จากกรณีการประหารชีวิตนักโทษรายล่าสุดของไทยในรอบ 9 ปี พ.ศ. 2560
แม่ของเด็ก ม.5 ที่ถูกแทง 24 แผลจนเสียชีวิต บอกว่า
ทำใจยังไม่ได้ที่สูญเสียลูก
แต่พอนักข่าวถามถึง ผู้ต้องหาถูกประหารชีวิตไปแล้ว รู้สึกยังไง
แม่ของเด็ก ม.5 ตอบว่า
ก็ขออโหสิกรรมให้เขา เพราะเขาก็ได้ตายชดใช้ความผิดไปแล้ว
--------
ผมมองว่า คดีรุนแรงฆ่ากันตายต่าง ๆ จนเหยื่อเสียชีวิต
ที่ผ่านมา คนเป็นพ่อแม่จำนวนไม่น้อยที่รู้สึกเหมือน
ไม่ได้รับความยุติธรรม เพราะตัวเองต้องสูญเสียคนที่รักไปตลอดกาล
ในขณะที่คนร้ายกลับยังมีชีวิตอยู่ แล้วเผลอ ๆ อาจได้ออกจากคุกในเวลาไม่นาน
จึงมีผู้ที่สูญเสียจำนวนไม่น้อยที่ไม่อาจ
อโหสิกรรมให้คนร้ายได้ เพราะเหมือนตัวเองยังไม่ได้รับความยุติธรรมจากสังคมและกฎหมาย
แต่เมื่อคนร้ายถูกประหารชีวิตไปตามโทษทัณฑ์ทางกฎหมายแล้ว ญาติของเหยื่อผู้สูญเสียถึงได้รู้สึกว่า พวกเขายังพอได้รับความเป็นธรรมบ้าง
ก็เลยเริ่มรู้สึกปล่อยวางได้ เริ่มจะอโหสิกรรมให้คนร้ายได้ ไม่งั้นญาติของเหยื่ออาจต้องทนทุกข์ทรมานใจไปตลอดชีวิต
เพราะไม่สามารถอโหสิกรรมให้คนร้ายและกระบวนการยุติธรรม
เฮงซวยนี้ได้
-----------
เจตนาของการประหารชีวิตจริง ๆ จึงไม่ใช่หวังให้คนกลัวการกระทำผิดเท่านั้น
แต่
เจตนาหลักของการประหารชีวิตจริง ๆ ก็คือ
เพื่อให้เกิดความยุติธรรมของทุกคนทุกชีวิตที่ต้องสูญเสียอย่างเท่าเทียมกันให้ได้มากที่สุด
แต่พวกเพี้ยนที่ชอบปกป้องฆาตกรมากกว่าเห็นใจคนดีที่ตกเป็นเหยื่อ
เพราะภาษีชาติมีไว้ปกป้องชีวิตคนดี ไม่ใช่มีไว้เลี้ยงดูฆาตกรโหดให้อยู่เปลืองภาษีของคนดีนาน ๆ ในคุก
----------------
ปัญหาอาชญากรรมรุนแรงในไทย เหตุเพราะไม่ลงโทษอย่างจริงจัง
หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ประเทศไทยเพิ่งประหารชีวิตนักโทษจนถึงวันนี้ไปแค่ 320 คนเท่านั้น
หา !! ผ่านมา 80 กว่าปี จากประชากร 20 ล้านคน จนมีประชากร 72 ล้านคน ไทยเพิ่งประหารนักโทษไปแค่ 300 กว่าคนเท่านั้นเองรึ
ผมว่า ตัวเลขนี้มันบอกเลยว่า นี่คือ ปัญหาของประเทศไทย นั่นคือ ถ้าไทยคิดจะใช้โทษประหารชีวิต ก็ต้องใช้ให้มันจริงจัง แบบที่พวกประเทศโลกมุสลิมเขายังใช้
แต่ที่ผ่านมา ประเทศไทยใช้แบบกล้า ๆ กลัว ๆ มาตลอด จนคุกล้นแออัด
หรือแม้แต่ประเทศญี่ปุ่น เขาก็ยังใช้โทษประหารชีวิตด้วยการแขวนคออยู่ในปัจจุบัน อ้างอิง
https://bit.ly/2JRR7Zj
พวก
แอมเนสตี้ทั้งหลาย อย่ามาอ้างตัวเลขการวิจัยในต่างประเทศว่า
โทษประหารไม่ได้ช่วยให้คดีอาชญากรรมรุนแรงลดลง
ผมเคยเขียนในบทความเก่าว่า
