กลับไปอ่านตอน5
.
ในการเขียนบทความเรื่องพวกไม่จงรักภักดีต่อสถาบันฯมา5ตอนที่ผ่านมาของผม ผมจะเน้นไปที่สถาบันฯมากกว่าตัวบุคคลเป็นส่วนใหญ่ เพราะผมต้องการเน้นให้เห็นถึงความสำคัญของสถาบันฯที่มีต่อประเทศไทย แต่ในบทความตอนนี้จำเป็นต้องเน้นไปที่ตัวบุคคลหรือองค์บุคคลที่ดำรงพระยศเป็นพระมหากษัตริย์ในปัจจุบัน ซึ่งหมายถึงในหลวงรัชกาลที่9 เป็นหลัก
เพราะพวกไม่จงรักภักดีสถาบันฯในเว็บหมิ่นฯได้โจมตีไปที่พระราชกรณียกิจที่ในหลวงทรงพระราชทานความช่วยเหลือแก่ประชาชนชาวไทยตลอดระยะเวลาที่ทรงครองราชย์กว่า60ปีหลายครั้ง ซึ่งดูจากเจตนาที่ใช้โจมตีแล้ว กลับปราศจากเหตุผลที่น่ารับฟังและน่าเชื่อถือ
เพราะพวกไม่จงรักภักดีสถาบันฯในเว็บหมิ่นฯได้โจมตีไปที่พระราชกรณียกิจที่ในหลวงทรงพระราชทานความช่วยเหลือแก่ประชาชนชาวไทยตลอดระยะเวลาที่ทรงครองราชย์กว่า60ปีหลายครั้ง ซึ่งดูจากเจตนาที่ใช้โจมตีแล้ว กลับปราศจากเหตุผลที่น่ารับฟังและน่าเชื่อถือ
.
(ในพวกเสื้อแดงกลุ่มล้มเจ้าไม่ต้องการให้ในหลวงทรงงาน แต่กลุ่มเสื้อแดงที่่รักเจ้า กลับไม่ชอบสมเด็จพระบรมฯโดยหาว่าพระองค์ทรงงานน้อยกว่าสมเด็จพระเทพฯ แต่มาระยะหลังพวกล้มเจ้าจะมาตีเนียนเสแสร้งว่า เรารักพระบรมฯ)
พวกไม่จงรักภักดีฯไม่ต้องการให้ในหลวงเสด็จช่วยราษฎรผู้ทุกข์ยาก โดยชอบอ้างว่าจักรพรรดิญี่ปุ่น หรือ พระราชินีแห่งอังกฤษไม่เห็นต้องต้องทรงงานหนักช่วยเหลือราษฎรเหมือนในหลวงของไทย แต่ประเทศเขากลับเจริญกว่าไทยเสียอีก พวกนี้ใช้ตรรกะกันง่ายๆแบบนี้แหล่ะครับ
แต่พอมีคนเข้าไปเถียงอธิบายเกี่ยวกับประโยชน์ที่ราษฎรได้รับมากมายจากโครงการของในหลวง
พวกไม่จงรักภักดีฯก็จะบอกไปอีกทางว่า ไม่ใช่เงินของในหลวง แต่เป็นเงินภาษีของประชาชน ฉะนั้นประชาชนไม่ต้องมาซาบซึ้งมากก็ได้
หรือบางครั้งก็เถียงว่าโครงการในหลวงที่ล้มเหลวก็มี แต่ก็ไม่เห็นจะบอกว่าโครงการที่ล้มเหลวที่อ้างนั้นคืออะไร ก็อย่างที่ผมเคยเขียนไว้ในบทความที่แล้วว่า คนไม่ทำอะไรเลยเอาแต่ตินั้นทำง่าย คือคิดจะติก็ติ แต่ไม่เอาเหตุผลหลักฐานมายืนยัน
การบอกว่าโครงการในหลวงเป็นเงินภาษีของประชาชน ไม่ต้องมาซาบซึ้ง แล้วพวกนี้เคยทำประโยชน์อะไรให้ประเทศชาติสักเท่าไหร่กันถึงได้พูดชุ่ยๆง่ายๆแค่นั้น ไม่ได้รู้ไม่ได้ศึกษาเลยว่า จริงๆแล้วโครงการต่างๆเกิดประโยชน์แก่ชาติและประชาชนมากแค่ไหน คนมีอคติก็เป็นเช่นนี้แล
หากเรามองเหตุผลพวกไม่จงรักภักดีฯแล้ว พิจารณาให้ดี จะรู้ได้ว่า คนพวกนี้นอกจากจะเห็นแก่ตัวแล้ว ก็น่าจะเป็นคนจำพวก "มือไม่พายแต่เอาเท้าราน้ำ" ด้วย
ทีนี้ผมจะอธิบายให้ผู้จงรักภักดีฯ ทุกท่านที่อาจไม่ค่อยรู้ได้เข้าใจ ส่วนใครที่รู้และเข้าใจเกี่ยวกับโครงการในหลวงดีกว่าผมได้มาอ่านบทความนี้ ผมก็ขออภัยด้วยครับ เพราะผมอาจเขียนได้ไม่ดีนักเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจที่ทรงช่วยเหลือราษฎรได้ดีเท่ากับผู้รู้จริงๆได้ ส่วนพวกไม่จงรักภักดีฯพวกนี้ส่วนใหญ่เป็นบัวใต้น้ำไปแล้ว ยากที่จะสั่งสอนแล้ว
ก่อนอื่นเราต้องแยกระหว่าง "โครงการตามแนวพระราชดำริ" กับ "โครงการส่วนพระองค์" ให้เข้าใจเสียก่อนครับ
1.โครงการตามแนวพระราชดำริ ก็คือโครงการที่ในหลวงมีพระราชดำริให้ข้าราชการหรือรัฐบาลได้ช่วยเหลือราษฎรให้ถูกจุด ซึ่งเริ่มมาจากที่ในหลวงเสด็จทรงเยี่ยมราษฎรในภูมิภาคต่างๆ แต่เมื่อในหลวงเสด็จไปแล้วก็จะทรงพบเห็นปัญหาเดือดร้อนต่างๆ ที่ราษฎรต้องประสบพบเจอ ในหลวงเมื่อทรงเห็นปัญหาแล้ว จะให้ทรงนิ่งเฉยไปโดยไม่รู้ไม่เห็น หรือเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ ก็คงจะไม่ได้
ในหลวงเลยทรงมีพระราชดำริให้ข้าราชการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ได้ให้ความช่วยเหลือ แต่ถ้าจะแค่ตรัสเฉย ๆ แล้วเสด็จจากไปง่าย ๆ ก็คงไม่มีอะไรดีขึ้น เพราะอย่างที่รู้ว่า ๆ ปัญหาระบบราชการในอดีตที่ยังล้าหลัง ตลอดจนความรู้ความเข้าใจในการแก้ปัญหาเรื่องต่าง ๆ ของข้าราชการที่รับผิดชอบหรือประชาชนในพื้นที ส่วนใหญ่ยังขาดความรู้และขาดเทคโนโลยีที่ดีที่จะช่วยเหลือหรือแก้ไขให้ราษฎรได้ดีเท่าที่ควร
ในหลวงเลยต้องทรงชี้แนะแนวทางแก้ไขให้ และเมื่อในหลวงมีพระราชดำริที่จะแก้ไข หน่วยงานรัฐต่างๆ ก็จะให้ความสนใจที่จะร่วมมือช่วยเหลือทั้งด้านงบประมาณและบุคคลากรเข้ามาช่วยให้งานช่วยเหลือราษฎรได้บรรลุความสำเร็จโดยเร่งด่วนทันที และโครงการตามแนวพระราชดำริในแต่ละโครงการ จริงๆแล้วก็ในหลวงทรงอยากให้เป็นโครงการต้นแบบมากกว่า เพื่อให้ประชาชนหรือข้าราชการได้ศึกษาเพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาในพื้นที่อื่นที่มีปัญหาใกล้เคียงกันอีกต่อไป
ถามว่า ในหลวงทรงคิดงานเองพระองค์เดียวหรือ ?
