ต่อเนื่องจากตอนที่แล้ว น้ำมันแพงกับผลงานรัฐบาลมาร์ค6เดือน
.
.
ก่อนอื่นขอเท้าความกลับไปสักหน่อยว่า
ทำไมไทยต้องอ้างอิงราคากลางน้ำมันสำเร็จสิงคโปร์+ค่าขนส่งน้ำมัน+ค่าประกันภัยการขนส่งจากสิงคโปร์มาไทย +ภาษี +เงินกองน้ำมัน = ราคาค่าน้ำมันหน้าโรงกลั่น(ก่อนบวกภาษีและค่าอะไรต่างๆ)
.
เพราะในอดีตเมื่อหลายสิบปีก่อน ไทยเราต้องนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปทุกชนิดจากสิงคโปร์ทั้งหมด เพราะไทยเรายังไม่มีโรงกลั่นของตัวเอง
.
ทีนี้พอเราเริ่มพบแหล่งน้ำมันดิบในประเทศของเราเอง เราจึงมีความจำเป็นต้องสร้างโรงกลั่นน้ำมันขึ้นเพื่อรองรับแหล่งน้ำมันดิบของเราเอง
.
และ
เมื่อไทยอยากจะมีโรงกลั่นเอง แต่ตอนนั้นรัฐบาลไทยยังเป็นรัฐบาลที่ค่อนข้างยากจนรัฐบาลเราก็ต้องจูงใจให้บริษัทน้ำมันอยากจะมาลงทุนสร้างโรงกลั่นน้ำขึ้นในประเทศไทย
รวมทั้งโรงกลั่นของ ปตท.เอง ก็ต้องกู้เงินจากต่างชาติและรวมถึงเงินภาษีของชาติมาสร้าง ปตท. จึงต้องหาทางใช้หนี้คืนไวไว
ไทยเราจึงกำหนดว่า
ให้โรงกลั่นน้ำมันที่อุตส่าห์เมตตามาตั้งโรงกลั่น ได้ตั้งราคาให้สูงเท่ากับราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ขายในสิงคโปร์ บวก ค่าขนส่งน้ำมันสำเร็จรูปจากสิงคโปร์มาไทย บวก ค่าประกันภัยขนส่ง
เพื่อจะได้ค่าการกลั่นที่สูงเท่าราคากลางน้ำมันสำเร็ขรูปที่สิงคโปร์ เพื่อที่โรงกลั่นน้ำมันที่มาลงทุนในไทยจะได้คืนทุนโดยเร็ว และคุ้มค่าที่จะลงทุนสร้างโรงกลั่นในไทย
.
แต่นั่นมันก็เป็นนโยบายส่งเสริมการลงทุนเมื่อหลายสิบปีก่อน
แต่เดี๋ยวนี้สถานการณ์เปลี่ยนไปแล้ว เพราะโรงกลั่น
ส่วนใหญ่ก็คืนทุนกันหมดแล้ว ที่สำคัญ ปตท. บริษัทน้ำมันของรัฐบาลไทย ก็ได้เข้าถือหุ้นใหญ่ในโรงกลั่นไทย 5 โรง จากทั้งหมด 6 โรง
โรงกลั่นน้ำมันที่ ปตท. ถือหุ้น มี 5 โรงดังนี้
ไทยออยล์ 49.1%
PTTGC 48.9%
IRPC 38.5%
SPRC 36.0%
BCP 27.2%
มีเพียงโรงกลั่นของเอสโซ่เท่านั้น ที่ ปตท. ไม่ได้ถือหุ้นอยู่ด้วย
แต่ทุกวันนี้ โรงกลั่น ปตท. ก็ยังอิงราคาน้ำมันสำเร็จรูปสิงคโปร์ + ราคาค่าขนส่งน้ำมันจากสิงคโปร์มาไทย + ค่าประกันภัยเช่นเดิม
(บวกภาษีไทยและเงินเข้ากองทุนน้ำมัน) =
ราคาหน้าโรงกลั่น เหมือนเดิม
.
ทั้ง ๆ ที่ความเป็นจริง
ไทยไม่ได้ซื้อน้ำมันสำเร็จจากสิงคโปร์และไม่มีการขนส่งน้ำมันสำเร็จรูปจากสิงคโปร์มานานแล้ว
เพราะไทยเราซื้อน้ำมันดิบจากประเทศผู้ผลิตน้ำมันดิบโดยตรงเพื่อนำมากลั่นเอง
ฉะนั้นตัวเลขค่าการกลั่นอ้างราคาน้ำมันสำเร็จจากสิงคโปร์+ค่าขนส่ง+ค่าประกันภัยการขนส่ง จึงเป็นเพียงค่าสมมุติ เพราะค่าขนส่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริงนำมารวมอยู่ในค่าน้ำมันหน้าโรงกลั่นของ ปตท. ด้วย
ก็เข้าใจนะที่ต้องอ้างราคาตลาดกลางสิงคโปร์
แต่ปตท.ควรเลิกอ้างโดยบวกค่าขนส่ง(ค่าสมมุติ) บวก ค่าประกันภัย (ค่าสมมุติ)
จากสิงคโปร์ได้แล้ว
.
