วันนี้คือวันจันทร์ที่27ต.ค.51 ตลาดหุ้นทั่วโลกตกกระหน่ำอีกครั้ง ไทยเราก็ตกหนักสุดๆในรอบเดือนนี้ และต้องใช้มาตรการเซอร์กิตเบรคเกอร์เป็นครั้งที่2ในรอบเดือน และเป็นครั้งที่3ในประวัติศาสตร์ของตลาดหลักทรัพย์33ปี มาตรการนี้ใช้เมื่อดัชนีหุ้นตลาดตกเกิน10% จนต้องประกาศหยุดการซื้อขายชั่วคราวเป็นเวลา30นาที ดัชนีร่วงลงมาเหลือ387.43จุด จากตอนเปิดตลาดที่424.88จุด ร่วงทีเดียวกว่า40จุด
นึกย้อนกลับไปเมื่อประมาณปี38-40 ก่อนวิกฤติปี40 ตอนนั้นดัชนีหุ้นไทยเคยขึ้นไปสูงสุดที่ประมาณ800กว่าจุด ตอนนั้นนักวิเคราะห์หุ้นทั้งหลายต่างก็พากันฝันหวานว่า ดัชนีหุ้นมีโอกาสทะลุเกิน1000จุด ได้ในเวลาอันใกล้ ทุกคนมองแต่ภาพความเจริญ มองในแง่ดี ไม่เคยมีใครคิดเลยสักคนเดียวว่า ปี40จะเกิดมีฟองสบู่เศรษฐกิจแตก พากันลงเหวกันทั้งหมด แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญในบริษัทโบรคเกอร์ก็โง่เหมือนกันเพราะบริษัทโบรคเกอร์ก็เจ๊งปิดไป50กว่าบริษัท ไม่ว่ายักษ์ใหญ่ทุนหนาหรือแมลงเม่าแบบประชาชนทุนน้อยก็ซวยขาดทุนกันทั้งประเทศตามกัน
ตลาดหุ้นคือภาพลวงตา อย่าหวังรวยเพราะหุ้นเลย หากเรายังหลงเชื่อทฤษฎีเศรษฐกิจแบบบริโภคนิยม ที่เห็นเงินเป็นทุกอย่าง เราก็จะเจ็บตัวมากตามฝรั่งไปด้วย ยิ่งมีโอกาสทำกำไรได้มาก ก็ยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้น คิดจะรวยง่ายๆก็จะตายได้ง่ายๆเหมือนกัน อย่าไปเชื่อพวกนักวิเคราะห์ให้มาก เพราะพวกนี้แหล่ะพอถึงวิกฤติทีไรก็เอาตัวไม่ค่อยรอดมานักต่อนักเหมือนกัน แถมพวกนีก็หากินบนค่านายหน้าซื้อขายหุ้น แต่ใครหากคิดลงทุนแบบลงทุนจริงๆ ต้องไม่คิดเก็งกำไรระยะสั้น ต้องลงทุนระยะยาว3-5ปีขึ้นไป นี่แหล่ะคือวิถีทางการลงทุนหุ้นที่ถูกต้องที่ควรเป็น (วิกฤติคราวนี้ต้องใช้เวลาพอสมควรกว่าจะฟิ้นแน่ๆ)
อย่างที่เคยเขียนไว้ในเรื่อง อเมริกาจ๋อยฯ ว่ากรรมได้ตามสนองอเมริกาเพราะการปั่นราคาน้ำมันนั้น ก็เพราะอเมริกาเป็นลัทธิบริโภคนิยม ตอนนี้บริโภคนิยมล้ม กำลังซื้อลดลง ประเทศที่เคยค้าขายกับอเมริกาก็ต้องได้รับผลกระทบตามไปด้วย ซึ่งประเทศที่ค้าขายกับอเมริกามีอยู่ทั่วโลก เลยพากันซวยตามอเมริกากันไปหมด
ประเทศไทยพึ่งพาการส่งออกเป็นสำคัญ เมื่อตลาดใหญ่ทั้งอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ไทยเราก็ต้องรับผลกระทบด้วยอย่างมาก ซึ่งก่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมแล้วในตอนนี้ และไม่ใช่เฉพาะเรื่องการส่งออกเท่านั้น การท่องเที่ยว และธุรกิจการบริการ ก็ต้องโดนผลกระทบจากวิกฤติเศษฐกิจครั้งนี้ไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะชาวต่างชาติทั่วโลกก็จะเดินทางท่องเที่ยวกันน้อยลง (โรงแรมใหญ่ๆต้นทุนสูงซวยแน่ๆ)