"ไทยเราควรทดลองจริง ด้วยการใช้โทษประหารอย่างจริงจังไปสัก 10 ปีดูสิ แล้วมาดูกันว่า จะช่วยลดจำนวนคดีอาชญากรรมรุนแรงลงได้ไหม ก็เพราะนิสัยคนไทยไม่เหมือนชาติใดในโลกโว้ย อย่ายกตัวเลขวิจัยต่างชาติมาใช้กับสังคมไทย"
การที่อ้างผลวิจัยในต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่คือในประเทศที่เจริญแล้วโดยเฉพาะในยุโรป เขาย่อมได้ผลวิจัยว่า โทษประหารชีวิตไม่มีผลในการลดจำนวนอาชญากรรมรุนแรงลง
นั่นเป็นเพราะ ประเทศที่เจริญเหล่านั้น เขาได้ผ่านจุดวิกฤติของสังคมที่นิยมความรุนแรงไปแล้ว เพราะประชาชนมีการศึกษาดีขึ้น มีสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันดีพร้อมมากกว่าประเทศไทย เมื่อมีความกินดีอยู่และอยู่ในสภาพแวดล้อมดีกว่า ความเครียดและความรุนแรงในสังคมจึงลดลงตามลำดับ
ปัจจุบันผู้คนส่วนใหญ่ในประเทศของทวีปยุโรปจึงมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม เคารพกฎหมายดีอยู่แล้ว
ดังนั้นผลแห่งการลงโทษประหารจึงไม่มีผลอะไรต่อวิถีชีวิตของประเทศที่ผู้คนส่วนใหญ่มีความเจริญทางจิตใจและรู้จักหน้าที่พลเมืองดีอยู่แล้ว
แต่ประเทศไทยทุกวันนี้ ยังไม่ไปถึงจุดนั้น เพราะคนไทยจำนวนมากยังละเมิดกฎหมายเป็นว่าเล่นโดยไม่รู้สึกผิด เช่นกฎหมายจราจร ยังไม่เคารพสิทธิของคนอื่น ยังเอาแต่สิทธิของตัวเองเป็นใหญ่ ไม่รู้จักหน้าที่พลเมืองดี
ซึ่งที่ผ่านมา 9 ปีที่ประเทศไทยไม่มีการลงโทษประหารชีวิตเลย ก็ไม่ทำให้อาชญากรรมรุนแรงของไทยลดลง แถมมากขึ้น ๆ รุนแรงขึ้นทุกวัน
ขอฝากไปถึง
พวกแอมเนสตี้ต่อต้านโทษประหาร Amnesty International Thailand ว่า
ตัวอย่าง กรณีนักโทษประหารรายล่าสุดนี้ เขามีโอกาสได้โทรคุยกับเมียสั่งเสียก่อนตายร่วมชั่วโมง ได้เลือกอาหารมื้อสุดท้ายที่อยากกิน แถมได้ตายแบบไม่ทรมาน สภาพศพสมบูรณ์ ให้พ่อแม่นำกลับไปทำพิธีทางศาสนา
ในขณะที่เหยื่อ ต้องตายด้วยสภาพศพถูกแทง 24 แผล ตายอย่างทุรนทุราย เพราะดิ้นรนหนีความตาย
ต้องหมดอนาคตที่จะได้เลี้ยงดูตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ ทั้งที่เป็นนักเรียนเรียนดี เป็นนักกีฬาของโรงเรียน และควรมีอนาคตที่ยาวไกลเป็นคนดีของสังคมและประเทศชาติ
พวกแอมเนสตี้ทั้งหลาย พวกคุณลองมีลูกชายที่ถูกฆ่าตายแบบถูกแทง 24 แผลก่อนสิ หรือมีลูกสาวที่ถูกข่มขืนฆ่าก่อนสิ ถึงค่อยเสือกออกมาเรียกร้องให้ไว้ชีวิตฆาตกรที่ฆ่าลูกของพวกคุณ
---------------------
นช. ธีรศักดิ์ หลงจิ ถูกลัดคิวตายหรือไม่
ซึ่งแม่ของนักโทษประหารรายล่าสุด เธอไม่ได้พูดคัดค้านการมีโทษประหารเลยนะ
แต่เธอสงสัยว่า
ยังมีนักโทษคดีรุนแรงกว่าลูกชายของเธออีกตั้งหลายคน (คงหมายถึงต้องโทษประหารเหมือนกัน)
แต่ทำไมต้องมาประหารลูกชายของเธอก่อน ??