ถามว่ามันยุติธรรมหรือไม่ครับ ที่คนไทยซื้อน้ำมันแพงเท่ากับซื้อน้ำมันจากสิงคโปร์บวกค่าขนส่งบากค่าประกัน?
.
เพราะเมื่อมีการกลั่นน้ำมันดิบ เราก็จะได้ทั้งน้ำมันดีเซล และเบนซินออกมาพร้อม ๆกัน แต่น้ำมันดีเซลไทยเราใช้เยอะมาก ในขณะที่น้ำมันเบนซินไทยใช้น้อยมาก จึงทำให้ทุกครั้งที่มีการกลั่นน้ำมันดิบ เราจะมีน้ำมันเบนซินเหลือใช้มากกว่าดีเซลจำนวนมาก ซึ่งโรงกลั่นของไทยก็จะกลั่นน้ำมันให้ได้มากกว่าจำนวนความต้องการในประเทศ เพื่อเป็นการลดค่าโสหุ้ยของการกลั่น
.
แล้วน้ำมันที่เราผลิตเหลือใช้ เราเอาไปไว้ไหน?
.
เราก็ส่งน้ำมันที่เหลือใช้ก็ส่งออกไปขายประเทศเพื่อนบ้านไทยทั้งหลาย เช่น เขมร ลาว
แต่รู้มั้ยครับว่า ไทยเราขายน้ำมันสำเร็จรูปให้เพื่อนบ้านในราคาเท่ากับหรืออาจน้อยกว่าราคาหน้าโรงกลั่นสิงคโปร์ด้วย
เพราะราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ไทยขายประเทศเพื่อนบ้านแถวนี้ ไม่ใช้สูตรเดียวกัยที่ขายให้คนไทย แปลง่าย ๆ ว่า
ปตท. ขายน้ำมันสำเร็จรูปให้ประเทศเพื่อนบ้านเราถูกกว่าซื้อน้ำมันสำเร็จรูปจากสิงคโปร์ ก็เพื่อจูงใจให้เพื่อนบ้านหันมาซื้อน้ำมันสำเร็จรูปจากไทยมากกว่าไปซื้อจากสิงคโปร์ เพราะซื้อจากไทยจะประหยัดค่าขนส่งในระยะทางที่ใกล้กว่า
ที่สำคัญคือ โรงกลั่นน้ำมันผลิตได้ทั้งน้ำมันดีเซลและน้ำมันเบนซินออกมาพร้อม ๆ กัน แต่เพราะน้ำมันดีเซลมีการใช้ในประเทศเราเองในปริมาณที่สูงมาก ทำให้บางครั้งโรงกลั่นน้ำมันของไทยจึงมี
น้ำมันเบนซินเหลือเกินความต้องการในประเทศ ทำให้ต้องส่งออกน้ำมันเบนซินให้ประเทศเพื่อนบ้านในราคาส่งที่ถูกกว่าปกติ อาจถูกกว่าต้นทุนที่ขายน้ำมันให้บริษัทน้ำยี่ห้อต่าง ๆ ที่ขายปลีกในประเทศไทยด้วยซ้ำ
.
สรุปง่าย ๆ ก็คือ ต้นทุนน้ำมันหน้าโรงกลั่นที่ขายให้คนไทยแพงกว่าขายให้ประเทศ เขมร ลาว พม่า เวียดนาม หรือพูดให้ง่ายเข้าไปอีกก็คือ ประเทศ
ลาว เขมร พม่า เวียดนาม ซื้อน้ำมันสำเร็จรูปจากโรงกลั่นไทยถูกกว่าที่ขายให้คนไทยซื้อน้ำมันสำเร็จรูปจากโรงกลั่น ปตท. เอง
สะใจดีมั้ยครับคุณผู้อ่าน!!
..
อีกอย่าง การมีน้ำมันดิบบางส่วนที่ไทยเราขุดเจาะได้เองในประเทศ ซึ่งเป็นทรัพยากรของคนทั้งชาติ
แต่ ปตท. และรัฐบาลไทยกลับไม่เคยนำต้นทุนน้ำมันของไทยเราเองมาใช้เป็นส่วนลดราคาน้ำมันให้คนไทยเลยสักนิด เพื่อให้ต้นทุนน้ำมันดิบของไทยถูกลงกว่าราคาน้ำดิบโลก จริงไหม ??
