กลับไปอ่านตอน4.
สิ่งหนึ่งที่พวกไม่จงรักภักดีใช้โจมตีสถาบันฯมาก ก็คือ
เรื่องทรัพย์สินของสถาบันฯ ซึ่งพวกไม่จงรักภักดี มักชอบอ้างหลักฐานข้อมูลจากนิตยสารFOBES ซึ่ง
นิตยสารFOBES คือนิตยสารทางธุรกิจชื่อดังของโลกที่ชอบจัดอันดับความรวยของมหาเศรษฐีของโลก แต่นอกจากจะจัดอันดับเศรษฐีที่เป็นสามัญชนทั่วไปแล้ว FOBES ยังได้จัดอันดับความร่ำรวยของราชวงศ์ต่างๆของโลกไว้ด้วยเสมอ
หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โทษโบราณประหาร7ชั่วโคตรเลย
แต่บทความตอนนี้ ที่ผมต้องเขียนเรื่องนี้ก็เพราะ
ปีนี้FOBESได้จัดอันดับว่าราชวงศ์ของไทยรวยที่สุดในโลก ในรายงานระบุว่า ราชวงศ์ไทยมีทรัพย์สินสุทธิที่ประมาณการได้ล่าสุดประมาณ 35 พันล้านเหรียญฯ (หรือ 1.19 ล้านล้านบาท ตามอัตราแลกเปลี่ยน 1 บาท: 34 ดอลลาร์)
ซึ่งหากเราไม่รู้ข้อมูลโดยละเอียดก็คงเชื่อไปตามนั้นแล้ว แต่ที่จริงข้อมูลของFOBESนั้น ยังมีความคลาดเคลื่อนอยู่มาก
ต่อมากระทรวงการต่างประเทศก็ได้ชี้แจงข้อมูลที่ถูกต้องแก่FOBESแล้ว ซึ่งมีเนื้อหาที่กระทรวงต่างประเทศชี้แจงผ่านเว็บไซด์ให้คนไทยได้รับรู้มีข้อความดังนี้
(ที่มาข้อมูลเว็บ
กระทรวงการต่างประเทศ)
บทความพิเศษของนิตยสาร Forbes เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุด
ตามที่ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2551 นิตยสาร Forbes ได้เผยแพร่บทความพิเศษเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก ประจำปี พ.ศ. 2551 และได้จัดให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอยู่ในลำดับแรก ของพระมหากษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุด นั้น
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้ชี้แจงว่า
บทความดังกล่าวมีความคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง เนื่องจากว่า ทรัพย์สินที่บทความนำมาประเมินนั้น ในความเป็นจริง มิใช่ทรัพย์สินส่วนพระองค์ แต่เป็นของแผ่นดิน ซึ่งเป็นไปในทำนองเดียวกันกับพระมหากษัตริย์ในประเทศอื่น
ที่บทความเดียวกันนี้ไม่ได้จัดอันดับฐานะความร่ำรวย เพราะ
ทรัพย์สินต่างๆ ไม่ใช่ของกษัตริย์ หากแต่เป็นของคนทั้งชาติ สำนักงานทรัพย์สินฯ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า
“ที่ดิน” ในความดูแลของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ส่วนใหญ่หน่วยงานราชการ องค์กรสาธารณะกุศลเป็นผู้ใช้ประโยชน์ และจัดให้ประชาชน ที่ไม่ได้มีฐานะร่ำรวย รวมทั้งชุมชนอีกกว่าหนึ่งร้อยแห่ง เช่าในอัตราที่ต่ำ มีเพียงส่วนน้อยประมาณร้อยละ 7 ของที่ดิน ที่จัดให้เอกชนเช่าและจัดเก็บในอัตราเชิงพาณิชย์
กระทรวงการต่างประเทศขอเรียนเพิ่มเติมว่า บทความพิเศษดังกล่าวยังได้พาดพิงถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่าทรงเกี่ยวข้องกับการปฏิวัติ เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งไม่ถูกต้อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงไม่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการปฏิวัติดังกล่าวแต่อย่างใด
.การที่ทรงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นเพียงหน้าที่ขององค์พระมหากษัตริย์ ในฐานะที่ทรงเป็นพระประมุขของประเทศ ตามที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้ชี้แจงไปยังนิตยสาร Forbes ด้วยแล้ว
คลิกอ่าน ความโง่ของพวกล้มเจ้า ประเด็นกล่าวหาในหลวงสนับสนุน คสช.