ตอบว่า ไม่ใช่ เพราะในหลวงต้องลงพื้นที่เสียก่อน แล้วสอบถามถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากทั้งเจ้าหน้าที่และราษฎร ในพื้นที่ และก็จะช่วยกันคิด ช่วยกันหาทางแก้ไขร่วมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และทรงช่วยหาหนทางที่ดีกว่าในการช่วยเหลือ ซึ่งเจ้าหน้าที่และราษฎรที่ร่วมปรึกษาต่างต้องทึ่งในพระอัจฉริยะภาพของพระองค์ที่ทรงรู้จริงและเข้าใจปัญหาได้ลึกอย่างถ่องแท้ จนสามารถแนะแนวทางที่ดีเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆให้ราษฎรได้สำเร็จในที่สุด
ในระยะแรก ๆ ในหลวงเองก็ไม่ได้ทรงคิดวิธีได้ในทันทีทันใด ก็เหมือนคนทั่วๆไปนั่นแหล่ะครับ (ไม่มีใครรู้มาแต่เกิด) แต่เพราะความที่พระองค์ได้ทรงไต่ถามพูดคุยกับคนในพื้นที่ ทุ่มเทค้นหาสาเหตุของปัญหาอย่างจริงจัง จนเห็นปัญหาแล้วนำมาวิเคราะห์และตรึกตรองในปัญหาต่างๆบ่อยครั้ง เพราะปัญหาในชนบทก็มักจะมีปัญหาที่คล้ายๆกันในหลายพื้นที่ จึงทำให้ในหลวงจึงเกิดความชำนาญในปัญหาต่างๆเพิ่มขึ้น และก็สามารถหาวิธีแก้ไขได้ง่ายขึ้นตามลำดับครับ
ในระยะแรกที่ในหลวงเสด็จทรงเยี่ยมราษฎรในพื้นที่ต่างๆ พระองค์ก็ทรงเน้นในแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่ในระยะต่อมา ในหลวงทรงเห็นว่าการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไม่ได้ช่วยให้ราษฎรได้พ้นจากความยากลำบากอย่างแท้จริง ต่อมาแนวทางพระราชดำริจึงมีแนวทางไปเพื่อการยั่งยืนและพึ่งตนเองได้ของราษฎร
.
[เพิ่มเติมส่วนสำคัญ -โครงการตามแนวพระราชดำริสามารถตรวจสอบได้ และที่เห็นล่าสุดคือ 'โครงการฝายแม้ว' ซึ่งมีการทุจริตในการจัดสร้าง ไม่ได้เป็นไปตามที่งบประมาณที่ให้ไว้ ฝายแม้วไร้คุณภาพถึงขั้นใช้ไม่ได้เลย (คลิกดูข่าวฝายแม้ว)
.
อย่างที่อธิบายในตอนต้นว่า โครงการพระราชดำริ เป็นโครงการที่ในหลวงมีพระดำริแนะนำว่า ดีมีประโยชน์ เห็นว่าน่าจะช่วยประชาชนได้ ส่วนจะทำหรือไม่ทำ ก็ต้องเป็นหน้าที่ของภาครัฐพิจารณาว่าสมควรทำหรือไม่ เพราะเป็นหน้าที่ของรัฐบาลไม่ใช่ของในหลวง ซึ่งจะทำก็ได้ไม่ทำก็ได้
.
มีหลายๆโครงการที่ในหลวงมีพระราชดำริ แต่รัฐและประชาชนในท้องที่ยังไม่สามารถทำได้ เพราะยังมีข้อโต้แย้งในพื้นที่ เช่น 'โครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น' เป็นต้น ]
.
2. โครงการส่วนพระองค์ อันนี้คงไม่ต้องแปล แต่การที่ในหลวงได้พบเจอปัญหาต่าง ๆ ของราษฎรทั่วประเทศมากมาย ก็อย่างที่บอกในข้อที่แล้วว่า ในหลวงไม่ใช่จะคิดหาทางแก้ได้ในทันทีทุกปัญหา บางปัญหาก็ทรงต้องนำเก็บมาคิดวิเคราะห์ต่อ บางวิธีการต้องอาศัยการทดลองให้รู้จริงให้ลึกซึ้งเสียก่อน
.
ในหลวงจึงต้องทรงมีการตั้งโครงการส่วนพระองค์เพื่อทำการศึกษาวิจัยปัญหา ทดลองแก้ไขปัญหา จนได้วิธีการที่ถูกต้องเหมาะสมที่สุดแล้วจึงจะนำไปใช้แนะนำเจ้าหน้าที่และราษฎรในพื้นที่ได้แก้ไขได้อย่างถูกจุดถูกวิธี
(อ่านรายละเอียดได้ที่เว็บโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา)
.
รายละเอียดของโครงการต่างๆผมไม่อยากลงรายละเอียดมาก เพราะถ้าใครสนใจก็สามารถหาได้ในเว็บต่างๆมากมาย แต่ในบทความผมอยากจะกล่าวถึงก็คือประเด็นที่พวกไม่จงรักภักดีฯชอบใช้โจมตี
.
ถามว่า โครงการในหลวงเป็นเงินภาษีจริงหรือไม่?
.
ตอบว่า จริง แต่ก็ไม่ทั้งหมด เพราะที่จะใช้เงินของรัฐบาลนั้น ก็เป็นโครงการตามแนวทางพระราชดำริเท่านั้น แต่เมื่อในหลวงมีพระราชดำริแล้ว พระองค์ก็มักจะทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อเป็นทุนเริ่มต้นโครงการอยู่เสมอ
เราคงต้องยอมรับกันว่า ราษฎรที่ตกทุกข์ได้ยากในอดีตห่างไกลความเจริญ การติดต่อสื่อสารกับหน่วยราชการก็ยาก หรือเมื่อติดต่อขอความช่วยเหลือจากราชการแล้ว ก็ยากที่จะได้งบประมาณมาช่วยเหลือทันท่วงที.
ยกตัวอย่างเช่น ที่ผมเห็นเมื่อไม่นานมานี้เอง ในรายการโทรทัศน์ที่เกี่ยวกับการให้ประชาชนร้องเรียนรายการหนึ่ง ก็คือ ในจังหวัดนครราชสีมา ประชาชนเดือดร้อนเกี่ยวกับถนนดินลูกรังมา 30 กว่าปี พอเวลาหน้าฝน ถนนลูกรังจะเป็นโคลนเป็นหล่ม ยากแก่การสัญจร รถเล็กวิ่งแทบไม่ได้เลยในหน้าฝน ของบสร้างถนนลาดยางหรือเทปูนมากว่า 20 ปีจากทางราชการ ก็ยังไม่เคยได้รับการเหลียวแล สส.ก็เคยมาหาเสียงและรับปากครังแล้วครั้งเล่าว่าจะช่วยดูให้ แต่ก็เงียบหายไปหมด
.
นี่คือตัวอย่างที่ยังเกิดขึ้นอยู่ทุกวันนี้ การที่ในหลวงเสด็จเยี่ยมราษฎรในพื้นที่ต่างๆ ก็เท่ากับว่าพระองค์ได้แบ่งเบาภาระของรัฐบาลที่อาจจะดูแลไม่ทั่วถึง หรืออย่างน้อยก็อาจจะเป็นการกระตุ้นข้าราชการในพื้นที่ให้ตระหนักถึงหน้าที่ๆควรปฏิบัติมากขึ้นก็ได้
.
ในหลวงไม่ใช่ผู้วิเศษที่จะเสกสรรอะไรได้ดั่งใจคิด (แต่พระองค์ทรงมีพระอัจฉริยภาพที่ทุกคนที่มีโอกาสร่วมทำงานกับพระองค์ต่างก็ยอมรับ) พระองค์ต้องทรงงานหนักมาตลอดชั่วชีวิตในการช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐบาลในการช่วยเหลือราษฎร เท่าที่พระองค์จะทรงทำได้ พระองค์ทรงเป็นตัวอย่างให้คนไทยได้ปฏิบัติตาม เพราะ
.
ไม่จำเป็นต้องเป็นใครที่มีหน้าที่เท่านั้นที่จะช่วยเหลือชาติ เราคนไทยทุกคนหากมีกำลังมีความสามารถพอ ก็สามารถมีส่วนช่วยเหลือพี่น้องคนไทยด้วยกันได้ พวกไม่จงรักภักดีฯ ชอบเกี่ยงกันว่า ต้องเป็นคนนั้นคนนี้เท่านั้นที่ต้องทำเพื่อชาติ หรือต้องไม่ใช่คนนี้คนนั้นที่ไม่ต้องทำเพื่อชาติก็ตาม
หากมีคนเช่นนี้อยู่มาก ๆ ในชาติ ชาตินั้นย่อมไม่มีทางจะเจริญได้เท่าที่ควร จะเงินใครก็แล้วแต่ ขอให้ประชาชนได้ประโยชน์จริง ผู้ที่คิดโครงการหรือริเริ่มโครงการย่อมได้รับคำยกย่องสรรเสริญทั้งนั้น
.
อย่างเช่น โครงการ30บาท รักษาทุกโรค ก็ไม่ใช่เงินของอดีตนายกฯทักษิณสักหน่อย และก็ไม่ใช่โครงการที่ทักษิณเป็นคนคิดขึ้นมาเองด้วยซ้ำ แต่เป็นโครงการที่คุณหมอสงวน นิตยารัมภ์พงศ์ อดีตเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) เป็นผู้คิดและได้ไปเสนอโครงการนี้แก่ทักษิณและทักษิณก็เห็นประโยชน์จึงนำมาบรรจุไว้ในนโยบายของพรรคไทยรักไทย
แต่ทุกคนก็ยอมรับและยกย่องว่า เป็นผลงานชิ้นสำคัญที่สุดของทักษิณ ทั้งๆที่ความเป็นจริงแล้ว คนที่ทำให้โครงการสำเร็จจริงๆและหาวิธีการให้โครงการเป็นผลสำเร็จในที่สุด ก็ไม่ใช่ทักษิณ แต่เป็นบุคคลากรทางการแพทย์ต่างหาก ที่พยายามทำให้นโยบายสำเร็จได้ แต่ก็ให้เกียรติทักษิณว่า เป็นคนคิดริเริ่ม เป็นต้น (ในสมัยรัฐบาลสุรยุทธ ได้มียกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียม30บาท)
.