เพราะน้ำมันดิบที่ไทยผลิตได้เอง คิดเป็นประมาณ 15 % ของการบริโภคน้ำมันของคนไทย และนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศประมาณ 85 %
แล้วเราจะขุดน้ำมันดิบของเราขึ้นทำไม สู้เก็บไว้ในแผ่นดินก่อน แล้วยังซื้อน้ำมันสำเร็จรูปจากสิงคโปร์เหมือนเดิมไม่ดีกว่าเหรอ
เพราะยังไง ๆ ราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่เรากลั่นเองก็ไม่ได้มีราคาถูกกว่าราคากลางน้ำมันสำเร็จรูปที่ตลาดสิงคโปร์อยู่แล้วนี่นา จริงไหม ?
.
------------------
ราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่น ปตท. ที่ยุติธรรม ควรเป็นเช่นไร
สิ่งที่ควรเป็นเพื่อความยุติธรรมสำหรับคนไทย คือ
ปตท. ควรนำราคาน้ำมันดิบอิงราคาตลาดโลก บวก ค่าขนส่งและค่าประกันภัยการขนส่งน้ำมันดิบจากประเทศผู้ผลิตจริง ๆ บวก ค่าการกลั่นที่แท้จริงในไทย บวกภาษีรัฐไทย บวกกองทุนน้ำมัน มาเป็นราคาขายหน้าโรงกลั่นของ ปตท.
จริงไหม ?
ไม่ใช่นำเอาราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่สิงคโปร์ บวก ค่าขนส่ง
(หลอก ๆ)น้ำมันสำเร็จรูปจากสิงคโปร์ บวก ค่าประกันภัยการขนส่ง
(หลอกๆ)น้ำมันสำเร็จรูปมาเป็นราคาหน้าโรงกลั่นของ ปตท. เหมือนเช่นที่ทำอยู่ทุกวันนี้
กรณีน้ำมันสำเร็จรูปตลาดสิงคโปร์ เมื่อคิดค่าขนส่งมาไทย มันจะมีต้นทุนแพงขึ้น เพราะ
ราคาน้ำมันสำเร็จรูปมีราคาแพงกว่าราคาน้ำมันดิบ จึงต้องมีค่าประกันภัยการขนส่งที่แพงกว่าการประกันภัยการขนส่งน้ำดิบด้วย
โรงกลั่นน้ำมันในไทย จึงควรยกเลิกการใช้ค่าขนส่งและการประกันภัยน้ำมันสำเร็จรูปจากสิงคโปร์ส่งมาไทย แล้วใช้ค่าขนส่งและค่าประกันภัยน้ำมันดิบมาคิดแทน
ลองอ่านข่าวนี้
ผู้เชี่ยวชาญน้ำมันในไทยแนะปรับเปลี่ยนสูตรกำหนดราคาหน้าโรงกลั่น
29 ม.ค. 2559 นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานและ
อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงความเห็นในการปรับสูตรราคาหน้าโรงกลั่นว่า
"โครงสร้างราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นที่ใช้ในปัจจุบันค่อนข้างเก่าและไม่สะท้อนสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
สาเหตุที่ควรปรับคือ
1) หน่วยปรับคุณภาพน้ำมันของแต่ละโรงกลั่นที่ลงทุนมาก่อนหน้านี้ใช้มานานและคืนทุนไประดับหนึ่งแล้ว ควรปรับส่วนนี้ลดลง
2) ค่าขนส่ง ค่าประกันภัย ควรใช้
ราคาน้ำมันดิบในการคำนวณแทนราคาน้ำมันสำเร็จรูป สามารถทำให้ระดับราคาลดลงได้จากเดิม
3) สามารถปรับลดภาษีกำไรจากร้อยละ 25 เป็นร้อยละ 20 ในส่วนที่ปรับลดจะทำให้ราคาน้ำมันลดลงได้
4) ราคาไบโอดีเซลที่ใช้ผสมกับน้ำมันดีเซลที่โรงกลั่นน้ำมันซื้อจริงมีราคาต่ำกว่าราคาเฉลี่ยของ สนพ.