***********************************
ก่อนอื่นเราต้องแยกระหว่างคำว่า
"ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" กับ
"ทรัพย์สินส่วนพระองค์" ให้เข้าใจเสียก่อน จึงจะได้ไม่สับสน
1.
ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ คือ ทรัพย์สินของสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งหมายถึงสถาบันฯ ที่ไม่ใช่ตัวบุคคลที่ดำรงพระยศเป็นพระมหากษัตริย์ เป็นทรัพย์สินที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ต้นราชวงศ์จักรี
พูดง่ายๆก็คือเป็นสมบัติของชาติชนิดหนึ่ง หมายถึงเป็นสมบัติของสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่มีมาตั้งแต่เริ่มตั้งราชวงศ์จักรีสืบทอดเรื่อยมา
ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทรัพย์สินส่วนนี้จึงตกเป็นของแผ่นดิน
แต่เพื่อเป็นการให้เกียรติราชวงศ์จักรีซึ่งเป็นเจ้าของเดิม จึงตั้งชื่อเป็นสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ขึ้น ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงการคลังอีกที
ส่วนพระมหากษัตริย์ ก็ได้รับพระเกียรติ์ให้ทรงสามารถแต่งตั้งคณะกรรมไปช่วยดูแลการทำงานได้ 4 คน โดยมีรมต.กระทรวงการคลังเป็นประธาน และมีผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นผู้บริหาร
แต่ทั้งหมดนี้ต้องนำไปใช้เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเท่านั้น
แต่ถ้าสำนักงานทรัพย์สินฯ อยากจะบริจาคเงินให้มูลนิธิต่าง ๆ ของในหลวง ก็ย่อมทำได้
"
และตามกฏหมายทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นทรัพย์สินของแผ่นดินจึงไม่ต้องเสียภาษี แต่ส่วนเงินปันผลที่ได้จากการถือหุ้นบริษัทต่างๆก็มีการหักภาษีณ.ที่จ่ายตามปกติ
(ข้อมูลทั้งหมดจากเว็บ
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และสามารถติดตามการทำงานต่างๆของสำนักงานฯได้เช่นกัน)
ส่วนรายได้ของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ก็จะนำไปลงทุนในกิจการต่าง ๆ เพื่อออกดอกผล แต่ทั้งหมดเมื่อได้มาก็เพื่อนำไปส่งเสริมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมต่อไป
.
แต่จะมีเงินส่วนหนึ่งที่จะถวายให้ในหลวงในแต่ละปี เพื่อไปใช้ตามพระราชอัธยาศัยบ้างตามสมควร (ก็อาจถือว่าเป็นเงินเดือนโดยตำแหน่งก็ได้
เราต้องไม่ลืมนะครับว่า เดิมทรัพย์สินตรงนี้เดิมเป็นของราชวงศ์จักรีมาก่อน พอเปลี่ยนแปลงการปกครองก็ไปยึดเอาของ ๆ ราชวงศ์จักรี ให้มาเป็นสมบัติชาติ )
2
.ทรัพยสินส่วนพระองค์ อันนี้แปลง่ายๆ ก็คือ
ทรัพย์สินส่วนตัวของในหลวง ซึ่งต้องเสียภาษีอากรให้แก่รัฐ ตามมาตรา 8 พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2479
และมูลนิธิตางๆที่ในหลวงทรงริเริ่มตั้งก็จะนำมาจากทรัพย์สินส่วนพระองค์ก่อตั้งทั้งสิ้นครับ เช่น
.
มุลนิธิอานันทมหิดล จุดประสงค์เพื่อมอบทุนให้แก่นักเรียนเรียนดีไปศึกษาต่อต่างประเทศในสาขาวิชาสำคัญๆที่ขาดแคลนในประเทศ (ดูข้อมูลจากเว็บ
มูลนิธิอานันทมหิดล และสามารถติดตามชมรายการของมูลนิธิได้ทางโมเดริ์น9ทีวี ทุกวันเสาร์เวลา 20.30น)
.
