ทีแรกผมจะตั้งชื่อบทความว่า การขอบคุณ การขอโทษ การเสียสละ การให้อภัย ก็เป็นบุญ ซึ่งก็คือวิธีการสร้างกุศลกรรมอย่างง่ายๆ ง่ายถึงง่ายที่สุด แต่มันยาวไป ก็เลยเปลี่ยนเป็นชื่อที่เห็นข้างบนนั่นแหล่ะครับ
ผมนั้นชื่นชมมารยาทและวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นมาก โดยเฉพาะเรื่องการขอบคุณ และการขอโทษ เห็นได้มากในสังคมวัฒนธรรมญี่ปุ่น แสดงให้เห็นถึงความอ่อนน้อม ถ่อมตน และมีมารยาทในความเกรงอกเกรงใจของคนญี่ปุ่่น
และเพราะคนญี่ปุ่นมักมีกิริยามารยาทอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้อื่นเสมอนั้น ยิ่งกลับทำให้คนญี่ปุ่นยิ่งมีจิตใจที่แข็งแกร่ง ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคมากขึ้น เพราะความถ่อมตนนั้น ดูเหมือนทำง่าย แต่กลับไม่ง่ายอย่างที่คิด
-----------------------------------
บุญจากการขอบคุณ ขอโทษ เสียสละ ให้อภัย
ลองคิดง่ายๆ เช่น เวลาที่มีใครขอบคุณเราเมื่อเราช่วยเหลือเขาในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างเช่น เราหยิบของที่เขาทำตกคืนให้เขา
หรือมีใครขอโทษเราเมื่อเขาทำผิดพลาดต่อเรา เช่น เวลาเขามาเดินชนเราโดยไม่ตั้งใจ แล้วเขาก็รีบกล่าวขอโทษต่อเราทันที
หรือการเสียสละในเรื่องเล็กๆน้อยให้เราเช่น ลุกให้เรานั่งบนรถเมล์
ถามว่า เราชอบมั้ย?? เรารู้สึกดีมั้ย? ที่ได้ยินได้รับฟังคำกล่าวเหล่านี้
แน่นอนคนส่วนใหญ่ที่มีจิตใจปกติ ย่อมรู้สึกดี กับคำขอบคุณ คำขอโทษ หรือการเสียสละที่ได้รับจากคนอื่น
การที่ทำให้คนอื่นสุขใจ สบายใจ ย่อมเป็นการกระทำที่ดี ที่ควรกระทำ จึงนับเป็นกุศลกรรมอย่างหนึ่งเช่นกัน และเมื่อเป็นกุศลกรรม ก็ย่อมเป็นบุญเป็นกุศลไปด้วย
------------------------------------
ขอยกตัวอย่างเรื่องง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน ที่เราสามารถทำกุศลกรรมได้ง่ายๆเช่น
ตัวอย่างที่ 1
เวลายืนรอคิวซื้ออาหารในฟู้ดเซ็นเตอร์ หรือในโรงอาหารสักแห่ง ขณะเรายืนรอคิวอยู่ หากมีคนแก่ หรือคนพิการ หรืออื่นๆ ที่ด้อยหรืออ่อนแอกว่าเรา ถ้าเราเสียสละให้พวกเขาเหล่านั้นลัดคิวไปก่อนเรา เราก็ได้ทำกุศลกรรม ที่เรียกว่า การเสียสละ แล้วครับ
กุศลกรรม ไม่ใช่มีแค่ผู้ให้เท่านั้นที่จะได้รับ แม้แต่ผู้รับก็สามารถได้รับกุศลกรรมเช่นกัน หากทำตามนี้
เช่น เมื่อเราเสียสละการรอคิวซื้ออาหารให้ผู้สูงอายุสักคนได้ซื้อก่อนเรา แล้วผู้สูงอายุ ผู้ที่ได้รับความเสียสละจากเรา ท่านได้กล่าวคำว่า ขอบคุณ หรือขอบใจแก่เรา
ขอบอกว่า!! ท่านผู้สูงอายุท่านนั้น ก็ได้ทำกุศลกรรมจากการกล่าวคำว่า ขอบคุณ แล้วเช่นกัน เมื่อได้กล่าวขอบคุณ ก็ได้บุญทันที
ตัวอย่างที่ 2
เวลามีใครถือของพะรุงพะรังจนของตกมาใส่เรา เขาหรือเธอรีบกล่าวคำขอโทษต่อเรา (เขาก็ได้บุญแล้ว)
แล้วถ้าเราก็ตอบกลับว่า ไม่เป็นไรครับ (เราก็ได้บุญจากการให้อภัยเช่นกัน)
แล้วถ้าเราก็รีบช่วยเขา ด้วยการหยิบของที่เขาทำตกคืนให้เขา (เราได้บุญอีกแล้ว) เขารีบกล่าวขอบคุณเรา (เขาก็ได้บุญอีกเหมือนกัน)
คุณผู้อ่านลองนับๆดูสิครับ ในตัวอย่างที่ 2 นี้ มีการทำกุศลกรรมไปมาต่อกัน และได้บุญไปกี่ต่อหรือกี่ครั้งแล้ว??