หรือจะเป็นโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ หลวงพ่อทวีศักดิ์ ท่านก็ไม่ได้มีเงินของท่านเอง ก็เป็นเงินจากญาติโยมที่ร่วมบริจาคจัดสร้างทั้งนั้น แต่ทุกคนก็ให้เกียรติตั้งชื่อหลวงพ่อทวีศักดิ์ ให้เป็นชื่อของโรงพยาบาล เพื่อเป็นมงคลนาม ก็ไม่เห็นมีใครเขามาคิดเล็กคิดน้อยกัน หรือจะอย่างสนามศุภชลาศัย ก็ตั้งชื่อให้เกียรติหลวงศุภชลาศัยที่เป็นต้นคิดในการสร้าง เป็นต้น ซึ่งหากจะยกตัวอย่างทั้งโลกก็คงไม่หมดหรอก
.
คนที่มีอคติย่อมคิดแบบเห็นแก่ตัว ไม่อยากเห็นคนอื่นได้รับการยกย่อง ขอยกตัวอย่างอีกกรณีแล้วกัน หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ ก็ได้บริจาคเงินสร้างโรงเรียน สร้างโรงพยาบาล มากมาย แต่ถามหน่อยเถอะว่า ที่จริงลำพังหลวงพ่อคูณจะมีเงินทองได้มากมายขนาดนั้นหรือไม่ แน่นอนต้องไม่มีทาง
แต่ที่หลวงพ่อคูณมีเงินมาบริจาคสร้างโรงเรียนหรือสร้างโรงพยาบาล หรือถวายเงินให้ในหลวงเพื่อสร้างอ่างเก็บน้ำนั้น ที่จริงก็คือเงินชาวบ้านที่ศรัทธาหลวงพ่อคูณ ถวายให้ทั้งนั้น แต่เราก็ให้เกียรติว่าเป็นเงินของหลวงพ่อคูณ แม้ที่จริงแล้วพระไม่ได้มีสิทธิที่จะมีเงินทองตามพระวินัยก็ตาม
.
ประเพณีการตั้งชื่อเพื่อให้เกียรติผู้ริเริ่มโครงการหรือสร้างสถานที่สำคัญต่างๆเป็นเรื่องธรรมดามาก ทั่วโลกเขาก็ปฏิบัติกันแบบนี้มากมาย แต่การที่รัฐบาลถวายชื่อโครงการของในหลวงว่า โครงการตามแนวพระราชดำรินั้น ก็เพราะเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อโครงการมากกว่า เพราะจะทำให้ประชาชนจะรักและช่วยกันดูแลโครงการของในหลวงมากกว่าโครงการธรรมดาทั่วไปที่รัฐบาลทำ และก็จะสามารถทำให้มีคนที่กำลังทรัพย์ที่อยากจะมีส่วนร่วมกับงานของในหลวงก็จะได้มีโอกาสร่วมบริจาคเงินเข้าช่วยโครงการด้วย
.
นิสัยแย่อีกอย่างของคนไทยที่มักจะพบเห็นอยู่เสมอในทุกสังคม ก็คือ การที่อิจฉาริษยากัน การไม่อยากให้คนอื่นได้ดีกว่าตน โดยอาจหาทางกลั่นแกล้งผู้ที่ทำดีกว่า ฉะนั้นการที่ตั้งชื่อโครงการต่าง ๆ ให้เป็นกลาง เช่นการใช้ชื่อโครงการแนวพระราชดำริ ก็จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานก็จะลดอาการอิจฉาริษยากันได้ไม่มากก็น้อย และก็จะทุ่มเทให้โครงการมากขึ้น เพราะทุกคนรักในหลวง
.
เราต้องยอมรับว่า คนไทยส่วนใหญ่จะรู้สึกว่ารักในหลวงมากกว่ารักชาติ ซึ่งแม้ดูจะไม่ค่อยถูกต้องนักก็ตาม แต่ก็ต้องยอมรับวาเป็นเช่นนั้นจริง ๆ เพราะอะไรผมถึงว่าเช่นนี้ ก็เพราะสมบัติของชาติต่างๆที่คนไทยควรรักษา แต่กลับไม่ค่อยช่วยกันรักษา เช่นป่าไม้ หรือของสาธารณประโยชน์ทั้งหลายของชาติ คนไทยกลับไม่มีจิตสำนึกที่จะรักและหวงแหน แต่ถ้าเป็นของในหลวงหรือเป็นโครงการที่ในหลวงสร้าง ทุกคนกลับดูจะรักษาและหวงแหนมากกว่าสมบัติของชาติ?
จึงมีคำขวัญที่ว่า "ทำความดีถวายในหลวง"
.
การที่จะทำให้คนไทยรักชาติมากขึ้น ไม่ใช่ทำด้วยการทำให้คนไทยรักในหลวงน้อยลง แต่ควรทำให้คนไทยรักชาติเหมือนที่รักในหลวง คนไทยหลายคนมักชอบคิดว่า เรื่องของชาตืไม่ใช่เรื่องของตนคนเดียว หรือคนไทยหลายคนไม่เคยคิดและตระหนักว่า การรักษาสมบัติของชาติก็คือการรักษาสมบัติของตัวเอง คนไทยอีกหลายคนก็กลับคิดเห็นแก่ตัวว่า สมบัติของชาติจะใช้ยังไงก็ได้ ไม่ต้องระวังรักษา
.
หรือจะเป็นโครงการต่าง ๆ เช่น การสร้างโรงพยาบาลรัฐหลาย ๆ แห่ง รัฐบาลไม่ค่อยมีเงินงบประมาณจัดสร้าง ก็ได้พระบรมวงศานุวงศ์หลาย ๆ พระองค์ต่างทรงเข้ามาเป็นประธานจัดสร้างช่วยระดมหาเงินบริจาคจากภาคเอกชนและประชาชนมาช่วยจัดสร้าง ถ้าจะมัวแต่รอเงินงบประมาณจากรัฐบาลก็รอไปเถอะยาก จะให้รัฐบาลขอเงินบริจาคก็คงไม่ได้ เพราะไม่ใช่หน้าที่ของรัฐ
.
แต่ถ้าหน่วยงานต่างๆของรัฐหากต้องการระดมทุนเพื่อก่อสร้างสิ่งสาธารณะประโยชน์ใด ๆ และได้ทูลเชิญพระบรมวงศานุวงศ์เป็นองคประธานจัดสร้าง ความสำเร็จก็จะเกิดขึ้นได้ในเวลาไม่นาน เพราะประชาชนต่างก็จะยินดีมาร่วมบริจาคทำบุญร่วมกับพระบรมวงศานุวงศ์แต่ละพระองค์ในทันที ซึ่งผมไม่จำเป็นต้องยกตัวอย่าง เพราะมีมากมายเหลือเกิน และพวกไม่จงรักภักดีฯเองก็คงได้เคยใช้ประโยชน์จากโครงการต่างๆไม่มากก็น้อย โดยที่ไม่รู้ตัวเลยมากมาย
.
งานช่วยเหลือประชาชนคืองานหลักของรัฐบาลก็จริง แต่ทุกคนก็มีสิทธิที่จะช่วยเหลือพี่น้องประชาชนคนอื่นได้เช่นกัน แต่ถ้าได้คนที่มีบารมีที่เป็นที่รักที่ศรัทธาของประชาชนเป็นผู้นำในการช่วยเหลือ โอกาสที่จะประสบความสำเร็จก็ย่อมมีมากขึ้น หากทุกคนร่วมไม้ร่วมมือกัน ไม่เกี่ยงกัน ประเทศชาติก็จะเจริญได้มากกว่านี้
.
ถามว่าโครงการตามแนวพระราชดำริมีล้มเหลวไหม ?
ผมตอบตามตรงว่า ก็มี แต่ที่มี ไม่ใช่เพราะแนวทางพระราชดำริไม่ถูกต้อง แต่ที่ล้มเหลวเพราะยังมีคนที่โกงกินเงินงบประมาณที่รัฐส่งลงไปสร้างมากกว่า เช่น โครงการฝายแม้วที่มีการคอรัปชั่นที่เป็นข่าวเมื่อไม่นานมานี้ แต่นั่นก็เป็นเพียงส่วนน้อยมากที่ไม่สำเร็จ ทุกคนยอมรับว่าโครงการนี้เป็นโครงการที่ดีและมีประโยชน์ แต่ระบบจัดการของหน่วยงานราชการไม่รัดกุมจึงเป็นช่องทางให้เกิดการทุจริต ฉะนั้นความผิดจึงเกิดที่คน ไม่ใช่ที่โครงการครับ ต้องแยกแยะให้ดี
.