มูลนิธิชัยพัฒนา เป้าหมายที่สำคัญคือ เพื่อสงเคราะห์ช่วยเหลือประชาชนให้มีความร่มเย็นเป็นสุข และอยู่ดีกินดี อันจะนำไปสู่ความมั่นคงของประเทศ คือ “ชัยชนะแห่งการพัฒนา (ดูรายละเอียดได้ที่เว็บ
มูลนิธิชัยพัฒนา) และยังมีอีกหลายๆมูลนิธิเช่น มูลนิธิราชประชาสมาสัย เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเรื้อนและญาติ เป็นต้น
.
สำหรับทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และทรัพย์สินส่วนพระองค์ เป็นทรัพย์สินที่มีกฎหมายกำหนดอย่างชัดเจน
แต่ยังมีทรัพย์สินเล็กน้อยอีกประเภท ที่ผมขอเรียกเองว่า "
ทรัพย์สินของราชวงศ์จักรี" จะเป็นประเภท สังหาริมทรัพย์
(ชื่อนี้อิงจากชื่อพิพิธภัณฑ์สมบัติราชวงศ์จักรี)
3.
ทรัพย์สินราชวงศ์จักรี ซึงในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง คณะราษฎรเรียกทรัพย์ส่วนนี้ว่า
"ทรัพย์อันมีค่าของแผ่นดิน" อันนี้เป็นทรัพย์สมบัติที่อยู่ภายใต้การดูแลโดย
สำนักทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน สังกัดกรมธนารักษ์ เช่น สิ่งของมีค่าทรัพย์สมบัติ
ส่วนพระองค์ของในหลวงรัชกาลต่าง ๆ ที่ผ่านมา เช่น เหรียญกษาปณ์ เครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ หรือจะเป็น
คำว่า
"ทรัพย์สินอันมีค่าของแผ่นดิน" หมายถึง ทรัพย์สิน "ของแผ่นดิน"
มิใช่ "ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์"
ถือเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องในพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ รวมถึงทรัพย์สินที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่ข้าราชบริพารในการเลื่อนยศเลื่อนตำแหน่ง
แต่ "ต้องส่งคืนหลวงเมื่อพ้นวาระ" อีกทั้งยังหมายถึง ทรัพย์สินที่จัดสร้างขึ้นด้วย "เงินงบประมาณแผ่นดิน" จึงเป็นทรัพย์สินที่ทรงคุณค่า เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติ
ทรัพย์สินเหล่านี้เองคือทรัพย์สินที่นำมาจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ซึ่งมี 1,700 รายการ จากทั้งหมดที่มีถึง 97,000 รายการ ซึ่งเก็บรักษาไว้ใน
ห้องมั่นคงของกรมพระคลังมหาสมบัติ ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของกรมธนารักษ์
ความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2475 หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง คณะราษฎรได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาทำการ
คัดแยก "ทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน" กับ
"ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" ออกจากกัน ส่วนไหนที่เป็นของแผ่นดินจึงถูกนำมาเก็บไว้ในห้องมั่นคงดังกล่าว
คลิกอ่านรายละเอียดเรื่องนี้ในข่าว พิพิธภัณฑ์สมบัติราชวงศ์จักรี โดยกรมธนารักษ์
แล้วการที่ผมเรียกว่า ทรัพย์สินส่วนราชวงศ์จักรี เพราะผมเรียกโดยอิงจากชื่อ
พิพิธภัณฑ์สมบัติราชวงศ์จักรี ตามข่าวที่ผมแนบลิงค์ไว้ หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ
"ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์” ในพิพิธภัณฑ์ทรัพย์สินอันมีค่าของแผ่นดิน
เมื่อ
สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล ไม่รู้จักทรัพย์สินที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์สมบัติราชวงศ์จักรี ยังจะแถว่า ทรัพย์ส่วนนี้ดูแลโดยสำนักพระราชวัง สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ซึ่ง
ทรัพย์สินอันมีค่าของแผ่นดินนี้ คณะราษฎรได้จัดแบ่งแล้วยกให้กรมพระคลังมหาสมบัติดูแล ก่อนจะมีพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2479 เสียอีก
ทำให้คำว่า
"ทรัพย์อันมีค่าของแผ่นดินนี้" จึงไม่มีคำ ๆ นี้อยู่ใน
พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2479 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2491 จึงทำให้
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล จึงไม่รู้จักทรัพย์สินส่วนนี้
ต่อมา พ.ศ. 2545
กรมธนารักษ์ได้ปรับโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการอีกครั้ง โดยได้จัดตั้ง
“สำนักทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน” ขึ้นตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ลงวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เพื่อดูแลรับผิดชอบในการดำเนินการเกี่ยวกับ
ทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน ตราบจนทุกวันนี้
4.
ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน หมายความว่า ทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์ซึ่งใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน
โดยเฉพาะ เป็นต้นว่า
พระราชวังต่าง ๆ ซึ่งได้รับการยกเว้นภาษี ตาม
มาตรา 8 พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2479 (เพิ่มเติม พ.ศ.2491)
ซึ่งทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดินนี้ ดูแลโดย
สำนักพระราชวัง ซึ่งเป็นไปตาม
มาตรา 5 พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2479 (เพิ่มเติม พ.ศ.2491) ซึ่งสำนักพระราชวังนั้นมีฐานะเทียบเท่า
"กรม" และอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี
------------
สำนักพระราชวัง รัฐบาลให้งบประมาณปีละประมาณ 2,000 ล้านบาทแก่สำนักพระราชวังซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรีโดยตรง และมีเลขาธิการพระราชวังบริหาร ส่วนหน้าที่ดูแลทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับพระบรมวงศานุวงศ์ รวมทั้งจัดการงานคลังหรืองานอื่นๆอีกมากมาย (ไปดูได้ที่เว็บ
สำนักพระราชวัง)
.
ฉะนั้นใครที่กล่าวหาว่า ในหลวงทรงได้เงินงบประมาณมาก จงรู้ไว้ด้วยว่า งบประมาณที่ได้จากรัฐบาลไม่ใช่จะใช้ส่วนพระองค์เพียงอย่างเดียว
แต่เป็นเงินที่จะต้องถวายให้พระบรมวงศานุวงศ์ด้วย รวมทั้งเป็นงบใช้จ่ายเกี่ยวกับเงินเดือนข้าราชการ ค่าน้ำมัน ค่านำ ค่าไฟค่าซ่อมแซมของพระราชวังที่ยังใช้งานอยู่ทั้งหมดด้วย
.
ถ้าจำไม่ผิดเงินที่ถวายส่วนพระองค์ที่รัฐถวายให้ในหลวงเป็นส่วนพระองค์จริง ๆ เดี๋ยวน่าจะอยู่ประมาณ 100 ล้านบาทต่อปีเท่านั้น ส่วนพระบรมวงศานุวงศ์แต่ละพระองค์ได้น้อยกว่านี้มาก
(ข้อมูลตรงนี้เคยได้อ่านจากนิตยสารสกุลไทย)
ซึ่งเงินส่วนนี้ที่ได้รับก็จะถูกแยกนำไปเข้าสู่ทรัพย์สินส่วนพระองค์อีกทีหนึ่งครับ และรายได้ที่ประชาชนทูลเกล้าถวายพระบรมวงศานุวงศ์ก็จัดอยู่รวมในทรัพย์สินส่วนพระองค์เช่นเดียวกัน
ซึ่งทั้งหมดนั้นต้องเสียภาษีด้วย
(มีนักกีฬาเหรียญโอลิมปิคหรือนักกีฬาเทนนิสชื่อดังอย่างภราดร ก็ยังเคยได้รับการงดเว้นภาษีรายได้จากเงินรางวัลครับ)
****************************************
.
ถามว่า ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์สามารถตรวจสอบได้มั้ย?
