วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เรื่องฎีกา ปล่อยให้เสื้อแดงรอเงกก็คงดี

วันนี้.
.
วันนี้เขียนเรื่องสบายๆสัก3เรื่อง


คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ



แซวการเมือง (ขำๆนะ)
.
ปล่อยให้เสื้อแดงคอยเก้อคงขำดี
.
หลังจากฎีกาถึงสำนักราชเลขาแล้ว
.
ผมคาดว่า(ไม่ต้องเชื่อก็ได้)เพื่อไม่ให้ประชาชนถูกแอบอ้าง และเป็นการแฟร์แก่ประชาชนทุกท่าน
.
เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องตรวจสอบรายชื่ออย่างรอบคอบ เนื่องจากเจ้าหน้าที่มีน้อยอาจตรวจได้วันละ1000รายชื่อเป็นอย่างมาก
.
ฉะนั้น สำนักราชเลขาฯน่าจะใช้เวลาตรวจสอบรายชื่อและลายมือทุกคน อย่างน้อย 5,000,000คนหาร1,000คน= 5,000วัน ครับ (ปีนึงมี365วัน)
.
แต่ถ้ามีความยากลำบากมากในการตรวจสอบ ก็น่าจะใช้เวลาสัก10,000วัน ถึงจะได้ความถูกต้องของรายชื่อผู้ร้องฎีกาครบถ้วน
.
หากเป็นเช่นนี้ตามคาด ก็ขอให้เสื้อแดงรอหน่อยนะ ฮิๆ
.
อ่านบทความจากโอเคเนชั่น เรื่อง 3เกลอหัวขวดลวงโลกเรื่องฎีกา
.
อ่านบทความจากโอเคเนชั่น เรื่อง จับผิดเสื้อแดงปริมาณกระดาษA4 ห้าล้านแผ่นควรมีปริมาณมากแค่ไหน.

ดูรูปจำนวนปริมาณฎีกาทั้งหมดจากสนามหลวง
ดู . ใ
**************************************

คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

เรื่องของป้าเสื้อแดงข้างบ้านพ้ม!

ป้าข้างบ้านผมซึ่งสนิทกัน แกชอบเสื้อแดงและรักทักษิณมากๆ แกด่ารัฐบาลเรื่องกู้แบบที่เสื้อแดงด่าเปี๊ยบ

แต่วันที่รัฐบาลออกพันธบัตรไทยเข้มแข็งวันแรกแก่ผู้สูงอายุ แกออกไปรอหน้่าธนาคารตั้งแต่หกโมงครึ่ง แกตั้งใจจะซื้อพันธบัตรสัก2ล้านบาท

แต่แกต้องเซ็งเพราะแกได้ซื้อแค่1ล้านบาทเท่านั้น ตามโควต้า

ป้าแกก็แค่เกลียดปลาไหลแต่กินน้ำแกงครับ เพราะแกได้เป็นเจ้าหนี้ของรัฐบาลแล้ว

แม้ป้าข้างบ้านจะเป็นเสื้อแดง แต่บ้านเราทั้งสองก็สนิทและเอื้อเฟื้อพึ่งพากันดีเหมือนเดิม(แต่ผมไม่ใช่พันธมิตรนะครับ แค่ต้านแม้วเท่านั้น)
.
*******************************

คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ



แม่ผู้ปลูกฝังประชาธิปไตยให้ลูก

ตอนเด็กๆ แม่จะถามลูกๆทั้ง3คนว่า จะไปเที่ยวที่ไหนดี? จะไปกินร้านไหนดี? โดยแม่จะมีช้อยให้เลือก2ข้อ เพื่อให้ลูกๆช่วยกันโหวตเลือก (แต่แม่เป็นคนกำหนดช้อยให้เลือกนะ!?!) เสียงข้างมากเลือกที่ไหน ทั้งครอบครัวก็จะไปที่นั่นตามมติ..

