วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ประชาธิปไตยคือความไม่เท่าเทียม?






งงมั้ยครับ ชื่อบทความนี้ ที่ผมเขียนว่า "ประชาธิปไตยคือความไม่เท่าเทียม" นั้น หลายๆท่านคงงง เพราะอาจเคยได้ยินแต่ประชาธิปไตยทำให้คนเราเท่าเทียมกัน

ที่จริงที่ท่านผู้อ่านหลายคนเข้าใจก็ไม่ผิดครับ แต่ถูกแค่เพียงครึ่งเดียว เพราะประชาธิปไตยก็เป็นได้ทั้งสองความหมาย เอ้า! อย่าเพิ่งงงเพิ่มครับ เดี๋ยวผมกำลังจะอธิบาย

ที่ผมว่า "ประชาธิปไตยคือความไม่เท่าเทียม" นั้นก็หมายถึง ประชาธิปไตยคือระบอบที่เปิดโอกาสให้ทุกคนมีโอกาสได้ไม่เท่าเทียมกันอย่างเท่าเทียมกัน? หรือ เปิดโอกาสที่เท่าเทียมกันเพื่อสร้างความไม่เท่าเทียมกันได้ทุกคน ทีนี้พอเข้าใจขึ้นบ้างมั้ยครับ

สรุปง่ายๆก็คือ ความเท่าเทียมคือความไม่เท่าเทียม เอ้า! งงขึ้นหรือเปล่าครับ หรือจะอธิบายอีกอย่างคือ "ประชาธิปไตยคือความเท่าเทียมบนความไม่เท่าเทียม" ไงครับ

คือ เปิดโอกาสให้คุณได้ยกระดับทางสังคมได้ทุกคน แต่วงเล็บว่าต้องขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ะละคน (รวมถึงขึ้นอยู่กับโชคด้วย ซึ่งจะโชคจะดีหรือร้าย ก็ขึ้นอยู่กับกฎแห่งกรรมอีกที)

ทั้งหมดที่วกวนไปมานั้นอธิบายได้ว่า ระบอบประชาธิปไตยนั้นเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถสร้างให้ตัวเองเปลี่ยนฐานะบทบาททางสังคมไปได้อย่างไม่มีขีดจำกัด โดยขึ้นอยู่กับความสามารถและโอกาสของแต่ละคน แต่ต้องอยู่บนกฏกติกาที่ถูกต้องของสังคมนั้นๆ ในที่นี้ก็น่าจะหมายถึงกฎหมายและจารีตประเพณีปฏิบัติของแต่ละสังคมที่ยึดถือปฏิบัติกัน
(ผลที่ได้ก็จะเกิดทั้งคนจน และคนรวยขึ้นในสังคม เป็นต้น ซึ่งสุดท้ายก็คือความไม่เท่าเทียมกันนั่นเอง)

เช่นคนจน หากมีความสามารถความฉลาดก็พ้นสภาพความยากจนได้ หรือคนจนหากขยันศึกษาเล่าเรียนก็สามารถกลายเป็นนายกรัฐมนตรีก็ได้

เช่นเดียวกัน คนรวยที่มีโอกาสและอำนาจทางสังคมมากกว่า ถ้าขี้เกียจ หรือโง่ ก็อาจกลายเป็นยาจกได้ หรือคนรวยหากไม่เคารพกฎหมายก็อาจติดคุกได้เช่นกัน

แต่ถ้าคนรวยหากจะติดคุก ก็อาจมีโอกาสที่จะหาทางรอดหนีคุกได้มากกว่าคนจน!? ฉะนั้นคนจนจึงมักแสวงหาความร่ำรวยก่อนเพื่อจะได้มีโอกาสและอำนาจเหมือนคนรวย

ประชาธิปไตยจึงเปิดโอกาสให้ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในการแสวงหาความไม่เท่าเทียมกันได้อย่างเท่าเทียมกันนั่นเอง (หลักความไม่เสมอภาคบนความเสมอภาค)

แต่ก็มักมีจุดบกพร่องตรงที่การแสวงหาบางครั้งก็ก่อให้เกิดการเอาเปรียบสังคมและคนอื่นทั้งทางตรงทางอ้อมได้
.
เพราะประชาธิปไตยเปิดโอกาสให้ทุกคน จึงทำให้คนที่ฉลาดกว่า และมีอำนาจทางสังคมมากกว่าก็จะได้เปรียบมากกว่า จึงมีโอกาสมากกว่าคนที่ฉลาดน้อยกว่า และมีอำนาจทางสังคมด้อยกว่าตน

ตัวอย่างเช่น คนดัง คนรวย มีโอกาสได้แสดงความเห็นของตัวเองได้ง่ายและออกสู่สังคมได้ง่ายกว่า เช่นคนดังจะมีสื่อวิ่งไปเอาไมค์จ่อปากอย่างสม่ำเสมอเป็นต้น ในขณะที่คนจนและไม่มีชื่อเสียงก็ยากที่จะได้รับโอกาสเหล่านี้ คุณว่าจริงมั้ย?