ตอบว่า ได้ครับ เพราะเป็นทรัพย์สินของรัฐประเภทหนึ่งตามที่ได้อธิบายไปแล้ว จึงสามารถตรวจสอบได้ตามกฏหมายครับ ซึ่งเรื่องนี้ในเว็บของสำนักพระราชวังก็มีบอกไว้ ดูได้จากเว็บสำนักพระราชวัง เรื่อง
สิทธิของประชาชน คลิกได้ที่นี่ครับ
หรือหากใครคิดว่าสงสัยเรื่องความโปร่งใสเรื่องใดที่เกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ก็ทำเรื่องร้องเรียนได้ที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ได้เลยครับ
.
แต่ถ้าถามว่า
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ทีหน้าที่ต้องเปิดเผยการใช้เงินมั้ย?
.
ต้องตอบว่า
ไม่มีหน้าที่ แต่ถึงไม่มีหน้าที่ต้องเปิดเผย แต่ในทางปฏิบัติก็มีการเปิดเผยอยู่เพื่อทำเป็นบัญชี
แต่ไม่จำเป็นต้องป่าวประกาศทั่วไป แต่ถ้าใครอยากรู้เรื่องไหนก็ไปขอดูได้ แต่ต้องทำให้ถูกต้องตามระเบียบ อย่าลืมว่า ทรัพย์สินส่วนนี้แม้ยกให้แผ่นดินก็จริง แต่ถือว่าเดิมเป็นทรัพย์สินส่วนที่ได้มาจากราชวงศ์จักรี ไม่ได้เกิดจากการเก็บภาษีจากประชาชนตามระบอบประชาธิปไตยและไม่ใช่จากงบประมาณแผ่นดินนะครับ
.
ถามว่า ทรัพย์สินส่วนพระองค์สามารถตรวจสอบได้มั้ย?
ตอบว่า ไม่ได้ครับ ก็เพราะมันเป็น
ทรัพย์สินส่วนตัว
.
ชาติ
(ประกอบด้วย3สถาบัน) คนไทยทกคนต้องจ่ายภาษีให้สถาบันฯชาติทุกคน ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม
แล้วทำไม แค่เงินงบประมาณที่รัฐบาลให้แก่สถาบันพระมหากษัตริย์เพียงปีละประมาณ 2,000 ล้านบาท
(ข้อมูลเก่าเกิน10ปี) ซึ่งรวมค่าใช้จ่ายทุกอย่างตามข้างต้น กลับมีคนจ้องโจมตี ก็เพราะคนที่จ้องโจมตีมันไม่ต้องการให้มีสถาบันฯอยู่แล้ว ทุกอย่างจึงล้วนผิดหมด
.
เงินส่วนพระองค์จริงๆปีละประมาณแค่ 100 ล้าน ซึ่งพระองค์ก็นำไปช่วยเหลือประชาชนอีกต่อหนึ่ง กลับโดนพวกไม่จงรักภักดีสถาบันฯจ้องโจมตี แต่
ผู้บริหารปตท.มีเงินเดือนๆละ13ล้านบาทยังไม่รวมโบนัส กลับไม่มีใครสนใจ ทั้งๆที่ปตท.ก็เป็นของประชาชนแท้ๆ แต่ถูกนักการเมืองนำไปแปรรูปฯ
(หมายเหตุ เรื่องรายได้ ceo ปตท. เฉลี่ย 13 ล้านต่อเดือน มาจากปากนายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ที่ไปออกรายการของ มล.ปลื้ม เทวกุล ทางช่อง 9 เมื่อหลายปีก่อน)
.I love guitar
ฉะนั้นการที่ FOBES นำเสนอว่า ในหลวงเรารวยที่สุดในโลกจึงไม่เป็นความจริง แต่ถ้านำเสนอว่า ในหลวงคือกษัตริย์ที่มีจำนวนประชาชนร่วมถวายทรัพย์แด่พระองค์ เพื่อให้พระองค์นำไปพัฒนาช่วยเหลือความเป็นอยู่ให้ประชาชนดีขึ้นมากที่สุดในโลกอย่างนี้ ถึงจะเป็นข้อมูลที่ถูกต้องที่สุดครับ
.
