนมิถุนายน

การใส่ร้ายเรื่องเขื่อนกักน้ำ เป็นเพียงข้ออ้างเอาตัวรอดของพวกเสื้อแดงเพื่อช่วยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ให้พ้นผิด


------------------------------

อธิบายกราฟเขื่อนภูมิพลปี2554



เส้นสีชมพูเข้ม คือเส้นบอกระดับน้ำปี54 ของเขื่อนภูมิพล ให้สังเกตตั้งแต่เดือนมกราคม54 น้ำในเขื่อนภูมิพลต่ำกว่าทุกปี นั่นเพราะภัยแล้งปี54 มาเร็วกว่าปกติ

จนกระทั่งเดือนกุมภาพันธฺ54 มีข่าวว่ากรมชลประทานต้องประกาศเขตภัยพิบัติแล้งวิกฤติ ห้ามทำนาปรังรอบ2 อ่านข่าวคลิกที่นี่

ดูเจาะข่าวเด่น ท่านสมิทธิ พูดเรื่องภัยแล้งกุมภาพันธ์54  และพูดถึงความวิกฤติผิดฤดูกาลความยากลำบากในการทำนายสภาวะอากาศของกรมอุตุนิยม จนแม้กระทั่งท่านสมิทธิยังทำนายสภาวะอากาศปี54นี้ผิดพลาด เพราะท่านทำนายว่าปีนี้จะแล้งยาวนาน ท่านคาดว่าปี54นี้จะแล้งจัด น้ำจะไม่ท่วม!! ลองชมสิครับ

แต่คุณสมิทธิ ก็บอกไว้ตั้งแต้ต้นแล้วว่า การทำนายไม่มีอะไรที่ถูกต้องแน่นอนหรอก



ต่อมาให้ดูเส้นกราฟในเดือนมีนาคม54 ปริมาณน้ำก็ยังถือว่าน้อยกว่าปีก่อนๆ เพราะปริมาณน้ำค่อยๆลดลงมาตั้งแต่เดือนมกราคม54 เนื่องจากปัญหาภัยแล้ง

ต่อมาให้ดูที่เดือนพฤษภาคม54 ซึ่งเป็นเดือนสุดท้าย ก่อนที่จะมีพายุเข้าลูกแรกในเดือนมิถุนายน ปริมาณน้ำในเขื่อนของเดือนพฤษภาคม54 ก็ยังน้อยกว่าปี 48 49 50 51 และมากกว่าปี52นิดหน่อย

มีคำถามว่า แล้วทำไมน้ำในปี53 ช่วงมีนาคม-พฤษภาคม ถึงได้ต่ำกว่าทุกปี?

คำตอบคือ ปี53 โดยเฉพาะเดือนมีนาคม53 เป็นปีที่มีภัยแล้งรุนแรงที่สุดในรอบ5ปี (อ่านข่าวภัยแล้ง53ที่สุดในรอบ5ปี คลิกที่นี่)

เมื่อภัยแล้งปี53 รุนแรง จึงทำให้ปริมาณน้ำในเขื่อนจึงน้อยกว่าทุกปีครับ

แต่ความเป็นจริง ปี54 ฝนกลับมาเร็วมาที่คาด เพราะอิทธิพลความกดอากาศต่ำ ก็ทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ทางภาคเหนือตั้งแต่เดือนพฤษภาคมแล้ว  ในวันที่10พ.ค.54 ตามรูปนี้

สีเหลืองคือพื้นที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย สีฟ้าคือพื้นที่เตือนภัย

ข้อมูลแผนที่จาก www.thaiflood.com/

ซึ่งจะเห็นมีหลายจังหวัดที่อยู่ใต้เขื่อนภูมิพลเริ่มมีสภาวะน้ำท่วมแล้ว เช่นจังหวัดตากที่มีเขื่อนภูมิพล หรืออุตรดิตถ์ที่มีเขื่อนสิริกิติ์ เป็นต้น ทำให้เขื่อนไม่สามารถระบายน้ำได้มากเท่าที่ควร เพราะไม่ต้องการไปซ้ำเติมจังหวัดที่อยู่ใต้เขื่อน


-------------------------------------

พายุเข้าลูกแรกเดือนมิถุนายน54

เดือนมิถุนายน54 กราฟปริมาณน้ำในเขื่อนเริ่มพุ่งขึ้น นั่นเพราะอิทธิพลของพายุไหหม่า เข้าในเดือนมิถุนายน ซึ่งเดือนนี้จังหวัดน่านน้ำท่วมหนักที่สุดในรอบหลายสิบปี (คลิกอ่านข่าวอุทกภัยจังหวัดน่าน)

และอิทธิพลพายุนกเต็น เข้าซ้ำอีกในเดือนกรกฎาคม แถมยังมีอิทธิพลความกดอากาศต่ำกำลังสูง ทำให้ฝนตกมากแบบผิดปกติ