5) ให้ใช้ส่วนต่างค่าขนส่งน้ำมันดิบจากตะวันออกกลางมาสิงคโปร์และมาไทย แทนการใช้ค่าขนส่งน้ำมันสำเร็จรูปจากสิงคโปร์มาไทย
ทั้งนี้ การปรับโครงสร้างราคาหน้าโรงกลั่นถือเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปโครงสร้างราคาพลังงาน ถ้าภาครัฐมีการผลักดันอย่างแท้จริงประชาชนในประเทศจะได้รับประโยชน์ นอกจากนี้ ควรยกเลิกในประเด็นต่าง ๆ ที่ทำให้บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ผูกขาดในตลาดน้ำมัน เนื่องจากในปัจจุบัน ปตท.เป็นบริษัทมหาชนไม่ใช่รัฐเหมือนก่อนหน้านี้"
"เรื่องปรับโครงสร้างราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นมีมานาน แต่ไม่มีการผลักดันให้เป็นรูปธรรม เพราะโรงกลั่นส่วนใหญ่จะได้รับผลกระทบในแง่ของรายได้ แต่ถ้าหากมองถึงประโยชน์ที่ประเทศชาติและประชาชนจะได้รับ ถือเป็นประเด็นที่กระทรวงพลังงานจะต้องผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและสะท้อนต้นทุนจริง" นายอนุสรณ์กล่าว
ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
**************************
.
บิดเบือนราคาดีเซลถูกกว่าเบนชินสร้างปัญหาหลอกตัวเอง
.
หลาย ๆ คนอาจคิดว่าผมบ้าไปหรือเปล่าที่ไม่เห็นด้วยกับการขายดีเซลถูกกว่าเบนซิน เพราะคนส่วนใหญ่ของประเทศคือคนใช้น้ำมันดีเซล การที่ช่วยให้ราคาน้ำมันของคนส่วนใหญ่ถูกกว่าน้ำมันของคนส่วนน้อยน่าจะเรื่องที่ถูกต้อง
.
แต่ผมกลับไม่คิดเช่นนั้นครับ
เพราะทั่วโลกดีเซลต้องแพงกว่าเบนซิน แต่ประเทศไทยกลับบิดเบือนเพื่อให้ดีเซลถูกว่าเบนซิน โดยข้ออ้างแบบเดิม ๆ ว่า เพราะเป็นต้นทุนของค่าขนส่งและต้นทุนของค่าสินค้าในประเทศ และเป็นน้ำมันที่เกษตรกรใช้
.
ลองคิดดูสิครับว่า ทั่วโลกเขาก็ใช้ดีเซลในการขนส่งเช่นกัน แต่ทำไมเขาถึงไม่มาบิดเบือนราคาแบบประเทศไทยทำ ลองคิดดีๆ
.
การที่รัฐกดราคาดีเซลให้ถูกว่าเบนชิน ทำให้แทนที่ผู้ที่มีความจำเป็นที่ต้องใช้น้ำมันดีเซลจริง ๆ เท่านั้นจะเป็นผู้ใช้
แต่กลับกลายเป็นรัฐไป
ส่งเสริมทางอ้อมให้คนทั่ว ๆ ไปที่ไม่ได้ใช้รถเพื่อการขนส่งสินค้าหรือเพื่อการผลิตเป็นหลักหันมาใช้รถปิคอัพดีเซลประเภทต่างๆ เช่นมีแคป ไม่มีแคป หรือปิคอัพ4ประตูมาใช้เป็นรถส่วนตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพียงเพื่ออยากจะประหยัดค่าน้ำมันรถ
.
และคุณลองคิดดูว่า รถปิคอัพแต่ละประเภทนั้นมีความยาวตัวรถมากกว่ารถเก๋งทั่วไป ซึ่งทำให้กินพื้นที่การจราจรมากขึ้น ทำให้รถติดมากขึ้น
แถมสร้างมลภาวะเป็นพิษมากขึ้นกว่าการใช้รถเครื่องยนต์เบนซิน
.
ทำให้เดี๋ยวนี้ แม้แต่ชนชั้นกลางที่พอมีฐานะ หรือเลยไปถึงคนรวย ก็หันมานิยมซื้อรถเก๋งยุโรปแพงๆเครื่องยนต์ดีเซลกัน หรือจะซื้อรถsuvหรูๆ หรือจะเป็นจำพวกรถออฟโรดแพงๆ กันมากขึ้น เพื่อประหยัดค่าน้ำมัน ?
.
แล้วต้องอย่าลืมว่า รถที่ใช้เบนซินก็มีใช้ในการขนส่งเช่นกัน เช่นรถมอไซค์รับจ้าง รถซาเล้งสกายแลป รถกระเป๊าะในซอย รถแท๊กซี่ แต่รัฐกลับเอาเงินจากค่าน้ำมันเบนซินเพื่อไปอุดหนุนรถดีเซล
หากจะเปรียบเทียบแบบประชดประชันหน่อย ก็คือ เอาภาษีรถมอไซค์ไปอุดหนุนให้รถSuvของคนรวย !?