ส่วนโครงการส่วนพระองค์ก็เกิดจากเงินของในหลวงเอง(ซึ่งรวมทั้งเงินที่ประชาชนถวายร่วมสมทบด้วย) อันนี้ ผมจึงไม่ต้องอธิบาย
.
********************************************
.
ส่วนประเด็นที่พวกไม่จงรักภักดีฯอ้างแบบชุ่ยๆง่ายๆว่า หากในหลวงทรงไม่ช่วยราษฎร ให้ทรงอยู่แต่ในวัง แบบกษัตริย์ประเทศอื่นแล้วไทยจะเจริญ คุณผู้อ่านว่า มันเป็นตรรกะที่เฮงซวยและเห่ยไหมครับ ผมไม่อยากอธิบายตรงจุดนี้อีก เพราะเคยอธิบายไว้ในตอนที่ 3 แล้ว
.
แต่ถ้าจะตอบอีก ไม่ขอตอบแบบเดิมดีกว่า เพราะตอบไปคนที่มีอคติก็ต้องหาเหตุประเด็นอื่นให้ปวดหัวตามคิดหาคำอธิบายอีก แต่ผมว่า คนพวกนี้ควรโดนถามกลับในตรรกะแบบเห่ย ๆ จากผมบ้างเช่น
.
ถ้าขอสันนิษฐานของพวกไม่จงรักภักดีเป็นสิ่งถูกต้องที่ว่า ประเทศญี่ปุ่นจักรพรรดิเขาไม่มายุ่งเกี่ยวกับการช่วยเหลือประชาชน ทำให้ประเทศญี่ปุ่นเจริญกว่าไทยและก็เจริญที่สุดในเอเซีย ถ้าเป็นเช่นนี้จริง
.
ผมต้องถามกลับว่า อย่างนี้เรามารณรงค์ให้ทุกประเทศในเอเซีย มาเปลี่ยนแปลงการปกครองให้เป็นแบบประเทศญี่ปุ่นเลยดีมั้ย จะได้เจริญแบบญี่ปุ่น ?
.
และถ้าเปลี่ยนแปลงการปกครองให้เป็นแบบญี่ปุ่นเปี๊ยบ ๆ เป็นสิ่งที่ดีที่เจริญ ก็แสดงว่า การมีจักรพรรดิในระบอบประชาธิปไตยก็เป็นสิ่งที่ดีกว่าประชาธิปไตยล้วน ๆแบบมีประธานาธิบดีใช่หรือไม่ ?
.
หรือถ้าการมีกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยไม่ดีเลย ทำให้ประเทศไม่เจริญ แล้วทำไม ประเทศอย่างบังคลาเทศ หรืออีกหลายๆประเทศที่ไม่มีระบอบกษัตริย์ก็ไม่เห็นจะเจริญกว่าประเทศไทยเลย? ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?
.
หรือถ้าจะเปรียบเทียบแบบเห่ยสุดๆ อีกอย่างก็คือ ทำไมฟุตบอลทีมชาติไทย ที่เมื่อก่อนเก่งกว่าญี่ปุ่น แต่เดี๋ยวนี้แพ้ญี่ปุ่นเป็นเพราะอะไร เป็นเพราะสถาบัน เราไม่เหมือนสถาบันของญี่ปุ่นอีกใช่มั้ย?
.
ถ้าเป็นเช่นนั้น แล้วทำไมบราซิลก็ไม่มีสถาบัน หรือ อาเจนติน่าที่ไม่เจริญเท่าญี่ปุ่น จึงได้เตะบอลเก่งกว่าญี่ปุ่นล่ะครับ?
.
ที่ผมยกตัวอย่างมา ก็เป็นตรรกะที่ผมกำลังจะบอกว่า ตรรกะของพวกไม่จงรักภักดีฯที่ตั้งขึ้นมาตามที่ผมบอกข้างต้นบทความ ก็เพื่อเปรียบเทียบตรรกะของพวกนั้นว่า ก็เป็นตรรกะเฮงซวยชนิดเดียวกันแบบที่ผมตั้งเหมือนกันไงครับ
.
แต่ที่ถูกต้องก็คือ ความเจริญของประเทศไม่ได้ขึ้นอยู่ที่ระบอบเป็นสำคัญ แต่เป็นเพราะคนที่อยู่ในระบอบ ที่ใช้ระบอบมากกว่า ที่ทำให้ประเทศชาติไม่เจริญ
.
แต่ถ้าผมบอกว่า ที่ประเทศไทยไม่เจริญ ก็เพราะประเทศไทยมีนักการเมืองโกงกิน พวกไม่จงรักภักดี ฯ ก็จะอ้างอีกว่า ประเทศญี่ปุ่นก็มีคอรัปชั่น แต่ประเทศเขาก็เจริญ ซึ่งมันเถียงแบบแถ ๆ ง่าย ๆ ผมก็ต้องตอบแถ ๆ ตอกกลับว่า
.
หากนักการเมืองหรือข้าราชการมีจริยธรรมมาก โกงกินน้อย สถาบันกษัตริย์ก็จะช่วยเหลือประชาชนน้อยลง
หากนักการเมืองหรือข้าราชการมีจริยธรรมน้อย โกงกินมาก สถาบันกษัตริย์ก็ต้องช่วยเหลือประชาชนมากขึ้น
และหากนักการเมืองหรือข้าราชการมีจริยธรรมคุณธรรมเต็มเปี่ยม สถาบันกษัตริย์ก็ไปต้องช่วยเหลือประชาชนเลยครับ
ที่จริงแล้วทั้งพระราชินีอังกฤษ หรือจักรพรรดิ์ญี่ปุ่น ไม่ใช่ว่าพระองค์จะไม่ได้ช่วยเหลือประชาชนเลยนะครับ ทั้งสองพระองค์ก็มีการช่วยเหลือองค์กรการกุศลต่าง ๆ ในประเทศอยู่เสมอ แต่จะเป็นในรูปบริจาคทรัพย์มากกว่า
.
ที่ทั้งสองพระองค์ไม่ต้องลงไปคลุกคลีกับปัญหาของประชาชนมาก ก็เพราะคนในประเทศรวมทั้งนักการเมืองของเขาเห็นแก่ตัวน้อยกว่านักการเมืองไทยไงครับ
-------------------------
วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๘ หลวงพ่อคูณถวายเงินให้ในหลวง 72 ล้านบาท

“กูรู้สึกดีใจอย่างหาที่เปรียบไม่ได้ บุญทานอื่นทำมามาก แต่ทำบุญกับพระเจ้าอยู่หัวยังไม่ได้ทำ.. ทำบุญกับท่านยิ่งใหญ่นัก ได้ทูลเกล้าฯ ถวาย ๗๒ ล้านบาท ภูมิใจมหาศาล เงินที่ลูกหลานบริจาคทีละเล็กละน้อยสะสมรวมไว้เพื่อทูลเกล้าฯ ถวาย พี่น้องจะได้รับอานิสงส์ด้วย พี่น้องรู้ว่าทูลเกล้าฯ ถวายพระเจ้าอยู่หัวก็ดีใจมาก ชาวต่างประเทศก็มากันมาก จีนก็มา เกาหลีก็มา อินเดียก็มา ทำแล้วแต่กำลัง คนละสิบบาท ยี่สิบบาท มากันทุกวัน ยิ่งถ้ามาช่วยกันแล้วก็ไม่ได้มาหาสิ่งตอบแทนอะไร เขามาด้วยศรัทธากันจริงๆ" หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธกล่าว
ก่อนหน้านั้นที่จะมีงานใหญ่ บรรดาลูกศิษย์ต่างก็พากันเป็นห่วง กลัวว่าหลวงพ่อคูณท่านจะพูดราชาศัพท์ไม่ได้ ซึ่งเรื่องนี้หลวงพ่อท่านก็บอกว่า ”จะไปยากอะไร ก็พูดว่าขอถวายพระพรมหาบพิตร หรือไม่ก็ถวายพระพรคุณโยม ท่านสบายดีหรือ ... ท่านคงจะไม่ถือ เพราะท่านเป็นจอมปราชญ์ พูดอย่างไรกับท่าน ท่านก็ย่อมรู้ดี”

ก่อนจบบทความ มันมีตรรกะของพวกโง่ล้มเจ้าที่ใช้กันมากอยู่ตรรกะนึงคือ ในหลวงมีโครงการมมากมาย แต่ทำไมคนไทยส่วนใหญ่ยากจน ?
เฮ่อ... นี่คือตรรกะโง่ ๆ ของพวกโง่โดยแท้ เพราะความจริงคนไทยที่เชื่อในหลวง ล้วนแต่พ้นความยากจนแล้วทั้งสิ้น ส่วนที่ยากจนเพราะดื้อ ไม่เชื่อที่ในหลวงทรงแนะนำ
.