ซึ่งฝนตกมากทั้งเหนือเขื่อนและใต้เขื่อนอย่างมากผิดปกติ จึงเริ่มมีภาวะน้ำท่วมทั้งเหนือและใต้เขื่อน ซึ่งเขื่อนเองก็ได้ช่วยชะลอน้ำไว้ เพื่อไม่ต้องการไปซ้ำเติมความเดือดร้อนของประชาชนซ้ำอีก จึงมีการปล่อยน้ำออกน้อยกว่าน้ำเข้า

คลิกอ่านข่าว พายุ “ไหหม่า”ทำความเสียหาย 4 จังหวัด เดือดร้อนร่วมแสนคน

ในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม มีชาวนาในหลายจังหวัดทางภาคเหนือตอนล่าง เช่นชาวนาสุโขทัย พิจิตร และพิษณุโลกต้องเกี่ยวข้าวในน้ำท่วมกันแล้ว

พอหมดพายุไหหม่าในเดือนมิถุนายนแล้ว ก็ยังมีอิทธิพลของพายุนกเต็นยังมาซ้ำอีกในปลายเดือนเดือนกรกฎาคม ซึ่งทำให้น้ำท่วมในภาคเหนือและภาคอีสานก็น้ำท่วมหนักหลายจังหวัด

คลิกอ่านข่าวพายุนกเต็นถล่มไทย

อิทธิพลจากพายุนกเต็นรุนแรงมาก ทำให้น้ำท่วมหนักหลายจังหวัดทั้งภาคเหนือ ภาคกลางล่มน้ำเจ้าพระยา และภาคอีสานหลายจังหวัด ต่อเนื่องมาในเดือนสิงหาคม มีผู้เสียชีวิตหลายราย ตามคลิปข่าวนี้



ซึ่งจากคลิปข่าว ผลกระทบของพายุนกเต็น ยังกระทบมาถึงกรุงเทพฯเช่นกัน ในคลิปช่วงท้าย ผู้ว่าฯกทม.ยังออกมาให้สัมภาษณ์ถึงการรับมือน้ำลูกใหญ่จากนกเต็น

ซึ่งหลังจากพายุนกเต็นเข้าไทย ทำให้จังหวัดในลุ่มน้ำยมหลายจังหวัด ซึ่งไม่มีเขื่อนรองรับน้ำ เกิดน้ำท่วมหนัก จนประชาชนออกมาเรียกร้องให้สร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นเพื่อรับแม่น้ำยม

ให้สังเกตว่า เส้นกราฟเดือนมิถุนายน-สิงหาคม เริ่มมีแนวโน้มสูงชันมากขึ้น นั่นเพราะน้ำในเขื่อนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่เขื่อนก็พยายามปล่อยน้ำออกให้น้อยกว่าปริมาณน้ำที่เข้าเขื่อน เพือไม่ต้องการซ้ำเติมประชาชนใต้เขื่อน และยังมีชาวนาในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาอีกจำนวนมากที่ยังรอเก็บเกี่ยวข้าว

เขื่อนก็มีเจตนาดี จึงช่วยชะลอน้ำไม้ให้ทำลายนาข้าว แต่พวกที่มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ ก็พูดชุ่ยๆง่ายๆว่า ทำไมไม่รีบพร่องน้ำ?

ให้สังเกตว่า น้ำในเขื่อนภูมิพลเริ่มสูงกว่าทุกปี ในเดือนสิงหาคมต่อกันยายน นั่นเพราะมีพายุเข้ามาแล้ว2ลูก

----------------------

เดือนกันยายน54 อิทธิพลพายุเข้าไทยอีก2ลูก

นอกจากอิทธิพลพายุแล้ว อิทธิพลความกดอากาศต่ำในปี54 ก็ทำให้เกิดฝนตกมากแบบผิดปกติ ซึ่งคุณผู้อ่านสามารถอ่านรายงานสภาวะอากาศผิดปกติจากรายงานของกรมอุตุนิยมวิทยาได้ คลิกอ่านรายงานสภาวะอากาศปี54

เดือนสิงหาคมน้ำท่วมจากอิทธิพลพายุ2ลูกแรก ยังไม่ทันหมด ในเดือนกันยายน54 ก็โดนอิทธิพลพายุเข้าอีก2ลูก คือพายุไห่ถาง และเนสาด

ซึ่งเมื่อดูจากกราฟปริมาณน้ำในเดือนสิงหาคมและกันยายน54 เราจะเป็นว่าสูงชันที่สุด นั่นเพราะปริมาณน้ำเข้าเขื่อนมากมหาศาลแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน อีกทั้งพื้นที่ใต้เขื่อนก็ท่วมหนักมาก เขื่อนพยายามชะลอน้ำให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อก็หวังว่าอีกไม่นานปริมาณเข้าเขือนจะน้อยลงโดยเร็วจนไม่ล้นเขื่อน

อีกเหตุผลที่ทำให้น้ำเข้าเขื่อนเร็วและมากผิดปกติ คือการที่ไทยขาดป่าซับน้ำและชะลอน้ำ ทำให้น้ำเต็มเขื่อนอย่างรวดเร็ว


