วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552

มองประชาธิปไตยจากหลายมุมโลก




เนื่องในโอกาสครบรอบ77ปีประชาธิปไตยไทย ก็ขอเขียนบทความสั้นๆเกี่ยวข้องกับประชาธิปไตยสัก2-3เรื่องรวมๆกันไปนะครับ

***************************************

ดูที่ฟิลิปปินส์ ในอดีต

เมื่อก่อนอดีตประธานาธิบดีเฟอร์ดินานท์ มากอส ก็เคยมาเป็นขวัญใจคนจนขวัญใจคนรากหญ้า grass roots(เหมือนอดีตนายกฯบางประเทศ) และเพราะคนจนรักมากอส ทำให้มากอสอยู่ในตำแหน่งยาวนานถึง31ปี ตั้งแต่ปีค.ศ.1965-1986

มากอสครองอำนาจยาวนาน และสร้างความมั่นคงในอำนาจจนยากที่จะมีใครล้มเขา ขนาดอดีตผู้นำฝ่ายค้านชื่อนายเบนิโย อาควิโน หลังลี้ภัยไปต่างประเทศยาวนาน แค่พอนายอาควิโนก้าวลงจากเครื่องบินก็โดนยิงตายทันที เมื่อปี2526

หากย้อนกลับไปสัก30กว่าปีก่อน ฟิลิปปินส์เจริญกว่าไทยพอสมควร จนมีคนไทยจำนวนมากก็เดินทางไปศึกษาต่อที่ฟิลิปปินส์ เช่นแอ๊ด คาราบาว เป็นต้น

ฟิลิปปินส์อดีตเมืองขึ้นอเมริกาและมีฐานทัพอเมริกาตั้งอยู่ วัฒนธรรมและความเจริญมากมายจากอเมริกาก็หลั่งไหลมาฟิลิปปินส์ก่อนใครๆในภูมิภาคแถบนี้

แต่เมื่อปธน.มากอส ขวัญใจคนจนผู้เป็นฮีโร่ของคนรากหญ้าจากนโยบายประชานิยม (คล้ายๆใครคนหนึ่ง) จึงครองอำนาจยาวนาน แถมมีอำนาจล้นเหลือ ก็น่าจะสร้างความเจริญให้แก่คนจนได้ไม่ยากถ้าตั้งใจจริง แต่ที่สุดแล้ว

ความโชคดีของคนรากหญ้าที่มีผู้นำอย่างมากอสที่ควรจะมีชีวิตดีขึ้น เพราะมากอสมีอำนาจมากมายสามารถกำหนดนโยบายเพื่อช่วยคนจนแบบยั่งยืนได้ แต่มากอสไม่ทำเท่าที่ควรจะทำ เพราะมากอสมัวแต่ใช้วิธีซื้อใจคนจนเป็นพักๆ ซื้อใจคนจนด้วยนโยบายแบบป้อนให้ ไม่ได้ช่วยให้คนจนรอดพ้นความยากจนได้อย่างยั่งยืน

คนจนฟิลิปปินส์ก็ยังไมรู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมที่มากอสคอยป้อนผลประโยชน์ให้ ทำให้มากอสก็ยังมีคนจนรักเขาอยู่อีกมากมายเหมือนเดิม

จึงทำให้จากประเทศที่เคยปลูกข้าวพอกินในประเทศ ฟิลิปปินส์กลับกลายเป็นประเทศที่ต้องนำเข้าข้าวจากต่างประเทศมากที่สุดประเทศหนึ่งในปัจจุบัน

ในที่สุดผ่านมาร่วม30กว่าปี ฟิลิปปินส์ก็กลายเป็นประเทศที่ล้าหลังกว่าประเทศประชาธิปไตยอื่นๆในภูมิภาคนี้ แถมความแตกต่างทางฐานะและชนชั้นก็มีมากขึ้นเรื่อยๆ คนจนก็จนลง คนรวยก็รวยเอารวยเอา

แถมมากอสก็โกงเอาโกงเอา รวยเอาๆ แต่ก็ยังยากทื่จะล้มมากอสได้ง่าย ในที่สุดกลุ่มชนชั้นกลางที่มีการศึกษาในเมืองเป็นส่วนใหญ่ก็ลุกขึ้นมาล้มมากอสได้ โดยการช่วยเหลือจากกองทัพที่เพิกเฉยต่อคำสั่งการปราบประชาชนของมากอส

ในที่สุดพลังประชาชนก็บุกเข้าไปถึงทำเนียบมากอส แต่มากอสหนีไปทัน และนั่นก็คือการล่มสลายของระบอบมากอส ทรราชย์ชื่อดังระดับโลกครับ

