วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2553

หากเป็นพระต้องไม่ทำให้ใครเดือนร้อน





เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ผมอยากจะเล่ามานานแล้ว เกี่ยวกับวัตรปฏิบัติของพระ โดยจะขอยกตัวอย่างวัตรปฏิบัติของสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสีให้เห็นเป็นตัวอย่างครับ

---------------------

เรื่องหลวงพ่อโตติดแร้ว

เล่ากันว่าในการจาริกไปตามชนบทของหลวงพ่อโต ก่อนจะได้สมณศักดิ์เป็นสมเด็จพุฒาจารย์โต เพื่อหลบเลี่ยงการตั้งให้เป็นพระสมณศักดิ์ของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ คราวหนึ่ง เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้จาริกไปตามหมู่บ้านในชนบทแห่งหนึ่งทางภาคอิสาน

ในขณะที่ผ่านป่าละเมาะแห่งหนึ่ง ได้เห็นสัตว์ป่าชนิดหนึ่งติดแร้วอยู่ ท่านจึงได้ปลดปล่อยสัตว์ป่าตัวนั้นไป แล้วเอาขาของท่านเข้าไปใส่ไว้ในแร้วนั้นแทน

จบพลบค่ำ นายพรานได้มาเห็นพระแก่ๆ องค์หนึ่งมาติดแร้วของเขาอยู่ จึงได้ถามเรื่องราวว่า

"หลวงพ่อมาจากไหน? ทำไมจึงมาติดแร้ว?"

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้ตอบแก่ชายผู้นั้นว่า "อาตมภาพได้เดินทางผ่านมาทางนี้ และได้เห็นสัตว์ตัวหนึ่งติดแร้วของพ่ออยู่ อาตมภาพรู้สึกเวทนาสัตว์ที่น่าสงสารตัวนั้น จึงได้ปล่อยไปเสีย และเอาตัวของอาตมาเข้าจำนองไว้แทน สุดแต่พ่อจะเอาไปฆ่าแกงเถอะจ๊ะ"

เมื่อนายพรานได้ยินเช่นนั้น ได้บังเกิดความเลื่อมใสเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เจ้าพระคุณรีบจัดแจงปลดแร้วออก และนิมนต์ท่านไปที่บ้าน ทั้งจัดการต้อนรับอย่างดีที่สุด เจ้าพระคุณสมเด็จฯ จึงได้กล่าวขอบิณฑบาตชีวิตสัตว์ทั้งหลายไว้ นายพรานผู้นั้นก็รับคำทุก

ข้อมูลจาก http://www.lekpluto.org/monk/monk01.htm

--------------------------

จากกรณีที่ผมนำมาให้อ่านนั้น หากหลวงพ่อโตปล่อยสัตว์ให้หลุดจากแร้วไปเฉยๆ ก็จะทำให้หลวงพ่อโตได้ทำบุญจากการปล่อยสัตว์ แต่หลวงพ่อก็จะทำบาปเช่นกัน เพราะทำให้นายพรานต้องอดได้อาหารกลับบ้านเพื่อไปเลี้ยงดูครอบครัวของเขา

ซึ่งอาจทำให้หลวงพ่อโตปาราชิกได้ จากการขโมยทรัพย์ของผู้อื่น

จากตัวอย่างนี้ ผมเคยเห็นพระบางรูปออกมาประท้วงไม่ให้เบียร์ช้างเข้าตลาดหลักทรัพย์

แม้พระจะเห็นว่าการที่เบียร์ช้างเข้าตลาดหลักทรัพย์จะเป็นการสนับสนุนให้บริษัทเบียร์มีรายได้เพื่อมาทำกิจการมอมเมาประชาชนมากขึ้น จึงออกมาประท้วงไม่ให้เบียร์ช้างเข้าตลาดจนสำเร็จก็ตาม

แต่หารู้ไม่ว่า การกระทำเช่นนี้ก็ทำให้บริษัทเบียร์ช้างต้องได้รับผลกระทบเสียหายเช่นกัน ซึ่งตรงนี้พระจะเป็นการทำบาปไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เพราะบริษัทเบียร์ได้ทำอาชีพสุจริตตามกฏหมายบ้านเมือง แม้จะขัดหลักศีลธรรมก็ตาม

ผมพอจะจำได้ว่าการที่พระทำให้ผู้อื่นเกิดความเสียหายมีความผิดวินัยมาก อาจถึงขั้นขาดความเป็นพระได้เลย!!

พระพุทธอาณา (พุทธบัญญัติ)

ภิกษุถือเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้ได้ราคา ๕ มาสก(เท่ากับ1บาทเท่านั้น) ต้องอาบัติ ปาราชิก ตามสิกขาบทที่ ๒

“ภิกษุมีไถยจิตคิดเอาของผู้อื่นมาเป็นของๆตน ด้วยการขโมยมีราคาตั้งแต่ ๕ มาสก หรือราคาหนึ่งบาทขึ้นไปเป็นปาราชิก ถ้าไม่ถึง ๕ มาสก แต่มากกว่า ๑ มาสกเป็นอาบัติ ถุลลัจจัย ตั้งแต่ ๑ มาสกลงมาเป็นอาบัติทุกกฎ
ลักษณะที่จัดเป็นการถือเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้นั้น คือลักชิง หรือ วิ่งราว ลักต้อน(สัตว์เลี้ยง) แย่ง ลักสับเปลี่ยนคู่ ฉ้อ ยักยอก ตระบัด(นำของหนีภาษี) ปล้น หลอกลวง กดขี่หรือกรรโชก ลักซ่อน ภิกษุได้ทรัพย์มาด้วยอาการเหล่านี้เป็นอาบัติ

----------------------

ฉะนั้น พระจะดำรงความเป็นพระนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ โดยเฉพาะหากพระมายุ่งเกี่ยวกับการเมือง ก็อาจทำให้คนเดือดร้อนโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ได้ง่าย เพราะเรื่องการเมืองไม่มีใครถูกเสมอไปหรือใครผิดเสมอไป

หากพระเข้าไปยุ่งการเมืองโอกาสผิดและทำบาปโดยไม่รู้ตัวนั้นก็มีโอกาสมาก ทางที่ดีพระสอนให้ประชาชนรู้ธรรมะ ก็เท่ากับพระได้ช่วยประชาชนรู้เท่าทันการเมืองอยู่แล้วครับ ทางที่ดีพระอย่าไปยุ่งกับการเมืองเองจะดีกว่า

เพราะพระต้องพึงระลึกเสมอว่า การกระทำของพระไม่ควรไปทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนทั้งทางตรงทางอ้อม ก็ควรระวังให้มาก





2 ความคิดเห็น:

  1. ถึงแม้จะไม่ใช่เรื่องท่านหญิงอัตสึ
    แต่บทความที่นำมาให้อ่านก็เป็นเรื่องที่ดีค่ะ
    ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  2. ทุกวันนี้ผมยังทำใจที่จะต้องเลิกเขียนอัตสึไม่ได้เลย แต่ผมไม่มีเวลามาดูซ้ำ และไม่มีเวลาที่จะเขียนเรื่องอัตสึ เพราะต้องใช้เวลาเกี่ยวกับปัญหาครอบครัวที่ประสบอยู่มากครับ

    ตอบลบ

ถ้าแสดงความเห็นตรงช่องนี้ผมจะได้อ่านทุกความเห็นครับ แต่ถ้าความเห็นไม่ขึ้นอาจเพราะระบบรอตรวจสแปม ต้องรอ1-2วัน / ใหม่ เมืองเอก kaeake@ymail.com


ผู้ติดตาม