--------------------

เดือนตุลาคม54 ก็ยังได้รับอิทธิพลจากพายุนาลเก แม้ไม่มากเท่าพายุลูกที่ผ่านๆมาก็ตาม แต่ก็เป็นผลทำให้ยังมีฝนตกอย่างต่อเนื่องเหนือเขื่อน จึงทำให้มีน้ำเข้าเขื่อนปริมาณมากต่อไป จนเขื่อนได้ล้นในที่สุด เพราะที่ผ่านมาพยายามปล่อยน้ำออกให้น้อยกว่าน้ำที่เข้ามาตลอด

กราฟในเดือนตุลาคมปี54 พุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกครั้้ง จึงจำเป็นต้องปล่อยน้ำออกทางสปิลเวย์ หรือทางระบายน้ำล้น

จากรายการคมชัดลึก ผู้อำนวยการเขื่อนภูมิพลให้สัมภาษณ์กับคุณจอมขวัญว่า ช่วงเดือนกันยายนต่อตุลาตม น้ำเข้าเขื่อนเฉลี่ยมากถึงวันละ290ล้านลบ.ม. แต่เขื่อนปล่อยน้ำมากที่สุดได้เพียง 100ล้านลบ.ม.เท่านั้น

ซึ่งพอถึงเดือนตุลาคม รัฐบาลยิ่งลักษณ์เพิ่งจะมารู้ตัวว่าวิกฤติแล้ว เพิ่งจะเลิกโฟกัสเรื่องแจกรถแจกบ้าน หันมาตั้งศปภ.ดอนเมือง

-------------------------------

สรุปว่าปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพลมากขึ้นอย่างสมเหตุสมผล

จากที่ผมอธิบายมา การที่น้ำในเขื่อนปี54 พุ่งขึ้นสูงสอดรับกับการเข้ามาของพายุทุกครั้ง จึงไม่ใช่เป็นเรื่องผิดปกติแต่อย่างใดที่น้ำในเขื่อนจะมีมาก

การบริหารจัดการเขื่อนนั้นถูกต้องแล้ว เพราะในช่วงเดือนเมษายน54 ตอนนั้นยังแล้งจัด ไม่มีใครรู้หรอกครับว่า อีกแค่2เดือนจะมีพายุเข้าติดๆกันมากขนาดนี้ ตอนนั้นทุกคนห่วงว่าภัยแล้งจะกินเวลายาวนาน ปี54มีจังหวัดที่ประสบภัยพิบัติแล้งมากถึง45จังหวัด

ตรงจุดนี้ ผมอยากให้คุณผู้อ่านย้อนกลับไปอ่าน บทความเก่าเรื่อง การบริหารจัดการน้ำในเขื่อนไม่ได้ผิดพลาดตอน1 ของผม ซึ่งผมได้สรุปสภาวะน้ำในเขื่อนสำคัญเอาไว้

โดยเฉพาะกรณีศึกษาของ เขื่อนป่าสักเพราะจากที่เคยมีน้ำในเขื่อนแค่7% กลับล้นเขื่อนได้ในเวลาแค่3เดือนในปี53 จนน้ำท่วมหนักลพบุรี

----------------------------------

ปีนี้เขื่อนลำตะคอง ก็เต็มเกินความจุ

ถ้าคุณผู้อ่านจำได้ ปีที่แล้วน้ำท่วมโคราชมากที่สุดแบบไม่เคยมีมาก่อน เพราะเขื่อนลำตะคองล้น สาเหตุก็คือมีการบุกรุกป่าสร้างรีสอร์ทกันเยอะ ทำให้ไม่มีป่าซับน้ำ ชะลอน้ำ ทำให้น้ำล้นเขื่อนอย่างรวดเร็ว

และปี54นี้เขื่อนลำตะคองก็เต็มความจุเขื่อนอีกครั้งแล้ว แต่ได้เสริมสปิลเวย์เพื่อรับน้ำเพิ่มมากขึ้น ซึ่งถ้าล้นเขื่อนลำตะคองอีก โคราชก็จะท่วมหนักอีก

ถามว่า ทำไมเขื่อนลำตะคองไม่ทยอยปล่อยน้ำออกมา ทำไมถึงยังพยายามกักน้ำเอาไว้?

คำตอบคือ ตอนนี้สภาพแม่น้ำลำคลองของโคราชก็แทบล้นตลิ่งอยู่แล้ว และชาวนาก็กำลังจะเก็บเกี่ยวข้าว เขื่อนลำตะคองจึงพยายามชะลอน้ำให้มากที่สุด เพื่อหวังให้ชาวนาเก็บเกี่ยวข้าวให้เสร็จก่อน เพราะถ้าปล่อยน้ำช่วงนี้ ก็คือท่วมนาแน่ๆ

ทางเขื่อนลำตะคอง หวังว่าหน้าหนาวจะมา และฝนน้อยลง เขื่อนก็จะผ่านสภาพวิกฤติไปได้ครับ

แต่สมมุติถ้าเขื่อนลำตะคองล้นอีก จนน้ำท่วม เดี๋ยวก็จะมีคนออกมาด่าอีกว่า ทำไมเขื่อนไม่รีบพร่องน้ำ!!