อ่านต่อ ตอนที่7 เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
พวกไม่จงรักภักดีฯไม่ต้องการให้ในหลวงเสด็จช่วยราษฎรผู้ทุกข์ยาก โดยชอบอ้างว่าจักรพรรดิญี่ปุ่น หรือ พระราชินีแห่งอังกฤษไม่เห็นต้องต้องทรงงานหนักช่วยเหลือราษฎรเหมือนในหลวงของไทย แต่ประเทศเขากลับเจริญกว่าไทยเสียอีก พวกนี้ใช้ตรรกะกันง่ายๆแบบนี้แหล่ะครับ
แต่พอมีคนเข้าไปเถียงอธิบายเกี่ยวกับประโยชน์ที่ราษฎรได้รับมากมายจากโครงการของในหลวง
พวกไม่จงรักภักดีฯก็จะบอกไปอีกทางว่า ไม่ใช่เงินของในหลวง แต่เป็นเงินภาษีของประชาชน ฉะนั้นประชาชนไม่ต้องมาซาบซึ้งมากก็ได้
หรือบางครั้งก็เถียงว่าโครงการในหลวงที่ล้มเหลวก็มี แต่ก็ไม่เห็นจะบอกว่าโครงการที่ล้มเหลวที่อ้างนั้นคืออะไร ก็อย่างที่ผมเคยเขียนไว้ในบทความที่แล้วว่า คนไม่ทำอะไรเลยเอาแต่ตินั้นทำง่าย คือคิดจะติก็ติ แต่ไม่เอาเหตุผลหลักฐานมายืนยัน
การบอกว่าโครงการในหลวงเป็นเงินภาษีของประชาชน ไม่ต้องมาซาบซึ้ง แล้วพวกนี้เคยทำประโยชน์อะไรให้ประเทศชาติสักเท่าไหร่กันถึงได้พูดชุ่ยๆง่ายๆแค่นั้น ไม่ได้รู้ไม่ได้ศึกษาเลยว่า จริงๆแล้วโครงการต่างๆเกิดประโยชน์แก่ชาติและประชาชนมากแค่ไหน คนมีอคติก็เป็นเช่นนี้แล
หากเรามองเหตุผลพวกไม่จงรักภักดีฯแล้ว พิจารณาให้ดี จะรู้ได้ว่า คนพวกนี้นอกจากจะเห็นแก่ตัวแล้ว ก็น่าจะเป็นคนจำพวก "มือไม่พายแต่เอาเท้าราน้ำ" ด้วย
ทีนี้ผมจะอธิบายให้ผู้จงรักภักดีฯ ทุกท่านที่อาจไม่ค่อยรู้ได้เข้าใจ ส่วนใครที่รู้และเข้าใจเกี่ยวกับโครงการในหลวงดีกว่าผมได้มาอ่านบทความนี้ ผมก็ขออภัยด้วยครับ เพราะผมอาจเขียนได้ไม่ดีนักเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจที่ทรงช่วยเหลือราษฎรได้ดีเท่ากับผู้รู้จริงๆได้ ส่วนพวกไม่จงรักภักดีฯพวกนี้ส่วนใหญ่เป็นบัวใต้น้ำไปแล้ว ยากที่จะสั่งสอนแล้ว
ก่อนอื่นเราต้องแยกระหว่าง "โครงการตามแนวพระราชดำริ" กับ "โครงการส่วนพระองค์" ให้เข้าใจเสียก่อนครับ
1.โครงการตามแนวพระราชดำริ ก็คือโครงการที่ในหลวงมีพระราชดำริให้ข้าราชการหรือรัฐบาลได้ช่วยเหลือราษฎรให้ถูกจุด ซึ่งเริ่มมาจากที่ในหลวงเสด็จทรงเยี่ยมราษฎรในภูมิภาคต่างๆ แต่เมื่อในหลวงเสด็จไปแล้วก็จะทรงพบเห็นปัญหาเดือดร้อนต่างๆ ที่ราษฎรต้องประสบพบเจอ ในหลวงเมื่อทรงเห็นปัญหาแล้ว จะให้ทรงนิ่งเฉยไปโดยไม่รู้ไม่เห็น หรือเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ ก็คงจะไม่ได้
ในหลวงเลยทรงมีพระราชดำริให้ข้าราชการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ได้ให้ความช่วยเหลือ แต่ถ้าจะแค่ตรัสเฉย ๆ แล้วเสด็จจากไปง่าย ๆ ก็คงไม่มีอะไรดีขึ้น เพราะอย่างที่รู้ว่า ๆ ปัญหาระบบราชการในอดีตที่ยังล้าหลัง ตลอดจนความรู้ความเข้าใจในการแก้ปัญหาเรื่องต่าง ๆ ของข้าราชการที่รับผิดชอบหรือประชาชนในพื้นที ส่วนใหญ่ยังขาดความรู้และขาดเทคโนโลยีที่ดีที่จะช่วยเหลือหรือแก้ไขให้ราษฎรได้ดีเท่าที่ควร
ในหลวงเลยต้องทรงชี้แนะแนวทางแก้ไขให้ และเมื่อในหลวงมีพระราชดำริที่จะแก้ไข หน่วยงานรัฐต่างๆ ก็จะให้ความสนใจที่จะร่วมมือช่วยเหลือทั้งด้านงบประมาณและบุคคลากรเข้ามาช่วยให้งานช่วยเหลือราษฎรได้บรรลุความสำเร็จโดยเร่งด่วนทันที และโครงการตามแนวพระราชดำริในแต่ละโครงการ จริงๆแล้วก็ในหลวงทรงอยากให้เป็นโครงการต้นแบบมากกว่า เพื่อให้ประชาชนหรือข้าราชการได้ศึกษาเพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาในพื้นที่อื่นที่มีปัญหาใกล้เคียงกันอีกต่อไป
ถามว่า ในหลวงทรงคิดงานเองพระองค์เดียวหรือ ?
ตอบว่า ไม่ใช่ เพราะในหลวงต้องลงพื้นที่เสียก่อน แล้วสอบถามถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากทั้งเจ้าหน้าที่และราษฎร ในพื้นที่ และก็จะช่วยกันคิด ช่วยกันหาทางแก้ไขร่วมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และทรงช่วยหาหนทางที่ดีกว่าในการช่วยเหลือ ซึ่งเจ้าหน้าที่และราษฎรที่ร่วมปรึกษาต่างต้องทึ่งในพระอัจฉริยะภาพของพระองค์ที่ทรงรู้จริงและเข้าใจปัญหาได้ลึกอย่างถ่องแท้ จนสามารถแนะแนวทางที่ดีเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆให้ราษฎรได้สำเร็จในที่สุด
ในระยะแรก ๆ ในหลวงเองก็ไม่ได้ทรงคิดวิธีได้ในทันทีทันใด ก็เหมือนคนทั่วๆไปนั่นแหล่ะครับ (ไม่มีใครรู้มาแต่เกิด) แต่เพราะความที่พระองค์ได้ทรงไต่ถามพูดคุยกับคนในพื้นที่ ทุ่มเทค้นหาสาเหตุของปัญหาอย่างจริงจัง จนเห็นปัญหาแล้วนำมาวิเคราะห์และตรึกตรองในปัญหาต่างๆบ่อยครั้ง เพราะปัญหาในชนบทก็มักจะมีปัญหาที่คล้ายๆกันในหลายพื้นที่ จึงทำให้ในหลวงจึงเกิดความชำนาญในปัญหาต่างๆเพิ่มขึ้น และก็สามารถหาวิธีแก้ไขได้ง่ายขึ้นตามลำดับครับ
ในระยะแรกที่ในหลวงเสด็จทรงเยี่ยมราษฎรในพื้นที่ต่างๆ พระองค์ก็ทรงเน้นในแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่ในระยะต่อมา ในหลวงทรงเห็นว่าการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไม่ได้ช่วยให้ราษฎรได้พ้นจากความยากลำบากอย่างแท้จริง ต่อมาแนวทางพระราชดำริจึงมีแนวทางไปเพื่อการยั่งยืนและพึ่งตนเองได้ของราษฎร
.
[เพิ่มเติมส่วนสำคัญ -โครงการตามแนวพระราชดำริสามารถตรวจสอบได้ และที่เห็นล่าสุดคือ 'โครงการฝายแม้ว' ซึ่งมีการทุจริตในการจัดสร้าง ไม่ได้เป็นไปตามที่งบประมาณที่ให้ไว้ ฝายแม้วไร้คุณภาพถึงขั้นใช้ไม่ได้เลย (คลิกดูข่าวฝายแม้ว)
.
