ไทยเริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1 เมื่อประมาณพ.ศ. 2504 ถึง พ.ศ. 2509 (ยุคผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม) ซึ่งรัฐบาลไทยหันมามุ่งเน้นอุตสาหกรรมและการเพิ่มผลผลิตการเกษตรให้มากขึ้น โดยเฉพาะเน้นเรื่องการเพิ่มผลผลิตหลักทางการเกษตร เช่น ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง ข้าวโพด เพื่อมุ่งส่งเสริมหรือเน้นการส่งออกเป็นหลัก
ในด้านการเติบโตของโรงงานอุตสาหกรรมในไทยก็ขาดการควบคุมทิศทางว่า ควรตั้งโรงงานอุตสาหกรรมที่ใด ไม่มีการจัดวางระบบผังเมืองที่ดีที่เหมาะสม ทำให้โรงงานอุตสาหกรรมในช่วงเริ่มต้นจึงมักเริ่มจากในกรุงเทพฯ เกิดการสร้างงานที่มากขึ้น
.
จนเริ่มเกิดปัญหาการอพยพจากชนบทเข้าเมืองอย่างไหลทะลัก สาธารณูปโภครองรับไม่ทัน ก่อเกิดชุมชนแออัด ปัญหามลพิษเพิ่มมากขึ้นทวีคูณ
เมื่อกรุงเทพฯเริ่มแออัด โรงงานจึงเริ่มขยายออกสู่ชานเมืองเรื่อยไปจนถึงจังหวัดที่ใกล้เคียงกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นจังหวัดที่เหมาะสมแก่การเกษตรมากกว่า เพราะเป็นที่ลุ่มแม่น้ำอุดมสมบูรณ์ เช่นสมุทรสาคร อยุธยา สมุทรปราการ
พวกนายทุนจะไปหลอกคนชนบทว่า การตั้งโรงงานนำมาซึ่งความเจริญในพื้นที่ เพราะประเทศที่ร่ำรวย เขารวยจากอุตสาหกรรมกันทั้งนั้น เลิกทำการเกษตรเถอะ แล้วทุกคนจะรวยขึ้น !!
และเมื่อเกษตรกร โดยเฉพาะชาวนาต่างก็เริ่มขายที่ดินแก่โรงงาน ลูกหลานชาวนาก็เริ่มไม่มีนาให้ทำ เพราะที่ดินถูกขายไป ก็เลยเปลี่ยนอาชีพไปเข้าโรงงานแทน
.
ส่วนชาวนาที่ยังทำนาอยู่ ก็เริ่มที่จะหันมามุ่งผลิตข้าวเพื่อเน้นขายเป็นหลัก จึงทำให้มีการใช้ปุ๋ยเคมีและยากำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล เพื่อจะเพิ่มผลผลิต
.
แรงงานลูกหลานที่เคยมีในนาก็ลดน้อยลง เพราะไปอยู่ในโรงงานกันมากขึ้น จึงทำให้ขาดแคลนแรงงานในการทำนา จึงต้องหันมาพึ่งเครื่องทุ่นแรงเพื่อร่นเวลาทำงาน ทำให้เลิกใช้ควายไถนามาใช้รถไถนาแทน ต่อมาเมื่อมีรถไถที่ช่วยทำงานได้เร็วขึ้น จึงพากันไปเช่าที่นาเพิ่มขึ้นเพื่อหวังเพิ่มผลผลิตและรายได้ตามนโยบายส่งเสริมการส่งออกของรัฐ
ชาวนาโดนหลอกจากรัฐบาลและนายทุนว่า หากปลูกพื้นที่ยิ่งมาก ต้นทุนยิ่งลดลง
ต่อมาเมื่อมีพื้นที่ทำนาเพิ่มขึ้น การใส่ปุ๋ย หรือการฉีดยากำจัดแมลงก็ต้องทำมากขึ้น จึงต้องใช้วิธีจ้างคนมาใส่ปุ๋ย ฉีดยา เมื่อมีการจ้างคนงาน มีการเช่านา มีการซื้อปุ๋ย ซื้อยา ต้นทุนการผลิตกลับยิ่งสูงขึ้น จึงทำให้เวลาราคาข้าวตกต่ำ ชาวนาจึงต้องเป็นหนี้ เพราะการกู้ยืม และถ้าปีไหนผลผลิตไม่ดีเท่าที่ควรจากปัญหาต่างๆ ทั้งภัยธรรมชาติ หรือจะเป็นศัตรูพืช
ต้นทุนของชาวนาก็เพิ่มเป็นเงาตามตัว บางทีได้ผลผลิตดีแต่พอหักต้นทุนและใช้หนี้แล้วก็แทบไม่เหลือ หากยิ่งต้องเจอราคาข้าวตกต่ำซ้ำอีก ชาวนาก็จะยิ่งจนลงไปอีก บางรายอาจถึงขั้นต้องขายที่ใช้หนี้ หรือหมดตัว
.