พวกมือไม่พายเอาเท้าราน้ำพูดน่ะมันง่าย เพราะพูดแบบไม่สนใจสภาพแวดล้อมเลย

ปีนี้เป็นปีที่มีน้ำมากที่สุด เขื่อนหลายเขื่อนในอีสานก็เต็มจนล้น

คลิกอ่านข่าว “เขื่อนลำตะคอง” เสริมสปิลล์เวย์เพิ่มจุ 353 ล้านลบ.ม. – เตือนล้นอีกท่วมโคราชรุนแรง ! (14ต.ค.54)

คลิกอ่านข่าว "น้ำเขื่อนใหญ่ยังวิกฤต มากที่สุดรอบ50ปี" โดยเฉพาะทางอีสาน (16ต.ค.54)

------------------------

ปี53 น้ำก็ท่วมหนักที่สุด แต่ไม่มีใครบอกว่าเขื่อนกักน้ำ?

ปี53 น้ำท่วมแทบทุกภาค ทั้งเหนือ ใต้ อีสาน กลาง โดนหนักทั้งหมด

แต่เพราะ ปีที่แล้วไม่ใช่รัฐบาลที่พวกเขาเชียร์ เขาเลยไม่ออกมาโทษเขื่อนว่ากักน้ำไว้แกล้งรัฐบาล แต่ปีนี้รัฐบาลที่พวกเขาเชียร์แก้ปัญหาไม่ได้ เลยโยนความผิดไปให้เขื่อน

ทั้งๆที่ความจริงเขื่อนไม่ได้มีหน้าที่หลักในการป้องกันน้ำท่วม ถ้าคุณผู้อ่านไม่เข้าใจว่า ทำไมผมถึงบอกว่า หน้าที่หลักของเขื่อนไม่ใช่การป้องกันน้ำท่วม ก็ให้ย้อนกลับไปอ่านบทความเรื่อง การบริหารจัดการน้ำในเขื่อนไม่ได้ผิดพลาดตอน2 ซึ่งในบทความนี้มีคลิปรายการคมชัดลึก ตอนเขื่อนภูมิพลครับ

ซึ่งมีช่วงหนึ่งของรายการ ที่นายกเทศบาลบ้านตาก จังหวัดตาก ได้บอกว่า น้ำจากแม่น้ำวังมาแรง ส่วนจากแม่น้ำปิงไม่ค่อยเท่าไหร่

ซึ่งอำเภอบ้านตาก เป็นสถานที่ๆแม่น้ำวังกับแม่น้ำปิงไหลมาบรรจบกันที่นี่ ซึ่งไม่เคยมีน้ำท่วมที่นี่มานานแล้ว เพิ่งจะมีปีนี้ที่ท่วมมากที่สุด

แม่น้ำวังมีเขื่อนขนาดเล็ก2เขื่อนอยู่ในจังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นเสมือนฝายขนาดใหญ่ช่วยชะลอน้ำเท่านั้น คือเขื่อนกิ่วลม และเขื่อนกิ่วคอหมา ซึ่งมีความจุเพียงเขื่อนละ100กว่าล้านลบ.ม.เท่านั้น

ทั้งสองเขื่อนจึงแทบไม่สามารถลดความรุนแรงของปริมาณน้ำมหาศาลในปีนี้ได้เท่าไหร่เลยครับ ทำให้ปี54 ลำปางน้ำท่วมหนักที่สุดในรอบ30ปี

คลิกอ่านข่าว ลำปางน้ำท่วมหนักที่สุดในรอบ30ปี


ให้ดูคลิปรายการคมชัดลึก ช่วงที่คุณจอมขวัญไปพูดคุยกับนายกเทศบาลบ้านตาก จังหวัดตาก

นายกเทศบาลบ้านตาก ก็พูดเองว่า น้ำที่ไหลมาจากแม่น้ำวังไหลมาแรงมาก กว่าแม่น้ำปิง

ท่านนายกเทศบาลบ้านตากพูดว่า "น้ำปิงยังไม่เท่าไหร่ แต่มีน้ำวังมาสมทบครับ" ซึ่งท่านบอกเองว่า แม่น้ำวังจากกิ่วลมก็หนักครับ

