ผมเพิ่งรู้ข่าวว่า ท่านถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติได้เสียชีวิตแล้วเมื่อเช้านี้เอง
เศร้านิดหน่อย... แต่กลับสะเทือนในความรู้สึกมาก
ตอนเด็ก ๆ รู้จักท่านถวัลย์ ผ่านรายการ ตามไปดู
ตอนนั้นรายการตามไปดู ของหมอซ้ง รายการทีวีดังเมื่อกว่า 20 ปัที่แล้ว ได้โปรโมทในรายการว่า ท่านถวัลย์ ดัชนีคือ ศิลปินผู้วาดรูปราคา 30 ล้านบาทต่อรูป !!
คิดดูเมื่อเกิอบ 30 ปีก่อน ราคา 30 ล้าน เดี๋ยวนี้รูปจะราคาเท่าไหร่แล้ว
ลองดูคลิปเกลียดตุ๊ด ของท่านถวัลย์ ดัชนีครับ ว่าท่านยืนยันเองว่า ระดับท่านนี่เขียนรูปเป็นร้อยล้านพันล้าน
เพราะช่วงท้าย ๆ คลิป ท่านถวัลย์ ได้พูดว่า "คุณต้องคิดดูว่า ผมมีนาทีละล้าน ผมเขียนรูปเนี่ยนาทีเดียว ผมก็ได้เป็นล้านแล้ว ผมสามารถเขียนรูปทำเงินได้ร้อยล้านพันล้านได้เพียงชั่วข้ามคืน"
ท่านถวัลย์ ดัชนี เกลียดตุ๊ด จริงเหรอ ?
ถ้าฟังแบบคนโง่เหมือนอีอั้มเนโกะ มันฟัง มันก็จะด่าท่านถวัลย์ อย่างที่เป็นข่าวไปแล้ว
อีอั้มเนโกะ นี่มันรูปชั่วแถมความคิดจัญไรจริง ๆ ทีตัวมันเกลียดสถาบันกษัตริย์ได้ มันบอกว่านี่คือ เสรีภาพของมัน
แต่พอท่านถวัลย์ ดัชนี เกลียดตุ๊ดบ้าง อีอั้มเนโกะกลับไปด่าท่าน ??
ทั้ง ๆ ที่นี่ก็เป็นเสรีภาพของท่านถวัลย์ไงวะ อีตุ๊ดชั่วอั้มเนโกะ
แต่ความจริงแล้ว ท่านถวัลย์ท่านก็พูดทำนองล้อเล่นขำ ๆ เหมือนท่านแค่แซววู้ดดี้ เท่านั้น ซึ่งถ้าไปถามวู้ดดี้ วู้ดดี้ก็คงเข้าใจความหมายประโยคนี้ของท่านถวัลย์
ไม่งั้น รายการวู้ดดี้ เกิดมาคุย จะไปเชิญท่านถวัลย์ มาออกรายการในภายหลังเหรอ ?
ชมคลิปรายการวู้ดดี้ เกิดมาคุย ตอน ถวัลย์ ดัชนี
ลองไปฟังหลักฐานจากปากศิลปินแห่งชาติ กมล ทัศนาญชลี ผู้สนิทสนมกับอาจารย์ถวัลย์ ยังบอกเลยว่า อาจารย์ถวัลย์ ขายรูปได้เป็น 100 ล้านบาทจริง !!
ยิ่งถ้าเราไปอ่านความเห็นของหลาย ๆ คนในยูทูป บางคนบอกเองว่า ขนาดเขาเป็นตุ๊ด เขายังแค่ขำ ๆ เลย ไม่ได้ถือสาอะไรท่าน
บางคนก็บอกว่า กูเป็นเกย๋ กูยังเกลียดตุ๊ดเลย เป็นต้น 5555
ที่จริง ความเกลียด กับ ความรัก ในสภาวะธรรมมันต่างกันแค่เส้นยาแดงผ่าแปดเท่านั้น
เช่น ผมก็เกลียดกิเลสของตัวเองอย่างนึงเพราะมันตัดยากจริง ๆ เพราะกิเลสของผมก็คือ ความชอบดูสาว ๆ สวย ๆ เซ็กซี่
ผมรู้ตัวว่านี่คือ กิเลสที่ตัดยากของผม ผมเกลียดกิเลสตัวนี้ของตัวเองจริง ๆ เกลียดที่ตัวเองดับกิเลสตัวนี้ไม่ได้สักที
ฉะนั้น ถ้าพูดในสภาวะธรรมแล้ว กิเลสในความเกลียดกับกิเลสในความชอบ แทบจะกลายเป็นสิ่งเดียวกัน ??