พวกที่ไม่จงรักภักดียังโจมตีเรื่อง
รถพระที่นั่งยี่ห้อมายบัค(maybach) ขอตอบว่า เป็นรถที่บริษัทเดมเลอร์ไครสเลอร์ ได้ทูลเกล้าถวายให้เนื่องในวโรกาสเฉลิมฉลองการครองราชย์ครบ 60 ปี เป็นจำนวน 2 คัน ฉะนั้นใครไม่เชื่อก็ไปถามบริษัทเบนซ์ได้เลย
.
สมัยรัฐบาลทักษิณก็ได้ซื้อถวายเพิ่มอีก 2 คันเพื่อใช้ทดแทนรถพระที่นั่งชุดเก่าที่ทรงใช้มานานกว่า 30 ปี ส่วนรถยี่ห้ออื่นไม่ว่าจะเป็นบีเอ็มหรือโตโยต้าและเบ๊นซ์ล้วนแต่เป็นรถที่ทูลเกล้าถวายฯจากบริษัทรถเป็นส่วนใหญ่ (บริษัทเดมเลอร์มีแผนจะยุบผลิตภัณฑ์maybachอีกภายใน2ปีข้างหน้า)
.
(แต่พวกชั่วคิดล้มเจ้ายังจะโทษเรื่องการใช้รถราคาแพง ก็น่าจะไปโทษทักษิณมากกว่า เพราะในหลวงท่านไม่เคยรับสั่งว่าต้องซื้อให้ท่าน)
.
และเราต้องเข้าใจคำว่า ร.ย.ล. หรือ ราชยานหลวง เสียก่อนว่า เป็นรถสำหรับใช้ในราชการของสถาบันฯ ไม่ใช่รถส่วนพระองค์
.
ร.ย.ล. อาจเป็นได้ตั้งแต่รถกระบะที่ใช้งานในวังไปจนถึงรถพระที่นั่งของพระราชวงศ์ ส่วนรถมายบัคที่เป็นรถพระที่นั่งก็เปรียบเสมือนรถประจำตำแหน่งของพระมหากษัตริย์ ไม่ใช่รถส่วนพระองค์ของในหลวงนะครับ โปรดทำความเข้าใจด้วยครับ
.
ส่วนเรื่องพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส ราชนครินทร์ ซึ่งใช้งบประมาณหลวงไป 300 ล้านบาท แล้วโดนโจมตีจากพวกไม่จงรักภักดีฯ ข้อนี้ผมไม่อยากเถียง
เพราะคนที่รักก็มองอีกมุมหนึ่ง คนที่ไม่รักไม่ภักดีย่อมต้องมองอีกมุมหนึ่ง เถียงไปก็ไร้ประโยชน์ รังแต่จะสร้างความระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทไปเปล่า ๆ และจะเป็นการเข้าทางพวกไม่จงรักภักดีได้ฯ เพราะพวกนี้เป็นฝ่ายอยู่ในที่มืด พวกนี้ไม่มีอะไรต้องเสียอยู่แล้ว แต่เราผู้จงรักภักดีฯ อาจกลายเป็นเหยื่อเอง
.
ผมบอกได้แค่เพียง งบประมาณที่ซื้อโน้ตบุ้คใหม่ๆเจ๋งสุดๆให้พวกบรรดา สส. และสว. รวมถึงคณะรัฐมนตรีทั้งสภา รวมกับงบซื้อรถหรู ๆ ประจำตำแหน่งรัฐมนตรีที่เปลี่ยนก็ออกบ่อยๆ เป็นเงินมากมายก็ยังไม่เห็นมีใครโวยกันเลย ฉะนั้นการเถียงกันเรื่องแบบนี้จึงยากที่จะจบ มันขึ้นอยู่กับมุมมองและความรู้สึกด้วย
.
