วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การบริหารจัดการน้ำในเขื่อนไม่ได้ผิดพลาด






มีหลายคนสงสัยว่า ทำไมน้ำในเขื่อนถึงล้น?

เมื่อช่วงก่อนฤดูฝน ไม่มีการเตรียมเขือนไว้รับน้ำหรืออย่างไร?  การบริหารจัดการน้ำในเขื่อนผิดพลาดหรืออย่างไร?

จนพวกเสื้อแดงบางคน เอาไปขยายความหลอกคนโง่ว่า พวกอำมาตย์แกล้งปล่อยน้ำเพื่อจะล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์

ซึ่งเป็นความคิดที่สารเลวมากๆ

วันนี้ผมได้ไปตัดข่าวเก่าๆ เกี่ยวกับสถานการณ์น้ำในช่วงต้นปี2554 มาเล่าให้คุณผู้อ่านรับทราบครับ

-----------------------

ข่าวแรก เป็นสถานการณ์ภัยแล้งเมื่อเดือนมีนาคม2554

วันนี้(24 มี.ค.2554) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เผยขณะนี้มีจำนวน 45 จังหวัดประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) แล้ว
นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า ขณะนี้มีจังหวัดประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) แล้ว จำนวน 45 จังหวัด 333 อำเภอ 2,257 ตำบล 21,888 หมู่บ้านราษฎรได้รับความเดือดร้อน 6,017,027 คน 1,664,989 ครัวเรือน ดังนี้
ภาคเหนือ 17 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร เชียงราย ลำพูน พะเยา อุตรดิตถ์ ลำปาง น่าน นครสวรรค์ แพร่ สุโขทัย ตาก เพชรบูรณ์ อุทัยธานี พิษณุโลก เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และพิจิตร
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 13 จังหวัด ได้แก่ อุดรธานี เลย หนองคาย อุบลราชธานี มุกดาหาร หนองบัวลำภู ขอนแก่น มหาสารคาม สกลนคร ศรีสะเกษ สุรินทร์ ชัยภูมิ และอำนาจเจริญ
ภาคกลาง 5 จังหวัด ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สระบุรี สมุทรปราการ และกาญจนบุรี
ภาคตะวันออก 7 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ตราด จันทบุรี สระแก้ว ระยอง ชลบุรี และนครนายก
ภาคใต้ 3 จังหวัด ได้แก่ สตูล ชุมพร และตรัง พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย 1,726,737 ไร่ แยกเป็น พื้นที่นา 725,545 ไร่ พื้นที่ไร่ 841,567 ไร่ พื้นที่สวน 159,625 ไร่
สำหรับการให้ความช่วยเหลือ ปภ.ได้แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภคแล้ว 39,952,690 ลิตร เครื่องสูบน้ำ 226 เครื่อง ซ่อมสร้างทำนบและฝายชั่วคราว 2,092 แห่ง ขุดลอกแหล่งน้ำ 178 แห่ง


จากข่าวแรก คุณผู้อ่านคงเห็นแล้วว่า ประเทศไทยในเดือนมีนาคมได้ประสบภัยแล้งอย่างหนักแล้ว

ซึ่งปี2554นี้ ภัยแล้งมาเร็วกว่าปกติมาก คือเริ่มแล้งมาตั้งแต่เดือนมกราคม2554แล้ว และลามมาเรื่อยๆตั้งแต่มกราคม จนถึง มีนาคม ที่เริ่มแล้งหนัก

ถามว่า ถ้าไม่มีเขื่อนช่วยยามแล้ง จะเอาน้ำที่ไหนใช้?