เปรียบเสมือน สุข ก็คือ ทุกข์น้อย ส่วนทุกข์ ก็คือ สุขน้อย
ผมอธิบายแค่นี้พอเข้าใจไหมครับ ฉะนั้น เกลียดตุ๊ด หรือไม่ ไม่ใช่เรื่องซีเรียสอะไร
เฉกเช่น คุณก็เกลียดขี้ของตัวเองได้ เช่น เกลียดความขี้เกียจ เกลียดความขี้กลัว เกลียดขี้ขลาดของตัวเอง เป็นต้น
แม้แต่คนเป็นกระเทย ที่จริงเขาก็ไม่อยากเกิดเป็นกระเทย คนที่เป็นเกย์ เขาก็เกลียดความเป็นเกย์ เช่นถ้าให้พวกเขาเลือกเกิดได้ พวกเขาก็อยากจะเกิดเป็นคนที่มีสภาวะทางเพศเป็นปกติ จริงไหม ?
คำว่า เกลียดตุ๊ด ถ้ามองตามสภาวะธรรม อาจหมายถึง นิสัยไม่ดีบางอย่างของผู้ชายก็ได้เช่น มึงมันไม่เป็นลูกผู้ชาย แล้งน้ำใจ ก็เลยด่าไปว่า มึงมันตุ๊ด !!
อย่างผมเองก็เกลียดตุ๊ดเหมือนกัน แต่เป็นตุ๊ดเลว ๆ อย่างไอ้ศรัณย์ ฉุยฉาย นะ
----------------------
สกู๊ปถวัลย์ ดัชนี สำนักข่าวไทย
สกู๊ปถวัลย์ ดัชนี ไทยพีบีเอส
อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ได้กล่าวถึงการจากไปของท่านถวัลย์ ไว้ว่า
“ผมเป็นคนที่ตามรอยเท้าของพี่หวัน เพราะผมปรารถนาตั้งแต่วัยเด็ก ที่จะเป็นศิลปินที่ยิ่งใหญ่ตามรอยของพี่หวัน ดังนั้นชีวิตของผมที่ผ่านมาจนถึงทุกวันนี้ จึงพยายามเอาแบบอย่างพี่หวันอย่างต่อเนื่อง ที่ผมมีวันนี้ เพราะพี่หวัน เป็นคนแผ้วถางนำทางให้ ผมสามารถถึงวันนี้ เพราะพี่หวันนำหน้า และทำให้เส้นทางที่ผ่านมาของผมมาได้สะดวก จึงเป็นที่น่าเสียดายมาก และหาคนแบบนี้ได้ยากมาก"
คลิปอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ พูดถึงการจากไปของท่านถวัลย์ อยู่ในคลิปเรื่องเล่าเช้านี้
ขอไว้อาลัยแก่ศิลปินแห่งชาติผู้ยิ่งใหญ่ นาม ถวัลย์ ดัชนี ครับ
----------------------------
ชีวประวัติน่าสนใจมาก ๆ ของท่านถวัลย์ ดัชนี
ถวัลย์ ดัชนี เกิดเมื่อ 27 กันยายน พ.ศ. 2482 ที่ จ.เชียงราย เป็นบุตรของนายศรี และนางบัวคำ (พรหมสา) ดัชนี ได้รับการศึกษาชั้นมูลและระดับประถมที่โรงเรียนเชียงรายวิทยาคม
ต่อมาบิดาย้ายมาปฏิบัติงานสรรพสามิตที่อำเภอเมืองพะเยา จึงเรียนต่อชั้นประถมที่โรงเรียนบุญนิธิซึ่งตั้งอยู่ริมชายกว๊านพะเยา และชั้นมัธยมต้นที่โรงเรียนพะเยาพิทยาคม เมื่อบิดาย้ายกลับเชียงรายจึงเข้าเรียนจนจบชั้นชั้นมัธยมปลายที่โรงเรียนสามัคคีวิทยาคมจนจบชั้นมัธยมปีที่ 6 ของสมัยนั้น
ถวัลย์มีแววด้านการวาดรูปมาตั้งแต่ชั้นมูลและชั้นประถม สามารถวาดตัวละครรามเกียรติ์ได้เกือบทุกตัว นอกจากจะมีความจำเป็นเลิศสามารถจำชื่อเพื่อนร่วมชั้นได้ทุกชั้นปีทั้งที่เชียงรายและพะเยาแล้ว เมื่อถวัลย์มีอายุ 8-9 ขวบก็มีความคิดแผลงๆ จำเรื่องนายมั่นนายคงจากละครวิทยุปลุกใจยุคปลายและหลังสงคราม เที่ยวชักชวนเพื่อนกรีดเลือดสาบานไปอยู่ดงพญาเย็นด้วยกันเมื่อโตขึ้นเป็นต้น
