วันศุกร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2560

หมุดเสนียด กับ คำประกาศจัญไรของคณะราษฎร




เป็นข่าวดราม่ามาหลายวัน เมื่อหมุดเสนียดจัญไรของคณะราษฎรที่ปักหมุดไว้บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า ซึ่งเป็นเขตพระราชฐาน ได้หายสาบสูญไป

ซึ่งพวกคณะราษฎรปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 นั้น ได้ใช้อำนาจบาตรใหญ่ไม่เคารพสถานที่ ที่ซึ่งประชาชนในอดีตได้ร่วมกันบริจาคเงินเพื่อสร้างพระบรมรูปทรงม้าถวายแด่รัชกาลที่ 5 ด้วยความจงรักภักดีและความรักที่มีต่อรัชกาลที่ 5 (ซึ่งเงินบริจาคที่เหลือจากการสร้างพระบรมรูปทรงม้านั้น ร.6 ทรงนำไปสร้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต่อ)

แต่คณะราษฎรกลับไม่มีความเกรงใจ ไม่เคารพในสถานที่ เสือกเอาหมุดเสนียดจัญไรมาปักลงบนลานพระบรมรูปทรงม้า

ดังน้้น หมุดคณะราษฎร 2475 นี้ จึงเป็นหลักฐานแห่งความระยำตำบอน เนรคุณบ้านเมืองของไอ้พวกไม่จงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ ที่เสือกมาหมุดลงในที่ ๆ มิบังควรเช่นนี้

แม้จะอ้างว่า เป็นที่ ๆ พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา อ่านคำประกาศคณะราษฎรฉบับแรกในวันเปลี่ยนแปลงการปกครองก็ตาม

แต่ถามหน่อยว่า มันสมควรหรือไม่ ที่จู่ ๆ จะเอาวัตถุอะไรก็ตามแต่ไปหมุดลงในลานพระบรมรูปทรงม้า ซึ่งเป็นเขตพระราชฐาน ?

ซึ่งการสร้างหมุดทองเหลืองนี้ก็เป็นดำริของนายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ของไทย คือ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะราษฎร เป็นผู้จัดสร้างขึ้นในช่วงที่ท่านเป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยที่ 3 เองนั่นแหละ

ถามว่า ตอนที่พวกท่านคิดจัดทำหมุดคณะราษฎร แล้วเอาไปหมุดไว้ลงตรงนั้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2479 พวกท่านได้เคยขอพระบรมราชานุญาตจากพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 แล้วรึยัง ?

หรือใช้อำนาจบาตรใหญ่ของคณะราษฎรที่คิดจะทำอะไรตามอำเภอใจในเขตพระราชฐานก็ได้เช่นนั้นหรือ ?

สำหรับผม ใหม่เมืองเอก มีความเห็นว่า แม้คณะราษฎรจะปกครองบ้านเมืองในเวลานั้นแล้ว แต่ก็ต้องให้เกียรติเขตพระราชฐานด้วย

ดังนั้นคณะราษฎรและผู้จัดทำหมุดนี้ ก็ควรทำหนังสือขอพระบรมราชานุญาตจากรัชกาลที่ 8 เสียก่อน ว่าจะขอปักหมุดทองเหลืองนี้เพื่อแสดงให้เห็นถึงจุดที่คณะราษฎรได้อ่านประกาศปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองได้หรือไม่

ตกลงมีไหม หนังสือพระบรมราชานุญาตจากรัชกาลที่ 8 ทรงอนุญาตให้ปักหมุดในเขตพระราชฐาน ?? (อันนี้ผมก็ไม่รู้ข้อมูล เพราะยังหาไม่เจอ)

แต่หากไม่มีหนังสือพระบรมราชานุญาตจากรัชกาลที่ 8 ทรงอนุญาตให้ปักหมุดลงในบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้านำมาแสดงให้ประชาชนได้เห็นแล้วล่ะก็

ย่อมก็ถือว่า หมดุคณะราษฎรนั้นเป็นหมุดเถื่อน  ที่ไม่เคารพยำเกรงและเกรงใจพระมหากษัตริย์เลย

หมุดคณะราษฎรจึงเป็นเสมือนหลักฐานความระยำของคณะราษฎรเสียเอง

--------------------

คำประกาศจัญไรของคณะราษฎร


พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 2


ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะราษฎรได้อ่านคำประกาศคณะราษฎร ฉบับแรก ซึ่งเขียนโดยนายปรีดี พนมยงค์ มีเนื้อหาใส่ร้ายพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 7 เกินความเป็นจริง ดังนี้

คำประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 

" ราษฎรทั้งหลาย

เมื่อกษัตริย์องค์นี้ได้ครองราชย์สมบัติสืบต่อจากพระเชษฐานั้น ในชั้นต้นราษฎรบางคนได้หวังกันว่ากษัตริย์องค์ใหม่นี้จะปกครองราษฎรให้ร่มเย็น แต่การณ์ก็หาได้เป็นไปตามที่คิดหวังกันไม่ กษัตริย์คงทรงอำนาจอยู่เหนือกฎหมายเดิม ทรงแต่งตั้งญาติวงศ์และคนสอพลอไร้คุณความรู้ให้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญ ๆ ไม่ทรงฟังเสียงราษฎร ปล่อยให้ข้าราชการใช้อำนาจหน้าที่ในทางทุจริต มีการรับสินบนในการก่อสร้างและการซื้อของใช้ในราชการ หากำไรในการเปลี่ยนเงิน ผลาญเงินของประเทศ ยกพวกเจ้าขึ้นให้สิทธิพิเศษมากกว่าราษฎร กดขี่ข่มเหงราษฎร ปกครองโดยขาดหลักวิชา ปล่อยให้บ้านเมืองเป็นไปตามยถากรรม ดังที่จะเห็นได้จากความตกต่ำในทางเศรษฐกิจและความฝืดเคืองในการทำมาหากินซึ่งพวกราษฎรได้รู้กันอยู่โดยทั่วไปแล้ว รัฐบาลของกษัตริย์เหนือกฎหมายมิสามารถแก้ไขให้ฟื้นขึ้นได้

การที่แก้ไขไม่ได้ก็เพราะรัฐบาลของกษัตริย์มิได้ปกครองประเทศเพื่อราษฎรตามที่รัฐบาลอื่นๆ ได้กระทำกัน รัฐบาลของกษัตริย์ได้ถือเอาราษฎรเป็นทาส (ซึ่งเรียกว่าไพร่บ้าง ข้าบ้าง) เป็นสัตว์เดียรัจฉาน ไม่นึกว่าเป็นมนุษย์ เหตุฉะนั้น แทนที่จะช่วยราษฎร กลับพากันทำนาบนหลังราษฎร จะเห็นได้ว่า ภาษีอากรที่บีบคั้นเอาจากราษฎรนั้น กษัตริย์ได้หักเอาไว้ใช้ปีหนึ่งเป็นจำนวนหลายล้าน ส่วนราษฎรสิ กว่าจะหาได้แม้แต่เล็กน้อย เลือดตาแทบกระเด็น ถึงคราวเสียเงินราชการหรือภาษีใดๆ ถ้าไม่มีเงินรัฐบาลก็ยึดทรัพย์หรือใช้งานโยธา แต่พวกเจ้ากลับนอนกินกันเป็นสุข ไม่มีประเทศใดในโลกจะให้เงินเจ้ามากเช่นนี้ นอกจากพระเจ้าซาร์และพระเจ้าไกเซอร์เยอรมัน ซึ่งชนชาตินั้นก็ได้โค่นราชบัลลังก์ลงเสียแล้ว

รัฐบาลของกษัตริย์ได้ปกครองอย่างหลอกลวงไม่ซื่อตรงต่อราษฎร มีเป็นต้นว่าหลอกว่าจะบำรุงการทำมาหากินอย่างโน้นอย่างนี้ แต่ครั้นคอย ๆ ก็เหลวไป หาได้ทำจริงจังไม่ มิหนำซ้ำกล่าวหมิ่นประมาทราษฎรผู้มีบุญคุณเสียภาษีอากรให้พวกเจ้าได้กิน ว่าราษฎรยังมีเสียงทางการเมืองไม่ได้ เพราะราษฎรโง่ 

คำพูดของรัฐบาลเช่นนี้ใช้ไม่ได้ ถ้าราษฎรโง่ เจ้าก็โง่เพราะเป็นคนชาติเดียวกัน ที่ราษฎรรู้ไม่ถึงเจ้านั้นเป็นเพราะขาดการศึกษาที่พวกเจ้าปกปิดไว้ไม่ให้เรียนเต็มที่ เพราะเกรงว่าเมื่อราษฎรได้มีการศึกษา ก็จะรู้ความชั่วร้ายที่พวกเจ้าทำไว้ และคงจะไม่ยอมให้เจ้าทำนาบนหลังคนอีกต่อไป

ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า ประเทศเรานี้เป็นของราษฎร ไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง บรรพบุรุษของราษฎรเป็นผู้ช่วยกันกู้ให้ประเทศเป็นอิสรภาพพ้นมือจากข้าศึก พวกเจ้ามีแต่ชุบมือเปิบและกวาดทรัพย์สมบัติเข้าไว้ตั้งหลายร้อยล้าน เงินเหล่านี้เอามาจากไหน? ก็เอามาจากราษฎรเพราะวิธีทำนาบนหลังคนนั้นเอง บ้านเมืองกำลังอัตคัดฝืดเคือง ชาวนาและพ่อแม่ทหารต้องทิ้งนา เพราะทำนาไม่ได้ผล รัฐบาลไม่บำรุง รัฐบาลไล่คนงานออกอย่างเกลื่อนกลาด นักเรียนที่เรียนสำเร็จแล้วและทหารที่ปลดกองหนุนแล้วก็ไม่มีงานทำ จะต้องอดอยากไปตามยถากรรม เหล่านี้เป็นผลของกษัตริย์เหนือกฎหมาย บีบคั้นข้าราชการชั้นผู้น้อย นายสิบ และเสมียน เมื่อให้ออกจากงานแล้วก็ไม่ให้เบี้ยบำนาญ ความจริงควรเอาเงินที่พวกเจ้ากวาดรวบรวมไว้มาจัดบำรุงบ้านเมืองให้คนมีงานทำ จึงจะสมควรที่สนองคุณราษฎรซึ่งได้เสียภาษีอากรให้พวกเจ้าได้ร่ำรวยมานาน แต่พวกเจ้าก็หาได้ทำอย่างใดไม่ คงสูบเลือดกันเรื่อยไป เงินเหลือเท่าไหร่ก็เอาไปฝากต่างประเทศ คอยเตรียมหนีเมื่อบ้านเมืองทรุดโทรม ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก การเหล่านี้ย่อมชั่วร้าย

เหตุฉะนั้น ราษฎร ข้าราชการ ทหาร และพลเรือน ที่รู้เท่าถึงการกระทำอันชั่วร้ายของรัฐบาลดังกล่าวแล้ว จึงรวมกำลังตั้งเป็นคณะราษฎรขึ้น และได้ยึดอำนาจของกษัตริย์ไว้ได้แล้ว 

คณะราษฎรเห็นว่าการที่จะแก้ความชั่วร้ายนี้ได้ก็โดยที่จะต้องจัดการปกครองโดยมีสภา จะได้ช่วยกันปรึกษาหารือหลาย ๆ ความคิดดีกว่าความคิดเดียว ส่วนผู้เป็นประมุขของประเทศนั้น คณะราษฎรไม่ประสงค์ทำการแย่งชิงราชสมบัติ ฉะนั้น จึงได้อัญเชิญให้กษัตริย์องค์นี้ดำรงตำแหน่งกษัตริย์ต่อไป แต่จะต้องอยู่ใต้กฎหมายธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน จะทำอะไรโดยลำพังไม่ได้ นอกจากด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร คณะราษฎรได้แจ้งความประสงค์นี้ให้กษัตริย์ทราบแล้ว เวลานี้ยังอยู่ในความรับตอบ 

ถ้ากษัตริย์ตอบปฏิเสธหรือไม่ตอบภายในกำหนดโดยเห็นแก่ส่วนตนว่าจะถูกลดอำนาจลงมาก็จะได้ชื่อว่าทรยศต่อชาติ และก็เป็นการจำเป็นที่ประเทศจะต้องมีการปกครองแบบอย่างประชาธิปไตย กล่าวคือ ประมุขของประเทศจะเป็นบุคคลสามัญซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้เลือกตั้งขึ้น อยู่ในตำแหน่งตามกำหนดเวลา ตามวิธีนี้ราษฎรพึงหวังเถิดว่าราษฎรจะได้รับความบำรุงอย่างดีที่สุด ทุก ๆ คนจะมีงานทำ เพราะประเทศของเราเป็นประเทศที่อุดมอยู่แล้วตามสภาพ 

