วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2551

การแปรรูปรัฐวิสาหกิจดีจริงหรือ? (กรณีปตท.)




ก่อนอื่นลองฟังอาจารย์สมเกียรติ อ่อนวิมล เล่าถึงความเห็นของศาสตราจารย์โจเซฟ สติกลิสต์ นักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักที่ได้รับรางวัลโนเบลในปี 2544 พูดถึงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจล้มเหลวและเลวร้ายอย่างไร

ลองดูคลิปนี้ครับ มีคุณค่าและมองปัญหาการแปรรูปรัฐวิสาหกิจได้อย่างทะลุปรุโปร่ง เหมือนที่ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาในวันนี้



เมื่อปี 2540 สมัยรัฐบาลพลเอกชวลิต ไทยกู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ เพื่อฟื้นฟูเศษฐกิจไทยเนื่องจากการขาดสภาพคล่องของประเทศ เพราะทุนสำรองระหว่างประเทศลดลงมากจากการนำเงินทุนสำรองไปค้ำจุนค่าเงินบาทก่อนปล่อยค่าเงินบาทลอยตัว ซึ่งต่อมาประเทศไทยเกิดวิกฤติเศรษฐกิจอย่างหนัก จนธุรกิจต่างๆในไทยต้องล้มละลายมากมาย 
.
ต่อมาเมื่อรัฐบาลชวน ได้เข้ามารับช่วงต่อจากรัฐบาลชวลิต รัฐบาลชวนได้ทำตามคำแนะนำของไอเอ็มเอฟอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะคำแนะนำให้มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เพื่อนำเงินจากการขายมาชดเชยทุนสำรองที่มีปัญหา

รัฐบาลชวน จึงได้เตรียมการต่าง ๆ หลายอย่างเพื่อการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ จึงมีการออก พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542

แต่รัฐบาลชวน ก็ได้หมดวาระลงในวันที่ 9 ก.พ. 2544 ยังไม่ทันได้แปรรูปรัฐวิสาหกิจใด ๆ

จนเข้าสู่สมัยรัฐบาลทักษิณ ในวันที่ 9 ก.พ. 2544 คราวนี้แหละ รัฐบาลทักษิณเริ่มทำดำเนินการที่จะแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างรวดเร็ว โดย ปตท. คือ เป้าหมายแรกที่จะถูกแปรรูป

ตอนนั้นได้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากประชาชนอย่างมากว่า เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่สำคัญ ๆ ที่ต้องมีผลกระทบต่อประชาชนส่วนใหญ่แน่นอน

ทั้ง ๆ ที่ก่อนทักษิณจะมาเป็นนายกฯ ก็ได้หาเสียงโจมตีการแปรรูปของรัฐบาลชวนอย่างหนักมาก่อนแท้ ๆ (รัฐบาลชวนออกพ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542) แต่พอถึงคราวทักษิณมาเป็นรัฐบาลเอง กลับรีบแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่ทำกำไรมากทึ่สุดแก่รัฐทันที



แต่เนื่องจากคนไทยในตอนนั้นต่างเชื่อวิสัยทัศน์กว้างไกลของอดีตนายกฯ ทักษิณ เชื่อในความสามารถของนายกฯ หลงเชื่อว่าทักษิณรวยแล้วจะไม่โกง แล้วเชื่อว่าการแปรรูปน่าจะมีผลดีมากว่าผลเสีย 

อีกทั้งประชาชนจำนวนมากไม่ค่อยพอใจนักที่ พนักงานในรัฐวิสาหกิจทั้งหลายดูจะมีอภิสิทธิมากกว่าประชาชนธรรมดา หรือมีอภิสิทธิ์มากกว่าข้าราชการ ด้วยซ้ำ

ทั้งๆที่ก็เป็นอาชีพที่ต้องรับใช้ประชาชนเหมือนกัน แต่กลับมีเงินเดือนที่มากกว่า และมีโบนัสทุกปี แถมมีค่าโอทีได้ด้วย วันหยุดก็มีมากกว่าบริษัทห้างร้านของเอกชน

ตัวอย่างความได้เปรียบของพนักงานรัฐวิสาหกิจ ก็เช่น พนักงานของไฟฟ้าก็มีสิทธิใช้ไฟฟ้าตามโควต้าฟรี เป็นต้น

ในขณะนั้นกระแสการคัดค้านการแปรรูปจึงไม่ค่อยมีน้ำหนักเท่าที่ควร ก็เพราะประเด็นความมีอภิสิทธิชนของพนักงานรัฐวิสาหกิจนั่นเอง


แต่รัฐบาลก็ควรน่าจะทำประชามติเพื่อฟังเสียงส่วนใหญ่ น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด เพราะกฏหมายประชามติได้มีใช้แล้วตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี 40 แล้ว


แต่หลังจากแปรรูป ปตท. ใมปี 2544 เพียงไม่กี่ปี ปตท. ก็ได้ชื่อว่าเป็นบริษัทที่เติบโตเร็วที่สุด ทำกำไรมากที่สุดของไทย ทำกำไรแบบก้าวกระโดด จนติดอันดับ 300 กว่า ๆ ของบริษัทชั้นนำของโลก 500 บริษัท ในปี 2549

แล้วพอถึงปี 2551 ปตท.ได้กำไรมากขึ้น ๆ จนกระโดดไปอยู่ในอันดับที่ 100 กว่า ๆ ของบริษัทชั้นนำของโลก 500 บริษัทอีกด้วย


หลังจากที่ ปตท. ทำกำไรทะลุแสนล้าน และยอดกำไรก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนใกล้ 2แสนล้านบาทแล้วในปี2551 จึงก่อเกิดคำถามต่าง ๆ ตามมามากมายว่า ปตท.ขูดรีดกำไรจากคนไทยมากเกินไปหรือเปล่า ?
.
เพราะ ปตท. ก็ถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อป้องกันการผูกขาดของบริษัทน้ำมันข้ามชาติ แต่ในปัจจุบัน โรงกลั่นต่างๆในประเทศ ก็ถูกถือหุ้นใหญ่โดยปตท. เกือบทั้งหมด (ถ้าเป็นในอเมริกา กรณี ปตท. อาจจะถือว่านี่คือการผูกขาดตลาด ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดกฏหมาย!!) 