เมื่อจบชั้นมัธยม 6 ที่เชียงราย ถวัลย์ก็ได้รับทุนมาเรียนต่อที่ โรงเรียนเพาะช่าง และได้เป็นนักเรียนดีเด่น ด้วยฝีมือการวาดรูปที่แม่นยำ เฉียบคม ฉับไว จึงเป็นหนึ่งในนักเรียนเพาะช่างดีเด่นด้านจิตรกรรม ที่ผลงานได้รับการคัดเลือกไปแสดงในหอศิลป์แห่งชาติ นครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
หลังจากนั้น ถวัลย์ ดัชนี จึงเข้าศึกษาต่อที่คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และได้เป็น "ศิษย์รุ่นท้ายๆ ของ ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี"
ตอนเรียนอยู่ที่ศิลปากรในชั้นปีที่ 1 ถวัลย์ ดัชนี ทำคะแนนการวาดรูปได้ถึง 100+ แต่เมื่อขึ้นปี 2 เขากลับทำได้แค่ 15 คะแนน เพราะเหตุผลที่ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ให้ไว้ว่า ปลาของนายไม่มีกลิ่นคาว นกของนายแหวกว่ายไปในอากาศไม่ได้ ม้าของนายไม่สามารถที่จะควบหรือวิ่งทะยานออกไปได้ นายเป็นเพียงแค่นักลอกรูป มันไม่ใช่งานศิลปะ
คำวิจารณ์ของศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรีดังกล่าวนี้ทำให้ถวัลย์ ดัชนี เปลี่ยนแปลงการทำงานทุกอย่างใหม่หมด เมื่อคิดและดำรงอยู่ในวิถีทางแห่งศิลปะได้แล้ว เขาจึงได้รับการสนับสนุนจากศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ให้สอบชิงทุนไปศึกษาต่อที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ด้านสาขาจิตรกรรมฝาผนัง อนุสาวรีย์ ผังเมือง และในระดับปริญญาเอก สาขาอภิปรัชญา และสุนทรียศาสตร์ ที่ราชวิทยาลัยศิลปะอัมสเตอร์ดัม
ที่แห่งนี้เองที่ถวัลย์ได้เรียนร่วมชั้นเดียวกันกับนักเรียนต่างชาติ ซึ่งในเวลาต่อมาได้มีศิลปินแห่งชาติเกิดขึ้น 3 คนจากสถาบันแห่งนี้ นั่นคือ ศิลปินแห่งชาติของอินโดนีเซีย ด้านการแกะสลัก, ศิลปินแห่งชาติของอเมริกา ชาวสวิตเซอร์แลนด์ นามว่า Giger (ไกเกอร์ หรือ กีเกอร์ ถ้าอ่านแบบเยอรมัน) ซึ่งเป็นศิลปินที่วาดรูปออกแนวอวกาศและเป็นผู้ออกแบบเอเลี่ยน และศิลปินแห่งชาติของไทย ถวัลย์ ดัชนี
เมื่อกลับมาถึงประเทศไทย เหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น รูปเขียนขนาดใหญ่ของเขาหลายรูปถูกนักเรียนกรีดทำลาย ด้วยเหตุที่ว่างานของเขานั้นดูหมิ่นพระพุทธศาสนา ทำให้ถวัลย์ ดัชนี เลิกแสดงผลงานในประเทศไทยไปนานหลายปี กว่าคนไทยจะยอมรับได้ เขาก็ต้องเดินตากแดดตากฝนนานอยู่ถึง สามสิบกว่าปี ในปัจจุบันผลงานของเขาได้รับการยอมรับ และได้รับการยกย่องชื่นชมว่าเป็นงานศิลปะชั้นเลิศ อีกทั้งเป็นที่นิยมในหมู่นักสะสมงานศิลปะทั่วไปอีกด้วย