เมื่อเราได้ยึดเงินที่พวกเจ้ารวบรวมไว้จากการทำนาบนหลังคนตั้งหลายร้อยล้านมาบำรุงประเทศขึ้นแล้ว ประเทศจะต้องเฟื่องฟูขึ้นเป็นแม่นมั่น การปกครองซึ่งคณะราษฎรจะพึงกระทำก็คือ จำต้องวางโครงการอาศัยหลักวิชา ไม่ทำไปเหมือนคนตาบอด เช่นรัฐบาลที่มีกษัตริย์เหนือกฎหมายทำมาแล้ว เป็นหลักใหญ่ ๆ ที่คณะราษฎรวางไว้ มีอยู่ว่า

๑.จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่นเอกราชในทางการเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง

๒.จะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก

๓.ต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะจัดหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก

๔.จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่ในเวลานี้)

๕.จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก ๔ ประการดังกล่าวข้างต้น

๖.จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร

ราษฎรทั้งหลายจงพร้อมใจกันช่วยคณะราษฎรให้ทำกิจอันจะคงอยู่ชั่วดินฟ้านี้ให้สำเร็จ คณะราษฎรขอให้ทุกคนที่มิได้ร่วมมือเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลกษัตริย์เหนือกฎหมายพึงตั้งตนอยู่ในความสงบและตั้งหน้าทำมาหากิน อย่าทำการใด ๆ อันเป็นการขัดขวางต่อคณะราษฎร การที่ราษฎรช่วยคณะราษฎรนี้ เท่ากับราษฎรช่วยประเทศและช่วยตัวราษฎร บุตร หลาน เหลน ของตนเอง 

ประเทศจะมีความเป็นเอกราชอย่างพร้อมบริบูรณ์ ราษฎรจะได้รับความปลอดภัย ทุกคนจะต้องมีงานทำไม่ต้องอดตาย ทุกคนจะมีสิทธิเสมอกัน และมีเสรีภาพพ้นจากการเป็นไพร่ เป็นข้า เป็นทาสพวกเจ้า หมดสมัยที่เจ้าจะทำนาบนหลังราษฎร สิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนาคือ ความสุขความเจริญอย่างประเสริฐซึ่งเรียกเป็นศัพท์ว่า “ศรีอาริยะ” นั้น ก็จะพึงบังเกิดขึ้นแก่ราษฎรถ้วนหน้า

คณะราษฎร

๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ "

-----------------------

จริง ๆ แล้ว ในช่วงที่รัชกาลที่ 7 ขึ้นครองราชย์ เศรษฐกิจทั่วโลกก็ตกต่ำอยู่แล้วไปทั่ว รัชกาลที่ 7 ก็ทรงตัดรายจ่ายทั้งส่วนพระองค์ ทั้งส่วนของเจ้านายเชื้อพระวงศ์ต่าง ๆ รวมไปถึงตัดรายจ่ายของรัฐบาลลงอย่างมาก รวมถึงปลดข้าราชการออก หากได้ไปศึกษากัน

รวมทั้งยังทรงวางแผนจะพระราชทานประชาธิปไตยให้แก่ประชาชนไทยเช่นกัน แต่ทรงเห็นว่า คนไทยในเวลานั้นยังไม่มีความรู้ในเรื่องประชาธิปไตยดีพอ ซึ่งหากเปลี่ยนแปลงระบอบไปแล้ว รังแต่อำนาจจะตกอยู่ในมือนักการเมืองเท่านั้น อำนาจอธิปไตยและประชาธิปไตยที่เป็นของปวงชนชาวไทยจะไม่ตกไปถึงมือราษฎรโดยแท้จริง

แต่คณะราษฎรกลับชิงสุกก่อนห่ามรีบเปลี่ยนแปลงการปกครอง เพราะคิดว่า ตัวเองจะเก่งพอที่จะควบคุมบ้านเมืองได้อยู่ แต่ก็หาเป็นเช่นนั้นไม่ คณะราษฎรก็แย่งชิงอำนาจกันเอง

จนในที่สุดรัชกาลที่ 7 ทรงสละราชสมบัติ เพราะทรงไม่อยากตกเป็นเครื่องมือให้คณะหนึ่งคณะใดแอบอ้างพระองค์เพื่อผลประโยชน์ส่วนตนอีก


ลายพระราชหัตถ์ของรัชกาลที่ 7 ในวันประกาศสละราชสมบัติ


“ข้าพเจ้า มีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร” ประชาธิปก ปร.   วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗

----------------------

หมุดคณะราษฎรหายไปไหนก็ชั่งมันเถอะ

จริง ๆ แล้ว หมุดคณะราษฎร ผมเห็นว่า เป็นหมุดเถื่อนมาแต่แรกอยู่แล้ว ดังนั้นเมื่อเป็นหมุดเถื่อนจะหายไปไหนก็ไม่เห็นจะต้องเสียดายอะไรเลย จริงไหม ?

