เกริ่น ผมคงไม่ลงเรื่องรายละเอียดทางเทคนิคของหุ้น แต่จะอธิบายพอที่คนที่ไมรู้จักหุ้นเข้าใจพอสังเขปเท่านั้น
สมัยตอนผมเรียน ม.ต้น มีเพื่อนคนนึงเคยถามผมว่า ทำไมคนเราต้องกู้เงินธนาคารด้วย ไม่กู้ไม่ได้เหรอ จะได้ไม่เป็นหนี้ ?
เพื่อนคนนี้เขาไม่ได้ถามแบบลองภูมิ แต่เขาถามผมเพราะอยากได้ความรู้จริง ๆ ว่า ทำไมคนเราต้องไปเป็นหนี้ธนาคาร เพื่อให้ธนาคารรวยเอาๆ
เพราะในยุคสมัยนั้น เศรษฐีที่รวยที่สุดในประเทศไทย 5 อันดับแรก คือเจ้าของธนาคารทั้งนั้น
และเจ้าสัวที่รวยที่สุดในตอนนั้นก็คือ เจ้าสัวชิน โสภณพานิช เจ้าของธนาคารอันดับ1 ของประเทศไทย คือธนาคารกรุงเทพจำกัด
ซึ่งผมได้ตอบเพื่อนคนนั้นไปว่า "สมมุติถ้ามึงอยากเปิดอู่รถ แต่มึงไม่มีทุนจะสร้างอู่ พอดีมึงมีที่ดินมรดกที่พ่อมึงให้มา มึงก็ต้องเอาที่ดินไปจำนองกับธนาคาร เพื่อเอาเงินมาลงทุนทำอู่ไงวะ ถ้ามึงไม่อยากกู้ธนาคาร แล้วมึงเอาที่ดินไปจำนองนอกระบบ นอกจากเสียดอกเบี้ยแพงแล้ว มึงอาจโดนโกงได้ง่ายกว่าจำนองธนาคารเสียอีก"
ทีนี้เพื่อนมันเลยอยากรู้ต่ออีกว่า แล้วธนาคารเอาเงินที่ไหนมาจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากของเรา
ผมตอบว่า "ธนาคารก็เอาเงินฝากของเราไปปล่อยให้คนกู้ ส่วนต่างของดอกเบี้ยจากการกู้เงินจะสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก ธนาคารจะแบ่งดอกเบี้ยตรงส่วนนั้นมาจ่ายดอกเบี้ยให้เรา"
เพื่อนคนที่ถามผมคนนี้ ต่อมาก็ได้จบเศรษฐศาสตร์ทำงานในบริษัทใหญ่ระดับต้นๆ ของเมืองไทย
และเมื่อผมเรียน ม.ปลาย เป็นปีที่เจ้าสัวชิน โสภณพานิช เสียชีวิต ซึ่งเจ้าสัวชิน ถือเป็นมหาเศรษฐีระดับแสนล้านคนแรกของเมืองไทย จนเจ้าสัวชิน ได้ฉายาว่า "ธนราชันย์" เลยทีเดียว
สำหรับผมเริ่มสนใจตลาดหลักทรัพย์หรือตลาดหุ้น ตั้งแต่เรียนม.ปลาย อ่านทุกเรื่อง ตามข่าวหุ้นตลอดมาหลายปี
-----------------------------------
ตลาดหลักทรัพย์ คืออะไร ?