แต่แล้ววันหนึ่งในยามแม่แก่ชรา ลูกๆต่างเกี่ยงกันให้ลูกคนโน้นเอาแม่ไปเลี้ยงดู แต่เพราะมีลูกอยู่3คน ต่างคนต่างให้แม่ไปอยู่บ้านลูกอีกคน แบบงูกินหาง ไม่มีเสียงข้างมากตัดสิน

สุดท้าย ลูกๆทั้ง3คน ก็ต้องปรึกษาหาทางออก ในที่สุดลูกทั้งสามของแม่ชราลงมติออกเสียง3ต่อ0เสียง เสียงเป็นเอกฉันท์ ว่าจะให้แม่ไปพักอยู่กับบ้านใครดี?

คำตอบของลูกทั้ง3 มีมติชี้ขาดว่า ให้แม่ไปอยู่บ้านพักดูแลผู้สูงอายุเอกชน โดยทั้ง3คนจะออกเงินค่าใช้จ่ายในการส่งแม่ไปอยู่บ้านพักดูแลผู้สูงอายุคนละเท่าๆกัน เป็นการแก้ปัญหา! ตามหลักประชาธิปไตย!!?

คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

อ่านบทความเรื่อง เงินแสนล้านกับชายหน้าเหลี่ยม โดยเปลว สีเงิน

อ.
.
.

3 ความคิดเห็น:

  1. ขอแนะนำบทความดีมากอีกบทความครับ ว่ากันด้วยเรื่องคำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับฎีกาของเสื้อแดง ผมว่ามีเหตุผลใช้ได้เลยครับ

    จากโอเคเนชั่น เรื่อง "ฎีกาเพื่อแม้ว" กับเรื่องราวของคนชอบแถ

    คลิกอ่านที่นี่

    ตอบลบ
  2. สัมภาษณ์พิเศษ : ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ ผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันพระปกเกล้า ในมุมมองเรื่องถวายฎีกาของเสื้อแดง

    คำถามที่ต้องตอบให้ได้ก่อนทั้งฝ่ายที่ล่าชื่อถวายฎีกา และฝ่ายที่ตั้งโต๊ะล่าชื่อให้คัดค้านการถวายฎีกา คือทำไปแล้วประชาชนได้ประโยชน์อะไร?

    "ในมุมมองของผมคิดว่าประชาชนไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย ที่สำคัญการดึง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ลงมายุ่งเกี่ยวกับประเด็นการเมือง ก็ไม่ใช่สิ่งที่ถูกที่ควรอยู่แล้ว ซ้ำยังทำให้ประชาชนที่มีความเห็นแตกต่างกันทะเลาะกัน เกิดความแตกแยกรุนแรงมากขึ้นไปอีก"

    ส่วนที่กลุ่มเสื้อแดงอ้างว่า ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาเศรษฐกิจ จึงต้องถวายฎีกาเพื่อให้ พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมานั้น หมอวันชัย ย้อนถามให้คิดว่า พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาได้หรือไม่โดยไม่ต้องถวายฎีกา?

    "จริงๆ คุณทักษิณก็กลับได้ แต่ไม่กลับเอง ประเด็นสำคัญที่ทุกฝ่ายควรตระหนักโดยไม่ต้องไปเปิดกฎหมายว่าถวายฎีกาแบบนี้ได้หรือไม่ก็คือ คนที่ต้องการขอนิรโทษกรรมหรือขออภัยโทษ โดยหลักแล้วจะต้องมีสำนึกรับผิดชอบกับความผิดที่ได้กระทำลงไปก่อนใช่หรือไม่ ซึ่งถ้าพิจารณาตามหลักนี้ คุณทักษิณก็น่าที่จะกลับมารับโทษก่อน จากนั้นตนเองหรือบุคคลในครอบครัวจึงค่อยทำเรื่องขอพระราชทานอภัยโทษ"