.
ด้วยเหตุนี้ จำนวนคนใช้รถปิคอัพในประเทศไทยมีอัตราการใช้รถประเภทนี้มากที่สุดในโลก มากจนจูงใจให้ประเทศผู้ผลิตรถกระบะปิคอัพเข้ามาตั้งฐานการผลิตรถปิคอัพในประเทศไทยกันทุกยี่ห้อ
.
เพราะผู้ผลิตบอกว่า ทำให้โรงงานผลิตรถปิคอัพสามารถทดสอบความนิยม ทดสอบตลาดได้ในประเทศไทย หากขายในไทยได้ ก็มีแนวโน้มประสบความสำเร็จในต่างประเทศ และโรงงานผลิตสามารถอยู่ได้ด้วยตลาดภายในโดยไม่ต้องพึ่งแต่ตลาดต่างประเทศมากเกินไป พูดง่าย ๆ ก็คือ โอกาสเจ๊งยากขึ้น
.
ทำให้ผมอดคิดไม่ได้ว่า เป็นเพราะมีบริษัทรถยนต์อยู่เบื้องหลังนักการเมืองหรือไม่?
เพื่อที่จะได้ช่วยให้น้ำมันดีเซลราคาถูกเพื่อช่วยด้านการตลาดแก่บริษัทผู้ผลิตปิคอัพทางอ้อม
(อันนี้ผมคิดเล่นๆ)
.
ผมว่า
หากไทยปล่อยให้ดีเซลอยู่ในราคาที่เป็นจริงไม่บิดเบือน จะทำให้นานวันเข้า เราก็จะเหลือแต่ผู้ที่จำเป็นต้องใช้เพื่อการขนส่งและการผลิตจริงๆ ซึ่งจะน่าจะเป็นผลดีในระยะยาวมากกว่า
.
และการที่เรียกเก็บภาษีสรรพสามิตหรือเงินเข้ากองทุนน้ำมันจากเบนซิแพงๆ มันเป็นธรรมแก่ประชาชนจริงหรือ คุณคิดว่าคนขับรถเบนซินทั้งหมดรวยกว่าคนขับรถปิคอัพ รถ
mpv รถ
Suv รถ
ppv หรือไง?
ขออัพเดทข่าว ปัจจุบันใน พ.ศ. 2561 เมืองฮัมบูร์ก เป็นเมืองแรกในเยอรมัน ที่ออกกฎหมายห้ามรถที่ใช้น้ำมันดีเซลวิ่งเข้าในถนนสายหลักในเมือง 2 สาย เหตุเพราะรถใช้ดีเซลก่อมลภาวะสูงกว่าน้ำมันเบนซิน
คลิกอ่านข่าวนี้
.
*************************
.
ต้องมีดีเซลเพื่อเกษตรกรด้วย
.
อย่างที่ผมเขียนใน
บทความตอนก่อนว่า รถไถ รถอีแต๋น รถเกี่ยวข้าว ทำไมต้องใช้น้ำมันเกรดเดียวกับรถยนต์เครื่องคอมมอนเรลด้วย?
.
ทำไมเกษตรกรต้องใช้น้ำมันที่ดีเกินความจำเป็นด้วย มีน้ำมันดีเซลรอบต่ำสักหน่อยเพื่อเกษตรกรได้มั้ย?
.
**************************
.
แยกตลาดก๊าซหุงต้มออกจากก๊าซแอลพีจีเติมรถยนต์
.
จากบทความตอนที่แล้ว ผมได้เขียนไปแล้วว่า ควรจะแยกราคาก๊าซหุงต้มในครัวเรือน ออกมาจากราคาก๊าซLPGที่ใช้เติมรถ
.
เพราะการที่ไม่แยกราคาทั้งสองตลาดออกจากกัน ทำให้กลายเป็นว่ากองทุนน้ำมันมาขูดภาษีจากผู้ใช้รถยนต์ทุกชนิดเพื่อไปอุดหนุนค่าก๊าซแอลพีจีที่ใช้เติมรถยนต์ด้วย
.
ซึ่งทำให้มีรถยนต์จำนวนมากเอาเปรียบสังคมด้วยการไปเปลี่ยนเป็นรถใช้ก๊าซแอลพีจีมากขึ้น
(ไม่นับรถtaxi ซึ่งรัฐกำลังมีนโยบายเปลี่ยนtaxi ให้ใช้ngv ทุกคันฟรีแล้ว)
.
จึงทำให้ปกติก๊าซแอลพีจีที่เป็นผลพลอยได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ ที่เคยพอใช้ในประเทศ กลับถูกปตท.อ้างว่า ไม่พอใช้แล้ว จำเป็นต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
(แต่มีข่าวลือว่าไม่จริง อันนี้ผมไม่ยืนยันนะครับ)
.