ดูคลิปนี้นะครับ ตั้งแต่นาทีที่ 2.20เป็นต้นไป


-----------------------------

ทุกประเทศในภูมิภาคนี้ก็ท่วมหนักเช่นกัน

ทั้งเวียตนาม เขมร ลาว ก็ท่วมหนักที่สุดในรอบหลายสิบปีเช่นกัน

คลิกอ่านข่าว ลาวท่วมสาหัส 4 ระลอก ตาย 30 อีก 430,000 คนเดือดร้อน

คลิปข่าว น้ำท่วมหนักที่เวียตนาม และกัมพูชา

------------------------------------- ฉะนั้น ผมจึงอยากบอกว่า การกล่าวหาของพวกเสื้อแดง เป็นการกล่าวหาที่ชุ่ยมากๆครับ ที่จริงผมไม่อยากเขียนบทความตอนนี้เลย แต่กระแสยุยงปั่นข่าวลือเรื่องเขื่อนกักน้ำแกล้งรัฐบาลยิ่งลักษณ์มันมากเหลือเกิน ผมเลยจำเป็นต้องเขียนบทความที่ยาวยืดเช่นนี้ ก่อนจบ ผมอยากให้ดูกราฟปริมาณน้ำฝนในปี54 ถึงช่วงเดือนสิงหาคม ซึ่งปี54มากที่สุดกว่าหลายปีที่ผ่านมา (น้ำฝนปี54 มากกว่าปี38 และปี49 แต่ที่ผิดปกติคือ ฝนมาเน้นตกหนักแบบผิดปกติเป็นประวัติการณ์ในเดือนสิงหาคมและกันยายน คลิกอ่านข่าวน้ำฝนปี54สูงกว่าปี38 49) ข้อมูลกราฟเปรียบเทียบปริมาณฝนจากเว็บ http://www2.oae.go.th/mis/Forecast/02_journal/dike.pdf ผมขอสรุปว่า การที่จะดูว่าน้ำในเขื่อนผิดปกติหรือไม่ จะดูแค่ปริมาณน้ำในเขื่อนอย่างเดียวไม่ได้ ต้องดูข้อมูลหลายๆอย่างประกอบกัน เช่นปริมาณฝน จำนวนพายุ และภาวะแห้งแล้งของแต่ละปีมาประกอบด้วย สุดท้ายขอเชิญคุณผู้อ่านของผม ไปดูคลิปสัมภาษณ์อธิบดีกรมชลประทานเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำท่วมปี54 และการบริหารจัดการเขื่อนด้วยครับ คลิกดูคลิปที่นี่!! แต่ปัญหาของกรมชลประทาน ก็คือ การเปิดปิดประตูน้ำในแม่น้ำและคลองต่างๆ ที่ไม่สามารถทำได้อย่างเป็นระบบ เพราะมีปัญหากับคนในพื้นที่ เพราะหลายพื้นที่ก็ไม่ยอมให้เปิดประตูระบายน้ำ เมื่อแต่ละพื้นที่ไม่ยอมให้ระบายน้ำ จึงทำให้น้ำไม่มีทางไป เลยทำให้ปัญหาน้ำไม่มีทางออกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเอาไม่อยู่!! คลิกอ่าน สึนามิน้ำจืดปี54ต่างกับน้ำท่วม38อย่างไร? (พร้อมดูคลิปย้อนหลัง กรมชลประทานรับมือพายุนกเต็นอย่างไร)

วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เมื่อรอง ปธ. หอการค้าไทยคิดตรงกับผม เรื่องแก้ปัญหาน้ำท่วมใหญ่






คุณผู้อ่านครับ เรื่องเขื่อนปล่อยน้ำผิดพลาดหรือไม่ ผมอยากเชิญคุณผู้อ่านไปอ่านที่ กระทู้ของผมที่เว็บสนุก ที่ชื่อ มาดูกราฟเขื่อนภูมิพลอีกครั้ง

ผมได้ถกเรื่องการปล่อยน้ำจากเขื่อนภูมิพลกับสมาชิกท่านนึงที่เป็นคนเสื้อแดง ที่เขากล่าวหาว่า มีการกักน้ำในเขื่อนผิดปกติ (ในทำนองว่า มีการแกล้งรัฐบาลที่เขาเชียร์นั่นแหล่ะ)

ผมคิดว่า ผมได้อธิบายครอบคลุมทุกประเด็นที่เขาสงสัยแล้ว แต่เขาก็ไม่พยายามเข้าใจสักที ถ้าใครอยากรู้ว่า การอธิบายให้คนเสื้อแดงฟังนั้นมันยากเย็นแค่ไหน ก็ลองตามไปอ่านที่กระทู้นั้นดูนะครับ ^^

--------------------------------

และเมื่อวันที่9ต.ค.54 ผมเคยได้ตั้งกระทู้สนุกชื่อ แนะนำรัฐบาล วิธีป้องกันน้ำท่วมในระยะยาว!! ซึ่งเราเป็นคนไทยก็ช่วยๆกันคิดวิธีต่างๆกันไป ถ้าเผอิญผู้มีอำนาจเขาได้อ่าน ก็หวังว่าเขาอาจจะเอาไปคิดไปพิจารณาต่อ

ในกระทู้นั้น ผมแนะนำไว้ตามนี้

v

v

ขอแนะนำรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชะลอโครงการรถไฟฟ้า5สาย ที่จะไปต่างจังหวัดก่อนเถอะครับ

เพราะตอนนี้รัฐบาลจำเป็นต้องใช้เงินอีกมหาศาลให้การแก้ปัญหาน้ำท่วม และฟื้นฟูประเทศหลังอภิมหาอุทกภัย !!