อย่างที่อธิบายในตอนต้นว่า โครงการพระราชดำริ เป็นโครงการที่ในหลวงมีพระดำริแนะนำว่า ดีมีประโยชน์ เห็นว่าน่าจะช่วยประชาชนได้ ส่วนจะทำหรือไม่ทำ ก็ต้องเป็นหน้าที่ของภาครัฐพิจารณาว่าสมควรทำหรือไม่ เพราะเป็นหน้าที่ของรัฐบาลไม่ใช่ของในหลวง ซึ่งจะทำก็ได้ไม่ทำก็ได้
.
มีหลายๆโครงการที่ในหลวงมีพระราชดำริ แต่รัฐและประชาชนในท้องที่ยังไม่สามารถทำได้ เพราะยังมีข้อโต้แย้งในพื้นที่ เช่น 'โครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น' เป็นต้น ]
.
2. โครงการส่วนพระองค์ อันนี้คงไม่ต้องแปล แต่การที่ในหลวงได้พบเจอปัญหาต่าง ๆ ของราษฎรทั่วประเทศมากมาย ก็อย่างที่บอกในข้อที่แล้วว่า ในหลวงไม่ใช่จะคิดหาทางแก้ได้ในทันทีทุกปัญหา บางปัญหาก็ทรงต้องนำเก็บมาคิดวิเคราะห์ต่อ บางวิธีการต้องอาศัยการทดลองให้รู้จริงให้ลึกซึ้งเสียก่อน
.
ในหลวงจึงต้องทรงมีการตั้งโครงการส่วนพระองค์เพื่อทำการศึกษาวิจัยปัญหา ทดลองแก้ไขปัญหา จนได้วิธีการที่ถูกต้องเหมาะสมที่สุดแล้วจึงจะนำไปใช้แนะนำเจ้าหน้าที่และราษฎรในพื้นที่ได้แก้ไขได้อย่างถูกจุดถูกวิธี
(อ่านรายละเอียดได้ที่เว็บโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา)
.
รายละเอียดของโครงการต่างๆผมไม่อยากลงรายละเอียดมาก เพราะถ้าใครสนใจก็สามารถหาได้ในเว็บต่างๆมากมาย แต่ในบทความผมอยากจะกล่าวถึงก็คือประเด็นที่พวกไม่จงรักภักดีฯชอบใช้โจมตี
.
ถามว่า โครงการในหลวงเป็นเงินภาษีจริงหรือไม่?
.
ตอบว่า จริง แต่ก็ไม่ทั้งหมด เพราะที่จะใช้เงินของรัฐบาลนั้น ก็เป็นโครงการตามแนวทางพระราชดำริเท่านั้น แต่เมื่อในหลวงมีพระราชดำริแล้ว พระองค์ก็มักจะทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อเป็นทุนเริ่มต้นโครงการอยู่เสมอ
เราคงต้องยอมรับกันว่า ราษฎรที่ตกทุกข์ได้ยากในอดีตห่างไกลความเจริญ การติดต่อสื่อสารกับหน่วยราชการก็ยาก หรือเมื่อติดต่อขอความช่วยเหลือจากราชการแล้ว ก็ยากที่จะได้งบประมาณมาช่วยเหลือทันท่วงที.
ยกตัวอย่างเช่น ที่ผมเห็นเมื่อไม่นานมานี้เอง ในรายการโทรทัศน์ที่เกี่ยวกับการให้ประชาชนร้องเรียนรายการหนึ่ง ก็คือ ในจังหวัดนครราชสีมา ประชาชนเดือดร้อนเกี่ยวกับถนนดินลูกรังมา 30 กว่าปี พอเวลาหน้าฝน ถนนลูกรังจะเป็นโคลนเป็นหล่ม ยากแก่การสัญจร รถเล็กวิ่งแทบไม่ได้เลยในหน้าฝน ของบสร้างถนนลาดยางหรือเทปูนมากว่า 20 ปีจากทางราชการ ก็ยังไม่เคยได้รับการเหลียวแล สส.ก็เคยมาหาเสียงและรับปากครังแล้วครั้งเล่าว่าจะช่วยดูให้ แต่ก็เงียบหายไปหมด
.
นี่คือตัวอย่างที่ยังเกิดขึ้นอยู่ทุกวันนี้ การที่ในหลวงเสด็จเยี่ยมราษฎรในพื้นที่ต่างๆ ก็เท่ากับว่าพระองค์ได้แบ่งเบาภาระของรัฐบาลที่อาจจะดูแลไม่ทั่วถึง หรืออย่างน้อยก็อาจจะเป็นการกระตุ้นข้าราชการในพื้นที่ให้ตระหนักถึงหน้าที่ๆควรปฏิบัติมากขึ้นก็ได้
.
ในหลวงไม่ใช่ผู้วิเศษที่จะเสกสรรอะไรได้ดั่งใจคิด (แต่พระองค์ทรงมีพระอัจฉริยภาพที่ทุกคนที่มีโอกาสร่วมทำงานกับพระองค์ต่างก็ยอมรับ) พระองค์ต้องทรงงานหนักมาตลอดชั่วชีวิตในการช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐบาลในการช่วยเหลือราษฎร เท่าที่พระองค์จะทรงทำได้ พระองค์ทรงเป็นตัวอย่างให้คนไทยได้ปฏิบัติตาม เพราะ
.
ไม่จำเป็นต้องเป็นใครที่มีหน้าที่เท่านั้นที่จะช่วยเหลือชาติ เราคนไทยทุกคนหากมีกำลังมีความสามารถพอ ก็สามารถมีส่วนช่วยเหลือพี่น้องคนไทยด้วยกันได้ พวกไม่จงรักภักดีฯ ชอบเกี่ยงกันว่า ต้องเป็นคนนั้นคนนี้เท่านั้นที่ต้องทำเพื่อชาติ หรือต้องไม่ใช่คนนี้คนนั้นที่ไม่ต้องทำเพื่อชาติก็ตาม
หากมีคนเช่นนี้อยู่มาก ๆ ในชาติ ชาตินั้นย่อมไม่มีทางจะเจริญได้เท่าที่ควร จะเงินใครก็แล้วแต่ ขอให้ประชาชนได้ประโยชน์จริง ผู้ที่คิดโครงการหรือริเริ่มโครงการย่อมได้รับคำยกย่องสรรเสริญทั้งนั้น
.
อย่างเช่น โครงการ30บาท รักษาทุกโรค ก็ไม่ใช่เงินของอดีตนายกฯทักษิณสักหน่อย และก็ไม่ใช่โครงการที่ทักษิณเป็นคนคิดขึ้นมาเองด้วยซ้ำ แต่เป็นโครงการที่คุณหมอสงวน นิตยารัมภ์พงศ์ อดีตเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) เป็นผู้คิดและได้ไปเสนอโครงการนี้แก่ทักษิณและทักษิณก็เห็นประโยชน์จึงนำมาบรรจุไว้ในนโยบายของพรรคไทยรักไทย
แต่ทุกคนก็ยอมรับและยกย่องว่า เป็นผลงานชิ้นสำคัญที่สุดของทักษิณ ทั้งๆที่ความเป็นจริงแล้ว คนที่ทำให้โครงการสำเร็จจริงๆและหาวิธีการให้โครงการเป็นผลสำเร็จในที่สุด ก็ไม่ใช่ทักษิณ แต่เป็นบุคคลากรทางการแพทย์ต่างหาก ที่พยายามทำให้นโยบายสำเร็จได้ แต่ก็ให้เกียรติทักษิณว่า เป็นคนคิดริเริ่ม เป็นต้น (ในสมัยรัฐบาลสุรยุทธ ได้มียกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียม30บาท)
.
หรือจะเป็นโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ หลวงพ่อทวีศักดิ์ ท่านก็ไม่ได้มีเงินของท่านเอง ก็เป็นเงินจากญาติโยมที่ร่วมบริจาคจัดสร้างทั้งนั้น แต่ทุกคนก็ให้เกียรติตั้งชื่อหลวงพ่อทวีศักดิ์ ให้เป็นชื่อของโรงพยาบาล เพื่อเป็นมงคลนาม ก็ไม่เห็นมีใครเขามาคิดเล็กคิดน้อยกัน หรือจะอย่างสนามศุภชลาศัย ก็ตั้งชื่อให้เกียรติหลวงศุภชลาศัยที่เป็นต้นคิดในการสร้าง เป็นต้น ซึ่งหากจะยกตัวอย่างทั้งโลกก็คงไม่หมดหรอก
.
คนที่มีอคติย่อมคิดแบบเห็นแก่ตัว ไม่อยากเห็นคนอื่นได้รับการยกย่อง ขอยกตัวอย่างอีกกรณีแล้วกัน หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ ก็ได้บริจาคเงินสร้างโรงเรียน สร้างโรงพยาบาล มากมาย แต่ถามหน่อยเถอะว่า ที่จริงลำพังหลวงพ่อคูณจะมีเงินทองได้มากมายขนาดนั้นหรือไม่ แน่นอนต้องไม่มีทาง
แต่ที่หลวงพ่อคูณมีเงินมาบริจาคสร้างโรงเรียนหรือสร้างโรงพยาบาล หรือถวายเงินให้ในหลวงเพื่อสร้างอ่างเก็บน้ำนั้น ที่จริงก็คือเงินชาวบ้านที่ศรัทธาหลวงพ่อคูณ ถวายให้ทั้งนั้น แต่เราก็ให้เกียรติว่าเป็นเงินของหลวงพ่อคูณ แม้ที่จริงแล้วพระไม่ได้มีสิทธิที่จะมีเงินทองตามพระวินัยก็ตาม
.