(ราคาก๊าซแอลพีจีของไทยถูกว่าราคาที่ซื้อขายในตลาดโลก)
.
การที่รัฐจะอุดหนุนราคาหรือตรึงราคาก๊าซหุงต้มก็เป็นสิ่งที่ดี แต่ทุกวันนี้กลายเป็นว่ามีคนหันมาเปลี่ยนรถเพื่อใช้ก๊าซแอลพีจีกันมาก ถือเป็นการเอาเปรียบสังคมไทยทั้งประเทศครับ จึงกลายเป็นว่ารัฐกลับต้องมาอุดหนุนพวกเอาเปรียบสังคมไปด้วย
(ขออภัยคนที่เติมLpg ด้วยแต่นี่คือความจริง)
.
ที่จริงก็มีเทคโนโลยีที่สามารถเติม
สารน็อคเครื่องยนต์มาใส่ในถังก๊าซหุงต้ม เพื่อจะได้
แยกตลาดก๊าซแอลพีจีสำหรับหุงต้มและเพื่อขนส่งออกจากกันให้ชัดเจน โดยที่ไม่เป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคซึ่งสามารถทำได้ แต่ทำไมไม่มีใครคิดจะทำสักที ทำไมหนอ!
.
(ในความเป็นจริง ไทยเราผลิต LPG ราคาถูกและพอใช้สำหรับหุงต้มและเติมรถยนต์ในประเทศ แต่เรากลับถูกรัฐบาลหลอกว่าไม่พอใช้ คลิกอ่านที่นี่ !!)
*********************
.
ตอนค่าขนส่งลด ราคาสินค้ากลับไม่ลดตาม
.
ตอนค่าน้ำมันโลกพุ่งไป 140 กว่าดอลล่าห์สหรัฐฯ น้ำมันดีเซลพุ่งไปถึง 37 บาทกว่า ราคาสินค้าก็แพงขึ้น ผมเป็นคนที่ซื้อของใช้เข้าบ้านเองเป็นประจำทุกอาทิตย์
.
ช่วงน้ำมันแพงปีที่แล้ว สินค้าของกินของใช้ทยอยปรับราคาขึ้นหลายครั้ง แต่เมื่อค่าน้ำมันลดลง ค่าขนส่งก็ลดลงนิดหน่อย แต่ค่าสินค้าที่ไม่ใช่ของสดจำพวกผลไม้พืชผัก ไม่ลดลงตามเลย ยังคงตรึงอยู่ในราคาที่สูง
.
ฉะนั้น ที่รัฐอ้างเพื่อไม่อยากให้ค่าขนส่งขึ้น แล้วเวลารัฐลดให้เขา ผู้ค้าเขากลับไม่ลดราคาสินค้าลงตาม สุดท้ายกลายเป็นรัฐไม่ได้ช่วยประชาชนเท่าไหร่หรอก แต่กลับไปช่วยพ่อค้าให้ได้กำไรมากขึ้นมากกว่า!!
.
ซึ่งหากน้ำมันดิบโลกดีดกลับไปเกิน 100 เหรียญอีกครั้ง พวกสินค้าทั้งหลายก็จะถือโอกาสขึ้นราคาอีกรอบแน่ ๆ และที่รับไปเต็มๆคือประชาชนคนจนๆนั่นเอง
.
*************************
..
น้ำมันดีเซลที่มาเลเซียราคาขายปลีกลิตรละ16บาทกว่า ในขณะที่เทียบกับน้ำมันดีเซลไทยในช่วงเดียวกันราคาเกือบ30บาท
.
ทั้ง ๆ ที่ของปตท.ราคาหน้าโรงกลั่นยังไม่รวมค่าภาษี ค่าการตลาด ค่าvat ค่าอะไรต่อมิอะไร ก็เริ่มต้นที่ 18 บาทกว่าแล้วครับท่าน
.
ทำไมหนอมาเลเซียถึงไม่กลัวเรื่องราคาบ้านเขาจะถูกกว่าราคาสิงคโปร์แบบที่บริษัทน้ำมันบ้านเรากลัว?
.
ถ้าจะอ้างว่า มาเลเซียมีน้ำมันของตัวเอง ก็อ้างฟังไม่ขึ้นเท่าไหร่ เพราะแม้ไทยจะมีน้ำมันของเราเอง ถึงแม้จะไม่ได้มากเหมือนชาติในโอเปค
แต่ขอย้ำอีกที่ว่า ปตท. และรัฐบาลไทย กลับไม่เคยคิดจะเอามาทรัพยากรน้ำมันในแผ่นดินไทย มาใช้เป็นส่วนลดให้ต้นทุนราคาน้ำมันให้ถูกลงเพื่อคนไทยสักนิดเลย
.
