วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2551

มุมมองใหม่การปกครอง






เมื่อก่อนผมเคยเกลียดการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ แต่ต่อมาเมื่อโตขึ้นความคิดก็เปลี่ยนไป ว่าที่จริงการปกครองในแต่ละระบอบล้วนก็เป็นแค่เครื่องมือของมนุษย์เท่านั้น

ต่อมาเมื่อเราดูจีนในยุคเติ้งเสี่ยวผิง ซึ่งเติ้งได้ริเริ่มปรับปรุงระบอบคอมมิวนิสต์ นำระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมมาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับระบอบคอมมิวนิสต์ ซึ่งก็ใช้เวลาแค่ไม่กี่ปี จีนก็ได้กลายเป็นประเทศที่เจริญขึ้นอย่างผิดหูผิดตา
.

จีนกลายเป็นประเทศที่มีเงินทุนสำรองมากที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง เจริญถึงขั้นจัดงานโอลิมปิคฤดูร้อนที่ปักกิ่งได้อย่างยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของโอลิมปิค และกลายเป็นประเทศผู้นำยักษ์ใหญ่ที่สุดในโลกรองจากสหรัฐอเมริกา


สิงคโปร์ เป็นประเทศที่ปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบผูกขาด(เผด็จการรัฐสภา) มีพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลที่ครองเสียงข้างมากแบบเด็ดขาดเบ็ดเสร็จนานหลายสิบปี ตั้งแต่อดีตนายกลีกวนยู รัฐบุรุษอาวุโส ส่งไม้ต่อให้ อดีตนายกฯโก๊ะจ๊กตง มาจนถึงรุ่นลูกของลีกวนยู ชื่อนายลีเซียงลุง ซึ่งแต่ละคนก็ทุ่มเทความสามารถเพื่อชาติจนสิงคโปร์คือประเทศเล็กๆ ที่ร่ำรวยและเจริญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก


ในอดีตหลังสงครามเกาหลี จนเกาหลีแบ่งแยกเป็น2ประเทศ เกาหลีใต้แต่เดิมก็เคยมีผู้นำเผด็จการปกครองอย่างยาวนาน มีการปฏิวัติหลายครั้ง
.

แต่ผู้นำเผด็จการของเขาก็ได้วางรากฐานดีให้กับบ้านเมืองจนในปัจจุบันเกาหลีเป็นประเทศที่เจริญที่สุดแห่งหนึ่งในเอเซีย และแม้จะมีการปกครองที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นแล้ว แต่ก็ยังหนีไม่พ้นปัญหาคอรัปชั่นโดยนักการเมืองรับสินบนจากนักธุรกิจ
.
ปักจุงฮี คือผู้นำเผด็จการคนหนึ่ง ที่นำพาเกาหลีใต้ไปสู่ความเจริญแบบก้าวกระโดด ซึ่งคนเกาหลีใต้รุ่นเก่าต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เกาหลีใต้เจริญรวดเร็วจนทุกวันนี้ได้ เพราะผู้นำเผด็จการคนนี้วางรากฐานการพัฒนาประเทศไว้ดี

แม้แต่เพื่อนบ้านใกล้ชิดของไทยคือมาเลเซีย ก็มีพรรคการเมืองใหญ่เป็นรัฐบาลมานานหลายสิบปี โดยเฉพาะอดีตนายกรัฐมนตรี ดร.มหาธีร์ ที่ปกครองมาเลย์มาอย่างยาวนาน แต่เขาก็เป็นผู้นำที่พัฒนามาเลย์จนเจริญแซงหน้าไทยไปแล้ว แต่มาเลย์ยังล้าหลังเรื่องเสรีภาพของสื่อมากกว่าไทย และยังเข้มงวดกับเสรีภาพของการชุมนุมของประชาชนมากกว่าไทยเสียอีก


จากทุกประเทศที่่กล่าวมาข้างต้น ไม่ว่าจะปกครองด้วยระบอบใดก็ตาม ผู้นำประเทศต้องนึกถึงผลประโยชน์ของประเทศเป็นสิ่งสูงสุด

ประเทศภูฏาน ซึ่งเพิ่งจะเปลี่ยนแปลงระบอบจากระบอบกษัตริย์เป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยืเป็นประมุขเมื่อปี2551นี้เอง

แต่ก่อนหน้านี้ภูฏานก็เป็นประเทศที่มีประช่าชนที่มีความสุขมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เพราะประเทศภูฏานเขาไม่เน้นเรื่องการเติบโตของเศรษฐกิจ ประเทศภูฏาน เป็นประเทศที่ประกาศว่า จะไม่สนใจ GDP (GDP - Gross Domestic Product หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ) แต่จะสนใจ GDH แทน (GDH - Gross Domestic Happiness หรือ ความสุขรวมภายในประเทศ)
.
และแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นประชาธิปไตยแล้ว นายกรัฐมนตรีของภูฏานก็ยังให้สัมภาษณ์ว่านโยบายของประเทศภูฏานก็ยังยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงไม่เปลี่ยนแปลง เพราะเขายังเชื่อว่า ความสุขของคนไม่ใช่ขึ้นอยู่กับระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเป็นหลักเสมอไป
.

หรือแม้แต่ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ ซึ่งปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ก็มีเจ้าผู้ครองนครแต่ละรัฐที่มีวิสัยทัศน์ไกล มองเห็นว่าอนาคตประเทศว่าจะไม่เหลือทรัพยการน้ำมันให้ตักตวงได้อีก จึงวางเป้าหมายให้ประเทศหันมาพึ่งพารายได้จากด้านอื่นทดแทน

(สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ มีรัฐปกครองตนเอง 10 รัฐ โดยแต่ละรัฐ จะมีเจ้าผูัปกครองรัฐของตัวเอง อย่างเช่นรัฐดูไบ ก็เป็นเพียงรัฐหนึ่งใน10 รัฐ ของสหรัฐอาหรับฯ )
.
เช่นจากการท่องเที่ยว หรือจากการลงทุนต่างชาติ ตั้งเป้าหมายให้ประเทศต้องเป็นศูนย์กลางเศรษฐกกิจที่สำคัญที่สุดในโลกให่ได้ เช่นศูนย์กลางการค้า การท่องเที่ยว การกีฬา การเงินฯลฯ เป็นต้น

จากที่ยกตัวอย่างมาทั้งหมดนี้ ผมเพียงแค่อยากให้เห็นว่าไม่ว่าจะเป็นการปกครองระบอบใดๆ ก็สามารถทำให้ประเทศเจริญหรือทำให้ประชาชนในประเทศมีความสุขได้ ทั้งนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่ที่ระบอบปกครองเป็นหลัก แต่ที่สำคัญกลับอยู่ที่คนในประเทศว่ามีคุณภาพมากแค่ไหน และผู้นำประเทศที่จะปกครองว่าจะนำพาประเทศไปได้ดีแค่ไหนมากกว่า เช่น

------------

ในสมัยพระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่5 ของไทย ซึ่งในยุคนั้นคนไทยต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าเป็นยุคทองของรัตนโกสินทร์ ผู้คนในประเทศล้วนมีความสุขกันทั่วหน้า

ฉะนั้นเลิกดูถูกการปกครองที่อาจไม่ใช่ประชาธิปไตยกันบ้างเถอะ หากระบอบนั้นดีแต่คนไม่ดี ใช้อำนาจในทางมิชอบ ประเทศก็จะถูกนำไปสู่วิกฤต ไปสู่ความตกต่ำ และความทุกข์ยากแตกแยกได้

แต่ถึงยังไงสำหรับผมก็ยังเชื่อว่าระบอบประชาธิปไตยน่าจะเป็นระบอบที่ดีที่สุด หากอยู่ในมือผู้นำที่ดีที่ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้องมากไปกว่าผลประโยชน์ของชาติและประชาชน
.
.
คลิกอ่าน ประชาธิปไตยคือความไม่เท่าเทียมกัน , คลิกอ่าน ประชาธิปไตยมาจากปฏิวิติ
.
คลิกอ่าน คนไทยไม่มีวันเจริญเหมือนญี่ปุ่นได้ (แต่เจริญในแบบของเราที่ถุกต้องได้)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ถ้าแสดงความเห็นตรงช่องนี้ผมจะได้อ่านทุกความเห็นครับ แต่ถ้าความเห็นไม่ขึ้นอาจเพราะระบบรอตรวจสแปม ต้องรอ1-2วัน / ใหม่ เมืองเอก kaeake@ymail.com


ผู้ติดตาม