ประเพณีการตั้งชื่อเพื่อให้เกียรติผู้ริเริ่มโครงการหรือสร้างสถานที่สำคัญต่างๆเป็นเรื่องธรรมดามาก ทั่วโลกเขาก็ปฏิบัติกันแบบนี้มากมาย แต่การที่รัฐบาลถวายชื่อโครงการของในหลวงว่า โครงการตามแนวพระราชดำรินั้น ก็เพราะเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อโครงการมากกว่า เพราะจะทำให้ประชาชนจะรักและช่วยกันดูแลโครงการของในหลวงมากกว่าโครงการธรรมดาทั่วไปที่รัฐบาลทำ และก็จะสามารถทำให้มีคนที่กำลังทรัพย์ที่อยากจะมีส่วนร่วมกับงานของในหลวงก็จะได้มีโอกาสร่วมบริจาคเงินเข้าช่วยโครงการด้วย
.
นิสัยแย่อีกอย่างของคนไทยที่มักจะพบเห็นอยู่เสมอในทุกสังคม ก็คือ การที่อิจฉาริษยากัน การไม่อยากให้คนอื่นได้ดีกว่าตน โดยอาจหาทางกลั่นแกล้งผู้ที่ทำดีกว่า ฉะนั้นการที่ตั้งชื่อโครงการต่าง ๆ ให้เป็นกลาง เช่นการใช้ชื่อโครงการแนวพระราชดำริ ก็จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานก็จะลดอาการอิจฉาริษยากันได้ไม่มากก็น้อย และก็จะทุ่มเทให้โครงการมากขึ้น เพราะทุกคนรักในหลวง
.
เราต้องยอมรับว่า คนไทยส่วนใหญ่จะรู้สึกว่ารักในหลวงมากกว่ารักชาติ ซึ่งแม้ดูจะไม่ค่อยถูกต้องนักก็ตาม แต่ก็ต้องยอมรับวาเป็นเช่นนั้นจริง ๆ เพราะอะไรผมถึงว่าเช่นนี้ ก็เพราะสมบัติของชาติต่างๆที่คนไทยควรรักษา แต่กลับไม่ค่อยช่วยกันรักษา เช่นป่าไม้ หรือของสาธารณประโยชน์ทั้งหลายของชาติ คนไทยกลับไม่มีจิตสำนึกที่จะรักและหวงแหน แต่ถ้าเป็นของในหลวงหรือเป็นโครงการที่ในหลวงสร้าง ทุกคนกลับดูจะรักษาและหวงแหนมากกว่าสมบัติของชาติ?
จึงมีคำขวัญที่ว่า "ทำความดีถวายในหลวง"
.
การที่จะทำให้คนไทยรักชาติมากขึ้น ไม่ใช่ทำด้วยการทำให้คนไทยรักในหลวงน้อยลง แต่ควรทำให้คนไทยรักชาติเหมือนที่รักในหลวง คนไทยหลายคนมักชอบคิดว่า เรื่องของชาตืไม่ใช่เรื่องของตนคนเดียว หรือคนไทยหลายคนไม่เคยคิดและตระหนักว่า การรักษาสมบัติของชาติก็คือการรักษาสมบัติของตัวเอง คนไทยอีกหลายคนก็กลับคิดเห็นแก่ตัวว่า สมบัติของชาติจะใช้ยังไงก็ได้ ไม่ต้องระวังรักษา
.
หรือจะเป็นโครงการต่าง ๆ เช่น การสร้างโรงพยาบาลรัฐหลาย ๆ แห่ง รัฐบาลไม่ค่อยมีเงินงบประมาณจัดสร้าง ก็ได้พระบรมวงศานุวงศ์หลาย ๆ พระองค์ต่างทรงเข้ามาเป็นประธานจัดสร้างช่วยระดมหาเงินบริจาคจากภาคเอกชนและประชาชนมาช่วยจัดสร้าง ถ้าจะมัวแต่รอเงินงบประมาณจากรัฐบาลก็รอไปเถอะยาก จะให้รัฐบาลขอเงินบริจาคก็คงไม่ได้ เพราะไม่ใช่หน้าที่ของรัฐ
.
แต่ถ้าหน่วยงานต่างๆของรัฐหากต้องการระดมทุนเพื่อก่อสร้างสิ่งสาธารณะประโยชน์ใด ๆ และได้ทูลเชิญพระบรมวงศานุวงศ์เป็นองคประธานจัดสร้าง ความสำเร็จก็จะเกิดขึ้นได้ในเวลาไม่นาน เพราะประชาชนต่างก็จะยินดีมาร่วมบริจาคทำบุญร่วมกับพระบรมวงศานุวงศ์แต่ละพระองค์ในทันที ซึ่งผมไม่จำเป็นต้องยกตัวอย่าง เพราะมีมากมายเหลือเกิน และพวกไม่จงรักภักดีฯเองก็คงได้เคยใช้ประโยชน์จากโครงการต่างๆไม่มากก็น้อย โดยที่ไม่รู้ตัวเลยมากมาย
.
งานช่วยเหลือประชาชนคืองานหลักของรัฐบาลก็จริง แต่ทุกคนก็มีสิทธิที่จะช่วยเหลือพี่น้องประชาชนคนอื่นได้เช่นกัน แต่ถ้าได้คนที่มีบารมีที่เป็นที่รักที่ศรัทธาของประชาชนเป็นผู้นำในการช่วยเหลือ โอกาสที่จะประสบความสำเร็จก็ย่อมมีมากขึ้น หากทุกคนร่วมไม้ร่วมมือกัน ไม่เกี่ยงกัน ประเทศชาติก็จะเจริญได้มากกว่านี้
.
ถามว่าโครงการตามแนวพระราชดำริมีล้มเหลวไหม ?
ผมตอบตามตรงว่า ก็มี แต่ที่มี ไม่ใช่เพราะแนวทางพระราชดำริไม่ถูกต้อง แต่ที่ล้มเหลวเพราะยังมีคนที่โกงกินเงินงบประมาณที่รัฐส่งลงไปสร้างมากกว่า เช่น โครงการฝายแม้วที่มีการคอรัปชั่นที่เป็นข่าวเมื่อไม่นานมานี้ แต่นั่นก็เป็นเพียงส่วนน้อยมากที่ไม่สำเร็จ ทุกคนยอมรับว่าโครงการนี้เป็นโครงการที่ดีและมีประโยชน์ แต่ระบบจัดการของหน่วยงานราชการไม่รัดกุมจึงเป็นช่องทางให้เกิดการทุจริต ฉะนั้นความผิดจึงเกิดที่คน ไม่ใช่ที่โครงการครับ ต้องแยกแยะให้ดี
.
ส่วนโครงการส่วนพระองค์ก็เกิดจากเงินของในหลวงเอง(ซึ่งรวมทั้งเงินที่ประชาชนถวายร่วมสมทบด้วย) อันนี้ ผมจึงไม่ต้องอธิบาย
.
********************************************
.
ส่วนประเด็นที่พวกไม่จงรักภักดีฯอ้างแบบชุ่ยๆง่ายๆว่า หากในหลวงทรงไม่ช่วยราษฎร ให้ทรงอยู่แต่ในวัง แบบกษัตริย์ประเทศอื่นแล้วไทยจะเจริญ คุณผู้อ่านว่า มันเป็นตรรกะที่เฮงซวยและเห่ยไหมครับ ผมไม่อยากอธิบายตรงจุดนี้อีก เพราะเคยอธิบายไว้ในตอนที่ 3 แล้ว
.
แต่ถ้าจะตอบอีก ไม่ขอตอบแบบเดิมดีกว่า เพราะตอบไปคนที่มีอคติก็ต้องหาเหตุประเด็นอื่นให้ปวดหัวตามคิดหาคำอธิบายอีก แต่ผมว่า คนพวกนี้ควรโดนถามกลับในตรรกะแบบเห่ย ๆ จากผมบ้างเช่น
.
ถ้าขอสันนิษฐานของพวกไม่จงรักภักดีเป็นสิ่งถูกต้องที่ว่า ประเทศญี่ปุ่นจักรพรรดิเขาไม่มายุ่งเกี่ยวกับการช่วยเหลือประชาชน ทำให้ประเทศญี่ปุ่นเจริญกว่าไทยและก็เจริญที่สุดในเอเซีย ถ้าเป็นเช่นนี้จริง
.