พวกที่อ้างว่า หมุดนี้เป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์นั้น ในเวลานี้ก็เห็นมีแต่พวกล้มเจ้าเสียเป็นส่วนใหญ่ที่หวงแหนหมุดเสนียดนี้นักหนา

พวกล้มเจ้าคิดล้มล้างสถาบันกษัตริย์ไทยที่อยู่คู่คนไทยมาหลายร้อยปีลงได้ โดยที่พวกมันไม่เคยนึกเสียดายหรือเสียใจอะไรเลย แต่เสร่อมาเสียดายหมุดจัญไรนี้

ดังนั้น ผู้จงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ ก็ไม่รู้สึกเสียดายหมุดทองเหลืองที่มีอายุแค่ 80 กว่าปีนี้จะหายไปเช่นกัน

ในเมื่อมีคนเอาหมุดเสนียดของคณะราษฎรออกไปแล้ว ก็ไม่ต้องไปเสียดายอะไร แม้แต่หมุดใหม่ที่คนขโมยไปเอามาใส่ไว้แทน ผมก็เฉย ๆ นะ เพราะหมุดหน้าใสดันเขียนข้อความที่ประดักประเดิดเกินไป

ในความเห็นของผม ผมว่า สมควรเทปูนปิดทับตรงจุดนั้นให้เรียบร้อยไปเลยดีกว่า แล้วไม่ต้องมีหมุดอะไรมาแทนทั้งนั้น จะได้ไม่ต้องเหลือประเด็นดราม่าอะไรกันอีก

เพราะหมุดเถื่อนของคณะราษฎร อยู่ในเขตพระราชฐาน ซึ่งเขตพระราชฐานอยู่ในอำนาจของสำนักพระราชวังกำกับดูแล

หากหมุดคณะราษฎรหายไป แล้วเจ้าของสถานที่คือ สำนักพระราชวังเขาไม่เดือดร้อนจะตามหา ก็เท่ากับว่า หมุดนั้นไม่มีใครอยากให้อยู่ในเขตพระราชฐานอีกแล้ว

ส่วนถ้าใครอยากจะตามหาหมุดคณะราษฎร ก็ตามหาต่อไปเองเถิด แต่ผมขอแนะนำว่า อย่าเอามาหมุดไว้ที่เดิม เพราะมันเป็นหมุดเถื่อนที่ไม่เคยขอพระบรมราชานุญาตในการติดตั้งมาก่อน

ส่วนหมุดหน้าใส ที่มาแทนก็เหมือนกัน ในความเห็นของผม ก็ถือว่า หมุดนี้ก็เป็นหมุดเถื่อน จึงสมควรเอาออกไปเช่นกัน จะได้ไม่มีประเด็นได้เปรียบเสียเปรียบอะไรกัน แล้วเทปูนปิดทับบริเวณไปให้หมดเถอะ จะได้ไม่มีเหตุดราม่าให้ต้องทะเลาะกันอีก

(หรืออาจจะเทปูนยกพื้นตรงนั้นให้สูงขึ้นมาสักนิด ให้พอรู้ว่า เคยเป็นจุดที่พ.อ.พระพหลฯ เคยอ่านแถลงการณ์บัดซบไว้ตรงจุดนั้น)

แต่ถ้าเจ้าของสถานที่คือสำนักพระราชวัง เขาไม่เดือดร้อนอะไรที่จะมีหมุดใหม่หน้าใสมาอยู่ตรงนั้น ก็แล้วแต่...เอาที่สบายใจเถอะ เพราะสำนักพระราชวังเขาวางตัวเป็นกลางมากในกรณีนี้ คือ ไม่ออกความเห็นใด ๆ ทั้งสิ้น

(แต่เห็นมีการล้อมรั้วกั้นตรงจุดที่หมุดหน้าใสอยู่เอาไว้ คงเพื่อป้องกันความวุ่นวายและการมาทะเลาะกันของฝ่ายโหยหาอยากกราบหมุดคณะราษฎร กับพวกที่นิยมชมชอบหมุดหน้าใส มั้ง?)