ในที่สุดยิ่งใช้ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง ทุกปีก็มีปัญหาดินเสื่อมสภาพ แมลงดื้อยา ทำให้ต้องใช้ปุ๋ยและยา ในปริมาณที่มากขึ้น หรือแรงขึ้น ซึ่งจะกระทบต้นทุนของชาวนามากขึ้นตามลำดับ
วงจรนี้วนเวียนซ้ำซากมานานหลายสิบปี จนชาวนาไม่มีใครจะลืมตาอ้าปากให้พ้นวงจรอุบาทว์นี้ได้ สุดท้ายก็เลิกทำนา ขายที่ จนซ้ำชากทุกยุคทุกสมัย
ปัญหาสำคัญอย่างนึงที่หลายคนอาจไม่รู้ นั่นคือ ปัจจุบันชาวนาไทยส่วนใหญ่ไม่มียุ้งฉางในการเก็บข้าว จึงทำให้เก็บเกี่ยวเสร็จต้องรีบขายทันที จึงโดนพ่อค้ากดราคาได้ไง
ตลกไหม!! ชาวนาไทยยุคปัจจุบัน ยุ้งฉางก็ไม่มี ลานตากข้าวก็ไม่มี บ่อน้ำก็ไม่มี
ชาวนาไทยยุคนี้ทำนาผิดวิธี ผิดเพี้ยนทุกอย่าง ถึงได้จนซ้ำซาก
ชาวนาไทยใช้ปุ๋ยต่อไร่มากที่สุดในโลก แต่่กลับได้ผลผลิตต่อไร่น้อยที่สุดในโลกเมื่อเทียบกับบรรดาประเทศผู้ส่งออกข้าวด้วยกัน
มาบัดนี้เราได้ในหลวงท่านทรงค้นพบทฤษฎีใหม่ คือทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง
ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง เป็นทฤษฎีเกษตรที่ไม่มุ่งเน้นปลูกเพื่อการขาย แต่มุ่งเน้นเพื่อบริโภคในครัวเรือนก่อน เหลือจึงค่อยขาย ไม่มุ่งเน้นไปที่พืชชนิดใดชนิดเดียว
.
แต่จะใช้วิธีการเกษตรแบบผสมผสานหลายพืชพันธุ์ ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี หรือยาฆ่าแมลง แต่จะใช้ปุ๋ยชีวภาพ หรือปุ๋ยจากธรรมชาติเป็นหลัก การปลูกพืชที่ผสมผสาน ก็ช่วยลดการเพิ่มของแมลงได้มากขึ้น
เมือเลิกใช้ปุ๋ยเคมี ดินก็ดีขึ้น ทำให้พืชแข็งแรงขึ้น ทนทานต่อแมลงมากขึ้น เมื่อเลิกใช้ยาฆ่าแมลง ศัตรูทางธรรมชาติของแมลงศัตรูพืชก็เริ่มกลับมามีอีกครั้ง จึงสามารถสร้างความสมดุลธรรมชาติกลับมาดังเดิม
เมื่อดินดีขึ้นไม่มีมลภาวะจากสารเคมี สัตว์น้ำก็จะอยู่ได้ และมีมากขึ้น ดังคำขวัญที่ว่า ในน้ำมีปลา ในในมีข้าว ดินดีผลผลิตก็จะดีมากขึ้น โดยไม่ต้องเสียเงินค่าปุ๋ยและยาอีก ชาวนาหรือเกษตรกรก็จะมีรายได้เพิ่มขึ้นเพราะต้นทุนลดลงผลพลอยได้ต่อมาก็คือ สุขภาพของชาวนาและเกษตรกรดีขึ้นด้วย
การเกษตรทฤษฎีใหม่หรือทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง และการรวมตัวกันเป็นระบบสหกรณ์ของชาวนาเพื่อมีอำนาจต่อรองราคากับพ่อค้าคนกลาง จึงเป็นหนทางรอดของเกษตรกรไทยและชาวนาไทยนั่นเอง
-----------------------
หลังจากผมเขียนบทความนี้มาตั้งแต่ปี 2551 ก็ได้มีรายการสามัญชนคนไทย ในปี 2558 ของคุณมาโนช พุฒตาล ที่ทำรายการใกล้เคียงกับบทความนี้ของผมมากที่สุด
เชิญรับชมครับ
ข้าวเปลือกราคาตกแค่ไหน ชาวนาผู้ร่ำรวย ก็ไม่เคยเดือดร้อน แถมมีเงินให้เมียใช้เดือนละ5หมื่นสบายๆ อยากรู้จักชาวนาคนนี้ คลิกด้านล่าง
คลิกอ่านชาวนาเงินล้าน ชาวนาที่ยิ่งทำนายิ่งรวย!! (บทความนี้ห้ามพลาดด้วยประการทั้งปวง)
.