และหลังจากมากอสถูกล้มไปแล้ว ภรรยาอดีตผู้นำฝ่ายค้านนายเบนิโย อาควิโนที่ถูกลอบสังหาร ชื่อนางโคราซอน อาควิโนก็ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีต่อจากมากอสในที่สุดครับ
.
หากคนรากหญ้าฟิลิปปินส์ไม่งมงายรักมากอส จนเนิ่นนานเกินไป ในตอนนี้ฟิลิปปินส์อาจไม่ล้าหลังกว่าประเทศเพื่อนบ้านก็เป็นได้นะ
.
******************************************

สาธารณรัฐจีน

หลังจากเจียงไคเชค ล้มระบอบจักรพรรดิของราชวงศ์ชิงไปแล้ว ประเทศจีนในตอนนั้น ก็จะไม่มีชนชั้น หญิงชายเท่าเทียมกัน แต่นั่นก็เป็นแค่ทฤษฎีสวยหรูของประชาธิปไตยเท่านั้น

ประเทศจีนก็แค่เปลี่ยนจากชนชั้นขุนนางมาเป็นชนชั้นนักการเมืองเท่านั้น และนักการเมืองหลายๆคนก็มาจากขุนนางชิงเก่าๆนั่นเอง

ความร่ำรวยความฟุ้งเฟ้อยังมีอยู่ในชนชั้นเศรษฐีเหมือนเดิม ชนชั้นผู้ปกครองหรือนักการเมืองก็มีการเอื้อประโยชน์กับพ่อค้านายทุนเศรษฐีเหมือนเดิม

อำนาจก็แลกมาได้ด้วยเงินและผลประโยชน์เหมือนเดิม คนจีนจนๆก็ยังจนลงเหมือนเดิม คนจนยังเป็นแค่คนรับใช้คนรวยอยู่เหมือนเดิม ที่ดินทำกินคนจนก็ต้องขายให้คนรวยแทบทั้งนั้น

คนจนก็ยังยากที่จะลืมตาอ้าปากได้เหมือนเดิม ความอดอยากก็มีมากขึ้นในจีนประชาธิปไตย จนคนจีนต้องอพยพหนีความอดอยากไปแสวงหาแผ่นดินใหม่

ในที่สุดระบอบประชาธิปไตยก็ไม่สามารถตอบสนองความยากจนให้ชาวจีนที่ยากจนได้อย่างทันใจ สุดท้ายเหมาเจ๋อตุงก็ได้ปฏิวัติจีนล้มระบอบประธิปไตยลง เพื่อการจัดสรรแบ่งปันอย่างเสมอภาคปราศจากคนรวยและคนจน (ปธน.เจียงไคเชกพ่ายแพ้ต้องหนีไปเกาะฟอร์มอซาหรือไต้หวัน)
.
แม้ประธานเหมาฯจะล้มล้างระบบชนชั้นนักการเมืองและชนชั้นสูงร่ำรวยลง เพื่อความเท่าเทียมกันในสังคม แต่สุดท้ายเมื่อปราศจากชนชั้น ก็เลยกลายเป็นไม่มีชนชั้นคนรวยอีก (เลยเหลือแต่จนกันทั่วหน้าฮิๆ) และชนชั้นผู้ปกครองในพรรคอมมิวนิสต์จีน!?


แต่ไม่ใช่ประชาธิปไตยของคนจีนสมัยเจียงจะล้มเหลวซะทีเดียว เพราะเจียงไคเชคก็ไปสร้างประเทศใหม่ในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งตอนนี้ไต้หวันก็เจริญรุ่งเรืองกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้วในปัจจุบัน

แต่สำหรับจีนแผ่นดินใหญ่ในยุคนั้นยังไม่เหมาะกับระบอบประชาธิปไตย เพราะประชาชนจีนส่วนใหญ่ยังไร้การศึกษาในเรื่องประชาธิปไตย จึงทำให้ประชาธิปไตยในจีนแผ่นดินใหญ่ยุคนั้นยังเป็นประชาธิปไตยของนายทุนและนักการเมืองกังฉินเหมือนเดิม

เมื่อทรัพยากรมีจำกัด คนอดอยากมีมายมาย วิธีเดียวที่จะช่วยให้ชาวจีนแผ่นดินใหญ่พ้นความแร้นแค้นได้รวดเร็วที่สุด ก็คือระบอบคอมมิวนิสต์

ส่วนไต้หวันเป็นเกาะที่มีภูมิประเทศอุดมสมบูรณ์ ผู้คนก็มีไม่มาก การปกครองระบอบประชาธิปไตยของเจียงไคเชกจึงไม่ยากที่จะทำให้ประสบความสำเร็จได้ในที่สุด