แต่ที่แน่ ๆ หมุดหน้าใส ไม่ใช่หมุดของคณะที่กระทำการลบหลู่ดูหมิ่นพระเกียรติของรัชกาลที่ 7 แน่นอน จริงไหม ?

----------------

ประเด็นต้องรื้อทุกอย่างที่คณะราษฎร สร้างไว้ทิ้งไปทั้งหมดหรือไม่ ?

คือ พอดีมีพวกร่านบางคนมันประชดทำนองนี้เอาไว้ (ซึ่งเป็นความคิดสะเออะและเสร่อมาก)

ผมเลยขอตอบว่า เหรียญมี 2 ด้านเสมอ คือการที่คณะราษฎรเข้ามาสร้างความเจริญให้ประเทศชาติในด้านใดก็ตาม ก็ถือว่า ทำไปตามหน้าที่จะมาลำเลิกบุญคุณคงไม่ได้

ใครก็ตามที่มาเป็นนักการเมืองและเป็นรัฐบาล คือการอาสาเข้ามาปกครองและพัฒนาประเทศย่อมมีหน้าที่ทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติและประชาชน ซึ่งเป็นเรื่องปกติวิสัยอยู่แล้ว

ส่วนการจะตัดสินว่านักการเมืองคนใดเลวนั้น เขาไม่ได้ดูที่นักการเมืองคนนั้น ๆ เคยทำประโยชน์อะไรแก่ชาติบ้านเมืองหรือไม่ แต่เขาให้ดูว่า เคยกระทำความเลวอะไรต่อชาติบ้านเมืองหรือไม่ต่างหาก

กรณีสิ่งใดที่คณะราษฎรทำไว้ดีแล้ว ก็ต้องถือว่า แล้วไป

แต่กรณีหมุดคณะราษฎร นี่สิ ถือว่าเป็นหมุดเถื่อนที่แสดงเป็นหลักฐานถึงความระยำในการอ่านคำประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1 เพื่อใส่ร้ายรัชกาลที่ 7 เกินควร จึงสมควรเอาออกไปน่ะเหมาะสมดีแล้วครับ

---------------------

คนไทยส่วนใหญ่ไม่รู้จักหมุดคณะราษฎร



เชื่อหรือไม่คนไทยส่วนใหญ่ไม่เคยรู้ว่า มีหมุดคณะราษฎรอยู่ที่ลานพระบรมรูปทรงม้ารัชกาลที่ 5 มาก่อน จนเมื่อหมุดเสนียดมันหายไปจนเป็นข่าวดังแล้ว หลายคนถึงเพิ่งจะรู้จักหมุดนี้นี่เอง ก็ขนาดคนใหญ่คนโตในบ้านเมืองเราหลายคนก็ไม่เคยรู้จักหมุดนี้มาก่อน

เช่น นายพิชัย รัตตกุล อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตประธานรัฐสภา ก็เพิ่งจะรู้จักหมุดคณะราษฎร หลังจากที่มันหายไปแล้ว

“ผมไม่ทราบมาก่อนเลยว่า คณะราษฎร ได้ทำหมุดเกี่ยวกับเหตุการณ์ การเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น และนำไปฝังไว้ที่ลาน พระบรมรูปทรงม้า มาทราบอีกที และเป็นครั้งแรกก็เมื่อ มีข่าวว่ามีคนมาขุดเอาหมุดนี้ออก และนำหมุดใหม่มาใส่แทนที่ แสดงว่าใครก็ตาม ที่ทำการนี้จะต้องมีแผนการ ไว้ล่วงหน้า หมุดนี้ไม่ใช่หมุดหัวจ่ายน้ำประปา หมุดเดิมที่คณะราษฎร์ ได้นำมาฝังไว้ 85 ปี มาแล้ว อาจจะไม่มีค่างวดอะไรนัก แต่ค่างวดของหมุดนี้ มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และทางจิตใจ อย่างยิ่ง ซึ่งไม่สามารถนำมา คำนวณ เป็นตัวเงินได้ ผู้ที่กระทำการเอาหมุดเดิมออก ไม่ได้คิดสักนิดว่า การกระทำของเขา กระทบกระเทือนจิตใจ และความรู้สึกที่ไม่ดี ต่อผู้กระทำอย่างมาก และเป็นการกระทำ ที่ไม่คำนึงถึง ความปรองดอง ความรักใคร่สามัคคี ของชนในชาติเลย เจ้าหน้าที่ตำรวจก็แสนจะดี โดยแจ้งให้ผู้ไปแจ้งความว่า “ใครเป็นเจ้าของหมุด ต้องให้เจ้าของมาแจ้งความเอง” นายพิชัย แถลงข่าวเมื่อวันที่ 18 เม.ย. ที่ผ่านมา