    "พันท้ายนรสิงห์ คือ ต้นแบบของการมีสำนึกรับผิดชอบ เพราะแม้ว่าพระเจ้าเสือจะพระราชทานอภัยโทษให้ เมื่อเขาซึ่งเป็นนายท้ายเรือคัดท้ายเรือพระที่นั่งชนต้นไม้ แต่พันท้ายนรสิงห์ก็ยืนยันว่าจะรับโทษตามกฎมณเฑียรบาล เพื่อหวังให้เป็นเยี่ยงอย่างของการรักษากฎหมายต่อไป นี่คือหนึ่งในสิ่งที่เรียกว่าธรรมาภิบาล ภาษาอังกฤษเรียกว่า accountability หรือความสำนึกรับผิดชอบ"

    ในความเข้าใจของกลุ่มคนเสื้อแดง เห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่มีความผิด เพราะถูกตัดสินโทษโดยกระบวนการยุติธรรมที่ไม่เป็นธรรม จึงต้องถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ?

    "เรื่องความเป็นธรรมหรือความยุติธรรม ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายฉบับใด บังคับใช้ในสมัยไหน หากศาลพิพากษาลงโทษใคร คนนั้นก็จะบอกว่ากฎหมายไม่ยุติธรรมทุกที หากยังจำกันได้ ก่อนวันพิพากษาคดียุบพรรค (วันที่ 30 พ.ค. 2550) ทุกพรรคการเมืองประกาศว่าจะยอมรับคำตัดสิน แต่พอศาลพิพากษาออกมา พรรคการเมืองหนึ่งที่ถูกยุบก็บอกว่าไม่ยุติธรรม ส่วนอีกพรรคหนึ่งที่ไม่ถูกยุบบอกว่ายุติธรรมแล้ว"

    "สังเกตดูก็ได้ว่า เวลาเราจะเอาผิดใคร หรือบอกว่าใครผิด ก็จะอ้างความยุติธรรมทางกฎหมาย แต่เวลาคนผิดบอกว่าตัวเองไม่ผิด ก็จะอ้างความยุติธรรมทางสังคม โดยไม่ยอมพูดถึงกฎหมายเลย หรือหากพูดถึงกฎหมายก็บอกว่ากฎหมายไม่เป็นธรรม"

    "ผมคิดว่ากระบวนการยุติธรรมต้องปรับตัวและอธิบาย อย่างกรณีที่ดินรัชดาฯ (คดีที่ทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาจำคุก 2 ปี) จะต้องมีคำชี้แจงอาจจะโดยกระทรวงยุติธรรมก็ได้ว่า สิ่งที่ศาลพิพากษาว่าเป็นความผิดนั้นมีเหตุผลอะไร เช่น หากปล่อยให้ผู้มีอำนาจซื้อขายที่ดินของรัฐในทางส่วนตัวได้ ก็จะทำให้ผู้มีอำนาจใช้อำนาจโดยอำเภอใจ และทำให้ประชาชนที่อาจจะไม่ได้มีอำนาจทางการเมืองเสียประโยชน์"

    ขอบคุณข้อมูลจาก กรุงเทพธุรกิจ

    ตอบลบ
  3. เรื่องตรวจสอบฎีกาแดง5พันวัน ผมไปเจอคนดัดแปลงนำความคิดผมไปแสดงลงในกระทู้หลายแห่ง

    ผมยืนยันว่า ผมเป็นคนเริ่มคิดประเด็นขำๆนี้ครับ แล้วผมนำไปโพสในเว็บสนุกเป็นที่แรก

    http://webboard.news.sanook.com/forum/?topic=2897237.msg14565895#msg14565895

    แต่ไม่เป็นไรครับ ใครเห็นด้วยกับความคิดผม ผมก็ไม่ว่ากัน ฮิๆ

    ตอบลบ

ถ้าแสดงความเห็นตรงช่องนี้ผมจะได้อ่านทุกความเห็นครับ แต่ถ้าความเห็นไม่ขึ้นอาจเพราะระบบรอตรวจสแปม ต้องรอ1-2วัน / ใหม่ เมืองเอก kaeake@ymail.com


ผู้ติดตาม