----------------------------

ข่าวที่2 สถานการณ์น้ำในเขื่อนในเดือนมิถุนายน2554

ปริมาณน้ำในเขื่อนต่างๆในเดือนมิถุนายน 54 เป็นปริมาณที่เหมาะสมในช่วงปกติ ส่วนใหญ่มีประมาณครึ่งเขื่อน ส่วนเขื่อนป่าสัก มีแค่39%เท่านั้น มีสำรองไว้เพื่อการทำนาในเดือนมิ.ย.-ส.ค. โดยปกติตามฤดูกาล

รายงานสถาณการณ์น้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ประจำวันที่ 1 มิถุนายน 2554
ระดับน้ำในอ่าง : + 38.85 ม.รทก.
ปริมาตรน้ำ : 381.35 ล้าน ลบ.ม.
ปริมาตรน้ำในอ่างคิดเป็น : 39.72 % ของความจุอ่างฯที่ระดับเก็บกักสูงสุด

รายงานสถาณการณ์น้ำเขื่อนภูมิพล ประจำวันที่ 1 มิถุนายน 2554
ระดับน้ำในอ่าง : +- ม.รทก.
ปริมาณน้ำในอ่าง : 6,947 ล้าน ลบ.ม.
คิดเป็น : 52 %  ของความจุอ่างฯที่ระดับเก็บกักสูงสุด
ปริมาณน้ำไหลลงอ่างทั้งหมดเท่ากับ : 24.01 ล้านลบ.ม.
ระดับน้ำด้านท้ายเขื่อนฯ : + - ม.รทก.
ปริมาณการระบายเวลา 06.00 น. อัตราการระบายน้ำ 1.50ล้าน ลบ.ม.


รายงานสถาณการณ์น้ำเขื่อนสิริกิติ์ ประจำวันที่ 1 มิถุนายน 2554
ระดับน้ำในอ่าง : + - ม.รทก.
ปริมาตรน้ำ : 5,049 ล้าน ลบ.ม.
ปริมาตรน้ำในอ่างคิดเป็น : 53 % ของความจุอ่างฯที่ระดับเก็บกักสูงสุด


ข้อมูลปริมาณน้ำในเขื่อนเดือนมิถุนายน จากเว็บ http://www.pasakdam.com/




และในปลายเดือนมิถุนายน54 มีอิทธิพล พายุไหหม่า เข้าภาคเหนือและอีสาน
ประมาณเดือนกรกฎาคม มีอิทธิพล พายุนกเต็น เข้าภาคเหนือและอีสาน

พายุทั้ง2ลูก คือจุดเริ่มต้นของน้ำปริมาณมาก และภัยน้ำท่วม ส่วนพื้นที่ใต้เขื่อนลงมาก็มีฝนตกมากมหาศาลแบบไม่เคยมีมาก่อน เขื่อนทั้ง3 และอีกหลายๆเขื่อนก็ได้ช่วยชลอน้ำไว้ไม่ให้ซ้ำเติมภาวะน้ำท่วมที่กำลังเกิดขึ้นอยู่แล้ว

ต่อมาในเดือนกันยายน มีอิทธิพลพายุไห่ถาง และพายุนาลเก เข้าถึง2ลูก!!

คุณผู้อ่านลองนึกภาพดูว่า ถ้าก่อนหน้านี้ไม่มีเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิต์มาช่วยรับน้ำไว้อีกประมาณ50%ของเขือน น้ำอีกนับหมื่นล้านลบ.ม.จาก2เขื่อนรวมกันลงมาทั้งหมด ป่านนี้มิยิ่งหนักกว่านี้เหรอครับ?? (นี่แค่เฉพาะเขื่อน2แห่งเท่านั้น ถ้ารวมเขื่อนอื่นๆด้วย จะมีน้ำลงมาอีกมากเท่าไหร่??)

