วันอาทิตย์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2553

อธิบายอย่างง่าย กรณีขึ้นทะเบียนเขาพระวิหาร! ตอน2





.

ย้อนอ่านตอนแรก

และแล้วการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่บราซิล ก็มีมติให้เลื่อนการพิจารณาแผนการจัดการพัฒนาพื้นที่รอบปราสาทเขาพระวิหารของเขมรออกไปอีก1ปี

โดยที่ข้อคัดค้านของไทยคือการใช้ข้อตกลงร่วมหรือMOU43 ว่า เมื่อยังไม่มีการปักปันอย่างชัดเจน การขึ้นทะเบียนมรดกโลกของเขาพระวิหารจะทำให้2ประเทศเกิดความขัดแย้งเรื่องอาณาเขต ซึ่งอาจถึงขั้นเกิดสงครามได้ และอีกข้อคือ เขมรส่งแผนจัดการไม่ทันกำหนดตามระเบียบของคณะกรรมการมรดกโลก

แต่การที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ใช้MOU43ในการดำเนินการคัดค้านนั้น เป็นเพียงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น เพราะรัฐบาลอภิสิทธิ์ยังยอมรับข้อตกลงMOU43ว่ายังคงอยู่ ทั้งๆที่เขมรได้ละเมิดข้อตกลงด้วยการละเมิดบุกรุกเข้าพื้นที่ก่อนมีการปักปันตามข้อตกลง

ปัญหาMOU43ที่แนบด้วยแผนที่1:200,000 ก็ยังคงอยู่ ถ้ารัฐบาลยังยอมรับต่อไป สักวันปัญหาMOU43ก็จะกลับมาเป็นปัญหาอีกในที่สุด

MOU43 ที่ทำขึ้นในสมัยรัฐบาลชวนนั้น มีสาระสำคัญโดยสรุปอยู่ข้อหนึ่งที่กำหนดให้ใช้แผนที่1:200,000ของฝรั่งเศส นั่นคือ

"1. พื้นฐานทางกฎหมาย การสำรวจและปักหลักเขตแดนทางบกจะดำเนินกากรโดยใช้เอกสารหลักฐานที่ผูกพันไทย และกัมพูชาตามกฎหมายระหว่างประเทศ คืออนุสัญญาฉบับลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1904 และ สนธิสัญญาฉบับลงวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 กับพิธีสารแนบท้าย และแผนที่แสดงเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชามาตราส่วน 1:200,000 ซึ่งจัดทำขึ้นตามผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน"


จากข้อความตัวอักษรสีน้ำเงิน จะเห็นความขัดแย้งในตัวเอง คือมีการระบุว่าจะใช้อนุสัญญาปีค.ศ.1904 ซึ่งอนุสัญญานี้คือให้ยึดหลักเส้นสันปันน้ำ แต่ก็ยังมีระบุต่อไปอีกว่า จะใช้แผนที่1:200,000ด้วย ซึ่งแผนที่1ต่อ2แสนนี้ ไม่ได้ทำตามหลักแบ่งตามเสันสันปันน้ำเลย?? งง!ดีแท้?

แต่การทำMOU43 สมัยนายกฯชวน นั้นไม่ได้ผ่านรัฐสภา จึงทำให้ขัดต่อรัฐธรรมนูญ (น่าจะให้ศาลตัดสินให้โมฆะไป)

แต่สมัยนายกฯสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้ผ่านความเห็นชอบกรอบการเจรจาระหว่างไทย-กัมพูชาและเห็นชอบตามบัญชีเอกสาร TOR 2546 และ MOU 2543 อันเป็นการยอมรับ แผนที่ 1 ต่อ 200,000 ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาครั้งแรก

และการที่ยังยอมรับแผนที่1:200,000 อยู่นี้ ก็เท่ากับว่าเรายอมให้เขมรเข้ามามีส่วนในการปักปันเขตแดนด้วย ทั้งๆ ที่ก่อนปี2543 พื้นที่นี้อยู่ในอำนาจอธิปไตยของไทย100%

เมื่อรัฐบาลยังยอมรับในMOU43ที่พ่วงแผนที่1:200,000อยู่ ดังนั้นจากพื้นที่ของไทย100%ไม่มีคำว่าทับซ้อนมาก่อน ก็จะกลายเป็นพื้นที่ทับซ้อนขึ้นมาทันที

----------------------------------

หลายคนอาจคิดว่าโห!รัฐบาลใช้MOU43 หยุดการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารได้ นั่นเป็นเพียงการหยุดปัญหาเฉพาะหน้า แตยังไม่หยุดต้นเหตุของปัญหา

แต่ก็ยังดี ที่ยังพอมีเวลาอีก1ปีในการหาหนทางแก้ไข


(MOU43 ยกเลิกไม่ยากหรอก เพราะเขมรบุกรุกเข้ามาในพื้นที่ก่อนจะมีการปักปันตามข้อตกลง แต่ตอนนี้รัฐบาลอภิสิทธิ์ใช้วิกฤติจากการมีMOU43 มาใช้ยับยั้งเขมรก่อน)


-----------------------------

บทสรุปของบทความอธิบายกรณีเขาพระวิหารของผมทั้ง2ตอน ประเด็นสำคัญที่สุดคือ

ประเด็นความผิดพลาดของปชป.ในปี43 ไม่ใช่ประเด็นว่าใช้แผนที่ฉบับไหน!

แต่ประเด็นที่ผิดพลาดก็คือ
รัฐบาลชวนไปยอมรับว่าพื้นที่นั้นเป็นพื้นที่ทับซ้อนต่างหาก 


เพราะความเป็นจริงหลังปี2505 จนถึงก่อนปี2543 พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ในอธิปไตยไทยแท้100% ไม่ใช่พื้นที่ทับซ้อนครับ 

การที่รัฐบาลชวนไปยอมตกลงปักปันเขตร่วมแดนกับกับเขมร ก็หมายถึงเปิดโอกาสให้เขมรมีสิทธิในพื้นที่นี้ร่วมกับเราครับ


ประเด็นการแก้ปัญหาที่ผิดของรัฐบาลชวนก็คือ กลัวสงครามเลยไปยอมทำข้อตกลง43ขึ้นมา

ที่ถูกต้องที่สุดที่รัฐบาลและกองทัพควรทำที่สุดในตอนนั้นคือ ช่วงที่เขมรบุกรุกบริเวณพื้นที่รอบเขาพระวิหาร4.6ตร.กม. เราควรใช้กำลังทหารผลักดันออกไปเท่านั้น!!



" นิสัยหมาป่าที่จะกินลูกแกะ ฝรั่งเศสได้คืบเอาศอก ได้ศอกจะเอาวา เมื่อไทยยอม ตามข้อบังคับของฝรั่งเศสแล้ว ฝรั่งเศสก็เฉไฉไปหาเรื่องอย่างอื่น "


อ่านต่อตอน3



.

3 ความคิดเห็น:

  1. สัญญาว่าด้วยปักปันเขตร์แดน ติดท้ายหนังสือ
    สัญญาลงวันที่ ๒๓ มีนาคม รัตนโกสินทรสก ๑๒๕

    http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2450/014/344_1.PDF

    ตอบลบ
  2. ผมเจอไฟล์อนุสัญญาค.ศ.1904 แต่ไฟล์มีข้อบกพร่องเลยดูได้เพียงข้อตกลงข้อ1 แต่ก็มีกล่าวถึงการใช้ัสันปันน้ำ

    http://www.mfa.go.th/internet/document/treaty/attach1.pdf

    ตอบลบ
  3. จากเว็บไซด์กระทรวงการต่างประเทศ

    กรอบการเจรจาด้านการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกไทย-กัมพูชา ตลอดแนว
    ในกรอบของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา และกลไกอื่นๆ ภายใต้กรอบนี้

    ให้คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา เจรจากับฝ่ายกัมพูชาเพื่อดำเนินการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกระหว่างราชอาณาจักรไทยกับราชอาณาจักรกัมพูชาให้เป็นไปตามเอกสารต่อไปนี้


    1. อนุสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศส แก้ไขข้อบทเพิ่มเติมข้อบทแห่งสนธิสัญญา ฉบับลงวันที่ 3 ตุลาคม ร.ศ. 112 (ปี ค.ศ. 1893) ว่าด้วยดินแดนกับข้อตกลงอื่นๆ ฉบับลงนาม ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 122 (ปี ค.ศ. 1904)

    2. สนธิสัญญาระหว่างพระเจ้าแผ่นดินสยามกับประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ฉบับลงนาม ณ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ร.ศ. 125 (ปี ค.ศ. 1907) กับพิธีสารว่าด้วยการปักปันเขตแดนแนบท้ายสนธิสัญญา ฉบับลงวันที่ 23 มีนาคม ร.ศ. 125 (ปี ค.ศ. 1907)

    3. แผนที่ที่จัดทำขึ้นตามผลงานการปักปันเขตแดนของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน ที่จัดตั้งขึ้นตามอนุสัญญาฉบับปี ค.ศ. 1904 และ สนธิสัญญาฉบับปี ค.ศ. 1907 กับเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้อนุสัญญาฉบับปี ค.ศ. 1904 และสนธิสัญญาฉบับปี ค.ศ. 1907 ระหว่างสยามกับฝรั่งเศส



    http://www.mfa.go.th/web/2896.php?id=3432

    ตอบลบ

ถ้าแสดงความเห็นตรงช่องนี้ผมจะได้อ่านทุกความเห็นครับ แต่ถ้าความเห็นไม่ขึ้นอาจเพราะระบบรอตรวจสแปม ต้องรอ1-2วัน / ใหม่ เมืองเอก kaeake@ymail.com


ผู้ติดตาม