โถ ๆ ปู่พิชัย ไม่เคยรู้จักหมุดคณะราษฎรมาก่อน แต่กลับมาเพิ่งรู้ซึ้งคุณค่าทางประวัติศาสตร์เนี่ยนะ เหอะ ๆ

---------------------

แถม คำสารภาพปรีดี

นายปรีดี พนมยงค์ เคยขอเข้าเฝ้าสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีได้ทรงเล่าว่า ปรีดี ได้มาขอโทษและกราบทูลว่า

"ข้าพระพุทธเจ้าตอนนั้นยังเด็ก คิดอะไรหัวมันรุนแรงเกินไป ไม่นึกว่าจะลำบากยากเย็นถึงเพียงนี้ ถ้ารู้ยังงี้ ก็ไม่ทำ"

(จากหนังสือเบื้องแรกประชาธิตัย)


หรือแม้แต่ตอนที่นายปรีดี ได้ลี้ภัยไปอยู่ฝรั่งเศสในบั้นปลายชีวิตแล้ว ก็เคยให้สัมภาษณ์แก่สื่อต่างประเทศ

นักข่าวถามว่า "ท่านคิดว่าอะไรที่น่าจะเป็นความผิดอันใหญ่หลวงของท่าน? ถ้าท่านมีอำนาจกลับไปและแก้ไขเพียงส่วนหนึ่งของชีวิตของท่าน การตกลงใจหรือการกระทำอันไหนที่ท่านอยากเปลี่ยนมากที่สุด? "

ปรีดี ตอบ "ถ้าท่านถามถึงว่าอะไรที่ข้าพเจ้าจะทำ ถ้าข้าพเจ้ากลับไปเป็นนายกรัฐมนตรี..เอาละ ข้าพเจ้าขอตอบว่า ข้าพเจ้าไม่สนใจที่จะกลับสู่การเมืองอีกหรอก เดี๋ยวนี้ข้าพเจ้าแก่มากแล้ว แต่ข้าพเจ้าตอบท่านได้ถึงความผิดในอดีตของข้าพเจ้า

ในปี ค.ศ.๑๙๒๕ เมื่อเราเริ่มจัดตั้งแกนกลางของพรรคอภิวัฒน์ในปารีส ข้าพเจ้ามีอายุเพียง ๒๕ ปี เท่านั้น หนุ่มมาก หนุ่มทีเดียว ขาดความจัดเจน แม้ว่าข้าพเจ้าได้รับปริญญาแล้วและได้คะแนนสูงสุด แต่ก็ไม่มีอะไรมากไปกว่าทางทฤษฎี (ของกฎหมายเปรียบเทียบ)

ข้าพเจ้าไม่มีความเจนจัด และโดยปราศจากความเจนจัด บางครั้งข้าพเจ้าประยุกต์ทฤษฎีอย่างนักตำรา

ข้าพเจ้าไม่ได้นำเอาความเป็นจริงในประเทศของข้าพเจ้ามาคำนึงด้วย ข้าพเจ้าติดต่อกับประชาชนไม่พอ ความรู้ทั้งหมดของข้าพเจ้า เป็นความรู้ตามหนังสือ

ข้าพเจ้าไม่ได้เอาสาระสำคัญของมนุษย์มาคำนึงด้วยให้มากเท่าที่ข้าพเจ้าควรจะมี

ในปี ค.ศ.๑๙๓๒ ข้าพเจ้าอายุ ๓๒ ปี พวกเราได้ทำการอภิวัฒน์ แต่ข้าพเจ้าก็ขาดความจัดเจน และครั้นข้าพเจ้ามีความจัดเจนมากขึ้น ข้าพเจ้าก็ไม่มีอำนาจ"

คำสารภาพปรีดี จากเว็บปรีดี พูนศุข พนมยงค์


คลิกอ่าน ถ้าคณะราษฎรเลว ก็อย่าโทษปรีดีคนเดียว




ผู้ติดตาม