ตลาดหลักทรัพย์ หรือตลาดหุ้น ในเมืองไทยถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2518 เป็นตลาดกลางที่ให้บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ สามารถมาระดมทุนจากประชาชนเพื่อนำไปพัฒนาขยายธุรกิจได้ โดยไม่ต้องไปกู้เงินธนาคาร โดยให้ผลตอบแทนแก่ประชาชนผู้ถือหุ้นในรูปเงินปันผล
เป็นตลาดที่ใช้ซื้อขายหุ้นเพื่อมีการเปลี่ยนมือผู้ถือหุ้นได้อย่างสะดวกและง่ายดาย
หากบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ อยากขยับขยายธุรกิจเพิ่ม ก็สามารถระดมทุนจากประชาชนเพิ่มได้ เช่นการเพิ่มทุน
แต่หากกิจการขาดทุน บริษัทก็ไม่ต้องจ่ายเงินปันผล มันก็มีบ่อยครั้ง ที่มีบางบริษัทตบแต่งบัญชีอำพรางเพื่อจะได้ไม่ต้องจ่ายเงินปันผลแก่นักลงทุน หรืออาจจ่ายน้อยกว่าที่ควรจะเป็น และเพื่อเลี่ยงภาษีไปด้วย
เช่นบริษัทชินวัตรของทักษิณ มันไม่เคยรายงานผลกำไรของบริษัทอย่างจริงแท้ 100 % หรอก สังเกตง่ายๆ คือ ทักษิณมันซุกหุ้นไว้ที่เมืองนอกผ่านนอมินีก็มี หรือเอาทรัพย์สินไปซ่อนไว้ต่างประเทศก็มีเยอะ ไม่งั้นตอนทักษิณถูกยึดทรัพย์ มันจะเอาเงินที่ไหนซื้อหุ้นสโมสรแมนเชสเตอร์ซิตี้
นั่นแสดงว่า ตระกูลชินวัตร มันตบแต่งบัญชีต่อรัฐมานานแล้ว เท่ากับเป็นการหลีกเลี่ยงการ-จ่ายภาษีไปในตัวครับ (ยิ่งภายหลังได้มีอำนาจทางการเมืองด้วยแล้ว การตรวจสอบก็ยิ่งยากขึ้น เพราะทั้งกลต. และสรรพากร ก็ดูจะรู้เห็นเป็นใจไปด้วย)
ในช่วงที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจปี 40 แล้ว แทบทุกบริษัทในช่วงนั้น ต่างก็ถือโอกาสไม่จ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นเป็นเวลาหลายปีทีเดียว
---------------------------
โบรกเกอร์ คืออะไร ?
เพราะผู้ซื้อหุ้นกับผู้ขายหุ้น ไม่สามารถขายกันเองได้โดยตรงในตลาด จึงต้องมีคนกลางหรือตัวแทนในการซื้อขายหุ้นแทน เพื่อความสะดวกและคล่องตัว
บริษัทโบรกเกอร์ (บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์) ก็คือตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ หรือนายหน้าค้าหลักทรัพย์ โดยโบรกเกอร์จะเป็นตัวกลางระหว่างผู้ต้องการซื้อ และผู้ต้องการขายหุ้น
โดยโบรกเกอร์จะคิดค่าบริการซื้อขายหุ้น โดยหักเป็นเปอร์เซ็นต์จากมูลค่าหุ้นจากทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย
และเพราะกำไรจากส่วนต่างของการซื้อขายหุ้นไม่ต้องเสียภาษี จึงจูงใจให้มีนักลงทุนทั้งรายใหญ่ และรายย่อย (แมงเม่า) ที่หวังอยากรวยเร็วๆ แต่ไม่สูญเงินไปเปล่า ๆ เพราะอย่างน้อยก็มีใบหุ้นไว้ครอบครอง ดีกว่าการลงทุนด้านอื่นๆ ที่ผลตอบแทนช้ากว่า
ฉะนั้น จึงมีนักลงทุนเข้ามาซื้อขายหุ้นเพื่อเก็งกำไรมากขึ้น ประเภทซื้อมา-ขายไป เพื่อหวังกำไรจากส่วนต่างของราคาหุ้น และมูลค่าหุ้นที่ขึ้นลงในช่วงเวลา
ถ้าเป็นเก็งกำไรระยะสั้น ก็จะซื้อมาขายไปในวันเดียวก็มี หรืออาจถึงขั้นซื้อหุ้นตัวเดียวขายไปขายมาวันละหลายรอบก็มี