แล้วกลายเป็นว่าบริษัทน้ำมันทั้งหลายกลับโดนผูกขาดโดย ปตท. เอง เพราะต้องซื้อน้ำมันจากโรงกลั่น ปตท. ซึ่งดู ๆ แล้วน่าจะเป็นผลดีนะ แต่เปล่าเลย


เพราะกลับกลายเป็นว่า ปตท. ยิ่งทำกำไรได้มากขึ้นโดยไม่มีคู่แข่งทัดเทียม 

กลายเป็นว่า ปตท. กลับควบคุมกลไกราคาตลาดน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศได้เกือบหมด ยิ่งเมื่อดูจากผลกำไรของ ปตท. แล้ว ดูเหมือน ปตท. จะทำกำไรเพื่อผู้ถือหุ้นมากกว่าเห็นแก่ประโยชน์ของคนไทย หาก ปตท. ไม่ขูดกำไรมากเกินไป การแปรรูปคงจะชอบธรรมมากกว่านี้

หมายเหตุ ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2544 หลังการแปรรูป ปตท.แล้วได้มีการเปืดให้ประชาชนได้เข้าจองซื้อหุ้น ปตท. ผ่านธนาคารต่าง ๆ ในราคาหุ้นละ 35 บาท

แต่แค่เพียง 1 นาที 17 วินาทีที่ธนาคารเปิดจองหุ้นแก่ประชาชน หุ้น ปตท. ก็กลับถูกจัดสรรหมดเกลี้ยง โดยที่ประชาชนที่ไปยืนรอจองซื้อหุ้นตั้งแต่ ตี 4 กลับไม่สามารถซื้อหุ้น ปตท. ได้ทัน

แล้วใครล่ะที่ซื้อหุ้น ปตท. ได้เร็วกว่าประชาชนที่ไปยืนรอคิวแต่เช้ามืด ??

คำตอบคือ ก็พรรคพวกของพรรคการเมืองที่มีอำนาจในเวลานั่นแหละ เหอะ ๆ

สำหรับประเทศไทย ผมมองว่า การแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัท รัฐบาลไม่ควรนำหุ้นของรัฐวิสาหกิจไปเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ อย่างเช่น กรณีของ TOT และ การสื่อสารแห่งประเทศไทย เป็นต้น


---------------

ตัวอย่างเช่นการแปรรูปรัฐวิสาหกิจในประเทศญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นได้มีการแปรรูปการไปรษณีย์แห่งชาติญี่ปุ่น ซึ่งเป็นทั้งไปรษณีย์และธนาคารที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นด้วย แต่ก็มีคนญี่ปุ่นออกมาคัดค้านการแปรรูปมากมาย จนถึงขั้นที่ว่าขนาดนายกรัฐมนตีญี่ปุ่นตอนนั้นต้องลาออก

แต่การแปรรูปการไปรษญณีย์แห่งชาติญี่ปุ่นก็ยังดำเนินการต่อไป เพราะรัฐบาลญี่ปุ่นก็เห็นประโยชน์ของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

แต่เนื่องด้วยญี่ปุ่นได้ผู้นำประเทศที่ดี และมีระบบตรวจสอบการคอรัปชั่นที่ดี การแปรรูปรัฐวิสาหกิจจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก ทำให้ต่อมาการแปรรูปการไปรษณีย์แห่งชาติญี่ปุ่นและธนาคารแห่งชาติญี่ปุ่น จึงได้รับการยอมรับจากประชาชนในเวลาต่อมา

-----------


ดูคลิปรายการเปิดเลนส์ส่องโลกของนายนิติภูมิ นวรัตน์ ก่อนที่จะไปเป็นสมาชิกพรรคของทักษิณในเวลาต่อมา ซึ่งตอนนั้นนายนิติภูมิคนนี้ยังต่อต้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลไทยอยู่เลย

คลิป อาเจนติน่าล่มสลาย!! (เพราะแปรรูปรัฐวิสาหกิจ)





.
อ่านความจริงเรื่อง แปรรูปปตท. ประชาชนได้อะไร คลิกที่นี่เลย ถ้าอ่านโดยละเอียดคุณจะรู้อะไรดีๆขึ้นเยอะเลย
.
อ่านเรื่อง อเมริกาล่ม เพราะทุนนิยม เปรียบเทียบกับ ปตท.


และพลาดไม่ได้!! คลิกอ่าน แฉนโยบายน้ำมันไทย ห่วยจริงๆ

ใหม่เมืองเอก

1 ความคิดเห็น:

ถ้าแสดงความเห็นตรงช่องนี้ผมจะได้อ่านทุกความเห็นครับ แต่ถ้าความเห็นไม่ขึ้นอาจเพราะระบบรอตรวจสแปม ต้องรอ1-2วัน / ใหม่ เมืองเอก kaeake@ymail.com


ผู้ติดตาม