แม่ของ นช. กล่าวทิ้งท้ายว่า
หรือเป็นเพราะครอบครัวของเรายากจน ?
นั่นสิ คำถามนี้มันก่อให้เกิดความสงสัยว่า
รัฐกำลังเลือกปฏิบัติหรือเปล่า ?
ทำไมถึงประหารนักโทษรายนี้ก่อน ทั้ง ๆ ที่มีนักโทษรอประหารอยู่อีกหลายคนก่อนหน้านี้
แต่ความเป็นจริงที่ผมได้รับคำตอบมาแบบไม่เป็นทางการจากการสอบถามผู้รู้มาว่า
เป็นเพราะนักโทษรอประหารคดีสิ้นสุดก่อนหน้านี้
เป็นนักโทษที่อยู่ในรัชสมัยของรัชกาลที่ 9 ซึ่งทางกรมราชทัณฑ์ส่งเรื่องทูลเกล้า ฯ ขอพระราชทานอภัยโทษให้นักโทษประหารทุกราย แต่ทางสำนักพระราชวัง ไม่มีการตอบกลับมา เรื่องจึงค้างอยู่อย่างนั้น
และ
เมื่อรัชกาลที่ 9 สวรรคต ก็เลยทำให้เรื่องทูลเกล้า ฯ ขอพระราชทานอภัยโทษของนักโทษประหารเหล่านี้ เลยเสมือนต้องรอเรื่องที่ค้างต่อไป
(เสมือนรอดการประหารไปเลย เว้นแต่มีการส่งเรื่องใหม่อีกครั้ง)
ส่วนกรณีการประหารนักโทษรายล่าสุด เป็นเรื่องที่กรมราชทัณฑ์เพิ่งจะส่งเรื่องการขอพระราชทานอภัยโทษในรัชสมัยของรัชกาลที่ 10 แต่เรื่องถูกส่งตีกลับมาอย่างเดิม
(โดยไม่มีพระราชวินิจฉัย)
.
แปลความโดยธรรมเนียมปฏิบัติว่า กรณีนี้ไม่มีการพระราชอภัยโทษลงมา จึงยืนตามคำพิพากษาศาลดังเดิม
ผิดถูกอย่างไร กรมราชทัณฑ์จะมาแก้ไขชี้แจงได้นะครับ
--------------------
พระพุทธเจ้ากับบทลงโทษทางกฎหมาย
สมัยพระพุทธเจ้าทรงไม่แตะเรื่องบทลงโทษตามกฎหมายของบ้านเมือง
เพราะบทลงโทษทางกฎหมายเขามีกำหนดไว้อยู่ก่อนแล้ว เพื่อให้คนเกรงกลัวการกระทำผิด
แล้วถ้าใครละเมิดก็ต้องถูกลงโทษไปตามกฎหมาย เพราะมันคือ
กฎกติกาของสังคม
อย่างเรื่องโทษประหารชีวิตของไทย ผมอยากเตือนสติคุณผู้อ่านทุกคนว่า
เราอย่ายินดีหรือสะใจในการประหารชีวิตนักโทษคนนั้น ๆ เพราะมันจะเป็นบาปแก่เราเอง
(จงไม่ยินดีในการฆ่า)
แต่ให้เราวางใจเป็นกลาง เป็น
อุเบกขา ว่า
"สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม"