บทความต่อไปนี้ ผมเขียนจากความเข้าใจส่วนตัว หากผิดพลาดประการใด ขออภัยด้วยนะครับ หากมีผู้รู้มากกว่าจะมาช่วยชี้แนะ ก็เรียนเชิญ เพื่อความถูกต้องและช่วยกันจรรโลงพระพุทธศาสนา
--------------------------
เจ้าชายสิทธัตถะ หรือพระพุทธเจ้า ทรงทิ้งพระโอรสและพระชายา ผิดมั้ย??
หลังจากเจ้าชายสิทธัตถะ ได้แอบเสด็จออกไปเห็นสภาพชีวิตของประชาชนนอกเมืองแล้ว พระองค์ทรงรู้สึกว่า คนเรานั้นมีเกิด แก่ เจ็บ ตาย ซึ่งเป็นเรื่องของทุกข์ที่ไม่จบไม่สิ้น
เจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นสภาพความเป็นจริงของการมีชีวิต และการเกิดแล้วว่า เป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์ พระองค์จึงทรงปรารถนาหนีให้พ้นจากความทุกข์เหล่านี้ ด้วยการตัดสินพระทัยจะออกจากพระราชวัง เพื่อไปค้นหาหนทางดับทุกข์
ในวันที่พระองค์ทรงตัดสินใจจะออกจากพระราชวัง เป็นเวลาที่พระโอรสราหุลได้ประสูติ
เจ้าชายสิทธัตถะเมื่อได้ทราบว่า พระกุมารประสูติ ทรงเปล่งอุทานออกมาว่า "ราหุ ชาโต พันธนัง ชาตัง" แปลว่า "ราหุ (บ่วง) เกิดขึ้นแล้ว พันธนาการเกิดขึ้นแล้ว"
หมายความว่า พระกุมารที่ประสูติจะเป็นบ่วงร้อยรึงพระองค์ไว้กับภริยาและชีวิตฆราวาส ซึ่งพระเจ้าสุทโธทนะทรงเข้าใจว่า สิทธัตถราชกุมารทรงตั้งพระนามโอรสอย่างนั้น จึงทรงขนานนามพระภาคิไนย (พระเจ้าหลาน) ว่า "ราหุล" อันแปลว่า "บ่วง" (เฉพาะย่อหน้านี้จากวิกิพีเดีย)
---------------------
พวกต่างศาสนา และพวกนอกศาสนา มักโจมตีว่า เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงเห็นแก่ตัว เห็นแก่ประโยชน์ตัวเองฝ่ายเดียว ถึงทิ้งลูกทิ้งเมียไป
ผมขออธิบายว่า ถ้าเป็นสามัญชนทั่วไป การทิ้งลูกทิ้งเมีย ย่อมเป็นบาปแน่นอน
ส่วนกรณีของเจ้าชายสิทธัตถะ ถ้าทรงทิ้งพระโอรสทิ้งพระชายา ทิ้งพระบิดาไปจริง ๆ นั่นก็บาปเช่นเดียวกัน เพียงแต่ว่า ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นในภายภาคหน้าที่จะได้รับจากการสละความสุขทางโลกของเจ้าชายสิทธัตถะนั้น กลับจะเป็นผลดี เป็นผลบุญต่อทั้งพระโอรส พระชายา พระราชบิดา พระราชมารดา มากกว่าอย่างมหาศาล และยังเป็นประโยชน์เป็นคุณอนันต์ต่อสรรพสัตว์ทั้งหลายในสากลโลก ที่จะมีโอกาสได้เรียนรู้หนทางหลุดพ้นจากทุกข์ด้วยหนทางที่พระองค์จะทรงค้นพบ (ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของพระองค์ พระองค์ทรงเกิดมาเพื่อตรัสรู้)
เจ้าชายสิทธัตถะ หรือพระพุทธเจ้านั้น ได้ทรงบำเพ็ญบารมีแห่งพระโพธิสัตว์มาหลายภพหลายชาติหลายอสงไขย ทั้งพระราชมารดา พระราชบิดา พระชายา และพระโอรส ของเจ้าชายสิทธัตถะนั้น ก็ได้ร่วมกันบำเพ็ญกุศลสนับสนุนส่งเสริมพระบารมีแห่งพระโพธิสัตว์ร่วมกับเจ้าชายสิทธัตถะมาแล้วหลายภพหลายชาติ