โรงงานอุตสาหกรรมส่งออก ต้องปิดตัวลงอีกหลายโรง บางบริษัทก็เริ่มงดกำลังการผลิต ลดการทำOT ลดจำนวนวันทำงานลงแล้ว และคาดว่าออร์เดอร์ส่งออกปีหน้าก็จะลดลงไม่น้อยกว่า30% และคาดว่าตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป โรงงานในภาคอุตสาหกรรมต่างๆจะต้องปลดคนงานออกอีกและอาจต้องปลดคนงานมากถึง30%จากเดิมที่เคยมีอยู่ ทีนี้แหล่ะ เมื่อคนตกงานปัญหาต่างๆก็จะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ที่สำคัญวิกฤติคราวนี้อาจใหญ่โตเกินกว่าที่คิดก็ได้ ฉะนั้นอย่าประมาท
ก็เพราะแนวคิดผลิตเพื่อการส่งออกเป็นหลักนั้นเป็นแนวคิดที่ผิดพลาดของไทย เกษตรกรก็ผลิตเน้นเพื่อขายเพื่อส่งออก(เพื่อเพิ่มผลผลิตเลยไปพึ่งพาปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง) อุตสาหกรรมก็เน้นส่งออก สุดท้ายพอต่างชาติไม่มีเงินซื้อก็เจ๊ง ซึ่งก็เริ่มเห็นแล้วว่า โรงงานผลิตเพื่อส่งออกมีการปิดโรงงานและปลดคนงานเพิ่มขึ้น
แล้วเงินกู้ที่กู้มาขยายโรงงาน กู้มาเพื่อเพาะปลูกแบบพื้นที่ใหญ่ ต้นทุนสูง แต่ผลผลิตขายไม่ได้ หรือไม่ได้ราคา สุดท้ายก็เจ๊ง เป็นลูกโซ่ เพราะดอกเบี้ยไม่มีวันหยุด ยิ่งเป็นธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับปัจจัย4 ก็จะเป็นธุรกิจที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด เช่นสินค้าฟุ่มเฟือยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า เครื่องประดับ หรือเครื่องไฟฟ้าเป็นต้น รับรองได้สินค้าพวกนี้ต้องหาทางรอดโดยการกระหน่ำลดราคาชัวร์!
สังเกตดูสิ ตอนนี้มีม็อบข้าวโพดออกมาประท้วงรัฐบาลให้ประกันราคา เพราะข้าวโพดราคาตกมากไม่คุ้มทุน หรือจะเป็นยางพาราก็ตก น้ำมันปาล์มก็ตก ทั้งหลายทั้งปวงล้วนแต่เป็นเกษตรกรรมพืชเชิงเดี่ยวทั้งนั้น พึ่งพาพืชชนิดเดียวเป็นหลัก พอราคาพืชผลตกต่ำก็ไม่สามารถไปอาศัยพืชชนิดอื่นพึ่งพาได้เลย ปลูกอะไรก็ปลูกอย่างนั้นอย่างเดียว เจ๊งทีก็เจ๊งทั้งหมด เป็นแบบนี้มาไม่รู้กี่สิบปีแล้ว เกษตรกรไม่สามารถพึ่งพาตัวเองจริงๆได้สักที รัฐบาลก็โง่ไม่บอกให้เกษตรกรเลิกวิธีการปลูกพืชชนิดเดียวสักที เพราะรัฐบาลก็หลงใหลกับการส่งออกเหมือนกันหมด
ส่วนเกษตรกรที่ใช้วิธีการเกษตรสวนผสมไม่พึ่งพาพืชชนิดเดียว ไม่เน้นการขาย แต่เน้นการใช้เองก่อน แทบจะไม่เดือดร้อนกับสภาพเศรษฐกิจถดถอยเลย