ผมต้องถามกลับว่า อย่างนี้เรามารณรงค์ให้ทุกประเทศในเอเซีย มาเปลี่ยนแปลงการปกครองให้เป็นแบบประเทศญี่ปุ่นเลยดีมั้ย จะได้เจริญแบบญี่ปุ่น ?
.
และถ้าเปลี่ยนแปลงการปกครองให้เป็นแบบญี่ปุ่นเปี๊ยบ ๆ เป็นสิ่งที่ดีที่เจริญ ก็แสดงว่า การมีจักรพรรดิในระบอบประชาธิปไตยก็เป็นสิ่งที่ดีกว่าประชาธิปไตยล้วน ๆแบบมีประธานาธิบดีใช่หรือไม่ ?
.
หรือถ้าการมีกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยไม่ดีเลย ทำให้ประเทศไม่เจริญ แล้วทำไม ประเทศอย่างบังคลาเทศ หรืออีกหลายๆประเทศที่ไม่มีระบอบกษัตริย์ก็ไม่เห็นจะเจริญกว่าประเทศไทยเลย? ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?
.
หรือถ้าจะเปรียบเทียบแบบเห่ยสุดๆ อีกอย่างก็คือ ทำไมฟุตบอลทีมชาติไทย ที่เมื่อก่อนเก่งกว่าญี่ปุ่น แต่เดี๋ยวนี้แพ้ญี่ปุ่นเป็นเพราะอะไร เป็นเพราะสถาบัน เราไม่เหมือนสถาบันของญี่ปุ่นอีกใช่มั้ย?
.
ถ้าเป็นเช่นนั้น แล้วทำไมบราซิลก็ไม่มีสถาบัน หรือ อาเจนติน่าที่ไม่เจริญเท่าญี่ปุ่น จึงได้เตะบอลเก่งกว่าญี่ปุ่นล่ะครับ?
.
ที่ผมยกตัวอย่างมา ก็เป็นตรรกะที่ผมกำลังจะบอกว่า ตรรกะของพวกไม่จงรักภักดีฯที่ตั้งขึ้นมาตามที่ผมบอกข้างต้นบทความ ก็เพื่อเปรียบเทียบตรรกะของพวกนั้นว่า ก็เป็นตรรกะเฮงซวยชนิดเดียวกันแบบที่ผมตั้งเหมือนกันไงครับ
.
แต่ที่ถูกต้องก็คือ ความเจริญของประเทศไม่ได้ขึ้นอยู่ที่ระบอบเป็นสำคัญ แต่เป็นเพราะคนที่อยู่ในระบอบ ที่ใช้ระบอบมากกว่า ที่ทำให้ประเทศชาติไม่เจริญ
.
แต่ถ้าผมบอกว่า ที่ประเทศไทยไม่เจริญ ก็เพราะประเทศไทยมีนักการเมืองโกงกิน พวกไม่จงรักภักดี ฯ ก็จะอ้างอีกว่า ประเทศญี่ปุ่นก็มีคอรัปชั่น แต่ประเทศเขาก็เจริญ ซึ่งมันเถียงแบบแถ ๆ ง่าย ๆ ผมก็ต้องตอบแถ ๆ ตอกกลับว่า
.
หากนักการเมืองหรือข้าราชการมีจริยธรรมมาก โกงกินน้อย สถาบันกษัตริย์ก็จะช่วยเหลือประชาชนน้อยลง
หากนักการเมืองหรือข้าราชการมีจริยธรรมน้อย โกงกินมาก สถาบันกษัตริย์ก็ต้องช่วยเหลือประชาชนมากขึ้น
และหากนักการเมืองหรือข้าราชการมีจริยธรรมคุณธรรมเต็มเปี่ยม สถาบันกษัตริย์ก็ไปต้องช่วยเหลือประชาชนเลยครับ
ที่จริงแล้วทั้งพระราชินีอังกฤษ หรือจักรพรรดิ์ญี่ปุ่น ไม่ใช่ว่าพระองค์จะไม่ได้ช่วยเหลือประชาชนเลยนะครับ ทั้งสองพระองค์ก็มีการช่วยเหลือองค์กรการกุศลต่าง ๆ ในประเทศอยู่เสมอ แต่จะเป็นในรูปบริจาคทรัพย์มากกว่า
.
ที่ทั้งสองพระองค์ไม่ต้องลงไปคลุกคลีกับปัญหาของประชาชนมาก ก็เพราะคนในประเทศรวมทั้งนักการเมืองของเขาเห็นแก่ตัวน้อยกว่านักการเมืองไทยไงครับ
-------------------------
วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๘ หลวงพ่อคูณถวายเงินให้ในหลวง 72 ล้านบาท

“กูรู้สึกดีใจอย่างหาที่เปรียบไม่ได้ บุญทานอื่นทำมามาก แต่ทำบุญกับพระเจ้าอยู่หัวยังไม่ได้ทำ.. ทำบุญกับท่านยิ่งใหญ่นัก ได้ทูลเกล้าฯ ถวาย ๗๒ ล้านบาท ภูมิใจมหาศาล เงินที่ลูกหลานบริจาคทีละเล็กละน้อยสะสมรวมไว้เพื่อทูลเกล้าฯ ถวาย พี่น้องจะได้รับอานิสงส์ด้วย พี่น้องรู้ว่าทูลเกล้าฯ ถวายพระเจ้าอยู่หัวก็ดีใจมาก ชาวต่างประเทศก็มากันมาก จีนก็มา เกาหลีก็มา อินเดียก็มา ทำแล้วแต่กำลัง คนละสิบบาท ยี่สิบบาท มากันทุกวัน ยิ่งถ้ามาช่วยกันแล้วก็ไม่ได้มาหาสิ่งตอบแทนอะไร เขามาด้วยศรัทธากันจริงๆ" หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธกล่าว
ก่อนหน้านั้นที่จะมีงานใหญ่ บรรดาลูกศิษย์ต่างก็พากันเป็นห่วง กลัวว่าหลวงพ่อคูณท่านจะพูดราชาศัพท์ไม่ได้ ซึ่งเรื่องนี้หลวงพ่อท่านก็บอกว่า ”จะไปยากอะไร ก็พูดว่าขอถวายพระพรมหาบพิตร หรือไม่ก็ถวายพระพรคุณโยม ท่านสบายดีหรือ ... ท่านคงจะไม่ถือ เพราะท่านเป็นจอมปราชญ์ พูดอย่างไรกับท่าน ท่านก็ย่อมรู้ดี”

ก่อนจบบทความ มันมีตรรกะของพวกโง่ล้มเจ้าที่ใช้กันมากอยู่ตรรกะนึงคือ ในหลวงมีโครงการมมากมาย แต่ทำไมคนไทยส่วนใหญ่ยากจน ?
เฮ่อ... นี่คือตรรกะโง่ ๆ ของพวกโง่โดยแท้ เพราะความจริงคนไทยที่เชื่อในหลวง ล้วนแต่พ้นความยากจนแล้วทั้งสิ้น ส่วนที่ยากจนเพราะดื้อ ไม่เชื่อที่ในหลวงทรงแนะนำ
.
อ่านต่อ ตอนที่7 เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
เล่าจากพระราชดำรัสเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่4 ธ.ค. 39
ตอบลบความว่า
สมัยปี39น้ำท่วมกรุงเทพฯมาก ในหลวงทรงแนะว่า ไม่ควรสร้างสนามบินสุวรรณภูมิที่หนองงูเห่า เพราะจะขวางทางไหลของน้ำที่มีมาตั้งแต่อดีต
ควรจะไปสร้างสนามบินในที่ดอนมากกว่า
แต่พลเอกชวลิต นายกฯรัฐมนตรีก็แค่ฟังรับสั่งแนะเฉยๆ ยังคงเดินหน้าสร้างสนามบินสุวรรณภูมิที่หนองงูเห่าต่อไป
จากตัวอย่าง ก็แสดงให้เห็นว่า ในหลวงท่านไม่ได้มีพระราชอำนาจอันใดที่จะไปบังคับรัฐบาลให้ทำสิ่งใด
พระองค์แค่เพียงชี้แนะแนวทางให้ลองไปคิด ไปศึกษาดู ว่าเห็นสมควรหรือไม่เท่านั้น
20 ธันวาคม, 2009 06:27
คุณใหม่ เมืองเอก มีข้อมูลที่ทำอ่างเก็บน้ำ หรือเขื่อน แถว ๆ ที่เชียงใหม่ หรือเปล่าค่ะ อยากทราบความเป็นมาเหมือนกับเคยดูข่าว ก้อสร้างไม่ถูกต้องตามที่พระองค์แนะนำ เหมือนกัน พระองค์ท่านทรงแนะนำให้ทำแบบหนึ่ง รับไปทำแต่ก้อไม่ใช่อย่างที่พระองค์แนะนำ
ตอบลบมีอยู่หลายแห่งครับ หลายจังหวัดครับ
ตอบลบลองพิมพ์คำว่า ทุจริตโครงการฝายแม้ว ที่กูเกิ้ลดูก็ได้ครับ