ผมเลยสงสัยว่า ในเมื่อ ปตท. ก็ขายน้ำมันเท่ากับราคาสิงคโปร์บวกค่าขนส่งอยู่แล้ว งั้น! สู้เรายังไม่ขุดเจาะน้ำมันในบ้านเราไม่ดีกว่าเหรอ เก็บไว้ในแผ่นดินไทยไปก่อน แล้วซื้อน้ำมันสำเร็จจากสิงคโปร์แบบเดิมก็ได้ เพราะยังไงก็ราคาการกลั่นไทยก็ไม่ถูกกว่าราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่สิงคโปร์อยู่แล้ว (ประชด!)
.
สู้เก็บน้ำมันในแผ่นดินไทยเอาไว้ให้ลูกหลานเราไปใช้ในอนาคต จะดีกว่ามั้ย? งง!จริง ๆ กับประเทศไทย
.
******************************
.
รัฐถือหุ้นปตท.เกินครึ่งไม่ได้ช่วยอะไรประชาชนเลย
.
แม้กระทรวงการคลังและภาครัฐอื่น ๆ จะถือหุ้นปตท. ประมาณ65 %
แต่ข้าราชการที่รัฐส่งไปนั่งเป็นกรรมการในปตท. แทนที่จะไปเพื่อเป็นปากเสียงเพื่อช่วยประชาชน แต่กลับส่งไปนั่งกินค่าเบี้ยประชุมแพงๆแทน
@ค่าเบี้ยประชุม ประกอบด้วย เบี้ยกรรมการรายเดือน เดือนละ 30,000 บาท เบี้ยประชุมครั้งละ 20,000 บาท (เฉพาะกรรมการที่เข้าร่วมประชุม), เบี้ยประชุมคณะกรรมการอื่นที่คณะกรรมการ ปตท. แต่งตั้ง ได้แก่ คณะกรรมการตรวจสอบ แยกเป็นเบี้ยกรรมการรายเดือนๆ ละ 15,000 บาท เบี้ยประชุมครั้งละ 15,000 บาท (เฉพาะกรรมการที่เข้าประชุม) ส่วนคณะกรรมการอื่นๆ อีก 3 คณะ คือ คณะกรรมการสรรหา, คณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทน, คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี กำหนดเบี้ยประชุมให้ครั้งละ 24,000 บาท / ข้อมูลจาก “ขรก.เพื่อปตท.”รวยอู้ฟู่ โบนัส-เบี้ยประชุม@
.
เพราะหากไปแย้งเพื่อผลประโยชน์ประชาชนมากไป ไปทำให้ปตท.กำไรน้อยลง เดี๋ยวจะไปกระทบค่าเบี้ยประชุมราคาแพงของตนไปด้วย ฉะนั้นเลยขอนั่งเงียบกินเงินแพง ๆ ไปสบายๆดีกว่า เรื่องไรจะโง่ทุบหม้อข้าวตัวเอง เพราะกว่าจะได้มานั่งตำแหน่งนี้ ก็เหลือเวลากอบโกยอีกไม่มากแล้ว
.
มีนักวิชาการเคยวิจัยแล้วบอกว่า
หากเปรียบเทียบค่าตอบแทนของกรรมการบริษัท ปตท. ไปเทียบกับค่าตอบแทนของกรรมการในบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของนอร์เวย์
.
บริษัทของนอร์เวย์ขายน้ำมันทั่วโลกมากกว่าไทยหลายเท่า แต่กรรมการบริษัทปตท.กลับได้ค่าตอบแทนมากกว่ากรรมการบริษัทน้ำมันของนอร์เวย์ถึง2เท่า!!!
.
ทั้งๆที่ค่าครองชีพของคนนอร์เวย์สูงกว่าคนไทย!!!
.
เอาเถอะ! ใครได้ร่ำรวยจากปตท. ได้ทำงานในปตท.จนร่ำรวยรวยบนความทุกข์ของประชาชน ก็ขอเชิญตามสบาย ขอมุทิตาจิตด้วย
.
แต่พนักงานปตท.โปรดหยุดคิดสักนิดว่า คุณกำลังทำบาปทางอ้อมหรือเปล่า? คุณอาจสุขสบายในชาตินี้ เพราะคุณทำบุญเก่ามาดี กิจการคุณก็ไม่ต้องแข่งขันกับใครมาก เพราะพวกคุณผูกขาดตลาดสบาย
.