ทุกๆ พระองค์ได้เคยเกิดมาเป็นพ่อแม่ เป็นเมีย เป็นลูกกับพระโพธิสัตว์มาหลายภพหลายชาติแล้ว เพื่อร่วมส่งเสริมให้พระโพธิสัตว์ได้สำเร็จมรรคผล และตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย
หากเราเป็นพ่อแม่คน เราคงรู็ดีว่า การที่ต้องตัดสินใจจากลูกจากเมีย จากพ่อแม่ นั้น ยากลำบากใจและทุกข์ใจขนาดไหน
แต่เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงมีพระสติปัญญาบารมีที่สั่งสมมาหลายภพหลายชาติ ที่จะทรงคิดได้ว่า ทุกข์จากการทิ้งลูกเมียตรงนี้ ยังไม่หนักหนาสาหัสเท่ากับทุกข์จากการเวียนว่ายตายเกิดมิรู้จบ
แล้วเจ้าชายสิทธัตถะจึงตัดสินใจละความสุขทางโลกของพระองค์ เพื่อไปแสวงหาหนทางดับทุกข์อย่างยั่งยืน เพื่อกลับมาช่วยพระญาติของพระองค์ นั่นจะเป็นสิ่งที่จะประเสริฐที่สุด
----------------
แม้พระนางยโสธรา หรือ พระนางพิมพาพระวรชายาของเจ้าชายสิทธัตถะ จะทรงเศร้าโศกเสียพระทัยที่เจ้าชายสิทธัตถะได้ละทิ้งพระองค์ไป แต่นั่นเพียงแค่ชั่วพริบตาเดียวที่ทรงรู้สึกเท่านั้น เพราะพระนางพิมพาได้ทรงร่วมบำเพ็ญบารมีส่งเสริมพระโพธิสัตว์มาหลายภพหลายชาติมาแล้วนับไม่ถ้วน
(เวลาแค่พริบตาเดียว หมายถึง พริบตาเดียวเมื่อนำไปเทียบกับเวลาในการเวียนว่ายตายเกิดในวีฎสงสาร ที่นานมากหาที่สุดมิได้)
พระนางยโสธราทรงร่วมทุกข์ร่วมสุขกับพระโพธิสัตว์มาแล้วนับชาติไม่ถ้วน ด้วยกุศลที่ทำมาร่วมกันนั้น ผลบุญจะช่วยน้อมนำให้พระนางพิมพาทรงรู้สึกปิติยินดีมากกว่าเสียพระทัย และพระองค์จะได้มหากุศลจากการร่วมอนุโมทนาบุญต่อการตัดสินพระทัยที่ยิ่งใหญ่ของเจ้าชายสิทธัตถะนั้นด้วย
อดีตชาติก่อนหน้าชาตินี้พระนางยโสธรา ได้เคยเกิดเป็นพระนางมัทรี พระชายาของพระเวสสันดร
ชาลีราชกุมาร โอรสของพระเวสสันดร ก็คือ พระราหุล
ส่วนกัณหาชินาราชกุมารี พระธิดาของพระเวสสันดร ก็คือ พระอุบลวรรณาเถรี เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีฤทธิ์เท่าพระโมคคัลลานะ
-----------------
ทีนี้ประเด็นทิ้งลูกทิ้งเมียบาปแค่ไหน ??
หากคนธรรมดา ทิ้งลูกทิ้งเมียให้ลำบาก ไม่อยู่ตอบแทนเลี้ยงดูคุณบิดามารดา นั่นคงเป็นบาปหนักพอควร
แต่ในกรณีของเจ้าชายสิทธัตถะที่ทรงทิ้งพระชายา และพระโอรส นั้น ทั้งพระชายา และพระโอรสจะไม่ทรงลำบากกายใด ๆ เลย เพราะเป็นหน่อเนื้อเชื้อกษัตริย์ ที่จะมีความสุขสบายไปได้ตลอดชีวิต บาปกรรมส่วนนี้จึงนับว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับบุญกุศลที่ทุก ๆ พระองค์จะได้รับจากการร่วมกันส่งเสริมสนับสนุนให้เจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
นี่จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ ผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จะต้องมาประสูติในวรรณะกษัตริย์ เพื่อจะได้ไม่ให้พ่อแม่ ลูกเมีย ต้องลำบาก หากพระองค์ไม่ได้อยู่เพื่อส่งเสียเลี้ยงดู
------------------------
สรุปความจริงกว่า !!
แต่ความจริงที่เรามองว่า เจ้าชายสิทธัตถะทรงทิ้งลูกทิ้งเมียนั้น มันคือการคิดแบบปุถุชนที่ยังเต็มไปด้วยกิเลสที่คิดไปเองตามที่สติปัญญาอันน้อยนิดจะคิดได้ ว่าการอยู่เสวยสุขในพระราชวังคือความสุขที่แท้จริง เฉกเช่น หนอนแมลงวันมีความสุขอยู่บนกองอุจจาระ
เพราะความจริงเจ้าชายสิทธัตถะไม่ได้ทรงทิ้งพระชายาและพระโอรสเลย แต่พระองค์ทรงหลีกออกจากความสุขจอมปลอม เพื่อไปค้นพบหนทางหมดทุกข์หรือไปค้นพบความสุขที่เที่ยงแท้ เพื่อกลับมาช่วยลูกเมียและพระประยูรญาติทั้งหลายของพระองค์ให้พ้นทุกข์จากการเวียนว่ายตายเกิดต่างหาก
-----------------------
เจ้าชายสิทธัตถะไม่ได้ขออนุญาตพระราชบิดาเพื่อไปบวชหรือไม่ ?
คลิกอ่านรายละเอียดเรื่อง เจ้าชายสิทธัตถะหนีไปบวชโดยไม่ขออนุญาตพระราชบิดาจริงหรือไม่
สาธุ ค่ะ ภายหลัง พระนางพิมพาก็บรรลุอรหันต์และกราบทุลลาพระบรมศาสดาเสด็จดับขันธปรินิพพานไปก่อน.
ตอบลบแนะนำให้อ่านอันนี้ค่ะ อรรถกถาค่ะ
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27.0&i=0&p=6
ขอบคุณอาจารย์นัทครับ ^^
ตอบลบเพราะคำพูดที่บอกว่า "ประโยชน์ในภายหน้าที่จะได้รับ"
ตอบลบหมายความว่า บาป ได้เกิดขึ้นแล้ว แต่สามารถลบล้างได้ด้วยการทำประโยชน์ให้ (ซึ่งถ้าพระพุทธเจ้า ไม่ตรัสรู้ในชาตินั้น แปลว่าบาปนั้นยังคงอยู่ ใช่หรือไม่ครับ)
และจากย่อหน้าสุดท้าย แปลได้ว่า พระพุทธเจ้าทำบุญในชาติก่อนๆมาไว้ เพื่อให้ตัวเองได้เกิดในวรรณะกษัตริย์
หมายความว่า ถ้าพระพุทธเจ้า ไม่ทำบุญไว้ในชาติก่อนๆ แสดงว่า สิ่งที่พระพุทธเจ้าทำนั้น จะกลายเป็นบาปอย่างแน่นอน
สรุปแล้วก็คือ บาปที่พระพุทธเจ้าทำนั้นเกิดขึ้นจริง และสิ่งที่พระพุทธเจ้าทำคือ ทำบุญเพื่อนิรโทษกรรมให้กับตัวเอง ถูกหรือเปล่าครับ?
ขอตอบคุณข้างบนที่ถามครับ
ตอบลบบาปที่เกิดขึ้นน้อยมากครับ เหตุผลตามที่ผมอธิบายไว้แล้ว และบาปไม่สามารถลบล้างได้ครับ เพียงแต่ว่า บุญนั้นเยอะกว่ามากๆ
ขอยกตัวอย่างแบบที่นิยมยกกันนะครับ
ถ้าบุญคือน้ำ1แก้ว บาปคือเกลือ1ช้อนชา
ถ้าเราทำบุญเยอะมากๆ ก็เปรียบเสมือนเพิ่มจำนวนน้ำลงไปให้มากขึ้น
ถ้าบาปยังเท่าเดิมคือ1ช้อนชา แต่บุญที่เปรียบเหมือนน้ำ มีมากขนาด1โอ่ง
เกลือ1ช้อนชา ในน้ำ1โอ่ง เราจะไม่ทราบถึงรสเค็มเลยใช่มั้ยครับ
แต่ถ้าเกลือ1ช้อนชา ยังอยู่ในน้ำ1แก้วเหมือนเดิม เราจะรู้สึกถึงรสเค็มได้ใช่มั้ยครับ??
พอเข้าใจรึยังครับ ว่าทำบุญเยอะๆ สามารถลดทอนกำลังของกรรมได้
และไม่ว่าจะเกิดเป็นกษัตริย์หรือคนธรรมดา เศรษฐีหรือยาจก ถ้าทิ้งลูกเมียก็บาปทั้งนั้นครับ
เจ้าชายสิทธัตถะทิ้งลูกเมียก็บาปครับ แต่น้อยมากๆ เพราะลูกเมียเข้าใจความสำคัญในการออกบวชของพระองค์ เพราะบุญกุศลที่ทุกคนเคยร่วมทำกันมาครับ
พอเข้าใจรึยังครับ??
เห็นด้วยค่ะเพราะมีเหตุผลที่ดีน่าฟังสรุปว่าทุกศาสนาสอนให้คนเป็นคนดีแต่ถ้าผู้ชายละทิ้งครอบครัวไปบวชก็บาปมากเพราะไม่ได้ศรัทธาในพุทธศาสนาขนาดนั้นแต่กลับเป็นการท้อแท้สิ้นหวังหรือว่าผุ้ชายอ่อนแอหรือเกาะผ้าเหลืองกินได้มั้ยแล้วศาสนากับสถาบันครอบครัวบทบัญญัติ10ประการมีไว้ให้ผู้ครองเรือนปฏิบัติในทางที่ดีแต่ทางศาสนามีข้อกำหนดเงื่อนไขหรือคุณสมบัติของนักบวชหรือไม่กรณีละทิ้งละเลยต่อครอบครัวกฏหมายเอาผิดได้หรือไม่อยากรู้จัง
ตอบลบตามปกติ ในระหว่างการบวช ถ้ามีใครมาคัดค้านการบวชนั้น พระอุปัชฌาย์อาจจะหยุดบวชได้ครับ
ตอบลบและบุคคลที่ห้ามบวชมีดังนี้
๑) ทรงห้ามบวชคนเป็นโรคติดต่อ
๒) ทรงห้ามบวชราชภัฏ
๓) ห้ามบวชโจรที่ขึ้นชื่อโด่งดัง
๔) ห้ามบวชโจรหนีเรือนจำ
๕) ห้ามบวชโจรผู้ถูกออกหมายสั่งจับ
๖) ห้ามบวชบุรุษผู้ถูกเฆี่ยนด้วยหวาย
๗) ห้ามบวชบุรุษผู้ถูกสักหมายโทษ
๘) ห้ามบวชคนมีหนี้
๙) ห้ามบวชทาส
๑๐) ห้ามคนอายุน้อยกว่า ๒๐ ปีบวช
๑๑) ห้ามบวชบุตรที่มารดาบิดาไม่อนุญาต
๑๒) ห้ามบัณเฑาะก์มิให้อุปสมบท
๑๓) ห้ามคนลักเพศและคนเข้ารีดมิให้อุปสมบท
๑๔) ห้ามบวชสัตว์ดิรัจฉาน (นาคแปลงกายเป็นมนุษย์มาขอบวช)
๑๕) ห้ามคนฆ่ามารดามิให้อุปสมบท
๑๖) ห้ามคนฆ่าบิดามิให้อุปสมบท
๑๗) ห้ามคนฆ่าพระอรหันต์มิให้อุปสมบท
๑๘) ห้ามอุปสมบทคนประทุษร้ายภิกษุณี
๑๙) ห้ามอุปสมบทอุภโตพยัญชนก
๒๐) ไม่พึงบรรพชาคนเท้าด้วน
๒๑) ไม่พึงบรรพชาคนทั้งมือและเท้าด้วน
๒๒) ไม่พึงบรรพชาคนหูขาด
๒๓) ไม่พึงบรรพชาคนจมูกแหว่ง
๒๔) ไม่พึงบรรพชาคนทั้งหูขาดทั้งจมูกแหว่ง
๒๕) ไม่พึงบรรพชาคนนิ้วมือนิ้วเท้าขาด
๒๖) ไม่พึงบรรพชาคน ง่ามมือง่ามเท้าขาด
๒๗) ไม่พึงบรรพชาคนเอ็นขาด
๒๘) ไม่พึงบรรพชาคนมือเป็นแผ่น
๒๙) ไม่พึงบรรพชาคนค่อม
๓๐) ไม่พึงบรรพชาคนเตี้ย
๓๑) ไม่พึงบรรพชาคนคอพอก
๓๒) ไม่พึงบรรพชาคนเท้าปุก
๓๓) ไม่พึงบรรพชาคนมีโรคเรื้อรัง
๓๔) ไม่พึงบรรพชาคนมีรูปร่างไม่สมประกอบ
๓๕) ไม่พึงบรรพชาคนตาบอดข้างเดียว
๓๖) ไม่พึงบรรพชาคนง่อย
๓๗) ไม่พึงบรรพชาคนกระจอก
๓๘) ไม่พึงบรรพชาคนเป็นโรคอัมพาต
๓๙) ไม่พึงบรรพชาคนมีอิริยาบถขาด
๔๐) ไม่พึงบรรพชาคนชราทุพพลภาพ
๔๑) ไม่พึงบรรพชาคนตาบอดสองข้าง
๔๒) ไม่พึงบรรพชาคนใบ้
๔๓) ไม่พึงบรรพชาคนหูหนวก
๔๔) ไม่พึงบรรพชาคนทั้งบอดและใบ้
๔๕) ไม่พึงบรรพชาคนทั้งบอดและหนวก
๔๖) ไม่พึงบรรพชาคนทั้งใบ้และหนวก
๔๗) ไม่พึงบรรพชาคนทั้งบอดใบ้และหนวก