ฉะนั้นเราควรมองอย่างวิเคาระห์ให้ดีอย่าเพิ่งด่าระบอบใดๆว่าไม่ดี เสียก่อนที่เราจะศึกษาให้รอบด้านก่อนนะครับ
.
(ช่วงนี้มีละครจีนเรื่องนึงทางช่อง3เรื่องตระกูลใหญ่ในม่านเมฆ คือตัวอย่างที่แสดงให้เห็นจีนยุคประชาธิปไตย)
.
อ่าน ครบ20ปีเทียนอันเหมิน อุทธาหรณ์ที่คนไทยต้องฉุกคิด


*****************************

มองดูประเทศเปรู

เมื่อ2-3อาทิตย์ที่ผ่านมา ผมเคยดูข่าวอันนึงที่ว่า คนยากจนในชนบทออกมาประท้วงรัฐบาลซึ่งมีคนรวยและชนชั้นกลางในเมืองหนุนหลังจนมีเกิดการปะทะกัน และตำรวจก็ใช้กำลังปราบคนจนที่มีอาวุธแค่จอบเสียม

รัฐบาลเปรูที่นำโดยชนชั้นกลางในเมือง เพราะรัฐบาลมักออกกฏหมายเข้าข้างคนรวยในเมืองให้ออกไปตักตวงทรัพยากรจากชนบทอย่างไม่ยุติธรรมแก่เกษตรกรในชนบท จนเกิดความเหลื่อมล้ำต่ำสูง

และเมื่อไม่กี่วันมานี้ ข่าวเปรูก็มีออกมาอีก คือบรรดาเกษตรกรเปรู ขึ้นไปบนเชิงเขาและกลิ้งก้อนหินหลากหลายขนาดลงมาขวางบนท้องถนนเป็นการประท้วงนโยบายรัฐบาล

สาเหตุที่เกษตรกรเปรูออกมาประท้วงก็เพราะ มีนายทุนเข้ามาซื้อสัมปทานแหล่งน้ำในเมืองนั้นไป จนชาวเมืองไม่พอใจที่ทรัพยากรของสาธาณะที่ประชาชนใช้ประโยชน์อยู่ อยู่ดีๆต้องมากลายเป็นของเอกชนไปซะแล้ว

จากที่ผมยกข่าวมาให้เห็นนั้น คุณผู้อ่านมองเห็นอะไรในประเทศสาธารณรัฐเปรูมั้ยครับ ประเทศเปรูก็เป็นประเทศประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดีประเทศหนึ่ง ที่ยังแก้ปัญหาความยากจนและชนชั้นไม่ได้เลยครับ
.
อ่าน เปรียบเทียบทักษิณกับฮูโก ชาเวซ ปธน.เวเนซูเอล่า


******************************

การประท้วงในอิหร่าน

ที่จริงผมมีตัวอย่างอยากจะยกอีกมาก แต่ขอลงท้ายที่อิหร่านแล้วกันครับ เพราะกำลังฮอตอยู่

ผมเคยยกตัวอย่างไปทีแล้วในบทความตอนเก่าๆ ว่า ผู้นำสูงสุดของอิหร่านคือผู้นำทางศาสนา และผู้นำทางศาสนาก็สามารถสั่งปลดประธานาธิบดีที่มาจาการเลือกตั้งได้ทันที หากประธานาธิบดีไม่ได้รับการไว้วางใจจากผู้นำ

อิหร่านนั้น เป็นประเทศที่มีผู้คนฉลาดมากชาติหนึ่ง เพราะพวกเขาคือชาวเปอร์เซียชนชาติที่ฉลาดชาติหนึ่งมานับพันปี และเพราะการที่อิหร่านไม่ถูกกับอเมริกามากๆ(ทั้งๆที่ก็เป็นประเทศประชาธิปไตยที่เข้มแข็งชาติหนึ่ง) จึงมีส่วนทำให้อิหร่านได้ถูกคว่ำบาตรจากประเทศตะวันตกหลายหน

คนอิหร่านจึงไม่ง้อเทคโนโลยีจากชาติตะวันตกเหมือนชาติอื่นๆในแถบอาหรับ อิหร่านสามารถผลิตเทคโนโลยีสูงๆได้ด้วยตัวเอง เช่นรถยนตร์ เครื่องบิน อาวุธ โค้ก เบียร์ไร้แอลกอออล์ เป็นต้น

เพราะอิหร่านคิดว่า หากอิหร่านต้องพึ่งพาตะวันตก สุดท้ายอิหร่านก็ต้องกลายเป็นเมืองขึ้นทางวัฒนธรรมแก่อเมริกาและตะวันตกในที่สุด