แต่หากคุณเชื่อว่าชาติหน้ามีจริง คุณคิดหรือว่าคุณจะไม่ได้รับผลกรรมที่คุณขูดกำไรเกินควรจากประชาชน
กำไรแต่พอเพียงพออยู่ได้ พอพัฒนากิจการได้ แต่พวกคุณเลือกที่จะไม่ทำ!!?
.
ผู้บริหารปตท. ผมก็เข้าใจคุณที่ว่า
หากคุณไม่ทำกำไรให้ผู้ถือหุ้นมากๆ คุณก็อาจจะถูกเด้งจากตำแหน่ง ผมเข้าใจครับ!
.
เพราะคุณยังมีกิเลสเหมือนคนทั่วไป คุณถึงมีความจำเป็นต้องได้ผลตอบแทนเดือนละกว่า14ล้าน เพื่อช่วยเหลือครอบครัวที่ยากจนของคุณ
-------------------
อัพเดทบทความ ปี 2561
ข่าวเมื่อวันที่ 31 พ.ค. 2561
คุณรสนา โตสิตระกุล ก็อดีต สว.กทม. ได้ออกมาพูดถึงการกำหนดราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นของไทยอีกว่า โรงกลั่นน้ำมันไทยก็ยังอิงราคากลางน้ำมันสำเร็จรูปที่สิงคโปร์ + ค่าขนส่งน้ำมันจากสิงคโปร์มาไทย บวก ค่าประกันภัยการขนส่ง อยู่เลย ตามลิงค์ข่าวนี้
คลิก https://www.posttoday.com/economy/552847
ซึ่งคุณรสนา ได้พูดถึงสูตรราคาหน้าโรงกลั่นของไทยแบบนี้มาหลายปีแล้ว ถ้าเรื่องที่คุณรสนาพูดเป็นความเท็จ ทาง ปตท. ก็ควรฟ้องร้องเอาผิดคุณรสนามาตั้งนานแล้วจริงไหม แต่ทำไม ปตท. ไม่ฟ้องคดีนี้หว่า ?
ส่วนคดีที่ ปตท. เคยฟ้องคุณรสนา กลับเป็นเรื่องที่ คุณรสนา เคยบอกว่า ปตท. แอบไปเปิดบริษัทลูกบน
เกาะฟอกเงิน ที่ชื่อ
เกาะเคย์แทน ซึ่งศาลได้พิพากษายกฟ้องคดีไปแล้วทั้งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ตามลิงค์ข่าวนี้
คลิก https://www.matichon.co.th/politics/news_387700
สุดท้ายกับการอัพเดทบทความในปี 2561 นี้ ผมขอนำ
ราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่พม่าขายหน้าปั๊ม มาลงให้คุณผู้อ่านดูแล้วกันครับ
ซึ่งพม่าเขาซื้อน้ำมันสำเร็จรูปจากไทยเหมือนกัน เพียงแต่ว่า
รัฐบาลพม่าเขาไม่มีนโยบายเก็บภาษีแพง ๆ ขูดรีดจากประชาชนมาก ๆ ก็เท่านั้นเอง
พม่าเขาเก็บภาษีจากราคาขายน้ำมันบ้างเล็กน้อย ราคาน้ำมันในพม่าก็เลยถูกกว่าราคาน้ำมันไทยตั้งเยอะ
ราคาน้ำมันหน้าปั๊มในกรุงย่างกุ้ง ยี่ห้อ Max Energy ในพม่า ประจำวันที่ 31 พ.ค. 61
https://maxenergy.com.mm/#pricelist
ราคาน้ำมันเบนซิน 95 ที่กรุงย่างกุ้ง ราคาขายคือ 930 จ๊าด/ลิตร หรือเป็นเงินไทย 22.18 บาท
แต่ราคาขายน้ำมันเบนซิน 95 หน้าปั๊มของ ปตท. ราคาขายในวันเดียวคือ
36.36 บาท/ลิตร
ราคาน้ำมันดีเซลเกรดธรรมดา ที่กรุงย่างกุ้ง ราคาขายคือ 905 จ๊าด/ลิตร หรือเป็นเงินไทย 21.59 บาท
แต่ราคาน้ำมันดีเซลเกรดธรรมดาของ ปตท. ราคาขายในวันเดียวกัน คือ
28.79 บาท/ลิตร
น้ำมันสำเร็จรูปยี่ห้อ
Max Energy ที่พม่าเขาขายถูกกว่าน้ำมัน
ปตท. เยอะจริง ๆ อิอิ
แนะนำอ่านแปรรูปปตท.ดีจริงหรือ??
มองรอบด้านกรณีแปรรูปรถไฟ!??