รถไฟฟ้ายังรอได้ แต่แก้ปัญหาน้ำท่วม รอไม่ได้แล้วครับ ถ้าไม่เร่งแก้ไข ปีหน้าอาจท่วมหนักซ้ำรอยอีก

ผมขอแนะนำวิธีแก้ไขปัญหาน้ำท่วมด้วยการ ขุดอุโมงค์ส่งน้ำขนาดใหญ่ (พอๆกับสร้างรถไฟใต้ดินนั่นแหล่ะ)และท่อส่งน้ำขนาดใหญ่

ทำท่อส่งน้ำยักษ์ใต้ดิน5สาย แทนทำรถไฟฟ้า5สาย

ทำท่อระบายน้ำขนาดใหญ่ลงใต้ดิน โดยต่อจากเขื่อนต่างๆยามน้ำในเขื่อนล้น เพื่อส่งน้ำลงใต้ดินแทนการปล่อยน่ำบนดินเพื่อไม่ให้น้ำท่วมประชาชน

และในแต่ละจังหวัดก็ทำท่อเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เพื่อส่งตรงน้ำลงทะเลก็ได้ หรือจะบังคับน้ำไปเติมในจุดที่ขาดน้ำในช่วงหน้าแล้งก็ได้

เพราะน้ำในท่อควบคุมได้ง่ายกว่าน้ำบนดินครับ

พื้นที่ทางเหนือ มีภูเขามาก ควรทำเป็นท่อส่งขนาดใหญ่ 



แต่ถ้าในพื้นที่ลุ่มภาคกลาง ควรสร้างเป็นอุโมงค์ส่งน้ำขนาดใหญ่



ส่วนเรื่องการขุดคลองเพิ่ม พร้อมทำท่อระบายน้ำใต้ถนนไปบนถนนทุกสายเพื่อไม่ให้ขวางการไหลของน้ำ

และการทำแก้มลิงเพิ่มขึ้น ก็ยังเป็นวิธีการที่จำเป็นเช่นกัน

ส่วนที่กรุงโตเกียวประเทศญี่ปุ่น ก็เพิ่งจะเปิดอุโมงค์ยักษ์ในเขตรอบนอกของกรุงโตเกียวเพื่อช่วยระบายน้ำครับ

อุโมงค์ยักษ์..แท็งก์น้ำควบคุมความดันในทางระบายน้ำใต้ดินในเขตรอบนอกกรุงโตเกียว ซึ่งเชื่อว่าเป็นหนึ่งในแท็งก์น้ำขนาดใหญ่ที่สุดในโลก สร้างขึ้นมาเพื่อป้องกันน้ำท่วมเมืองหลวงของญี่ปุ่น.



แต่การสร้างอุโมงค์ยักษ์ หรือ ท่อขนาดใหญ่อาจมีปัญหาที่ราคาค่อนข้างแพง เราก็ควรนำมาพิจารณาให้เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ไป ว่าควรใช้ท่อขนาดไหนในการส่งน้ำ

-------------------------------


จากเนื้อหาตามกระทู้ดังกล่าวนั้น ผมได้เสนอให้รัฐบาลเพื่อไทยชะลอโครงการรถไฟฟ้าทั่วประเทศ ออกไปก่อน ซึ่งความคิดของผมไปสอดคล้องกับความเห็นของรองประธานหอการค้าไทยเสนอ ตามข่าวนี้

หอการค้าลั่นไม่ยอมให้ปีหน้ามีปัญหาน้ำท่วมอีก



และที่ผมเสนอให้สร้างท่อและอุโมงค์ เจตนาก็คือ น้ำในท่อควบคุมง่าย และมีปัญหาเรื่องการเวรคืนที่ดินน้อยกว่าวิธีอื่น

แต่เมื่อหลายวันก่อน ผมได้ดูรายการช่วยคิดช่วยทำ ก็มีนักวิชาการเสนอขุดคลองอ้อมไปทางตะวันตก และทางตะวันออกอีกฝั่งละคลอง เพื่อช่วยผันน้ำลงทะเล ซึ่งผมก็เห็นด้วย เพราะคลองมีประโยชน์มากมาย

เพราะทุกวันนี้ผมคิดว่า การขุดคลองจำเป็นกว่าการสร้างถนน แล้วล่ะครับ



คลิกอ่าน น้ำท่วมใหญ่ เหตุอาเพทที่คนไทยก่อเอง!!


วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การบริหารจัดการน้ำในเขื่อนไม่ได้ผิดพลาด (เก็บตก)






ต่อเนื่องจากบทความที่แล้ว

ที่จริงผมกะจะยังไม่เขียนบทความสัก2วัน

แต่พอดีมีคุณผู้อ่านเข้ามาถามผมในบทความที่แล้ว ว่าทำไมไม่รีบปล่อยน้ำออกมากๆก่อนที่พายุจะเข้า?