------------------------------

ข่าวที่3 กรมชลประทานสั่งพร่องน้ำในเขื่อนป่าสักฯให้เหลือแต่30%

กรมชลฯ สั่งพร่องน้ำเขื่อนป่าสักฯ รับมือน้ำเหนือ-เตือนน้ำล้นตลิ่ง 10 ส.ค.54

นายวีระ วงศ์แสงนาค รองอธิบดีกรมชลประทาน ฝ่ายบำรุงรักษา เรียกหัวหน้าสำนักงานชลประทานจังหวัดในพื้นที่รับผิดชอบของ สชป.12 ทั้ง 6 หวัด ประกอบด้วย สำนักงานชลประทานจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา และสุพรรณบุรี รวมทั้งโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาฯ ร่วมหารือวางแผนรับน้ำเหนือที่จะกำลังจะมาถึงอีกประมาณ 10 วันข้างหน้านี้

นายวีระ กล่าวว่า จากการคาดการณ์ของทางสำนักอุทกวิทยาและบริหารน้ำ น้ำจากแม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน มีจำนวนมากที่รับจากเขื่อนสิริกิติ์ ซึ่งน้ำทั้งหมดดัง จะต้องไหลมารวมที่แม่น้ำเจ้าพระยา จึงได้มาหารือและให้ทุกโครงการช่วยกันวางแผนรับน้ำเหนือ โดยลำดับแรกให้ดำเนินการพร่องน้ำออกจากอ่างเก็บน้ำ โดยเฉพาะเขื่อนป่าสักให้เหลือน้ำน้อยกว่าร้อยละ 30 ส่วนเขื่อนเจ้าพระยาลดระดับน้ำท้ายเขื่อน จากระดับปกติที่ 16.00 ม.รทก. เหลือเพียง 14.80 ม.รทก. ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการแล้ว

ทางกรมชลประทานได้ออกประกาศเตือนประชาชนที่อยู่เหนือเขื่อนให้ระวังตลิ่งพังทลาย ก่อให้เกิดบ้านเรือนเสียหายที่เกิดจากน้ำลดระดับอย่างรวดเร็วแล้ว ทั้งจังหวัดอุทัยธานี และชัยนาท ขอแจ้งเตือนให้ทุกจังหวัดเตรียมรับมือน้ำเหนือที่กำลังจะมาถึงประมาณวันที่ 5-7 สิงหาคม นี้ และคาดการณ์ว่า ประมาณวันที่ 10 สิงหาคม น้ำที่ประตูระบาย จังหวัดนครสวรรค์ จะระบายถึง 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เขื่อนเจ้าพระยารับน้ำจำนวนนี้แล้วอาจต้องระบายถึง 1,900 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จึงขอให้ผู้ที่อยู่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา เตรียมขนของขึ้นที่สูง คาดว่าน้ำจะล้นตลิ่งในช่วงวันดังกล่าว

http://astv.mobi/AgWOPLG

------------------------------

ฉะนั้นเมื่อดูจากข่าวที่ผมได้นำมาเสนอให้คุณผู้อ่านได้เห็นนี้ เพื่อเป็นการยืนยันว่า การบริหารจัดการน้ำในเขื่อนเป็นไปอย่างถูกต้องแล้ว ช่วงฤดูทำนาเดือนพฤษภาคม ก็มีการเตรียมน้ำไว้พอประมาณเพื่อการทำนา

แต่เพราะปีนี้ฝนตกมาผิดปกติ ทำให้เขื่อนที่มีอยู่ไม่เพียงพอในการรับน้ำได้อีกแล้ว เพราะไม่เหลือป่าไม้ช่วยซับน้ำชลอน้ำไว้เลย

ในช่วงปลายเดือนมิถุนายน และกลางเดือนกรกฎาคม ทางเหนือมีอิทธิพลพายุเข้า2ลูก เขื่อนได้ช่วยชลอน้ำได้มากที่สุดแล้วครับ ถ้าไม่มีเขื่อนน้ำจะมาที่กรุงเทพฯเยอะกว่านี้อีกมากกว่า2-3เท่า กรุงเทพจมบาดาลแน่ครับ

ภาคเหนือมีแม่น้ำ4สายหลักคือ ปิง วัง ยม น่าน แต่มีเขื่อนที่รับน้ำจากแม่น่ำแค่3สาย คือ

เขื่อนภูมิพล รับแม่น้ำปิง

เขื่อนสิริกิ์ต รับแม่น้ำน่าน

เขื่อนกิ่วลม รับแม่น้ำวัง

ขาดเพียง แม่น้ำยม ที่ไม่มีเขื่อนคอยรับน้ำ เพราะมีกระแสต่อต้านอย่างหนัก ซึ่งปีนี้น้ำมาหนักที่แม่น้ำยมมากที่สุด ทำให้ประชาชนที่ประสบอุทกภัยออกมาเรียกร้องให้สร้าง เขื่อนแก่งเสือเต้น ครับ

-------------------------------

ก่อนจบบทความนี้ ผมจะขอย้อนไปดูสถานการณ์เขื่อนป่าสัก เมื่อปีที่แล้ว เพื่อให้เห็นชัดว่า ปริมาณฝนมากผิดปกติสามารถทำให้เขื่อนเต็มได้ในระยะเวลารวดเร็ว

ในเดือนกรกฎาคม2553 เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ น้ำแห้งจนวัวลงไปกินหญ้าได้ เพราะเหลือปริมาณน้ำในเขื่อนเพียง7%

แต่อีกไม่กี่เดือนต่อมา ในเดือนตุลาคม2553เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์กลับล้นเขื่อน!!

รูปเขื่อนป่าสักแห้งขอด จากมติชน


จึงขอสรุปว่า เขื่อนไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำท่วม แต่เพราะปีนี้ฝนมีมากมหาศาลจริงๆครับ

ส่วนที่มีหลายคนคิดว่า ถ้ากรุงเทพฯน้ำท่วม ต่างจังหวัดจะทุเลาลง ผมว่าไม่ค่อยถูกต้องนัก เพราะทั้งภาคกลาง ภาคเหนือ จังหวัดต่างๆในลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีพื้นที่รวมกันมากกว่ากรุงเทพตั้งเยอะ ต่อให้กรุงเทพฯน้ำท่วมทั้งกรุง น้ำในต่างจังหวัดก็ไม่ได้ลดลงแน่นอนครับ

เพราะปริมาณน้ำมีมากมายมหาศาล แต่กรุงเทพฯมีพื้นที่นิดเดียวเท่านั้น ถ้ากรุงเทพฯท่วม ผมว่าบ้านเมืองเข้าขั้นมหาวิกฤติแน่นอน!!

ในหลวงทรงเคยเปรียบเทียบไว้ว่า ประเทศชาติก็เปรียบเสมือนร่างกาย กรุงเทพฯก็คือหัวใจของประเทศ

ผมเองก็เชื่อเช่นนั้น เพราะถ้าหัวใจล้มเหลว ร่างกายก็อาจไม่รอดครับ แต่ถ้าตราบใดหัวใจยังแข็งแรง ก็ยังสามารถสูบฉีดความช่วยเหลือเยียวยาไปช่วยต่างจังหวัดได้ครับ โอกาสฟื้นฟูก็จะไม่ยากเกินกำลัง


(หมายเหตุ ตอนนี้เขื่อนภูมิพลปล่อยน้ำมากก็จริง แต่ไม่ได้ปล่อยน้ำทิ้งไปเปล่าๆ แต่ได้ใช้น้ำมาหมุนเดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าเต็มกำลังเช่นกัน ซึ่งในยามปกติเขื่อนภูมิพลไม่ค่อยได้ผลิตไฟฟ้าพลังน้ำมากเท่าไหร่แล้ว)


-----------------------

และแนะนำให้ย้อนไปอ่านอีกบทความสำหรับพวกนักอนุรักษ์ทั้งหลาย!!

v

v

คลิกอ่าน น้ำท่วมใหญ่ เหตุอาเพทที่คนไทยก่อเอง!!