ผมกล้าฟันธงเลยว่า ต่อให้ทักษิณยังเป็นนายกฯอยู่ ก็ไม่รอดกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเช่นนี้ และค่อนข้างเชื่อว่า หากทักษิณยังอยู่ เศรษฐกิจไทยอาจต้องลำบากมากกว่านี้เป็นแน่ เพราะทฤษฎีของทักษิณมุ่งเน้นการส่งออก เน้นการพึ่งพาการลงทุนจากต่างชาติ ไม่เคยคิดจะเน้นการพึ่งพาตัวเอง ไม่เคยคิดเน้นเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงอย่างจริงใจ นโยบายเป็นไปด้วยความฟุ้งเฟ้อแบบอเมริกาทั้งนั้น การกระตุ้นเศษฐกิจแบบบริโภคนิยมมันเห็นผลเร็ว แต่จะไม่ยั่งยืน เพราะต้องยืมจมูกต่างชาติหายใจ ถ้าต่างชาติเจ๊งเราก็เจ๊งตาม
(ชาวบ้านทีรักทักษิณยังเห็นผลดีในระยะสั้นของนโยบายประชานิยม แม้จะเป็นนโยบายที่ดีแต่ก็ยังมีรอยรั่วอยู่มาก ที่สำคัญนโยบายประชานิยมในงบต่างๆที่มีต้องอยู่ในมือผู้บริหารที่ซื่อสัตย์เป็นหลักเท่านั้น เพราะหากผู้บริหารงบต่างๆไม่ว่าในระดับใดตั้งแต่ระดับประเทศจนถึงระดับหมู่บ้านขาดซึ่งคุณธรรมความซื่อสัตย์ สุดท้ายนโยบายดีก็จะกลายเป็นสิ่งทำร้ายประชาชนในที่สุด)
คนไทยจำนวนมากหลงใหลความร่ำรวยตามทักษิณ อยากรวย อยากมี อยากได้ ทำให้เกิดความเห็นแก่ตัวมากขึ้น อยากลงทุนน้อยแต่อยากได้กำไรเยอะๆ ไม่มีใครคิดหรอกว่า ทฤษฎีแบบทุนนิยมอเมริกาจะเจ๊ง ทักษิณก็มีแนวคิดแบบทุนนิยมอเมริกา ที่เน้นการบริโภคเป็นสำคัญ วันๆนึกถึงแต่จะทำยังไงให้ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ(GDP)โตขึ้นๆเรื่อย ยิ่งโตมากเท่าไหร่ก็หมายถึงบริโภคมากขึ้น อเมริกาถึงได้จะเจ๊งแต่เพราะเขาคือมหาอำนาจ เขาคือเจ้าของเทคโนโลยีสำคัญต่างๆของโลก ฉะนั้นถึงอเมริกาจะล้มแต่ก็จะลุกขึ้นได้ไม่ยากเหมือนประเทศเล็กๆ ทั้งหลาย
(ทุนนิยมบริโภคนิยมแบบอเมริกา นอกจากทำให้คนเห็นแก่เงินเห็นแก่ตัวแล้ว ยังส่งเสริมการทำลายสภาพแวดล้อม ต้นเหตุแห่งสภาวะโลกร้อนในทุกวันนี้)
เงินที่รัฐบาลที่ผ่านมามักคิดได้เพื่อใช้ในการกระตุ้นเศษฐกิจก็มักจะมีแนวทางเดียวเดิมๆคือ โครงการเมกะโปรเจค ที่เน้นสร้างแต่ถนนหนทางก่อนเป็นอันดับแรก ไม่เคยมีใครให้ความสำคัญที่คิดแก้ปัญหาเริ่อง น้ำ เป็นหลักก่อนเลย
ปัญหาเรื่องน้ำควรจะเป็นนโยบายหลักของประเทศไทยที่มีประชากรส่วนใหญ่อยู่ในภาคการเกษตร ทั้งน้ำท่วม ฝนแล้งเป็นปัญหาที่เรื้อรังมาตลอดประวัติศาสตร์ไทย
ยิ่งสร้างถนนมาก ก็ยิ่งเน้นการบริโภคมากขึ้น นี่แหล่ะคือหายนะของการคิดแบบฝรั่งตะวันตก
กลับมายึดแนวทางทฤษฎีเศษฐกิจพอเพียงของในหลวงกันเถอะ เพราะแนวคิดนี้เท่านั้นที่จะกู้วิกฤติทุกอย่างของโลกได้อย่างยั่งยืน
ที่จริงมีเรื่องเล่ากันว่า ในอดีตคณะกรรมการรางวัลโนเบลคิดอยากจะมอบรางวัลโนเบลให้แก่ในหลวงของเรา จากผลงานเรื่องเศรษฐศาสตร์ทฤษฎีใหม่ของพระองค์ แต่เนื่องจากในหลวงเคยทรงสัญญาไว้ว่า จะไม่เดินทางออกจากประเทศไทยอีกแล้ว พระองค์จึงทรงปฏิเสธรางวัลโนเบลนี้ไป
ทฤษฎีเศษฐกิจพอเพียง ไม่ได้ปฏิเสธการทำกำไร ไม่ได้ปฏิเสธเทคโนโลยี ไม่ได้ปฏิเสธทุนนิยมและบริโภคนิยม แต่ต้องเป็นไปแบบพอเพียง ไม่ใช่ตามทฤษฎีเศษฐศาสตร์ตะวันตกที่เน้นการใช้ทรัพย์กรต่างๆให้ได้มาซึ่งกำไรสูงสุด เน้นการผลิตให้มากไว้ก่อนเพื่อลดต้นทุน ไม่คำนึงถึงศีลธรรมเท่าที่ควร ไม่ค่อยคำนึงถึงผลกระทบสภาพแวดล้อม นึกว่ากูรวย ใครจะเจ๊งก็ช่างมัน เน้นกอบโกยเป็นหลัก (อเมริกาคือชาติที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด และยังไม่ยอมเซ็นข้อตกลงลดก๊าซเรือนกระจกจนถึงวันนี้-พิธีสารเกียวโต)
ทฤษฎีเศษฐกิจพอเพียงเน้นการพึ่งพาตัวเองก่อนเป็นสำคัญ การเกษตรก็เน้นเลิกพึ่งพาปุ๋ยเคมีหรือยาฆ่าแมลง และเน้นใช้พลังงานทางเลือก ธุรกิจก็เน้นการขยายกิจการโดยพึ่งพาการกู้เงินให้น้อยที่สุดหรือไม่พึ่งเลยยิ่งดี
ทฤษฎีความพอเพียง ไม่ส่งเสริมการเก็งกำไร แต่เน้นการทำงานจริงๆให้ได้ผลผลิตโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และมีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เติบโตช้าๆแต่มั่นคง ที่สำคัญที่สุดก็คือความไม่ประมาท เพราะความอยากใหญ่อยากรวย มองแต่ความเจริญไปข้างหน้าทางเดียว ไม่คิดเผื่อว่าหากไม่เป็นไปอย่างที่คิด เกิดขาดทุนจะรับมือยังไง
ผมกล้าฟันธงเลยว่า หากรัฐบาลยังเน้นการส่งออก เน้นการมาของเงินทุนจากต่างประเทศ เน้นเพิ่มGDP เป็นหลักเหมือนเดิม ยังหลงใหลเศษฐศาสตร์แนวตะวันตก เหมือนเดิม สุดท้ายก็จะเกิดวงจรอุบาทว์ทุกภาคส่วนย้อนกลับมาเป็นวัฏจักรอุบาทว์ให้คอยตามแก้ไม่รู้จบเหมือนเดิม !
อย่าลืมว่า ไทยเราไม่ใช่เจ้าของเทคโนโลยีไฮเทคแบบญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน เป็นได้แค่ลูกจ้างผลิตส่วนประกอบ หรือรับจ้างประกอบรถยนตร์แค่นั้น แต่คนไทยบ้าเทคโนโลยี อยากมีไฮเทคแบบเขาแต่คิดไม่ได้เหมือนเขา เราขายของ1ตันถึงจะมีเงินซื้อของไฮเทคได้ชิ้นนิดเดียว?
.
สินค้าเทคโนโลยีในไทยส่วนใหญ่เป็นของต่างชาติ เรามันก็เป็นได้แค่ลูกจ้างราคาถูกๆเท่านั้น
.
และถ้ายังมุ่งส่งออกโดยเฉพาะเรื่องผลผลิตการเกษตร คนที่รวยก็จะมีแต่พ่อค้าคนกลาง ส่วนเกษตรกรก็จนเหมือนเดิม
อ่านเศรษฐกิจโลกตก 4
อ่านอเมริกาจ๋อย 1
อ่านคนอเมริกันเบื่ออเมริกา(บริโภคนิยม)
อ่านความล้มเหลวชาวนาไทยจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ
ขอบคุณมาก ๆ นะครับ สำหรับบทความดี ๆๆ
ตอบลบ