ยิ่งช่วงตลาดหุ้นบูมเมื่อช่วงปี 2530-2539 จะมีเงินทุนไหลเข้ามามาก (โดยเฉพาะเงินทุนจากต่างชาติ) ยิ่งมีการซื้อขายมากเท่าไหร่ พวกบริษัทโบรกเกอร์ก็จะได้เงินจากการหักเปอร์เซนต์การซื้อขายมากตามไปด้วย
พวกโบรกเกอร์ จึงชอบชี้ชวนให้มีคนเข้ามาซื้อขายหุ้นกันมากๆ เพราะยิ่งมีการซื้อขายมากเท่าไหร่ พวกโบรกเกอร์ก็ยิ่งรวย
ช่วงตลาดหุ้นบูมสุดขีด ก่อนเกิดวิกฤติปี 40 พวกบริษัทโบรกเกอร์ และหุ้นของบริษัทโบรกเกอร์ เป็นหุ้นที่มีผลตอบแทนสูง เพราะมีการเข้ามาเก็งกำไรในหุ้นของบริษัทโบรกเกอร์กันมาก
พวกพนักงานโบรกเกอร์เอง ต่างก็รวยกันไปตามๆ กัน กินดื่มเที่ยวเตร่กันราวกับเงินทองเป็นของหาง่ายเหลือเกิน พวกนี้มักชักชวนให้คนมาเล่นหุ้นกันมาก ๆ โดยมักเอาความร่ำรวยมาล่อหลอกให้คนโลภอยากเข้ามารวยเร็วๆ ในตลาดหุ้น
แต่ผู้ที่ประสบความสำเร็จร่ำรวยจากการซื้อขายหุ้นในตลาดหุ้นจริงๆ มีไม่ถึง 10% และส่วนใหญ่ก็เป็นการรวยจากการเก็งกำไรในราคาหุ้น ซึ่งก็เป็นความร่ำรวยบนความยากจนของคนที่พลาดพลั้งนั่นเอง
ยิ่งการเก็งกำไรระยะสั้นในตลาดหุ้น จะไม่ต่างอะไรกับการพนันชนิดหนึ่งนั่นเอง เพราะมีทั้งเล่ห์เหลี่ยม ลูกล่อ ลูกชน การหลอกลวงมากมาย ทั้งหมดเพื่อหวังให้อีกฝ่ายขาดทุน เพื่อตัวเองได้กำไรแทน
เป็นการพนันที่ถูกกฎหมาย แถมดูโก้เก๋ เพราะจะถูกเรียกว่า นักลงทุน ไม่ใช่พวกผีพนัน
-----------------------------------
กองทุนรวม คืออะไร?
เนื่องจากในอดีตการที่ใครจะเข้าไปซื้อขายหุ้นได้ ก็ต้องมีบัญชีเงินฝาก ฝากไว้กับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์หรือโบรกเกอร์นับแสนบาท จนหลายแสนบาท เพื่อเป็นการค้ำประกันการซื้อขาย เงินค้ำประกันส่วนนี้ก็แล้วแต่บริษัทว่าจะกำหนดเท่าไหร่
ด้วยเหตุนี้คนจนๆ ที่ไม่มีเงินแสนไปค้ำประกันไว้ที่บ.โบรกเกอร์ จึงไม่สามารถเข้าไปซื้อขายในตลาดหุ้นได้ จึงคำพูดประชดประชันที่ว่า
"คนจนเล่นหวย คนรวยเล่นหุ้น"
จึงได้เกิดกองทุนรวมขึ้นมา เพื่อให้ประชาชนที่มีเงินไม่มาก ได้มีโอกาสลงทุนในตลาดหุ้นได้ง่ายขึ้น ด้วยการซื้อกองทุนรวม และผู้บริหารกองทุนรวมก็จะนำเงินที่ได้จากประชาชนไปทำการลงทุนในตลาดหุ้นแทน
ซึ่งกองทุนรวมที่มีผลตอบแทนไม่สูง ก็จะเน้นลงทุนในหุ้นที่มีความมั่นคง และมีความเสี่ยงน้อย เน้นลงทุนในระยะยาว โดยหวังผลตอบแทนจากเงินปันผลมากกว่าผลต่างจากราคาซื้อขายหุ้นแบบเก็งกำไรระยะสั้น
ส่วนกองทุนบางกองทุนก็เน้นลงทุนในหุ้นที่มีความเสี่ยงสูง แต่จะมีผลตอบแทนที่สูงขึ้นไปด้วย
ซึ่งหุ้นที่มีความเสี่ยงสูง แต่ผลตอบแทนสูงก็คือ หุ้นที่มีนักลงทุนเข้าไปซื้อขายมาก จนเกิดการเก็งกำไรสูงตามเช่นกัน
ในช่วงก่อนเกิดวิกฤติปี 40 กองทุนรวมทุกกองทุนรวมให้ผลตอบแทนที่ดีมาก คือจ่ายเงินปันผลไม่ต่ำกว่า 20 % ต่อปีเลยทีเดียว
--------------------------
การลงทุนในตลาดหุ้นที่ดีคืออะไร?