ถวัลย์ ดัชนี ได้ฝากศิลปะไทยจิตวิญญาณตะวันออกของเขา ไว้ในหลายๆ ที่ในโลก "ผลงานบางส่วนถูกเขียนขึ้นในปราสาทที่มีถึง 500 ห้อง ในประเทศเยอรมนี ซึ่งมีชื่อว่าปราสาทกอททอฟ (Gottorf Castle) " ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายที่ปราสาทนี้ไม่เปิดให้ใครได้เข้าชมแล้ว เพราะอากาศที่หนาวเย็นจะทำให้มีหยดน้ำมาเกาะบนกำแพง ทำให้ภาพเสียหาย แต่รายการโทรทัศน์ที่ได้เข้าไปถ่ายทำเป็นรายการสุดท้ายนั่นคือ รายการชีพจรลงเท้า
ยามว่างจากการเขียนรูป ถวัลย์ ดัชนีจะเดินไปในป่าเพื่อหาเขากวางที่ผลัดแล้วมาเก็บไว้ เพื่อเป็นเครื่องลับจินตนาการให้เฉียบคมอยู่ตลอดเวลา
ปัจจุบัน ก่อนจะล้มป่วยลงและเสียชีวิตในที่สุด ได้ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ให้กับศิลปินรุ่นใหม่ ด้วยการใช้บ้านดำ ต.นางแล อ.เมือง จ.เชียงราย เป็นสถานที่จัดกิจกรรม ร่วมทั้ง เดินทางไปบรรยายและให้ความรู้ร่วมกับศิลปินแห่งชาติท่านอื่นๆ ทั่วประเทศไทย
และระหว่างวันที่ 13 - 15 ธันวาคม พ.ศ.2556 เพิ่งจัดงานฉลองครบรอบ 74 ปี ของตนเอง ณ สยามพารากอน
ซึ่งภายในงานมีการแสดงพร้อมประมูล ผลงานศิลปะของ 7 ศิลปิน ที่ได้รับแรงบันดาลใจจาก ถวัลย์ ดัชนี,เปิดตัวหนังสือภาพถ่ายบ้านดำ และเปิดตัวเหรียญ "สุริยภูมิจักรวาล" ที่ตนเป็นผู้ออกแบบ ( หลังจากที่เมื่อมีอายุ 73 ปี เคยออกแบบและเปิดตัวเหรียญ "ปฐมภูมิจักรวาล" ) ตลอดจน ศิลปะการแสดง,ดนตรี,แฟชั่นโชว์ และการจำหน่ายของที่ระลึกอื่นๆ ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการครบรอบ 74 ปี
ถวัลย์ ดัชนี ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พ.ศ. 2544
“คนตะวันตกมีวิถีทางในการคิดและทำงานศิลปะอย่างไร แล้วให้พวกเราได้ย้อนกลับมาดูว่า เราซึ่งเป็นคนตะวันออกคิดอย่างไร เพื่อที่ในที่สุดจะได้นำความคิดของคนตะวันตก มาผสมผสานกับตะวันออก แล้วสร้างเป็นงานศิลปะร่วมสมัยที่สามารถหายใจได้ใน พ.ศ.นี้ ของเรา
ไม่ใช่ว่า กลับมาทำเหมือนในสมัยอยุธยาตอนต้นหรือตอนปลาย สุโขทัย หรือรัตนโกสินทร์ แต่กลับมาทำงานศิลปะอย่างคนที่รู้จักตน รู้จักคนอื่นรู้จักเขา รู้จักเรา และอยู่ในโลกนี้ได้อย่างสมบูรณ์"
ถวัลย์ ดัชนี กล่าวให้สัมภาษณ์กับ ART EYE VIEW ไว้คราหนึ่ง ใน "ค่ายเยาวชนสร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัย (สาขาทัศนศิลป์)" ณ บ้านดำ ต.นางแล อ.เมือง จ.เชียงราย ก่อนจะมีการคัดเลือกเยาวชนที่มีผลงานโดดเด่นไปศึกษาดูงานที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
astv