ผมเลยขอเข้ามาตอบสักนิด

ก่อนอื่นผมอยากบอกว่า เรื่องเขื่อนเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจหลายส่วนประกอบกัน ระบบการจัดการเขื่อนเป็นเรื่องที่ต้องร่ำเรียนกันมามาก และการที่จะอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ เป็นเรื่องยาก

ถ้าคิดแบบง่ายๆ แล้วบอกว่า ก่อนน้ำมาก็รีบปล่อยน้่ำออกจากเขื่อนเร็วๆสิ มันคิดง่ายไปครับ

ซึ่งจริงๆแล้ว เขื่อนก็ทำแบบนั้นอยู่แล้ว เพียงแต่ว่า ปีนี้ไม่มีใครรู้หรอกครับว่าน้ำมีมากมายมหาศาลขนาดนี้ และที่สำคัญน้ำไหลเร็วมาก เพราะขาดป่าซับน้ำ

เมื่อไม่มีป่าคอยซับน้ำ น้ำก็ไหลลงเขื่อนเร็วมากขึ้น เต็มเร็วขึ้น ในขณะที่การปล่อยน้ำออกจากเขื่อนกลับต้องระวังการไปซ้ำเติมประชาชนใต้เขื่อน เพราะปีนี้ใต้เขื่อนก็มีฝนตกมาก และมีปัญหาน้ำท่วมอยู่แล้วด้วย

-------------------------------------------

เพราะอุทกภัยปี54 มันเริ่มที่แม่น้ำยมก่อนครับ เพราะแม่น้ำยมไม่มีเขื่อนรับน้ำเลย ทำให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเรียกร้องเขื่อนแก่งเสือเต้น

ส่วนที่ถามว่า ทำไมไม่รีบปล่อยน้ำให้เร็วๆก่อนพายุจะเข้า

ถามน่ะง่ายครับ แต่ทำจริงๆมันยาก เพราะเรารู้การมาของพายุได้ล่วงหน้าเพียงไม่กี่วัน ถ้าเขื่อนจะรีบปล่อยเร็วๆคงทำแบบนั้นไม่ได้ง่ายๆครับ

เพราะถ้าเขื่อนปล่อยเร็วๆ ก็จะน้ำท่วมสิครับ โดยเฉพาะเขื่อนขนาดใหญ่มากๆอย่างเขื่อนภูมิพล กับเขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำมาก ถ้ารีบปล่อยเร็วๆ น้ำท่วมแน่นอน

และที่สำคัญ เวลาเกิดพายุเข้า เราก็รู้ล่วงหน้าแค่ไม่กี่วัน จึงไม่มีทางที่จะปล่อยน้ำได้เร็วได้มากอย่างที่คิด ง่ายๆ โดยเฉพาเขื่อนขนาดใหญ่ๆ

ที่สำคัญปี54 มีฝนตกใต้เขื่อนมากแบบผิดปกติ และมีน้ำท่วมหนักอยู่ใต้เขื่อนอยู่แล้ว เขื่อนจึงชลอน้ำเพื่อไม่ไปซ้ำเติมประชาชนครับ

ทางเหนือมีภูมิพลกับเขื่อนสิริกิติ์ ที่เป็นเขื่อนใหญ่

โดยเขื่อนภูมิพล ความจุ1หมื่น3พันล้านลบ.ม. รับแม่น้ำปิง

เขื่อนสิริกิ์ต มีความจุประมาณ 9,500ล้านลบ.ม. รับแม่น้ำน่าน

ส่วนที่แม่น้ำวัง มีเขื่อนกิ่วลม และกิ่วคอหมา เป็นเขื่อนขนาดเล็กมากๆ คล้ายเป็นฝายขนาดใหญ่ๆ

โดยเขื่อนกิ่วลม ความจุแค่ 106ล้านลบ.ม. ส่วนเขื่อนกิ่วคอหมา ความจุแค่ 170ล้านลบ.ม. เท่านั้น

เขื่อนกิ่วลม

และขอย้ำว่า ในช่วงสถานการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมา2-3เดือนที่ผ่านมา น้ำเข้าเขื่อนมากกว่าน้ำที่ออกจากเขื่อน เพราะฝนเหนือเขื่อนยังตกเยอะ นั่นคือเขื่อนช่วยชลอน้ำไม่ให้ซ้ำเติมพื้นที่ใต้เขื่อนมาตลอด จนในที่สุดเขื่อนจึงเต็ม!!

อ่านรายงานสภาพฝนที่มากผิดปกติในปี54 จากกรมอุตุนิยมวิทยา คลิกที่นี่!!