การลงทุนในตลาดหุ้นที่ดี ก็คือ การลงทุนซือหุ้นทิ้งไว้ในระยะยาว ไม่ได้หวังเก็งกำไรจากส่วนต่างจากการซื้อขายหุันในระยะเวลาสั้น
เป็นการซื้อหุ้นเพื่อการลงทุนจริงๆ โดยหวังผลตอบแทนจากเงินปันผลที่เกิดจากการประกอบการที่ดีของบริษัทนั้น ๆ อย่างน้อยก็ถือไว้ไม่ต่ำกว่า 6 เดือน
โดยมากผู้ที่ลงทุนระยะยาวแบบดูปัจจัยพื้นฐานของบริษัทจริงๆ มักจะไม่ขาดทุนจากการขึ้นลงของราคาหุ้น เพราะคนที่ลงทุนระยะยาว มักจะซื้อหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี และมักจะไม่เอาเงินเครดิตมาซื้อหุ้น แต่จะลงทุนด้วยเงินออมของตัวเองจริง ๆ
ต่างจากพวกเก็งกำไรบางคน มักอาศัยเครดิตหรือเงินอนาคตมาซื้อ เพราะหวังจะกำไรระยะสั้น จนบางทีลงทุนเกินตัว และหากขาดทุนจากการซื้อขาย ก็จะรีบเทขายเพราะกลัวขาดทุนมาก ซึ่งพวกนี้ความเสี่ยงจะสูง โอกาสเจ๊งก็สูงตามไปด้วย
----------------------
การเก็งกำไรหุ้น สังเกตอย่างไร
ก็ให้สังเกตจาก นำมูลค่าหุ้นตัวนั้น มาหารด้วย ผลตอบแทนจากเงินปันผลต่อหุ้นที่ผ่านมา หากมีค่าแตกต่างกันเกิน 10 เท่า ก็แสดงว่า เริ่มมีการเก็งกำไรจากราคาหุ้นตัวนั้นแล้วครับ
เช่นถ้าราคาหุ้นละ 100 บาท ได้เงินปันผลต่อหุ้น 10 บาท ก็เท่ากับ 100 หาร 10 = 10เท่า
ถ้าไม่เกิน10 เท่า ก็ยังถือว่า การเก็งกำไรมีน้อย แต่หากส่วนต่างของราคาหุ้นกับเงินปันผลเกินกว่า10 เท่าไปยิ่งมากเท่าไหร่ ก็แสดงว่า หุ้นตัวนั้น มีการเก็งกำไรมากขึ้นเท่านั้น
แต่สำหรับปัจจุบัน ให้ระวังเมื่อ อัตราระหวางเงินปันผลกับราคาหุ้น หากยังไม่เกิน 20 เท่า ก็ยังถือว่า พอทน หากเกิน 20 เท่าก็ควรเริ่มระวังอย่างมาก
--------------------------
ตอนต่อไป จะพูดเรื่องการปั่นหุ้นครับ
คลิกอ่าน ตอนจบ !!
ผมชอบพี่มากๆครับ ผมอยากให้พี่เขียนเกี่ยวกับเรื่องซีพี กับ ปตท.เยอะๆนะครับ เพราะว่าจะมีปัญหากับคนไทยเหลือเกิน
ตอบลบ