ชาติไหนที่ไม่ซูฮกแก่อเมริกานักเลงโต ก็มักจะโดนอเมริกากลั่นแกล้งหรือใส่ร้ายได้ เพราะอเมริกาคือเจ้าโลกทางด้านสื่อ ที่สามารถกลับดำเป็นขาว กลับขาวเป็นดำได้เสมอเพื่อผลประโยชน์ชาติตนเอง

และอาวุธที่อเมริกามักใช้ทำร้ายศัตรูอย่างได้ผลก็คือ เรื่อง สิทธิมนุษยชนและเสรีภาพ

ผู้คนส่วนใหญ่ที่อาศัยสื่ออเมริกา หากไม่เคยเข้าไปเห็นอิหร่านได้ด้วยตัวเอง หรือจากสื่อทางอาหรับแล้วล่ะก็ อาจจะไม่รู้เลยว่า อิหร่านมีเจริญทางเทคโนโลยีมากกว่าอีกหลายๆประเทศที่ซูฮกอเมริกาเสียอีก แถมเป็นเทคโนโลยีของตนเองไม่ใช่จากการใช้เงินซื้อมา (ปัจจุบันนี้อิหร่านสามารถส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศได้เองแล้วครับ)


ผู้หญิงอิหร่านก็มีสิทธิทางสังคมมากกว่าผู้หญิงในชาติแถวอาหรับอื่นๆมาก แต่อเมริกาไม่เคยเสือกไปยุ่งกับประเทศเหล่านั้น เพราะประเทศอาหรับเหล่านั้นซูฮกอเมริกา แต่อเมริกาเสือกจะยุ่งกับอิหร่านและอิรักแทน

และอิรักก็กลายเป็นเหยื่อที่อเมริกาได้เข้าไปทำลายแล้ว ทั้งๆที่ก่อนที่อเมริกาจะเข้าไป อิรักก็เป็นประเทศที่น่าอยู่ประเทศหนึ่ง และตอนนี้ก็มีตัวอย่างที่เห็นๆอันหนึ่ง คือนักข่าวอิรักคนหนึ่งเกลียดอเมริกาถึงขั้นปารองเท้าใส้หน้าปธน.บุชไปแล้ว และเขาก็กลายเป็นวีรบุรุษจากคนทั่วโลกที่ต่อต้านการบุกยึดอิรักจากนโยบายปธน.บุช

การประท้วงของคนอิหร่านในตอนนี้ แม้จะเริ่มจากการเชื่อว่ามีการโกงการเลือกตั้งปธน.ที่ผ่านมาก็ตาม แต่คนอิหร่านที่ผ่านมามักจะเชื่อฟังผู้นำสูงสุดทางศาสนามาตลอด ไม่ค่อยออกมาแสดงการต่อต้านแบบนี้ เว้นแต่ออกมาต่อต้านอเมริกา

แต่คราวนี้เริ่มไม่เหมือนเดิม ผู้เชี่ยวชาญหลายๆคนวิเคราะห์ว่า อาจมีสาเหตุจากการที่กระแสเสรีภาพจากตะวันตกเข้ามาสู่คนอิหร่านมากขึ้น ทำให้การประท้วงในอิหร่านคราวนี้รุนแรงเฉกเช่นประเทศที่คลั่งกระแสเสรีภาพในที่อื่นๆเหมือนกัน

*****************************

"การมีเสรีภาพนั้นต้องอยู่คู่กับกฏหมายที่ศักดิ์สิทธิ์ด้วย หากกฎหมายยังไม่ศักดิ์สิทธิ์ ก็จะยังมีการละเมิดสิทธิซึ่งกันและกันของคนในสังคมอยู่เสมอ

และผู้ละเมิดสิทธิคนอื่นก็มักจะถูกละเลยการลงโทษทางกฎหมาย จึงทำให้ประเทศนั้นก็จะมีเสรีภาพแต่เปลือก


มีแต่เสรีภาพเกินขอบเขต และเป็นเสรีภาพเชิงทำลาย ที่ริดรอนสิทธิซึ่งกันและกันกันเองของคนในสังคม"


ใหม่เมืองเอก
.
.
อ่าน มองอเมริกาแล้วต้องหยุดคิด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ถ้าแสดงความเห็นตรงช่องนี้ผมจะได้อ่านทุกความเห็นครับ แต่ถ้าความเห็นไม่ขึ้นอาจเพราะระบบรอตรวจสแปม ต้องรอ1-2วัน / ใหม่ เมืองเอก kaeake@ymail.com


ผู้ติดตาม