-------------------------

ไม่มีใครคาดการณ์ได้ล่วงหน้าเป็นเดือนเป็นปี ว่าปีนี้จะมีฝนตกมากแค่ไหน ปีนี้จะมีพายุเข้าไทยกี่ลูก ไม่มีใครคาดได้หรอก

หน้าที่ของเขื่อนในประเทศไทย จริงๆแล้ว หน้าที่หลักของเขื่อนไม่ได้มีไว้ป้องกันน้ำท่วม

เพราะหน้าที่หลักของเขื่อนก็คือ ใช้ในระบบชลประทาน กักเก็บน้ำไว้ใช้ยามขาดแคลน  ไม่ใช่มีไว้ป้องกันน้ำท่วมเป็นหลัก เขื่อนมีหน้าที่แค่ช่วยบรรเทาอุทกภัยเท่านั้น

ฉะนั้นถ้าคนไทยยังไม่รู้จักหน้าที่ของเขื่อนที่ถูกต้อง ก็จะทำให้เข้าใจผิดว่า ทำไมเขื่อนไม่สามารถป้องกันน้ำท่วมได้

เพราะหน้าที่ป้องกันน้ำท่วมหรือบรรเทาอุทกภัย เป็นหน้าที่รองๆลงไปได้ของเขื่อนมากกว่า ซึ่งไม่ใช่หน้าที่หลัก!!

----------------------------------------

หน้าที่หลักของเขื่อน ไม่ใช่เพื่อป้องกันน้ำท่วม!!

เพราะประเทศไทยมีฝนตกมาก น้ำฝนถูกปล่อยลงทะเลอย่างไร้ประโยชน์มากมาย ทำให้เวลาฤดูแล้ง ขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค

ฉะนั้น การสร้างเขื่อนก็เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามจำเป็น เช่นยามแล้ง

ส่วนหน้าที่รองๆของเขื่อน เช่่น การป้องกันน้ำท่วม การผลักดันน้ำเค็ม การใช้ในการควบคุมระดับน้ำในแม่น้ำเพื่อการคมนาคม เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า การประมง การท่องเที่ยว พวกนี้เป็นเรื่องของผลพลอยได้ของเขื่อนทั้งนั้น

หลายปีก่อนเกิดแล้งจัด น้ำในเขื่อนทางภาคเหนือก็เหลือน้ำน้อยมากๆ ซึ่งปีนั้นเคยกลัวกันว่าจะทำให้คนกรุงเทพฯขาดแคลนน้ำประปา เนื่องจากน้ำทะเลจะหนุนเข้ามาสูงจนจะถึงโรงกรองน้ำประปา เพราะตอนนั้นไม่มีน้ำจากเขื่อนมากพอมาช่วยผลักดันน้ำทะเล

ฉะนั้น ถ้าเกิดพร่องน้ำจากเขื่อนรอไว้ก่อนมากเกินไป แล้วปีนั้นเกิดฝนน้อยอย่างผิดปกติ ก็จะทำให้ช่วงหน้าแล้ง ก็จะเกิดภาวะแห้งแล้งได้

เช่นบางครั้งเราอยากได้น้ำให้มาตกเหนือเขื่อน ก็ไม่มาตก ดันมาตกใต้เขื่อนซะ

---------------------

ก่อนจบ ขอเล่าเล็กน้อย

เมื่อวานซืนผมดูรายการคมชัดลึก นายกเทศบาลเมืองนครสวรรค์ บอกว่า น้ำที่มาจากแม่น้ำยม มาแรงกว่าน้ำที่มาจากแม่น้ำปิง

แม่น้ำยม คือจุดเริ่มต้นของอุทกภัยหนักปีนี้ครับ


------------------------


สรุป การแก้ปัญหาน้ำท่วม สิ่งที่ถูกต้องในยามนี้คือ ต้องหาทางทำให้มีช่องทางการระบายน้ำลงทะเลให้มากขึ้นกว่าเดิม สิ่งใดที่ขัดขวางการไหลของน้ำ เราต้องไปแก้ไข

แทนที่เราจะโทษว่าเขื่อนปล่อยน้ำมาก เพราะเขื่อนล้น เราลองมองกลับไปอีกทางว่า นั่นเพราะเรามีเขื่อนน้อยกว่าปริมาณน้ำมหาศาลหรือเปล่า? ไม่ใช่ผมจะบอกให้สร้างเขื่อนเพิ่ม แต่ผมอยากบอกว่า เขื่อนมีน้อยกว่าปริมาณน้ำมหาศาล ฉะนั้นจะมาโทษเขื่อนจึงไม่ถูกต้อง

ต้องไปโทษพวกตัดไม้ทำลายป่า พวกสร้างถนนสูงกว่าบ้าน2เมตร ขวางทางน้ำไหลโน่นครับ

และถ้าเรารังเกียจเขื่อน เราก็ต้องหาทางมีอะไรที่รับน้ำได้ดีว่าเขื่อนดีกว่า


ย้อนอ่านบทความเรื่อง การบริหารจัดการน้ำในเขื่อนไม่ได้ผิดพลาด


------------------------------


เพื่อความเข้าใจเรื่องเขื่อน เชิญไปดูรายการคมชัดลัก เกี่ยวกับเขื่อนภูมิพล





















ผู้ติดตาม