(แต่ถ้าเรามองโลกในแง่ดี ก็จะรู้ว่า ช่างฝีมือทุกแขนงอยากมีที่ที่ได้แสดงฝีมือเพื่อเป็นการฝึกฝนและเป็นการเรียนรู้เพื่อสืบสานงานศิลปะชั้นสูง ที่ยากนักจะได้มีโอกาสได้ฝึกฝนอย่างเห็นเป็นรูปธรรมและใช้งานได้จริงๆ ศิลปจากงานสร้างพระเมรุมาศบางอย่างกำลังจะสูญหายไป เหลือแต่ในพิพิธภัณฑ์ ซึ่งนั่นหมายถึงศิลปะที่ตายแล้ว และศิลปกรรมในการสร้างพระเมรุนั้น ไม่ใช่มีเฉพาะสิ่งที่เก่าๆที่สืบทอดมาเท่านั้น แต่ได้มีการประยุกต์และคิดค้นใหม่เพิ่มเติมเข้าไปด้วยหลายอย่าง ศิลปะกรรมบางอย่างไม่อาจพบเห็นได้จากงานทั่วไป จะมีให้ได้เห็นเฉพาะงานพระราชพิธีเท่านั้น "ศิลปะบางครั้งวัดกันไม่ได้ที่ราคา แต่มันอยู่ที่คุณค่ามากกว่า" หากผมอยากจะมองในแง่ร้ายก็สามารถคิดได้สามารถหาเหตุผลมาโจมตีได้เหมือนกัน แต่ผมเลือกที่จะอยู่ฝั่งเข้าใจเหตุผลในแง่มองโลกในแง่ดีมากกว่า และในฐานะคนไทยคนนึง ผมยินดีที่ถวายให้พระองค์อย่างสมพระเกียรติ)
.
อย่าลืมนะครับว่า
ในหลวงร.9 คือบุคคล ไม่ใช่สถาบันฯ แต่ในหลวง ร.9 คือส่วนหนึ่งของสถาบันพระมหากษัตริย์ การที่FOBESจัดอันดับเป็นเรื่องของทรัพย์สินที่รวมส่วนของสถาบันฯเข้าไปคิดด้วย และไม่ใช่เงินสดทั้งหมด เป็นเพียงค่าประมาณการ หรือค่าประเมินว่า ถ้ามีการขายจะมีมูลค่าประมาณนี้ แต่ในความเป็นจริง แทบไม่มีการขายทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เลย น้อยมาก เช่นที่ดินก็มีแต่ให้เช่าเป็นส่วนใหญ่ และให้เช่าในราคาถูกกว่าราคาตลาดหลายเท่ามาก
.
แต่ทั้งหมดที่เขียนมา พวกไม่จงรักภักดีเขาไม่เชื่อผมหรอก พวกนี้ก็ยังคิดโทษอยู่อย่างเดียวว่า คนไทยจน คนไทยไม่เจริญเท่าญี่ปุ่นเพราะสถาบันฯเป็นต้นเหตุทั้งหมด เหตุผลอื่นๆเป็นเรื่องรองๆและไม่สำคัญไปหมด (ตามที่เคยอธิบายใน
บทความตอนที่3แล้ว)
.
(**หากผมจะถามเล่นๆว่า จะมีใครกล้าเอาหัวและตระกูล7ชั่วโคตรของตัวเองเป็นประกันได้บ้างว่า หากไม่มีสถาบันฯแล้ว ไทยเราจะเจริญแบบญี่ปุ่นกับสิงคโปร์ จะไม่เป็นแบบพม่าหรือฟิลิปปินส์ จะมีนักการเมืองที่โกงกินกันน้อยลงจากการจัดอันดับของต่างประเทศ และคนไทยจะรักกันไม่แตกแยกไม่ฆ่ากันเพื่อชิงอำนาจ?)
.
ขอย้ำจุดประสงค์ของผมอีกครั้ง ผมไม่ได้ต้องการเปลี่ยนแปลงความคิดของพวกไม่จงรักภักดีสถาบันฯเลยแม้แต่คนเดียว แต่ผมอยากเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเป็นภูมิต้านทานทางความคิดให้แก่คนที่จงรักภักดีสถาบันฯ และให้คนไทยได้รับรู้ว่า ประเทศไทยมีผู้คิดล้มล้างระบบสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่จริง
.
"การจ้องด่าและจับผิดนั้นทำง่าย แต่การพยายามทำดีโดยไม่มีที่ตินั้นทำยากที่สุด แม้องค์ศาสดาของทุกๆ ศาสนาเองก็ยังไม่พ้นคนนินทาเลย ธรรมดาของโลกครับ"
.
อ่านต่อตอนที่ 6 ตอน รู้จริงเรื่องโครงการในหลวง-->