ฉะนั้นหากเราใช้ประชาธิปไตยไม่ถูกต้อง หากคนฉลาดเอาเปรียบคนฉลาดน้อย คนรวยเอาเปรียบคนจน ผู้มีอำนาจเอาเปรียบคนไร้อำนาจ ประชาธิปไตยที่ผิดก็อาจจะนำมาซึ่งความวุ่นวายทางสังคมได้ เพราะประชาธิปไตยนั้นมีสองรูปแบบใหญ่คือ ประชาธิปไตยแบบอนาธิปไตย กับประชาธิปไตยแบบธรรมาธิปไตย

ประชาธิปไตยแบบอนาธิปไตยคือ อาศัยพวกมากลากไป หรือใช้เสียงส่วนใหญ่ลากไป โดยไม่สนใจความถูกต้องชอบธรรม เช่น นักการเมืองชนะการเลือกตั้งได้เสียงส่วนใหญ่มาสนับสนุน แล้วก็ใช้โอกาสนั้นหาประโยชน์ส่วนตัวอย่างผิดกฎหมาย แต่พอถูกกฎหมายจับได้ ก็จะอ้างว่าตัวเองถูกกลั่นแกล้ง และระบบยุติธรรมถูกแทรกแซงโดยไม่เคารพเสียงส่วนใหญ่ เป็นต้น

ส่วนประชาธิปไตยแบบธรรมาธิปไตย คือ ประชาธิปไตยที่ยึดถือความถูกต้องเป็นสำคัญยึดถือธรรมเป็นสิ่งสำคัญที่สุด สิ่งใดขัดหลักธรรม สิ่งนั้นย่อมนำความวิบัติมาสู่สังคม แม้จะมีจากเสียงข้างมากก็ตาม แต่หากเป็นเสียงข้างมากไร้คุณธรรม เสียงนั้นก็ไม่ใช่ประชาธิปไตย!

ฉะนั้นจึงขอฝากให้ท่านทั้งหลายลองคิดดู ว่า เรากำลังเป็นประชาธิปไตยแบบไหนอยู่ และเลือกได้ถูกต้องหรือยัง?
.
และหากใครเรียกร้องแต่ความเท่าเทียมกันหรือความเสมอภาคกันแต่เพียงอย่างเดียวแล้วล่ะก็ โปรดระวังให้ดีว่า อาจจะไม่ใช่ประชาธิปไตยแท้จริงได้ เพราะอาจเป็นคอมมิวนิสต์แอบแฝงก็ได้ครับ
.
(ประชาธิปไตยบนทุนนิยมฟุ้งเฟ้อ มักแบ่งแยกชนชั้นจากฐานะความร่ำรวย ช่องว่างทางสังคมและชนชั้นจึงมีมากขึ้น และคนจนก็ตกเป็นเหยื่อแรงงานทาสให้คนรวยรวยขึ้น ยิ่งคนรวยยิ่งรวย คนจนก็ยิ่งจนลง)
.
ประชาธิปไตยทุนนิยมบริโภคแบ่งชนชั้นกันที่ฐานะความร่ำรวย แต่สิ่งที่ควรพัฒนาประชาธิปไตยต่อไปคือ ทำอย่างไรให้ช่องว่างความแตกต่างทางโอกาสลดน้อยลง
.
**มหาเศรษฐีก็หนึ่งเสียง ยาจกก็หนึ่งเสียง ตอนนี้ประชาธิปไตยไทยยังเท่ากันเพียงแค่ตรงนี้เท่านั้น!? (ความเท่าเทียมกันจึงเริ่มต้นที่จุดนี้)