------------------------------
อานิสงส์ของการขอบคุณ ขอโทษ การเสียสละ และการให้อภัย
เมื่อเราขอบคุณเสมอ เราย่อมได้รับคำขอบคุณจากคนอื่นเสมอ ๆ เช่นกัน ทำให้เราเกิดมาย่อมทำคุณแก่ใครขึ้น ไม่ใช่ทำคุณไม่ขึ้น (ที่เรียกว่าทำคุณบูชาโทษ) ทำให้เราพ้นจากการถูกทรยศหักหลัง
เมื่อเรากล่าวคำขอโทษในความบกพร่องของเราต่อผู้อื่นอยู่เสมอ อานิสงส์ย่อมทำให้เราจะมีความผิดพลาดน้อยลง และจะมีคนเห็นอกเห็นใจเรามากกว่าสมเพช หรือสมน้ำหน้าเรา
อานิสงส์ของการเสียสละ ย่อมนำมาซึ่งความสะดวกแก่เรา หรือแม้แต่ในยามที่เราพบพิบัติภัย ก็จะมีคนมาช่วยเหลือเราได้ง่าย
อานิสงส์ของการให้อภัย กุศลกรรมนี้ยิ่งใหญ่นัก เพราะ เป็นกุศลกรรมหรือกุศลจิตที่ช่วยตัดภพตัดชาติให้เราได้เลยทีเดียวครับ นั่นก็คือ อโหสิกรรม
-------------
ขอย้ำในบทนี้อีกครั้งว่า จงทำความดี ทำบุญกุศลโดยไม่หวังผลตอบแทน (แม้กระทั่งผลบุญ) ย่อมได้กุศลสูงสุด
เพราะบุญที่ไม่หวังผล หากเราทำความดี บุญนั้นย่อมได้เองอยู่แล้ว โดยไม่ต้องหวัง
กุศลกรรมที่ทำโดยไม่หวังผล ย่อมเป็นบุญที่บริสุทธิ์ เพราะเกิดจากใจที่บริสุทธิ์ เมื่อใจบริสุทธิ์ ย่อมเกิดกำลังบุญมหาศาล
----------------------
ผู้ใหญ่ก็ขอโทษผู้เยาว์ได้นะ
ก่อนจบบทความ ผมขอเล่าฉากนึงในหนังญี่ปุ่นเรื่องนึง ขออภัยที่จำชื่อหนังเรื่องนั้นไม่ได้ แต่เป็นหนังที่เกี่ยวกับความรักของพ่อ โดยในวันพ่อในปีหนึ่ง ทางช่องไทยพีบีเอสได้นำหนังญี่ปุ่นเรื่องนี้มาฉาย
มีฉากนึง ที่พ่อได้ทำการคุกเข่าอย่างเป็นทางการเพื่อขอโทษลูกชายที่อายุแค่ 10 ขวบเท่านั้น
สาเหตุคือ ในวันเกิดลูกชายอายุครบ 10 ขอบ ขณะที่สองคนพ่อลูกกำลังกินอาหารเพื่อฉลองวันเกิดของลูกชายอยู่นั้น
จู่ ๆ พ่อก็ขยับตัวจากที่นั่งขัดสมาธิ เพื่อมานั่งคุกเข่าท่าเตรียม
แล้วพ่อก็เล่าว่า "ในวันที่แม่ของลูกตาย พ่อกลับบ้านดึกเพราะทำงานอยู่ในโกดัง จนแม่ต้องไปตามที่ทำงานของพ่อ แต่แล้วกองสินค้ากองโตก็เกิดล้มลงมาจะทับพ่อ แม่มาเห็นพอดี แล้วแม่ก็รีบวิ่งมาผลักพ่อให้พ้นออกไป จนสินค้าหล่นมาทับแม่เสียเอง ที่แม่ของลูกต้องตายมันเป็นความผิดของพ่อเอง พ่อขอโทษ"
แล้วพ่อก็ก้มหัวจนเกือบจะแนบพื้นเพื่อขอโทษลูกชาย
คลิกอ่าน การทำบุญทุกวันไม่ยาก ด้วยการอนุโมทนาบุญ
สรุปง่ายๆว่า บุญ คือ ความสุข และการทำบุญให้ได้ความสุขก็ไม่ใช่เรื่องยากเลยแม้แต่น้อย ใช่มั้ยคะพี่เอก
ตอบลบแจ๋วค่ะแวะมาทัก เข้าบ้านพี่เอกผ่านบ้านพี่นัทจ๋า จะค่อยๆอ่านบทความย้อนหลังไปเรื่อยๆนะคะ น่าสนใจดี ^^
แล้วนี่แจ๋วจะสมัครเป็นผู้ติดตามบทความดีๆแบบนี้ได้ยังไงล่ะเนี่ย
หนูแจ๋วไปที่หน้าแผงควบคุม จะมีเพิ่มบล้อคที่ฉันติดตาม ให้เอาurlของบล้อคเพิ่มเข้าไปครับ
ตอบลบเหมิอนกับว่าเราทำดีก็ได้สิ่งดีๆตอบแทนใช่มั้ยคะ
ตอบลบตัวอย่างที่สองจะเหมิอนคล้ายทำบุญร่วมกันเลยค่ะ ฟางคิดว่าเป้นกุศล บวกความประทับใจ แลัชื่นใจด้วยค่ะคุณเอก คนเราขอให้มีเจตนาดี เริ่องแค่นั้ทำไม่อยากเลยใช่มั้ยคะ
หวัดดีค่ะน้องแจ็วเดี็ยวพี่ฟางก็จะแวะบ้านน้องเเจ๋วเหมิอนกันค่ะ
คุณฟางครับ ได้อ่านความเห็นของคุูณฟางที่ไปแจ้งในอีเมล์แล้วครับ
ตอบลบแต่ผมแปลกใจว่าทำไมความเห็นของคุณฟางไม่ขึ้น
ผมก็เพิ่งเจอกรณีแบบนี้ครั้งแรกครับ
แวะเข้ามาอ่านเอาความรู้ใส่สมองครับ เป็นบทความที่ยอดเยี่ยมมากครับ ขอบคุณครับ
ตอบลบ