อ่านการบริหารเขื่อนไม่ได้ผิดพลาดตอน2




3 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ

    แต่ขอถามอะไรหน่อย ข้องใจมานาน เพราะเห็นทั่งเสื้อแดงและเหลืองเอาประเดนนี้มาเล่นกันเยอะเลยไม่รู้ว่าข้อมูลจากใหนจะน่าเชื่อถือและเป็นกลางไปกว่านี้

    คือไม่รู้ว่าเขื่อนในประเทศไทย ก่อนหน้านี้มีการปล่อยน้ำ เป็นระยะๆหรือไม่ (ออกตัวไว้ก่อนว่าไม่ได้อยู่ประเทศไทยเลยไม่ค่อยตามข่าว) เพราะปีนี้ไม่ต้องให้บอกผมว่าคนทั่วไปที่อ่านข่าวก็คงรู้แล้วว่าน้ำจะต้องมาเยอะมาก คิดว่าคงไม่ใช่ปีนี้อย่างเดียว อากาศทั่วโลกมันเปรียน เราคงได้เห็นน้ำเยอะแบบนี้ หรือ อาจจะเยอะกว่านี้ ทุกๆปี
    หลายๆประเทศที่ภูมิภาคก็ท่วมกันให้เห็นๆ กรมอุตุดูข้อมูลของอากาศก็น่าจะรู้เหมือนกันว่าน้ำเยอะแน่นอน ผมงงว่าทำไมยไม่ทะยอยปล่อยกันออกมาเป็นระยะๆทุกวัน ตั้งแต่ตอนต้นหน้าฝน?
    สถานะการตอนนี้เหมือนกะว่าเก็บน้ำกันจนเกิน100 แล้วข้อยมาปล่อยน้ำออกกันตอนนี้ คือมันสายไปแล้ว

    เคยไปประเทศญี่ปุ่น เค้ามีภายุใต้ฝุ่นเข้าปีละเกือบ 20ลูก บางปีเกือบ 30 ไม่ใช่ภายุเด็กๆเหมือนประเทศไทย ที่ยังมีเวียดนาม เขมรกันให้ก่อน2ชั้น
    ที่ญี่ปุ่นเค้าก็ท่วม แต่ท่วมไม่เกิน 2-3ชม. ให้หนักจริงๆก็ไม่เกิน 2วัน แต่น้ำท่วมเมืองหลวงนี่ไม่ต้องฝันเลยครับ ผมเห็นเค้าระบายน้ำกันแบบทั้งวันทั้งคืนรอรับภายุ

    ประเทศไทยก็มีพื้นที่ติดทะเลมากมายที่ยังสามารถรองรับน้ำได้ เขื่อนก็มีมาก
    เวลาผมว่าก็มีพอ เพราะฝนมันไม่ได้เพิ่งมาตกเมื่อวานแล้ววันนี้เขื่อนเต็มเลย เรามีเวลาอย่างน้อยที่ผมเห็นๆก็ตั้งแต่ต้นหน้าฝน ซื่งปีนี้ก็มาเร็วด้วย ถ้าปล่อยระยะแรกแล้วเห็นน้ำมาเยอะ ทำไมยไม่ปล่อยระยะสอง-สาย-สี่ ไปเรือยๆ เพื่อรักษาระดับน้ำในเขื่อน ทำไมยบริหารน้ำกันไม่ถูกจุดหรืออย่างไร น้ำถึงท่วมเป็นเมตร ว่ากันเป็นเดือน

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ12 ตุลาคม, 2554 00:48

    ข้อมูล น้ำ ปัญหาเขื่อน การแก้ไข ครับ
    http://www/msuriyamas.blogspot.com

    ตอบลบ
  3. ตอบคุณ my note ว่า ไปอ่านบทความต่อไปที่

    http://akelovekae.blogspot.com/2011/10/blog-post_12.html



    .

    ตอบลบ

ถ้าแสดงความเห็นตรงช่องนี้ผมจะได้อ่านทุกความเห็นครับ แต่ถ้าความเห็นไม่ขึ้นอาจเพราะระบบรอตรวจสแปม ต้องรอ1-2วัน / ใหม่ เมืองเอก kaeake@ymail.com


ผู้ติดตาม