**********************************
.
ทุนนิยม หรือ สังคมนิยม สิ่งไหนดีกว่ากัน
.
ในส่วนของระบอบประชาธิปไตย มักจะมีเรื่องทุนนิยมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ ต่างกับคอมมิวนิสต์ที่ใช้ระบบสังคมนิยม
.
ทุนนิยม มีข้อดีตรงเปิดโอกาสให้ทุกคนมีอิสระในการแสวงหารายได้ สังคมนิยม นำเงินจากภาษีของทุกคนต้องจ่ายในอัตราสูงเพื่อมาจุนเจือสังคม หรือที่เรียกว่า รัฐสวัสดิการ
คอมมิวนิสต์ นำเงินจากทุกคนมารวมไว้ที่รัฐ เพื่อปันส่วนกัน
.
แต่ทุนนิยมนั้น หากผู้คนต่างก็มุ่งแสวงหากันอย่างไร้ขอบเขตตักตวงกันเกินพอดี ก็อาจทำให้เกิดการเอาเปรียบแก่งแย่งขึ้นในสังคม ทำให้ผู้คนเกิดความเห็นแก่ตัวมากขึ้น จนถึงความฟุ้งเฟ้อมากขึ้นได้ จนในที่สุดก็จะนำมาซึ่งความล้มเหลวในที่สุด ซึ่งเรียกง่ายๆว่า "ทุนนิยมบริโภค" ที่มีมากไปด้วยความละโมบ
.
ฉะนั้นทั้งทุนนิยมและสังคมนิยมต่างก็มีข้อดีข้อเสียต่างกันไป กระแสโลกในปัจจุบันเราเริ่มรู้แล้วว่า ต้องนำทั้งสองระบบมาปรับใช้ร่วมกัน โดยนำข้อดีข้อเสียมาปรับใช้เพื่อเกิดประโยชน์ที่ดีกว่าเดิม
.
แต่หากต้องชั่งน้ำหนักประโยชน์ระหว่างทุนนิยมกับสังคมนิยมแล้ว ดูเหมือนว่า ทุนนิยมน่าจะได้เปรียบดีกว่าสังคมนิยมอยู่หน่อย ถ้าจะให้ดี ทุนนิยมที่ดีที่เหมาะที่สุด คือ
.
ทุนนิยมแห่งความพอดีพอเพียง ที่รู้จักเห็นใจผู้อื่นและช่วยเหลือสังคม นั่นเองครับ
.
******************************

ประชาธิปไตยได้ให้เสรีภาพแก่ประชาชน แต่เสรีภาพก็ย่อมมีขอบเขต หากใช้เสรีภาพเกินขอบเขต ก็จะนำความเดือดร้อนมาสู่สังคมเช่นกัน
.
การเป็นประชาชนในระบอบประชาธิปไตย จึงต้องมีทั้งสิทธิและหน้าที่ของพลเมือง แต่คนไทยชอบใช้แต่สิทธิ แต่ไม่ยอมทำหน้าที่พลเมือง ฉะนั้นถ้ามีแต่สิทธิแต่ไม่รู้จักหน้าที่พลเมือง ก็ไม่อาจเรียกได้ว่า ได้เป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ (การเสียภาษีอย่างถูกต้องก็เป็นหน้าที่ที่สำคัญอย่างหนึ่ง)

.
ประชาธิปไตยจึงไม่ได้มีแค่ การเลือกตั้ง เท่านั้น ตามที่คนไทยส่วนใหญ่ยังเข้าใจ โปรดทราบไว้ด้วย
.

คลิกอ่าน ประชาธิปไตยต้องมีชนชั้น 

4 ความคิดเห็น:

  1. สงสัยจะเป็นบทความที่แดงอ่านแล้วงงเต้กจริงๆด้วยสิคะพี่เอกขา ^^

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ14 ธันวาคม, 2553 04:05

    แล้วถ้าแดงมาอ่านแล้วจะไม่งงไปกันใหญ่เหรอคะคุณเอก เพราะขนาดที่เรัยกร้องกันอยู่ทุกวันนี้ ยังงงอยูเลยตกลงแล้วเค้าเรียกร้องอะไรกันแน่


    แต่ถ้าคนรวยหากจะติดคุก ก็อาจมีโอกาสที่จะหาทางรอดหนีคุกได้มากกว่าคนจน!? แฮ่ๆๆ อันนี้เหมือนใครหว่า

    ตอบลบ
  3. หนูแจ๋ว ไม่ต้องกลัวคห.ไม่ขึ้นครับ เพราะมันไปหลบที่สแปม ผมจะคอยไปแก้ให้คห.ขึ้นครับ

    ผมมีบทความเกี่ยวกับประชาธิปไตยอีกหลายบท เขียนมาเป็นปีๆแล้ว

    ถ้าว่างหนูแจ๋วลองไปแวะไปอ่านะครับ บทความเก่าๆปีก่อนๆน่ะครับ ^^

    ตอบลบ

ถ้าแสดงความเห็นตรงช่องนี้ผมจะได้อ่านทุกความเห็นครับ แต่ถ้าความเห็นไม่ขึ้นอาจเพราะระบบรอตรวจสแปม ต้องรอ1-2วัน / ใหม่ เมืองเอก kaeake@ymail.com


ผู้ติดตาม